Sunday, October 14, 2012
Frederick Engels
เฟรดริค เองเกลส์ ( Frederick Engels )
เฟรดริค เองเกลส์ ( 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1820 - 5 สิงหาคม ค.ศ. 1895 ) ปรมาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ของชนชั้นกรรมาชีพและปะชาชนผู้ใช้แรงงานทั่วสากลพิภพ ผู้สร้างลัทธิมาร์กซคู่กับ คาร์ล มาร์กซ มิตรร่วมสมรภูมิของมาร์กซ เกิดจากครอบครัวเจ้าของโรงปั่นทอในนครบาร์เมนแห่งมณฑลไรน์ของแคว้นบรัสเซีย ปี ค.ศ. 1837 เรียนยังไม่จบมัธยม บิดาส่งไปทำงานในร้านค้าแห่งหนึ่งในเมืองบาร์เมน ในระหว่างนี้ เองเกลส์ศึกษาปรัชญาและวรรณคดีด้วยตนเองด้วยใจรัก ติดต่อกับองค์กรณ์วรรณคดีหัวรุนแรงชื่อ " เยาวชนเยอรมัน " ซึ่งพยายามจะประสานลัทธิราดิกัลเข้ากับปรัชญาของเฮเกล และได้กลายเป็นนักประชาธิปไตยปฏิวัติในไม่ช้า
ในระหว่างการเป็นทหารในเบอร์ลินปี ค.ศ. 1841 ก็สมัครเข้าไปเป็นผู้ฟังการบรรยายปรัชญาในมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน จึงได้สัมพันธ์กับกลุ่มเยวชนเฮเกลอย่างใกล้ชิด ปีถัดมา ก็ไปทำงานที่โรงปั่นทอของบิดาที่เมืองแมนเชสเตอร์ในอังกฤษ มักจะเข้าร่วมการชุมนุมและการต่อสู้ของกรรมกรอยู่เสมอๆ สนับสนุนการเคลื่อนไหวเรียกร้องรัฐธรรมนูญของอังกฤษ ทั้งได้เสนอบทความจำนวนมากในหนังสือพิมพ์ นอร์ทสตาร์, ไรน์, และรายงานประจำปีเยอรมนี - ฝรั่งเศส ในจำนวนบทความเหล่านั้นมีเรื่อง หลักใหญ่การวิพากษ์เศรษฐศาสาตร์การเมือง ซึ่งเขียนในปี ค.ศ. 1844 ได้ใช้ทัศนะของลัทธิสังคมนิยมวิพากษ์ระบอบเศรษฐกิจของลัทธิทุนนิยม เสนอความเห็นให้ยกเลิกระบอบกรรมสิทธิ์ส่วนตัว แสดงว่าในเวลานั้น ความคิดของเองเกลส์ได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นวัตถุนิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์แล้ว
เดือนสิงหาคมปี ค.ศ. 1844 เองเกลส์เดินทางกลับเยอรมนี ผ่านปารีสได้พบกับมาร์กซเป็นครั้งแรกในปารีสนี้เอง นับแต่นั้นมาก็ได้คบหาเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์ร่วมต่อสู้เรื่อยมา ร่วมกันสร้างลัทธิสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ขึ้นในระหว่างการปฏิบัติการปฏิวัติ บทนิพนธ์เรื่อง " ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ "ที่ท่านทั้งสองร่วมกันเขียน ได้วางรากฐานลัทธิสังคมนิยมวัตถุนิยมปฏิวัติ ส่วนเรื่อง " รูปลักษณ์จิตสำนึกเยอรมนี " ได้อรรถาธิบายหลักทฤษฎีพื้นฐานของวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ไว้อย่างจะแจ้ง
ปี ค.ศ. 1847 ก็ร่วมกับมาร์กซก่อตั้งสันนิบาตผู้รักความเป็นธรรมต่อมาก็เปลี่ยนเป็นสันนิบาตนักลัทธิคอมมินิสต์ซึ่งเป็นองค์กรจัดตั้งของชนชั้นกรรมาชีพสากลเป็นองค์การแรกของโลก เดือนพฤศจิกายนร่วมกันเขียนนิพนธ์เรื่อง " หลักทฤษฎีลัทธิคอมมิวนิสต์ " ให่แก่สันนิบาต อรรถาธิบายลักษณะและภาระหน้าที่ของการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพ อิบายลักษณะพิเศษบางประการของสังคมใหม่เป็นครั้งแรก เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1848 ร่วมกับมาร์กซเขียนบทนิพนธ์ บันลือโลก " แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ " ด้วยการมอบหมายจากสันนิบาต ซึ่งเท่ากับเป็นการประกาศการกำเนิดของลัทธิมาร์กซอย่างเป็นทางการ และสันนิบาตนักลัทธิคอมมิวนิสต์โดยความจริงแล้วก็คือพรรคคอมมิวนิสต์พรรคแรกของโลก
ในระหว่างปี ค.ศ. 1848 - 1849 มรสุมการปฏิวัติแพร่กระจายไปทั่วยุโรป เองเกลส์เดินทางกลับเยอรมนีไปชี้นำการเคลื่อนไหวของประชาชนและได้เข้าร่วมการลุกขึ้นสู้ด้วยอาวุธของประชาชนด้วยตนเอง ได้แสดงอัจฉริยะทางการทหารอย่างโดดเด่น หลังจากการลุกขึ้นสู้ด้วยอาวุธถูกปราบปรามไปแล้ว ปลายปี ค.ศ. 1849 ก็ไปลอนดอนเข้าร่วมงานการก่อตั้งสันนิบาตนักลัทธิคอมมิวนิสต์ขึ้นมาใหม่ สรุปความจัดเจนของการปฏิวัติปี ค.ศ. 1848 เขียนบทนิพนธ์บรรยายปัญหาการลุกขึ้นสู้ด้วยอาวุธอย่างเฉียบคม
ปี ค.ศ. 1850 - 1869 เพื่อช่วยเหลือด้านชีวิตความเป็นอยู่ของมาร์กซในขณะค้นคว้างานเขียน " ว่าด้วยทุน " อันยิ่งใหญ่ เองเกลส์กลับไปทำการค้าที่แมนเชสเตอร์อีก และส่งรายได้มาช่วยเหลือมาร์กซและครอบครัวเป็นประจำ ในขณะเดียวกันก็ไม่ละทิ้งความสนใจต่อเหตุการณ์ทางเมืองใหญ่ๆ ทั้วโลก ใช้การสื่อสารทางจดหมายแลกเปลี่ยนความเห็นกับมาร์กซในด้านปัญหาการเมือง ตลอดจนปัญหาทางทฤษฎีต่างๆ ในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์สังคมเป็นประจำ ทั้งสนใจค้นคว้าปัญหาการทหารและภาษาศาสตร์ด้วย
หลังจาก " ว่าด้วยทุน เล่ม 1 " ออกสู่สาธารณะแล้ว เองเกลส์เขียนบทความจำนวนมากแนะนำความคิดอันยิ่งใหญ่ของหนังสือเล่มนี้ ปกป้องคุณค่าทางวิทยาศาสตร์ของ " ว่าด้วยทุน " ค้นคว้าข้อมูลใหม่ๆ เพิ่มเติมเนื้อหาทางระบบทฤษฎีใหม่ๆ ให้กับหนังสือเล่มนี้
เมื่อสากลที่หนึ่งก่อตั้งขึ้น ก็เข้าร่วมการนำอย่างเอาจริงเอาจัง ดำเนินการต่อสู้อย่างเด็ดเดี่ยวกับกลุ่มและหมู่คณะลัทธิฉวยโอกาสต่างๆ อย่างเด็ดเดี่ยว ทำให้ลัทธิมาร์กซอยู่ในฐานะครอบงำในการเคลื่อนไหวกรรมกรสากลสนับสนุนการลุกขึ้นสู้ของคอมมูนปารีสอย่างเร่าร้อน และประเมินคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของคอมมูนปารีสเป็นอย่างสูง
ในทศวรรษที่ 7 และ 8 สนใจการค้นคว้าปัญหาปรัชญาในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิพากษ์ทัศนะอภิปรัชญาและจิตนิยมที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ หลังจากสากลที่หนึ่งประกาศสลายตัวแล้ว ก็ร่วมกับมาร์กซวิพากษ์จุดยืนลัทธิยอมจำนนที่ไอเซ็นนาชเป็นหัวหน้าอย่างเข้มงวดทำการวิพากษ์คาร์ล ดือห์ริง ที่โจมตีลัทธิมาร์กซอย่างเต็มกำลังและมุ่งหมายจะโค่นทฤษฎีลัทธิสังคมนิยมอย่างรอบด้าน ได้บรรยายส่วนประกอบ 3 ส่วนของลัทธิมาร์กซ จนหนังสือ คัดค้านดือห์ริง ได้รับการขนานนามว่าเป็นสารานุกรมลัทธิมาร์กซ
หลังจากมาร์กซถึงแก่กรรมแล้ว ก็เข้าแบกรับภาระหน้าที่อันหนักหน่วงในการจัดระเบียบและเปิดเผยเอกสารอันทรงคุณค่าอย่างยิ่งเป็นอันมากของมาร์กซแก่ชาวโลก ในขณะเดียวกันนำการเคลื่อนไหวของกรรมกรสากล ปี ค.ศ. 1889 เองเกลส์ตั้งสากลที่สองขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนพรรคการเมืองลัทธิสังคมนิยมในประเทศต่างๆ แต่ประสบกับปัญหาลัทธิฉวยโอกาสต่างๆ ที่แทรกซึมเข้ามาทำให้ความคิดของสากลที่สองเกิดความสับสนจึงต่อสู้กับกลุ่มลัทธิฉวยโอกาสหลายประเภทอย่างเต็มสติกำลัง และได้เขียนบทนิพนธ์อันลือเลื่องขึ้นมาอีกชื่อ ต้นกำเนิดของครอบครัว, ระบอบกรรมสิทธิ์ส่วนตัวและรัฐ
ในบั้นปลายของชีวิต เองเกลส์เขียนบทนิพนธ์ให้เป็นบทเรียนและชี้นำการเคลื่อนไหวของมวลชนผู้ใช้แรงงานประเทศต่างๆ เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะได้พัฒนาหลักทฤษฎีวัตถุนิยมวิภาษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ทำหน้าที่แทนมาร์กซในการรวบรวมเขียน ว่าด้วยทุน เล่ม 2 และเล่ม 3 จนจบ
วันที่ 5 เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1895 เองเกลส์ก็ถึงแก่กรรมในลอนดอน
By นิพนธ์พจน์ลัทธิมาร์กซ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment