ประโยคเด่นในคัมภีร์เหลาจื้อ
เต๋าที่นำมาเล่าสู่กัน ไม่ใช่เต๋าปกติ
ชื่อที่เรียกขานได้ ไม่ใช่ชื่อที่ยั่งยืน
ใจที่ปราศจากความอยาก จะเห็นความอัศจรรย์ของสรรพสิ่ง
ใจที่ใฝ่รู้อยากจะเห็น จะเห็นความอยากของสรรพสิ่ง
ผู้คนทั่วแผ่นดินรู้ว่าสิ่งนั้นสวยงามเพราะมีสิ่งที่น่าเกลียดเป็นตัวเปรียบเทียบ
รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นความดี เพราะมีความชั่วเป็นตัวเปรียบเทียบ
เมื่อมีเกิด ย่อมมีดับ มีมีย่อมมีไม่มี มียากย่อมมีง่าย มียาวย่อมมีสั้น
มีสูงย่อมมีต่ำ ฉะนั้น จอมปราชญ์ดำรงตน โดยไม่แทรกแซงสรรพสิ่ง ( บ่ออู๊ย )
สอนโดยไม่ใช้ถ้อยคำ.... ( บ่ออุ๊ย หมายถึง เปิดโอกาสให้ สร้างโอกาสให้ โดยไม่แทรกแซง )
เมื่อผู้ปกครองชื่นชมผู้มีสติปัญญา ย่อมเกิดการดูแคลนผู้ด้อยสติปัญญา ฉะนั้น ราษฎรจะแย่งชิงกันเป็นผู้มีสติปัญญา
จงดำรงตนอยู่เช่นเดียวกับฝุ่น
พูดมากหมดทาง มิสู้เก็บไว้ในใจ
ความตายของเทวดาหุบเขา เปรียบเช่นรากเหง้าของฟ้าดิน
ฟ้าดินยั่งยืน เพราะมิได้ทำการเพื่อตนเอง จอมปราชญ์อยู่หลังกลับอยู่หน้า ไม่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัวจึงรักษาตนไว้ได้ ไม่เห็นแก่ตัวจึงบรรลุดังใจหมาย
น้ำเป็นสิ่งประเสริฐที่สุดเพราะไม่แย่งชิง มีเพียงไม่แย่งชิงจึงไม่มีภัย
ทำไม่เลิก มิสู้หยุดเมื่อเหมาะสม ลับดาบให้คม คมอยู่ไม่นาน
เงินทองเต็มบ้าน ยากรักษา รวยแล้วหยิ่งคือหาเรื่องใส่ตัว
เมื่องานเสร็จ จงถอนตัว
จงรักษาพลังอ่อนหยุ่นเยี่ยงทารก ( หมายถึง ไม่มีเจตนาร้ายต่อใคร ไม่ใช้กำลังทำร้ายคนอื่น )
ใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ วิธีใช้คือส่วนที่ไม่มีอยู่
จอมปราชญ์ทำงานเพื่อท้องอิ่ม ไม่ทำเพื่ออาหารตา
ข้ามีภัยเพราะมีตัวตน หากข้าไร้ตัวตนย่อมไม่มีภัย
ผู้ใดอุทิศตัวตนของตนเพื่อทำประโยชน์ต่อแผ่นดิน สามารถฝากแผ่นดินให้เขาดูแล
จงย้อนกลับสู่สภาพที่ยังไม่เคยมีมาก่อน
สงบเงียบก่อนแล้วทุกอย่างจะค่อยๆ ใส
ความสงบเงียบจะมั่นคงยั่งยืน
ยามใดที่ขยับจะเกิดบางสิ่งขึ้น
ไม่ควรมีความอยากท่วมล้น
ความว่างที่สุดคือรักษาความสงบ ผู้รู้คือผู้รู้จักผ่อนปรน ส่วนผู้ที่ไม่รู้มักเหี้ยมโหดส่งเดช
เมื่องานสำเร็จ ราษฎรจะกล่าวว่า ข้าทำตามวิถีธรรมชาติ
เมื่อเต๋าเสื่อม จะเกิดเหยินอี้ ( ยิ้งหงี ) ขึ้นแทน และเมื่อเกิดสติปัญญา ผู้คนเริ่มหลอกลวงกัน ครอบครัวไม่ปรองดอง จึงเกิดคำสอนให้กตัญญู ยามที่บ้านเมืองวุ่นวายจะเกิดตงฉิน
เมื่อจอมปราชญ์เลิกใช้สติปัญญาโดยไม่เข้าไปแทรกแซงเรื่องของราษฎร ราษฎรจะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น 100 เท่า ส่วนคนรักคนเลิกเข้าแทรกแซงเรื่องของคนอื่นและเลิกแสวงหาผลประโยชน์แล้วพวกโจรจะเลิกเป็นโจร จงอยู่อย่างเรียบง่าย เห็นแก่ตัวน้อยที่สุด มีความอยากน้อยที่สุด
สุดยอดวิชาคือไร้วิตก... ผู้คนรื่นเริงใจ มีข้าเพียงผู้เดียวโดดเดี่ยวเดียวดาย ราวกับทารกแรกเกิด ผู้คนฉลาดแจ่มใส มีข้าเพียงคนเดียวดูเหมือนมึนงง... มีข้าเพียงคนเดียวไม่เหมือนใคร
มีเพียงไม่แย่งชิง จึงไม่มีผู้ใดสามารถเป็นคู่แย่งชิง... รู้จักใช้ทางอ้อมจะไม่เสียหาย
คนพูดน้อยใกล้กับวิถีธรรมชาติ
...พายุฝนไม่กระหน่ำทั้งวันคืน
...หากไม่รักษาคำสัญญาคนอื่นไม่เชื่อใจ
มนุษย์ต้องปฏิบัติตามกฏแห่งแผ่นดิน
แผ่นดินปฏิบัติตามกฏแห่งท้องฟ้า
ท้องฟ้าปฏิบัติตามกฏแห่งเต๋า
เต๋าปฏิบัติตามกฏธรรมชาติ
ความหนักเป็นรากของความเบา
ผู้สงบเป็นนายของคนใจร้อน
คนดีเป็นครูของคนไม่ดี คนไม่ดีเป็นบทเรียนของคนดี
ผู้ไม่เห็นคุณค่าของครู และไม่เห็นคุณค่าของบทเรียน
แม้จะมีสติปัญญาหลักแหลมก็หลงผิดได้
หลังจากสงคราม ติดตามด้วยปีแห่งความโชคร้าย ฉะนั้น ผู้ชำนาญมุ่งที่ความสำเร็จแต่มิกล้าใช้ความรุนแรงทำร้ายคนอื่น
กองทัพมีไว้เพื่อทำสงคราม แต่มิใช่เครื่องมือของสุภาพชน การทำสงครามจะทำเมื่อจำเป็นเท่านั้น
รู้จักหยุด ไม่ประสบภัย
ผู้เข้าใจคนอื่นคือผู้มีปัญญาดี ผู้เข้าใจตนเองเป็นผู้กระจ่าง
ผู้ชนะคนอื่นคือผู้มีกำลัง ผู้ชนะตนเองคือผู้แข็งแกร่ง
ผู้รู้จักพอคือผู้ร่ำรวย ผู้ดำเนินการอย่างเข้มแข็งคือผู้มีใจมุ่งก้าวหน้าไป
ผู้อยู่ในสถานที่เหมาะสมกับตนจะอยู่ได้นาน
ผู้ที่ตายไปแล้วแต่ชื่อเสียงยังอยู่คือผู้อายุยืน
จงดำรงตนเป็นผู้ปราศจากความอยาก
สามารถเป็นคนเล็กๆ ได้ ( หมายถึง ลดระดับตนเองให้ต่ำกว่าคนอื่นได้ ) แล้วผู้คนจะมุ่งสวามิภักดิ์ ส่วนตนก็ไม่ถือว่าตนเป็นเจ้านาย ฉะนั้น จึงยิ่งใหญ่ได้ จอมปราชญ์ไม่วางตัวเป็นผู้ยิ่งใหญ่กลับบรรลุความเป็นผู้ยิ่งใหญ่
เมื่อจะทำให้อ่อน จงทำให้แข็งก่อน ( หมายถึง ความแข็งในระดับที่คนอื่นไม่สามารถรักษาได้นาน )
หากเจ้าผู้ครองนครสามารถรักษาความเงียบสงบ ( แต่เปิดโอกาสให้คนอื่นมีทางปรับตัว ) สรรพสิ่งจะปรับตัวเองโดยผู้ปกครองไม่ต้องเข้าไปเจ้ากี้เจ้าการ
ลูกผู้ชายอาศัยอยู่ในส่วนหนา ไม่อาศัยอยู่ในส่วนบาง
อาศัยอยู่ในสภาพที่เป็นจริง ไม่อาศัยอยู่ในความรุ่งเรืองที่ไม่ยั่งยืน
( หมายถึง สิ่งใดที่สามารถดำรงอยู่นาน จะไม่ทำเรื่องนั้น )
เมื่อเต๋าเคลื่อนขยับ จะเกิดสิ่งตรงข้าม
ผู้จะใช้เต๋าให้เป็นประโยชน์ต้องใช้วิธีอ่อนแรง ( หมายถึง เต๋าไม่ใช้ความรุนแรงข่มขี่คนอื่น )
คนมีระดับ เมื่อได้ยินหลักการแห่งเต๋า พวกเขาจะพยายามปฏิบัติตามบุคคลระดับกลาง เมื่อได้ยินหลักการแห่งเต๋าจะจำได้ครึ่งๆ กลางๆ บุคคลไม่มีระดับ ได้ยินหลักการแห่งเต๋า จะหัวเราะเยาะ
คนที่ทอดสะพานไปหาคนอื่นโดยที่คนอื่นไม่เต็มใจ คนนั้นไม่ตายดี
( หมายถึง ผู้คนไม่ต้องการให้ใครเข้าไปเจ้ากี้เจ้าการในเรื่องส่วนตัว หากคนอื่นยังเข้าไปยุ่งเท่ากับหาเรื่องใส่ตัว )
การสอนโดยไม่ใช้ถ้อยคำ คือ การสอนโดยหลักการเปิดโอกาสให้แต่ไม่แทรกแซง ( บ่ออุ๊ย ) ทั่วแผ่นดินนี้ คนที่รู้จักหลักกการนี้มีไม่มาก
รู้จักพอไม่อัปยศ รู้จักหยุดไม่ประสบภัย ( หมายถึง คนที่มีความอยากมักถูกคนอื่นดูหมิ่น คนที่อยากไม่เลิกมักเคราะห์ร้าย )
คนที่ยิ่งโต้แย้ง ดูเหมือนยิ่งพูดติดอ่าง ...ใจที่สงบและใจที่ผองใสคือสิ่งที่ถูกต้อง
ความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่เกิดจากการยั่วยวนจากสิ่งที่น่ารัก
ภัยพิบัติใหญ่หลวงเกิดจากความไม่รู้จักพอ
จุดเริ่มต้นของความผิดพลาดเกิดจากความอยาก
ไม่ออกจากบ้านก็สามารถรู้เรื่องราวทั่วแผ่นดิน
ไม่ออกเดินทางก็สามารถรู้คำนิยามของเรื่องต่างๆ
ไม่เข้าแทรกแซงก็สามารถสำเร็จได้
( หมายถึง ความมีใจละเอียด เห็นเม็ดทรายเม็ดเดียวหยั่งรู้โลกกว้างใหญ่ )
ใช้ตัวตนดูตัวตน ใช้ครอยครัวดูครอบครัว ใช้หมู่บ้านดูหมู่บ้าน
ใช้ประเทศดูประเทศ
สิ่งที่เจริญเต็มที่จะเริ่มแก่ชรา วิถีแห่งเต๋าไม่ประสงค์ให้เกิดความแก่ สิ่งที่เดินผิดทางอยู่ได้ไม่นาน
( หมายถึง เหลาจื้อเสนอแนวคิดให้ทำตนเหมือนทารก คือ อย่าอวดรู้ อย่าเจตนาร้าย บรรลุเป้าหมายโดยไม่พูดมาก สรุปว่า แกล้งโง่จะมีอุปสรรคน้อยกว่า )
ผู้รู้ไม่พูด ผู้พูดไม่รู้
เมื่ออยู่กับฝุ่น จงทำตัวให้เหมือนฝุ่น
ปกครองอย่างตรงไปตรงมา ทำสงครามโดยหลอกล่อข้าศึก
( หมายถึง กับพวกเดียวกันต้องจริงใจ กับศัตรูต้องหลอกให้เข็ด )
ไม่เข้าแทรกแซงเรื่องของราษฎร แต่เปิดโอกาสให้ราษฎรปรับตัว ราษฎรจะปรับตัวดีเอง
ข้าพอใจอยู่อย่างเงียบสงบ ราษฎรจะปรับตัวเป็นคนดี
ข้าดำรงตนโดยปราษจากความอยากใดๆ ราษฎรจะปรับตัวอยู่อย่างเรียบง่าย
ในความโชคร้ายมีความโชคดีแฝงอยู่ ในความโชคดีมีโชคร้ายซุ่มซ่อน
ผู้สะสมการสร้างคุณความดี ไม่มีใครโค่นได้
ผู้รับปากง่ายเชื่อไม่ได้ ...เจอแต่คนมักง่าย จะพบอุปสรรคมากมาย
...จอมปราชญ์ทำงานโดยถือว่าเป็นเรื่องยากก่อน ฉะนั้น
จึงจะสำเร็จอย่างง่ายดาย
ลงมือก่อนเรื่องจะเกิด กำจัดความวุ่นวายก่อนความวุ่นวายจะเกิด
แม่น้ำและทะเลสามารถเป็นราชาแห่งหุบเขา เพราะแม่น้ำและทะเลสามารถดำรงตนอยู่ต่ำกว่า
ข้ามีคุณสมบัติวิเศษ 3 ประการคือ 1. เป็นคนใจดี 2.ประหยัด 3.ไม่กล้าล้ำหน้าคนทั่วแผ่นดิน
ผู้ถนัดวิถีแห่งชายชาติทหาร ไม่ใช้กำลังทำร้ายคนอื่น ...ผู้ชำนาญการรบไม่โกรธ ผู้ชำนาญการเอาชนะไม่แย่งชิง ...ผู้ชำนาญการใช้คนสามารถลดระดับตนเองให้ต่ำกว่า
วิธีกองทัพมีคำกล่าวว่า ...ข้ามิกล้าเป็นฝ่ายเริ่มก่อน ขอเป็นฝ่ายเริ่มทีหลังขอเป็นผู้เฝ้าดู ไม่กล้าบุกแม้ 1 นิ้ว แต่ขอเป็นฝ่ายถอย 1 ฟุต ไม่มีภัยใดจะใหญ่เท่าดูแคลนศัตรู
ถ้อยคำของข้าเข้าใจง่าย และปฏิบัติตามได้ง่ายดาย แต่คนทั่วแผ่นดินกลับไม่เข้าใจข้า และสามารถทำตามถ้อยคำที่ข้ากล่าวถึง ...ผู้รู้ใจข้า มีไม่มาก
ราษฎรอดอยากเพราะทางการเก็บภาษีหนัก ...ราษฎรปกครองยากเพราะทางการไปเจ้ากี้เจ้าการกับชีวิตของราษฎรมากเกินไป
ผู็ใช้ความแข็งกร้าวและความแข็งแกร่งจะต้องตาย ส่วนผู้ใช้ความอ่อนหยุ่นและความอ่อนแรงจะรอด
วิถีแห่งธรรมชาติ ลดทอนสิ่งที่มากเพื่อให้สิ่งที่ขาดแคลน
วิถีแห่งมนุษย์กลับเพิ่มให้สิ่งที่มาก และลดทอนสิ่งที่มีน้อยอยู่แล้ว
( หมายถึง ธรรมชาติไม่ลำเอียง แต่ใจคนล้วนเห็นแก่ตัว )
ทั่วแผ่นดินไม่มีสิ่งใดอ่อนหยุ่นกว่าน้ำ แต่จะโจมตีสิ่งที่แข็งแกร่ง ไม่มีสิ่งใดดีกว่าใช้น้ำ
ถ้อยคำที่ไม่ไพเราะมักเชื่อถือได้ ถ้อยคำที่ไพเราะมักเชื่อไม่ได้
คนดีไม่โต้แย้ง คนโต้แย้งมักไม่ดี
ผู้รู้ไม่รู้มาก ผู้รู้มากรู้ไม่จริง
จอมปราชญ์ไม่สะสมเพื่อตนเอง ยิ่งให้คนอื่นตนยิ่งมีมาก
วิถีแห่งสวรรค์ให้คุณโดยไม่ทำร้าย
วิถีแห่งจอมปราชญ์ ลงมือแต่ไม่แย่งชิง
จงย้อนกลับสู่สภาพที่ยังไม่เคยมีมาก่อน
สงบเงียบก่อนแล้วทุกอย่างจะค่อยๆ ใส
ความสงบเงียบจะมั่นคงยั่งยืน
ยามใดที่ขยับจะเกิดบางสิ่งขึ้น
ไม่ควรมีความอยากท่วมล้น
ความว่างที่สุดคือรักษาความสงบ ผู้รู้คือผู้รู้จักผ่อนปรน ส่วนผู้ที่ไม่รู้มักเหี้ยมโหดส่งเดช
เมื่องานสำเร็จ ราษฎรจะกล่าวว่า ข้าทำตามวิถีธรรมชาติ
เมื่อเต๋าเสื่อม จะเกิดเหยินอี้ ( ยิ้งหงี ) ขึ้นแทน และเมื่อเกิดสติปัญญา ผู้คนเริ่มหลอกลวงกัน ครอบครัวไม่ปรองดอง จึงเกิดคำสอนให้กตัญญู ยามที่บ้านเมืองวุ่นวายจะเกิดตงฉิน
เมื่อจอมปราชญ์เลิกใช้สติปัญญาโดยไม่เข้าไปแทรกแซงเรื่องของราษฎร ราษฎรจะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น 100 เท่า ส่วนคนรักคนเลิกเข้าแทรกแซงเรื่องของคนอื่นและเลิกแสวงหาผลประโยชน์แล้วพวกโจรจะเลิกเป็นโจร จงอยู่อย่างเรียบง่าย เห็นแก่ตัวน้อยที่สุด มีความอยากน้อยที่สุด
สุดยอดวิชาคือไร้วิตก... ผู้คนรื่นเริงใจ มีข้าเพียงผู้เดียวโดดเดี่ยวเดียวดาย ราวกับทารกแรกเกิด ผู้คนฉลาดแจ่มใส มีข้าเพียงคนเดียวดูเหมือนมึนงง... มีข้าเพียงคนเดียวไม่เหมือนใคร
มีเพียงไม่แย่งชิง จึงไม่มีผู้ใดสามารถเป็นคู่แย่งชิง... รู้จักใช้ทางอ้อมจะไม่เสียหาย
คนพูดน้อยใกล้กับวิถีธรรมชาติ
...พายุฝนไม่กระหน่ำทั้งวันคืน
...หากไม่รักษาคำสัญญาคนอื่นไม่เชื่อใจ
มนุษย์ต้องปฏิบัติตามกฏแห่งแผ่นดิน
แผ่นดินปฏิบัติตามกฏแห่งท้องฟ้า
ท้องฟ้าปฏิบัติตามกฏแห่งเต๋า
เต๋าปฏิบัติตามกฏธรรมชาติ
ความหนักเป็นรากของความเบา
ผู้สงบเป็นนายของคนใจร้อน
คนดีเป็นครูของคนไม่ดี คนไม่ดีเป็นบทเรียนของคนดี
ผู้ไม่เห็นคุณค่าของครู และไม่เห็นคุณค่าของบทเรียน
แม้จะมีสติปัญญาหลักแหลมก็หลงผิดได้
หลังจากสงคราม ติดตามด้วยปีแห่งความโชคร้าย ฉะนั้น ผู้ชำนาญมุ่งที่ความสำเร็จแต่มิกล้าใช้ความรุนแรงทำร้ายคนอื่น
กองทัพมีไว้เพื่อทำสงคราม แต่มิใช่เครื่องมือของสุภาพชน การทำสงครามจะทำเมื่อจำเป็นเท่านั้น
รู้จักหยุด ไม่ประสบภัย
ผู้เข้าใจคนอื่นคือผู้มีปัญญาดี ผู้เข้าใจตนเองเป็นผู้กระจ่าง
ผู้ชนะคนอื่นคือผู้มีกำลัง ผู้ชนะตนเองคือผู้แข็งแกร่ง
ผู้รู้จักพอคือผู้ร่ำรวย ผู้ดำเนินการอย่างเข้มแข็งคือผู้มีใจมุ่งก้าวหน้าไป
ผู้อยู่ในสถานที่เหมาะสมกับตนจะอยู่ได้นาน
ผู้ที่ตายไปแล้วแต่ชื่อเสียงยังอยู่คือผู้อายุยืน
จงดำรงตนเป็นผู้ปราศจากความอยาก
สามารถเป็นคนเล็กๆ ได้ ( หมายถึง ลดระดับตนเองให้ต่ำกว่าคนอื่นได้ ) แล้วผู้คนจะมุ่งสวามิภักดิ์ ส่วนตนก็ไม่ถือว่าตนเป็นเจ้านาย ฉะนั้น จึงยิ่งใหญ่ได้ จอมปราชญ์ไม่วางตัวเป็นผู้ยิ่งใหญ่กลับบรรลุความเป็นผู้ยิ่งใหญ่
เมื่อจะทำให้อ่อน จงทำให้แข็งก่อน ( หมายถึง ความแข็งในระดับที่คนอื่นไม่สามารถรักษาได้นาน )
หากเจ้าผู้ครองนครสามารถรักษาความเงียบสงบ ( แต่เปิดโอกาสให้คนอื่นมีทางปรับตัว ) สรรพสิ่งจะปรับตัวเองโดยผู้ปกครองไม่ต้องเข้าไปเจ้ากี้เจ้าการ
ลูกผู้ชายอาศัยอยู่ในส่วนหนา ไม่อาศัยอยู่ในส่วนบาง
อาศัยอยู่ในสภาพที่เป็นจริง ไม่อาศัยอยู่ในความรุ่งเรืองที่ไม่ยั่งยืน
( หมายถึง สิ่งใดที่สามารถดำรงอยู่นาน จะไม่ทำเรื่องนั้น )
เมื่อเต๋าเคลื่อนขยับ จะเกิดสิ่งตรงข้าม
ผู้จะใช้เต๋าให้เป็นประโยชน์ต้องใช้วิธีอ่อนแรง ( หมายถึง เต๋าไม่ใช้ความรุนแรงข่มขี่คนอื่น )
คนมีระดับ เมื่อได้ยินหลักการแห่งเต๋า พวกเขาจะพยายามปฏิบัติตามบุคคลระดับกลาง เมื่อได้ยินหลักการแห่งเต๋าจะจำได้ครึ่งๆ กลางๆ บุคคลไม่มีระดับ ได้ยินหลักการแห่งเต๋า จะหัวเราะเยาะ
คนที่ทอดสะพานไปหาคนอื่นโดยที่คนอื่นไม่เต็มใจ คนนั้นไม่ตายดี
( หมายถึง ผู้คนไม่ต้องการให้ใครเข้าไปเจ้ากี้เจ้าการในเรื่องส่วนตัว หากคนอื่นยังเข้าไปยุ่งเท่ากับหาเรื่องใส่ตัว )
การสอนโดยไม่ใช้ถ้อยคำ คือ การสอนโดยหลักการเปิดโอกาสให้แต่ไม่แทรกแซง ( บ่ออุ๊ย ) ทั่วแผ่นดินนี้ คนที่รู้จักหลักกการนี้มีไม่มาก
รู้จักพอไม่อัปยศ รู้จักหยุดไม่ประสบภัย ( หมายถึง คนที่มีความอยากมักถูกคนอื่นดูหมิ่น คนที่อยากไม่เลิกมักเคราะห์ร้าย )
คนที่ยิ่งโต้แย้ง ดูเหมือนยิ่งพูดติดอ่าง ...ใจที่สงบและใจที่ผองใสคือสิ่งที่ถูกต้อง
ความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่เกิดจากการยั่วยวนจากสิ่งที่น่ารัก
ภัยพิบัติใหญ่หลวงเกิดจากความไม่รู้จักพอ
จุดเริ่มต้นของความผิดพลาดเกิดจากความอยาก
ไม่ออกจากบ้านก็สามารถรู้เรื่องราวทั่วแผ่นดิน
ไม่ออกเดินทางก็สามารถรู้คำนิยามของเรื่องต่างๆ
ไม่เข้าแทรกแซงก็สามารถสำเร็จได้
( หมายถึง ความมีใจละเอียด เห็นเม็ดทรายเม็ดเดียวหยั่งรู้โลกกว้างใหญ่ )
ใช้ตัวตนดูตัวตน ใช้ครอยครัวดูครอบครัว ใช้หมู่บ้านดูหมู่บ้าน
ใช้ประเทศดูประเทศ
สิ่งที่เจริญเต็มที่จะเริ่มแก่ชรา วิถีแห่งเต๋าไม่ประสงค์ให้เกิดความแก่ สิ่งที่เดินผิดทางอยู่ได้ไม่นาน
( หมายถึง เหลาจื้อเสนอแนวคิดให้ทำตนเหมือนทารก คือ อย่าอวดรู้ อย่าเจตนาร้าย บรรลุเป้าหมายโดยไม่พูดมาก สรุปว่า แกล้งโง่จะมีอุปสรรคน้อยกว่า )
ผู้รู้ไม่พูด ผู้พูดไม่รู้
เมื่ออยู่กับฝุ่น จงทำตัวให้เหมือนฝุ่น
ปกครองอย่างตรงไปตรงมา ทำสงครามโดยหลอกล่อข้าศึก
( หมายถึง กับพวกเดียวกันต้องจริงใจ กับศัตรูต้องหลอกให้เข็ด )
ไม่เข้าแทรกแซงเรื่องของราษฎร แต่เปิดโอกาสให้ราษฎรปรับตัว ราษฎรจะปรับตัวดีเอง
ข้าพอใจอยู่อย่างเงียบสงบ ราษฎรจะปรับตัวเป็นคนดี
ข้าดำรงตนโดยปราษจากความอยากใดๆ ราษฎรจะปรับตัวอยู่อย่างเรียบง่าย
ในความโชคร้ายมีความโชคดีแฝงอยู่ ในความโชคดีมีโชคร้ายซุ่มซ่อน
ผู้สะสมการสร้างคุณความดี ไม่มีใครโค่นได้
ผู้รับปากง่ายเชื่อไม่ได้ ...เจอแต่คนมักง่าย จะพบอุปสรรคมากมาย
...จอมปราชญ์ทำงานโดยถือว่าเป็นเรื่องยากก่อน ฉะนั้น
จึงจะสำเร็จอย่างง่ายดาย
ลงมือก่อนเรื่องจะเกิด กำจัดความวุ่นวายก่อนความวุ่นวายจะเกิด
แม่น้ำและทะเลสามารถเป็นราชาแห่งหุบเขา เพราะแม่น้ำและทะเลสามารถดำรงตนอยู่ต่ำกว่า
ข้ามีคุณสมบัติวิเศษ 3 ประการคือ 1. เป็นคนใจดี 2.ประหยัด 3.ไม่กล้าล้ำหน้าคนทั่วแผ่นดิน
ผู้ถนัดวิถีแห่งชายชาติทหาร ไม่ใช้กำลังทำร้ายคนอื่น ...ผู้ชำนาญการรบไม่โกรธ ผู้ชำนาญการเอาชนะไม่แย่งชิง ...ผู้ชำนาญการใช้คนสามารถลดระดับตนเองให้ต่ำกว่า
วิธีกองทัพมีคำกล่าวว่า ...ข้ามิกล้าเป็นฝ่ายเริ่มก่อน ขอเป็นฝ่ายเริ่มทีหลังขอเป็นผู้เฝ้าดู ไม่กล้าบุกแม้ 1 นิ้ว แต่ขอเป็นฝ่ายถอย 1 ฟุต ไม่มีภัยใดจะใหญ่เท่าดูแคลนศัตรู
ถ้อยคำของข้าเข้าใจง่าย และปฏิบัติตามได้ง่ายดาย แต่คนทั่วแผ่นดินกลับไม่เข้าใจข้า และสามารถทำตามถ้อยคำที่ข้ากล่าวถึง ...ผู้รู้ใจข้า มีไม่มาก
ราษฎรอดอยากเพราะทางการเก็บภาษีหนัก ...ราษฎรปกครองยากเพราะทางการไปเจ้ากี้เจ้าการกับชีวิตของราษฎรมากเกินไป
ผู็ใช้ความแข็งกร้าวและความแข็งแกร่งจะต้องตาย ส่วนผู้ใช้ความอ่อนหยุ่นและความอ่อนแรงจะรอด
วิถีแห่งธรรมชาติ ลดทอนสิ่งที่มากเพื่อให้สิ่งที่ขาดแคลน
วิถีแห่งมนุษย์กลับเพิ่มให้สิ่งที่มาก และลดทอนสิ่งที่มีน้อยอยู่แล้ว
( หมายถึง ธรรมชาติไม่ลำเอียง แต่ใจคนล้วนเห็นแก่ตัว )
ทั่วแผ่นดินไม่มีสิ่งใดอ่อนหยุ่นกว่าน้ำ แต่จะโจมตีสิ่งที่แข็งแกร่ง ไม่มีสิ่งใดดีกว่าใช้น้ำ
ถ้อยคำที่ไม่ไพเราะมักเชื่อถือได้ ถ้อยคำที่ไพเราะมักเชื่อไม่ได้
คนดีไม่โต้แย้ง คนโต้แย้งมักไม่ดี
ผู้รู้ไม่รู้มาก ผู้รู้มากรู้ไม่จริง
จอมปราชญ์ไม่สะสมเพื่อตนเอง ยิ่งให้คนอื่นตนยิ่งมีมาก
วิถีแห่งสวรรค์ให้คุณโดยไม่ทำร้าย
วิถีแห่งจอมปราชญ์ ลงมือแต่ไม่แย่งชิง
By ป.แผนสำเร็จ ( ปรัชญาการดำรงตนของจอมปราชญ์ : สรรนิพนธ์จอมปราชญ์ )
No comments:
Post a Comment