ระดับต่างๆ ของสมาธิ
แม้ว่าสมาธิจิตมีอยู่ ๓ ระดับ แต่ตามหลักกรปฏิบัติในทางพุทธศาสนาเกี่ยวกับการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานจิตที่เป็นสมาธิในบางระดับเท่านั้นที่นำมาใช้ในการปฏิบัติวิปัสสนา สมาธิจิต ๓ ระดับ ดังกล่าวนี้ประกอบด้วย
๑. ขณิกสมาธิ หมายถึงสมาธิที่เกิดขึ้นชั่วระยะ ซึ่งเป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานในสัตว์ทุกประเภทที่นำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน
๒. อุปจารสมาธิ หมายถึงสภาพของจิตที่เข้าสู่สมาธิแบบเฉียดๆ หรือจวนจะแน่วแน่ใกล้จะเข้าสู่ปฐมฌาน เป็นภาวจิตที่ประณีตขึ้นมาจากขณิกสมาธิ แม้ว่าภาวจิตถูกควบคุมจะอยู่ในอารมณ์หนึ่ง ( เอกัคตา ) แต่ยังไม่ลึกและแน่วแน่ มีความฟุ้งซ่านซัดส่ายไปมาและยังมีการรับรู้อยู่บางระดับหนึ่ง มีความประณีตกว่าขณิกสมาธิและสมาธิระดับต้นๆ ที่นำมาใช้ในการปฏิบัติวิปัสสนาที่เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ
๓. อัปปนาสมาธิ หมายถึงสมาธิที่แนบสนิทอยู่ในฌานหรือสมาบัติ ๘ ฌานเหล่านี้จัดเป็นระดับของสภาวจิตที่อยู่เหนือการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ในขณะนั้น จิตจะอยู่เหนือการรับรู้ทางจักขุวิญญาณโสตวิญญาณ และความรู้สึกจากทางผัสสะ เป็นสมาธิจิตที่อยู่เหนือการควบคุมของเจตสิกที่เป็นเวทนา คืออารมณ์ความรู้สึกพึงสังเกตุว่า ในการปฏิบัติวิปัสสนาแบบแรกนั้น จิตจะอยู่ในสมาธิระดับต้นๆ ระหว่างขณิกสมาธิกับอุปจารสมาธิยังไม่เข้าถึงอัปปนาสมาธิ ส่วนอัปปนาสมาธินั้น เป็นสมาธิในการบำเพ็ญฌานสมาบัติตามแบบโยคะ ที่พุทธศาสนาสามารถนำมาเป็นฐานต่อไปยังการปฏิบัติสมาธิวิปัสสนาเป็นขั้นที่ ๙ ที่เรียกว่า นิโรธสมาบัติ
นี่คือความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวพุทธกับบำเพ็ญสมาธิตามแบบโยคะ โดยฝ่ายแรกเน้นการทำสมาธิเพื่อพัฒนาปัญญาบนฐานแห่งความเป็นจริงในสัจธรรม ตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๓ กล่าวคือ พิจารณาไตรลักษณ์เพื่อความหลุดพ้นด้วยการกำหนด อนัตตลักษณะ อนิจจลักษณะ และ ทุกขลักษณะ ขณะที่ฝ่ายหลังเป็นการปฏิบัติเพื่อมุ่งไปไกลสู่ฌานวิเศษเพื่อบรรลุโมกษะตามความเชื่อของปรัชญาอุปนิษัท
สมาธิระดับที่สาม หรืออัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิที่จิตถูกควบคุมให้อยู่ในอารมณ์เป็นหนึ่ง ( เอกัคคตา ) เป็นสมาธิจิตที่มีความประณีตลุ่มลึกเหนือสิ่งรบกวนจากภายนอกโดยสมบูรณ์ เป็นภวจิตที่กลายมาเป็นนายตนเองมีศักยภาพที่อาจทำให้ผู้ปฏิบัติหลงยึดติดในอัตตาปฏิเสธการรับรู้ในกฏธรรมชาติเช่นในกฏไตรลักษณ์ได้
อัปปนาสมาธิ เป็นผลสำเร็จจากการเจริญสมาธิภาวนาที่เรียกว่า ฌานสมาบัติ ซึ่งมีอยู่ ๒ ระดับคือ
๑. รูปฌาน ๔ ระดับแรกเป็นสมาธิจิตที่เกิดขึ้นโดยวิธีต่างๆ ด้วยการเพ่งวัตถุภายนอก ( กสิณ ) เช่น ดิน ไฟ น้ำ หรือเพ่งสมาธิไปที่สีต่างๆ ผลจากการเพ่ง ก่อให้ได้ฌานเป็น ๔ ระดับ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ติยฌาน และ จตุตถฌาน ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นเกี่ยวกับบทที่ว่าด้วยสัมมาสมาธิ
๒. อรูปฌาน มี ๔ ระดับ เป็นการเจริญสมาธิภาวนาต่อจากเจริญภาวนาในระดับรูปฌาน โดยเปลี่ยนจากการเพ่งกสิณทางรูปธรรมไปเป็นการเพ่งในสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่นการเพ่งกำหนดในความว่างหาที่สุดมิได้จนบรรลุฌานที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ เพ่งในวิญญาณอัหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์เรียกว่า วิญญาณัญจายตนะกำหนดเพ่งในภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์จนได้ฌานที่เรียกว่าอากิญจัญญายตนะ และฌานอันเข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่และไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ อันเป็น
อัปปนาสมาธิขั้นที่ ๘ ที่ถือว่าเป็นฌานสูงสุดในระดับโลกียะ
แม้ว่า การปฏิบัติสมาธิภาวนาจนบรรลุรูปฌานชันสูงสุดจะสมารถเพิ่มพลังจิตได้หลายอย่าง แต่ก็อาจทำให้จิตประสาทเกิดความแปรปรวน จนสำคัญตนผิดคิดว่าบรรลุฌานวิเศษอันมิใช่วัตถุประสงค์แะเป้าหมายในทางพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงห้ามไม่ให้ภิกษุผู้บรรลุธรรมเข้าสู่กระแสนิพพานและหลุดพ้นจากวัฏสงสารได้
ตามหลักทางพุทธศาสนา การบรรลุฌานทั้งในระดับรูปฌานและอรูปฌานยังถือว่าเป็นสมาธิจิตในระดับโลกียะ ความเพียรพยายามในการบำเพ็ญสมาธิจะด้วยวิธีการใดๆ แม้จะบรรลุขั้นสูงสุดแห่งอรูปฌานถึงระดับเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วก็ตาม ก็ยังจัดเป็นเพียงการบรรลุขั้น " สมถะ " เท่านั้น ผู้ที่สำเร็จมรรคผลได้จะต้องปฏิบัติทั้งสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา จึงจะสามารถเข้าถึงภาวะอันประณีต สูงสุดขั้นที่ ๙ คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ หรือ นิโรธสมาบัติ ภาวะที่สัญญาและเวทนาดับ อันเป็นระดับของจิตขั้นสูงสุดในทางพุทธศาสนา
By แก่นพุทธธรรม
พระพุทธเจ้าตรัสใว้ สมาธิมี 9 ระดับ ในพระไตรปิฎก
ReplyDelete1.ปฐมฌาณ
2.ทุติยฌาณ
3.ตติยฌาณ
4.จตุถฌาณ
5.อากานัญจายตนะ
6.วิญญาณัญจายตนะ
7.อากิญจัญญายตนะ
8.เนวสัญญานาสัญญายตนะ
9.สัญญาเวทยิตนิโรธ
สมาธิ 9 ระดับ
ReplyDelete[๓๕๕] อนุปุพพวิหาร ๙ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ
๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่ง
จิตใจในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นเพราะวิตกวิจารสงบระงับไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและ
สุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯ
๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขามีสติ มีสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้
ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุขดังนี้ ฯ
๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ฯ
๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดย
ประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไปเพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญาเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ
ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ ฯ
๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะ
โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
ดังนี้อยู่ ฯ
๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะ
โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร ดังนี้อยู่ ฯ
๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงซึ่งอากิญจัญญายตนะโดย
ประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ ฯ
๙. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานา
สัญญายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ฯ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
.....................................................
ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ...จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ
ไว้แล้ว...จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด
ระดับของสมาธิ - หลวงพ่อชา สุภทฺโท
ReplyDeleteในวงกรรมฐาน ท่านมักกล่าวว่าความสงบมี ๓ ระดับ
ขณิกสมาธิ คือสมาธิชั่วขณะ เป็นความสงบขั้นต้นในการภาวนา
พอสำหรับใช้ในการเล่าเรียนทำการงานให้ได้ผลดี
ทำให้จิตใจสงบสบายเพราะได้พักชั่วคราว
อุปจารสมาธิ คือ สมาธิเฉียดฌาน จวนจะแน่วแน่
ระงับนิวรณ์ทั้งห้าได้แล้ว แต่จะเหมือนไก่ในเล้า ไม่นิ่งเลยทีเดียว
อัปปนาสมาธิ คือขั้นที่จิตตั้งมั่นอย่างสนิทแน่วแน่ถึงฌาณจิต
พ้นจาก รูป รส กลิ่นเสียง อารมณ์ สามารถข่มนิวรณ์ได้
ฌาน แปลว่า เพ่ง หมายถึงการเพ่งอารมณ์ตามกฎแห่งการเจริญกรรมฐาน จนถึงภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลักจนใจแน่วแน่ (ต้องเข้าถึงระดับอัปปนาสมาธิถึงจะได้ฌาณ)
ฌาน แบ่งเป็น 2 หมวดใหญ่คือ
1. รูปฌาณ หมายถึงฌานที่ใช้รูปอันหมายถึงสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยอายตนะทั้งหลายเป็นอารมณ์หรือเป็นองค์วิตก เช่น คำบริกรรมต่างๆ ลมหายใจ แสง สี วัตถุ เช่น กระดูก ขน ผม ฯลฯ ใช้เป็นเครื่องกำหนดหรือเครื่องตรึงจิต หรือกสิณนั่นเอง แบ่งย่อยออกเป็นอีก ๔ ระดับ เรียกกันว่า ฌาน ๔ ได้แก่
1.1ปฐมฌาน คือ ฌาณ 1
1.2 ทุติยฌาน คือ ฌาณ 2
1.3 ตติยฌาน คือ ฌาณ 3
1.4 จตุตถฌานคือ ฌาณ4
2. อรูปฌาณ หมายถึงฌานที่ใช้สิ่งที่เป็นอรูปธรรมหรือสิ่งที่ไม่มีตัวไม่มีตนคืออรูป เป็นเครื่องกำหนดหรือเครื่องอยู่ คือเป็นอารมณ์ แบ่งออกเป็นอีก ๔ ระดับ เรียกกันว่าฌาณ8 ได้แก่
2.1 กำหนด อากาศหรือช่องว่าง (อากาสานัญจายตนะ)
2.2 กำหนด วิญญาณ (วิญญานัญจายตนะ)
2.3 กำหนด ความว่างหรือความไม่มีสิ่งใด (อากิญจัญญายตนะ หรือสุญญตาก็เรียกกัน)
2.4 กำหนด ภาวะที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ คือ เลิกกำหนดสัญญาในสิ่งใดๆ (เนวสัญญานาสัญญายตนะ)
+ ฌาณพิเศษอีก1 (ฌาณ9) คือ นิโรธฌาณหรือนิโรธสมาบัติ (สัญญาเวทยิตนิโรธ) คือ การดับสัญญาและเวทนา ผู้ที่จะเข้าสมาบัติขั้นนี้จะต้องเป็นพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ 8
**หลวงพ่อชากล่าวถึงเรื่องสมาธิจากประสบการณ์ของท่าน**
“สมาธิทุกขั้นมีความสำคัญ มีหน้าที่อยู่ในตัวของมัน
จะทิ้งอันใดอันหนึ่งไม่ได้”
ดังจะเห็นได้จากคำอธิบายของหลวงพ่อ
ระหว่างการสนทนากับอุบาสกคนหนึ่ง
อุบาสก : ถ้าทำสมาธินี้เอาแต่ ขณิกสมาธิ ก็พอ ไม่จำเป็นต้องไปยิ่งกว่านี้ใช่ไหมครับ
หลวงพ่อ : ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ นี้จิตของเรามันคิดไปคิดมาอยู่ แต่คิดอยู่ในความสงบ
แต่เมื่อเข้าไปถึงอัปปนาสมาธิ น่ะ
มันทิ้ง ขณิกสมาธิ, อุปจารสมาธิ ทิ้งไปหมด
เข้าไปอยู่โน่น ตรงนี้มันพ้นจากสิ่งทั้งหลาย
แต่ว่ามันก็เป็นผลของ ขณิกสมาธิ ด้วยนะ
และก็เป็นผลของอุปจารสมาธิด้วย
มันต้องผ่านนี่ ถ้าไม่ผ่านไม่ได้ถึงโน่น
******************
ที่มา:
http://kumnai.blogspot.com/2013/12/blog-post_6.html
โพสต์เมื่อ 6th December 2013 โดย Jirasak Panonu-domsuk
http://www.dhammahome.com/webboard/topic/24397
อ.padermวันที่ 31 ม.ค. 2557
http://www.larnbuddhism.com/grammathan/meditation.html
ระดับของสมาธิ - หลวงพ่อชา สุภทฺโท
ReplyDeleteในวงกรรมฐาน ท่านมักกล่าวว่าความสงบมี ๓ ระดับ
ขณิกสมาธิ คือสมาธิชั่วขณะ เป็นความสงบขั้นต้นในการภาวนา
พอสำหรับใช้ในการเล่าเรียนทำการงานให้ได้ผลดี
ทำให้จิตใจสงบสบายเพราะได้พักชั่วคราว
อุปจารสมาธิ คือ สมาธิเฉียดฌาน จวนจะแน่วแน่
ระงับนิวรณ์ทั้งห้าได้แล้ว แต่จะเหมือนไก่ในเล้า ไม่นิ่งเลยทีเดียว
อัปปนาสมาธิ คือขั้นที่จิตตั้งมั่นอย่างสนิทแน่วแน่ถึงฌาณจิต
พ้นจาก รูป รส กลิ่นเสียง อารมณ์ สามารถข่มนิวรณ์ได้
ฌาน แปลว่า เพ่ง หมายถึงการเพ่งอารมณ์ตามกฎแห่งการเจริญกรรมฐาน จนถึงภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลักจนใจแน่วแน่ (ต้องเข้าถึงระดับอัปปนาสมาธิถึงจะได้ฌาณ)
ฌาน แบ่งเป็น 2 หมวดใหญ่คือ
1. รูปฌาณ หมายถึงฌานที่ใช้รูปอันหมายถึงสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยอายตนะทั้งหลายเป็นอารมณ์หรือเป็นองค์วิตก เช่น คำบริกรรมต่างๆ ลมหายใจ แสง สี วัตถุ เช่น กระดูก ขน ผม ฯลฯ ใช้เป็นเครื่องกำหนดหรือเครื่องตรึงจิต หรือกสิณนั่นเอง แบ่งย่อยออกเป็นอีก ๔ ระดับ เรียกกันว่า ฌาน ๔ ได้แก่
1.1ปฐมฌาน คือ ฌาณ 1
1.2 ทุติยฌาน คือ ฌาณ 2
1.3 ตติยฌาน คือ ฌาณ 3
1.4 จตุตถฌานคือ ฌาณ4
2. อรูปฌาณ หมายถึงฌานที่ใช้สิ่งที่เป็นอรูปธรรมหรือสิ่งที่ไม่มีตัวไม่มีตนคืออรูป เป็นเครื่องกำหนดหรือเครื่องอยู่ คือเป็นอารมณ์ แบ่งออกเป็นอีก ๔ ระดับ เรียกกันว่าฌาณ8 ได้แก่
2.1 กำหนด อากาศหรือช่องว่าง (อากาสานัญจายตนะ)
2.2 กำหนด วิญญาณ (วิญญานัญจายตนะ)
2.3 กำหนด ความว่างหรือความไม่มีสิ่งใด (อากิญจัญญายตนะ หรือสุญญตาก็เรียกกัน)
2.4 กำหนด ภาวะที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ คือ เลิกกำหนดสัญญาในสิ่งใดๆ (เนวสัญญานาสัญญายตนะ)
+ ฌาณพิเศษอีก1 (ฌาณ9) คือ นิโรธฌาณหรือนิโรธสมาบัติ (สัญญาเวทยิตนิโรธ) คือ การดับสัญญาและเวทนา ผู้ที่จะเข้าสมาบัติขั้นนี้จะต้องเป็นพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ 8
**หลวงพ่อชากล่าวถึงเรื่องสมาธิจากประสบการณ์ของท่าน**
“สมาธิทุกขั้นมีความสำคัญ มีหน้าที่อยู่ในตัวของมัน
จะทิ้งอันใดอันหนึ่งไม่ได้”
ดังจะเห็นได้จากคำอธิบายของหลวงพ่อ
ระหว่างการสนทนากับอุบาสกคนหนึ่ง
อุบาสก : ถ้าทำสมาธินี้เอาแต่ ขณิกสมาธิ ก็พอ ไม่จำเป็นต้องไปยิ่งกว่านี้ใช่ไหมครับ
หลวงพ่อ : ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ นี้จิตของเรามันคิดไปคิดมาอยู่ แต่คิดอยู่ในความสงบ
แต่เมื่อเข้าไปถึงอัปปนาสมาธิ น่ะ
มันทิ้ง ขณิกสมาธิ, อุปจารสมาธิ ทิ้งไปหมด
เข้าไปอยู่โน่น ตรงนี้มันพ้นจากสิ่งทั้งหลาย
แต่ว่ามันก็เป็นผลของ ขณิกสมาธิ ด้วยนะ
และก็เป็นผลของอุปจารสมาธิด้วย
มันต้องผ่านนี่ ถ้าไม่ผ่านไม่ได้ถึงโน่น
******************
ที่มา:
http://kumnai.blogspot.com/2013/12/blog-post_6.html
โพสต์เมื่อ 6th December 2013 โดย Jirasak Panonu-domsuk
http://www.dhammahome.com/webboard/topic/24397
อ.padermวันที่ 31 ม.ค. 2557
http://www.larnbuddhism.com/grammathan/meditation.html