Wednesday, October 31, 2012

กำเนิดของลัทธิมาร์กซ

ทฤษฎีปฏิวัติในการเรียนรู้โลก
และเปลี่ยนแปลงโลกของชนชั้นกรรมาชีพ
กำเนิดลัทธิมาร์กซ

          ในทษวรรษที่ 1840 ได้มีเหตุการณ์ใหญ่ที่แบ่งยุคเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ นั่นคือการกำเนิดของลัทธิมาร์กซ

           ลัทธิมาร์กซเป็นลัทธิทางวิทยาศาสตร์แห่งการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ ทฤษฎีนี้ได้อรรถาธิบายถึงกฏแห่งการพัฒนาของธรรมชาติและสังคม ได้ชี้หนทางอันถูกต้องในการแสวงหาอิสรภาพให้แก่ชนชั้นกรรมาชีพและประชาชนที่ถูกกดขี่ทั้งปวง และชี้นำพวกเขาไปบรรลุความสำเร็จแห่งลัทธิสังคมนิยม - ลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างมีชัย ดังนั้นทฤษฎีนี้จึงมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า สังคมนิยมที่เป็นวิทยาศาสตร์ 
   

Tuesday, October 30, 2012

Mujjhenadhamma Dhesana

Mujjhenadhamma Dhesana
The Middle Teaching

           The Buddhist doctrine comprises 2 sections; Mujjhenadhamma Dhesana and Mujjhima Patipada. Mujjhenadhamma means the Middle Teaching. Mujjhima Patipada means the midle Practice, the moderate Way of Life, which is considered to be the Buddhist ethic.

            The Middle Teaching is said to be the Right view. This Right View is a vary balanced kind of view, which does not tend to extremes. For example, the principle of Dependent Origination is the most important and unique teaching which demonstrates the truth in a median and unbiased way, know as the Buddha's Middle Teaching. The " median - ness " of this truth is more clearly understood when it is compared with other teachings. In order to show how the principle of Dependent Origination differs from the extreme view, Phra Dhammapitaka presents these following thoughts or theories that are considered as extreme or wrong views according to the Buddha's teachings.

พุทธธรรมภาคทฤษฎี

พุทธธรรมภาคทฤษฎี
มัชเฌนธรรมเทศนา - ธรรมที่เป็นกลาง

          หลักธรรมในทางพุทธศาสนา ประกอบด้วยสองส่วน คือ มัชเฌนธรรมเทศนา กับ มัชฌิมาปฏิปทา มัชเฌนธรรมเทศนา เป็น หลักความจริงทางธรรมชาติ หรือ ธรรมที่เป็นกลาง กล่าวถึงเรื่องของชีวิต เช่น ขันธ์ 5 ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ กฏแห่งกรรม ส่วนมัชฌิมาปฏิปทา หมายถึง ข้อปฏิบัติที่เป็นกลางตามกฏธรรมชาติ หรือ ทางสายกลางตามแนวทางแห่งอริยมรรค

           มัชเฌนธรรมเทศนาหรือธรรมที่เป็นกลางเป็นหลักคำสอนเกี่ยวกับสัมมาทิฏฐิ คำว่า สัมมาทิฏฐิ ในทางพุทธศาสนาหมายถึงทฤษฎีความเชื่อที่เป็นกลางๆ โดยไม่เอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่งระหว่างทฤษฎีความเชื่อที่คนทั่วไปได้รับการสอนมาจากศาสนาหรือปรัชญาอื่น ดังเช่นคำสอนในเรื่องปฏิจจสมุปบาท ซึ่งพุทธศาสนาถือว่าเป็นคำสอนหลักที่มีความสำคัญที่อธิบายความเป็นจริงแห่งธรรมชาติอย่างเป็นกลางๆ โดยไม่เอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่งตามแนวความเชื่อต่างๆ ซึ่งท่านพระธรรมปิฎกได้จัดไว้เป็นคู่ๆ เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจว่า ทฤษฎีความเชื่อสุดโต่งที่พุทธศาสนาถือว่าเป็นมิจฉาทิฏฐินั้นมีดังต่อไปนี้

On the Treasure House of Knowledge


On the Treasure House of Knowledge


Ordinary people indulge in five 
desire and six sense; practitioners
look for Dhamma joy in meditation.
Ordinary people think of being 
virtuous and making achievement;
practitioners focus on attaining prajna.

โลกมนุษย์ได้ถือเรื่องกามคุณ 5 
และอายตนะ 6 เป็นความสุข
ผู้พ้นทุกข์ได้เข้าถึงฌานสมาบัติ เป็นความสุขที่แท้จริง
โลกมนุษย์ไดถือเรื่องสร้างบุญกุศลเป็นสำคัญ
ผู้พ้นทุกข์ได้เข้าถึงปัญญาของการรู้แจ้งเป็นสำคัญ

Ordinary people look for long life;
practitioners look for endless life in Dharma
Ordinary people are attached to superstition;
practitioners attend to compassion and non - self.

โลกมนุษย์ได้ถือเรืองการมีอายุยืนยาว
เป็นนิจนิรุนดร ผู้พ้นทุกข์ไม่ยึดเรื่องการมีอายุยืนยาวเข้าสู่สภาวะสงบ
โลกมนุษย์ได้ถือเรื่องการลุ่มหลงในตัวตนของตนเป็นเรื่องจริง
ผู้พ้นทุกข์ได้มีเมตตากรุณาไร้ซึ่งการยึดถือ ตัวตน ของตน เป็นสัจจะ

สอนเด็กใช้ชีวิต

อยู่อย่างมีความสุข

          วันหนึ่ง ในขณะที่ท่านอู๋เต๋อทำงานง่วนอยู่ในลานวัด ก็มีญาติโยม 3 คนเดินเข้ามาคาราวะท่าน แล้วถามว่า " อาจารย์ พวกเรามีปัญหาอยากจะขอคำชี้แนะจากท่าน พวกเรานับถือศาสนาพุทธมาหลายปีแล้ว แต่ทำไมจิตใจยังไม่มีความสุขสักที "

           ท่านอู๋เต๋อวางจอบลง กล่าวว่า " อยากมีความสุข มันไม่ยากดอก แต่พวกท่านต้องตอบอาตมาก่อนว่า คนเรามีชีวิตอยู่เพื่ออะไร "

           ญาติโยมสามคนนั้นมองหน้ากันเลิ่กลั่ก

           ครู่ใหญ่ๆ ต่อมา นาย ก.จึงตอบว่า " ที่มีชีวิตอยู่ ก็เพราะไม่อยากตาย "

           นาย ข. ตอบว่า " ที่กระผมทำงานหนักในทุกวันนี้ ก็เพราะหวังไว้ว่า เมื่อแก่ตัวลง จะได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากับหลาน ไม่ต้องห่วงเรื่องกินเรื่องอยู่ สามารถใช้ชีวิตสบายๆ ไปจนตาย "

Monday, October 29, 2012

The Buddha's Core Teachings

The Buddha's Core Teachings

           The core teachings of Buddhism are actually relevant to all social and individual problems because they deal directly with the concept of suffering and the means of eliminating it, despite different cultural interpretations of Buddhism in different Buddhist countries. For example, the Mahayana in the Far East places the emphasis on compassion, while the Theravada in Southeast Asia stresses purity of mind meditation. Some Mahayana Buddhist and even followers of the Theravada sect, such as S. Sivaraksa have criticized the Theravada teaching of the Buddhism as a spiritual refuge with emphasis on a simply closed - eye meditation as being just another form of selfishness.

            Whatever deal is being criticized, the main Buddha's core teaching in both sects remain the same as follows:

             1. In order to solve the problems, especially the eradication of suffering, one must first identify the problems or type of suffering, then it cause - namely human greed, selfishness, anger and delusion and use peaceful means to overcomes these problems.

             2. The understanding that, all living being are one and the same. We must all be subject to impermanence, suffering and not - self. These experiences will a sense of compassion, tolerance and respect towards other living beings and towards nature as a whole.

แก่นคำสอนในพุทธศาสนา

แก่นคำสอนในพุทธศาสนา

          แก่นคำสอนในพุทธศาสนา เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาให้กับสังคมและปัจเจกบุคคลโดยเฉพาะเกี่ยวกับทุกข์ สาเหตุแห่งทุกข์และแนวทางในการดับทุกข์ ถึงแม้จะมีความหมายแตกต่างกันบ้างในแนวคิดการนำเสนอคำสอนระหว่างสองนิกาย เช่น ชาวมหายานในประเทศเอเชียตะวันออกที่เน้นในเรื่อง ความรัก ความเมตตา กรุณา กับชาวเถรวาทในประเทศทางแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เน้นในเรื่องการทำจิตให้บริสุทธิ์ด้วยการบำเพ็ญภาวนา ซึ่งชาวมหายานบางส่วนหรือแม้แต่ชาวพุทธเถรวาทเช่น อาจารย์ ส.ศิวรักษ์ เคยวิจารณ์แนวการสอนตามแบบเถรวาทด้วยการเน้นในเรื่องนี้ไว้ว่า " การสอนให้คนเอาแต่นั่งหลับตาสมาธิภาวนาเพื่อจะให้จิตหลุดพ้นนั้น ก็คือรูปแบบหนึ่งของการแสดงความเห็นแก่ตัว "

           อย่างไรก็ตาม หากเรามาพิจารณาแก่นคำสอนหลักในทางพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นนิกายมหายานหรือเถรวาทก็ตาม จะมีลักษณะคล้ายกันดังนี้

            1. สอนให้รู้จักแก้ปัญหา โดยเฉพาะเกี่ยวกับการดับทุกข์โดยการวิเคราะห์แยกแยะปัญหา คือความทุกข์ และเข้าใจถึงสาเหตุแห่งทุกข์ ว่าเกิดจากความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความโกรธ และ ความหลง ที่ฝังอยู่ภายในตัวมนุษย์ และหาทางแก้ปัญหาโดยการดับทุกข์นั้นด้วยวิถีทางแห่งความสงบสันติ

            2. สอนให้เราทำความเข้าใจเกี่ยวกับสัจธรรมที่ว่า สรรพสัตว์ทั้งหลายย่อมตกอยู่ใต้สภาวะเดียวกัน นั่นคือความเป็น อนิจจัง ทุกขังอนัตตา ดังนั้นมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายควรจะได้ช่วยกันถักทอความรักความเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน อดทนอดกลั้น และให้ความยอมรับนับถือต่อกันและต่อหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลายรวมทั้งต่อธรรมชาติด้วย

ขงจื้อ

ขงจื้อ

         เป็นคนสมัยชุนชิว ( 551 - 479 ก่อน ค.ศ.) ขงจื้อใฝ่ศึกษามาตั้งแต่เด็ก ในวัยเยาว์ ท่านถือเอาการศึกษาหาความรู้เป็นเป้าหมายหลักของชีวิต เมื่ออายุ 35 ปี เกิดกบฏหลี่ซื่อที่แคว้นหลู่ บ้านเกิดของท่าน ท่านจึงไปอยู่แคว้นฉี แต่เห็นว่าไม่มีอนาคต จึงเดินทางกลับแคว้นหลู่ หลู่ติ้งกงตั้งให้เป็นขุนนางปกครองบ้านเมืองได้ 3 เดือน แคว้นหลู่ก็พัฒนาไปมาก แต่ชนชั้นสูงที่มีอำนาจในแคว้นหลู่ไม่พอใจขงจื้อ ในที่สุด ขงจื้อก็ต้องระเห็จจากแคว้นหลู่ไปแคว้นเว่ยเมื่ออายุได้ 55 ปี อยู่แคว้นเว่ย 5 ปี ก็มีอันต้องย้ายถิ่นฐานไปอยู่แคว้นซ่งอีก อยู่แคว้นซ่งได้ไม่นานก็ถูกกลั่นแกล้งจนต้องย้ายไปอยู่แคว้นเฉิน นับเป็นเวลา 14 ปีกับบทบาทนักการเมืองซึ่งขงจื้อถูกบีบคั้นจนกระทั่งจนตรอก ไม่มีที่ซุกหัวนอน ในที่สุดก็กลับมาตายที่แคว้นหลู่

" คำ " ที่ป้าและแม่สอน


อยู่ให้เหมือนลิ้นงูในปากงู

นั่นลูกตามองเห็นไม่เป็นหมัน
เขาใช้มันเล็งแลแก้ปัญหา
อยู่ในโลกอย่างไรไม่ทรมาน์
พิจารณาตรองไปให้จงดี

อยู่ให้เหมือนลิ้นงูในปากงู
ไม่เคยถูกเขี้ยวงูอยู่สุขศรี
อยู่ในโลกไม่เคยถูกเขี้ยวโลกีย์
เป็นเช่นนี้อุปมาอย่าฟั่นเฟือน

คิดดูได้นั่งได้ในปากงู
ไม่เคยถูกเขี้ยวงูอยู่เสมือน
นั่งในห้องแสนสบายภายในเรือน
มีเค้าเงื่อนเหมือนพระภควันต์

อยู่ในโลกไม่กระทบโลกธรรม
อยู่เหนือกรรมเหนือทุกข์เป็นสุขสันต์
ใครมีตารีบเคารพนอบนบพลัน
รีบพากันทำตามยามนี้เอย ฯ

เพราะไม่มีเวลา

ไม่มีเวลาแก่

          ท่านต้าจื้อศิษย์ของท่านฝอกวงออกธุดงค์เป็นเวลา 20 ปี เมื่อกลับมาถึงวัด เขาทักทายท่านฝอกวงว่า " อาจารย์ ไม่ได้พบกันเสียหลายปี ท่านสบายดีหรือไม่ "

          " สบายดี เทศนาสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหา แต่งหนังสือ เขียนบทสวดมนต์ แหวกว่ายอยู่ในทะเลธรรมทุกวัน ข้าทำงานหนักอย่างมีความสุขทุกวัน " ท่านฝอกวงปรารภอย่างพึงพอใจ

          " อาจารย์ ท่านต้องสนใจการพักผ่อนบ้างนะ " ท่านต้าจื้อกล่าวด้วยความห่วงใย

          ขณะนั้นดึกมากแล้ว ท่านฝอกวงจึงบอกท่านต้าจื้อว่า " ถ้าเช่นนั้นท่านก็จงพักผ่อนเถิดนะ มีอะไรค่อยคุยกันวันหลัง " 

          วันรุ่งขึ้นท่านต้าจื้อหลับอุตุอยู่ ก็ได้ยินท่านฝอกวงสวดมนต์ดังงึมงำ และวันนั้นทั้งวัน ท่านฝอกวงก็นั่งพูดคุย เทศนาสั่งสอนเหล่าลูกศิษย์ลูกหา ไม่มีเวลาว่างแม้แต่นาทีเดียว

Sunday, October 28, 2012

ร้ายกว่าเสือ

นักการเมืองร้ายกว่าเสือ

          วันหนึ่ง ขงจื้อกับศิษย์กำลังจะเดินข้ามเขาไท่ซัน พลันได้ยินเสียงผู้หญิงร้องโหยหวนอยู่ข้างหลุมศพ ขงจื้อจึงให้จื่อลู่ไปสอบถามสาเหตุ

           จื่อลู่ถามหญิงคนนั้นว่า " ท่านร้องไห้คร่ำครวญอย่างหนัก คล้ายกับมีความทุกข์ระทมสุดประมาณ "

           หญิงนั้นตอบว่า " แต่ก่อน พ่อสามีข้าถูกเสือกิน ต่อมา สามีข้าก็ตาย เพราะเสืออีก เวลานี้ ลูกข้าก็ตายด้วยสาเหตุเดียวกัน "

           ขงจื้อถามว่า " แล้วใยไม่ย้ายไปอยู่เสียที่อื่นเล่า ? "

           หญิงนั้นตอบว่า " ที่นี่ไม่มีอำนาจรัฐที่โหดเหี้ยมอำมหิต "

The Buddha's Style of Teaching

The Buddha's Style of Teaching

          Buddhism evolved and developed around the teachings of the Buddha. It prospered and spread through the great personality of the founder himself, and he was assisted by a large and fast growing community of noble disciples who drew inspiration from his example of renunciation and self - sacrifice. After his death, his disciples took upon themselves the responsibility of carrying his teaching to even farther corners of Asia.

          During his lifetime, the Blessed One gave a sermon on 2 levels. First, the mundane instruction for using the daily vocabulary in conventional truth for teaching the moral conduct in right livelihood, such as; human being, animal, parent, heaven, hell, sin, merit. Secondary, by using the supra mundane terms, to describe the ultimate truth in the highly doctrine, such as, matter and mind, feeling, perception, volitional activities, consciousness and vitality.

ลีลาการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า

ลีลาการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า

          พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด ก็ด้วยลีลาการสอนอันเนื่องมาจากพระบุคลิกภาพอันหาที่เปรียบมิได้ขององค์พระศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ ตลอดจนในหมู่สาวกทั้งหลายที่ได้พากันเสียสละตามแบบอย่างขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แยกย้ายกันไปแสดงธรรมตามหมู่บ้านและชุมชนต่างๆ จนประชาชนเกิดความเลื่อมใสศรัทธาเปลี่ยนมานับถือและปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระองค์ได้อย่างรวดเร็วแม้ภายหลังจากที่เสด็จดับขันปรินิพพานไปแล้ว เหล่าสาวกทั้งหลายก็ได้ดำเนินการแสดงธรรมเทศนา สั่งสอนตามแบบแห่งลีลาของพระพุทธองค์ติดต่อกันตลอดมา จนพุทธศาสนาสามารถเจริญรุ่งเรืองแผ่ขยายจากดินแดนชมพูทวีปไปสู่แว่นแคว้นแดนไกลทั่วทั้งเอเชีย

           ในการแสดงพระธรรมเทศนาตลอดช่วงพุทธสมัยของพระองค์นั้น จะทรงใช้ภาษาเป็นสองระดับ คือ ระดับโลกิยะ โดยการใช้ศัพย์สำนวนโวหารในภาษาพูดสำหรับสอนความจริงที่เป็นสมมติสัจจะในระดับศีลธรรม จริยธรรม เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการดำเนินชีวิตประจำวันที่ถูกต้อง เช่น บุคคล สัตว์ บิดามารดา สวรรค์ นรก บาป บุญ ฯลฯ กับระดับโลกุตระ ที่มีลักษณะคำสอนเป็นปรมัตถสัจจะ ดังเช่นในคัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม กล่าวคือ เป็นการใช้ภาษาตามความหมายสูงสุดของสภาวะ เพื่อที่จะทำให้การยึดมั่นถือมั่นหลงผิดทั้งหลายสลายหมดสิ้นไป เช่น รูป นาม สัญญา สังขาร วิญญาณ ชีวิตอินทรีย์ เป็นต้น

Saturday, October 27, 2012

นิพนธ์พจน์ ( ว่าด้วยการปฏิวัติ )

การปฏิวัติ

          การปฏิวัติเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองโดยเริ่มจากจิตใจที่ต้องการปฏิวัติ และการปฏิวัติที่แท้จริงต้องเกิดจากการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ มิใช่เกิดจากชนชั้นนายทุน การปฏิวัติที่เกิดจากชนชั้นนายทุน ระบบการปกครองมิได้มีการเปลี่ยนแปลง เป็นเพียงการเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมือง การปฏิวัติจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อชนชั้นกรรมาชีพพร้อมใจที่จะปฏิวัติ ถือว่าเป็นประชาธิปไตยรูปแบบหนึ่งโดยการพร้อมใจของชนชั้นกรรมมาชีพจำนวนมากที่มีจิตใจที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครอง ถึงจะเรียกว่าการปฏิวัติที่แท้จริง

Friday, October 26, 2012

ทางออกประชาชน ( ตอนจบ )

แนวทางแก้ไขวิกฤติและฟื้นฟู
เศรษฐกิจสังคมได้ทั้งระบบและอย่างยั่งยืน



วิกฤติช่วงปี 2540 - 2542

          2 ปีภายหลังจากการที่รัฐบาลไทยตัดสินใจไปกู้เงินกองทุนระหว่างประเทศ ( IMF ) ที่มีเงื่อนไขบีบบังคับให้ไทยต้องเสียเปรียบทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจของภาคประชาชนไทยยังคงถดถอยคนว่างงาน ล้มละลาย ลูกหนี้ไม่มีปัญญาใช้หนี้ รายได้แท้จริงของประชาชนทั้งประเทศลดลง มีปัญหาด้านต่างๆ เพิ่มตามเป็นลูกโซ่

          ทั้งนี้ก็เพราะรัฐบาลแก้ปัญหาผิดทาง โดยใช้กรอบคิดของ IMF ซึ่งมุ่งเน้นการพึ่งพาการลงทุนและการค้าระหว่างประเทศภายใต้ระบบเศรษฐกิจโลก ที่จริงๆ แล้วแข่งขันกันอย่างไม่เป็นธรรม แบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา แต่ชอบอ้างว่าการเปิดเสรีเท่านั้นที่จะทำให้แก้ปัญหาวิกฤติได้

          รัฐบาลอ้างว่าเศรษฐกิจตกถึงจุดต่ำสุดและกำลังฟื้นตัว เพราะเงินไหลออกลดลง และต่างชาติกำลังสนใจจะมาลงทุนเพิ่ม แต่จริงแล้วเศรษฐกิจภายในประเทศยังมีปัญหามาก ปัญหาหนี้ไม่รับรู้รายได้ หรือหนี้ไม่สามารถชำระคืนยังสูงร้อยละ 50 ประชาชนตกงานกว่า 2 ล้านคน รายได้แท้จริงของประชาชน 65.4 ล้านคนลดลง คนส่วนใหญ่ไม่มีเงินจะซื้อสินค้า คนมีเงินไม่กล้าลงทุน ธนาคารก็ไม่กล้าปล่อยสินเชื่อ เศรษฐกิจยังตกต่ำยืดเยื้อ

Thursday, October 25, 2012

ยิ่งแบ่ง ยิ่งมาก

หลากรสหลายชาติ

          วันหนึ่ง ฝนตกหนัก พ่อค้าแม่ขายที่ตั้งแผงขายของอยู่หน้าวัดขายของแทบไม่ได้ จนกระทั่งบ่าย พ่อค้าขายซาลาเปาเห็นซาลาเปาเต็มซึ้งเหลือเยอะแยะแบบนี้ ขายยังไงก็ขายไม่หมด จึงจัดแจงกินซาลาเปาเสียเอง คนขายข้าวโพด เห็นข้าวโพดต้มเต็มกะลังมัง ขายยังไงก็ขายไม่หมด ก็จัดแจงกินข้าวโพดเสียเอง คนขายลูกชิ้นปิ้ง เห็นลูกชิ้นปิ้งเหลือเต็มตู้ ขายยังไงก็ไม่หมด ก็จัดแจงกินลูกชิ้นปิ้งเสียเอง คนขายไอศกรีมเห็นไอศกรีมเหลือเต็มถัง ขายยังไงก็ขายไม่หมด ก็จัดแจงกินไอศกรีมเสียเอง

           พ่อค้าทั้งสี่ กินแต่ของที่ตัวเองขาย กินไปไม่เท่าไหร่ก็เบื่อ กินต่อไม่ไหว

The Buddhism Attitude

The Buddhism Attitude

          The idea of leaving normal life behind and becoming a holy life by practising meditation can somethings seem very attractive. But it may say that taking solitary refuge is merely a sign of egocentrism. We are better off dealing gracefully with the challenges of daily work and family life. " Being in the world but of the world " as the Buddha's saying can also enlighten us.

           There are many references quoted from Buddhism literature as follows:

           " Those who see worldly life as an obstacle to Dhamma see no Dhamma in everyday actions outside of Dhamma. Those who see Dhamma, see Load Buddha

           " Better than a hundred years not seeing Dhamma is one single day of life if one sees Dhamma.

Wednesday, October 24, 2012

คุณลักษณะของชาวพุทธ

คุณลักษณะของชาวพุทธ

           ความคิดที่ว่า การหลีกพ้นจากชีวิตประจำวันโดยการหันหน้าเข้าวัดเพื่อแสวงหาความสงบด้วยการนั่งสมาธิภาวนานั้นน่าจะเป็นสิ่งที่ดี แต่แนวทางปฏิบัติของคนที่มีความคิดเช่นว่านี้เอง ถูกวิจารณ์ว่า เป็นการกระทำที่แสดงถึงความเห็นแก่ตัว เพราะที่จริงแล้วการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมีคุณธรรม ทั้งต่องานที่รับผิดชอบและต่อครอบครัว ย่อมถือได้ว่ามีความสมบูรณ์อยู่ในตัวของมันเองต่อการที่จะบรรรลุนิพพาน ดังพุทธพจน์ที่ว่า " จงอยู่ในโลกแต่อย่ายึดติดกับโลก " ซึ่งคำสอนในลักษณะเช่นนี้มักปรากฏอยู่ในหนังสือทางพุทธศาสนาหลายๆ แห่ง เช่น

            " บุคคลใดที่มองเห็นว่า การปฏิบัติธรรมเป็นอุปสรรคต่อภารกิจประจำวันนั้น ถือว่ายังไม่เข้าถึงธรรม เขาเหล่านั้นยังค้นไม่พบว่า แท้ที่จริงแล้ว ไม่มีการปฏิบัติภารกิจใดๆ ที่อยู่นอกเหนือการปฏิบัติธรรม ดังนั้น ผู้ที่มองเห็นธรรมเท่านั้นจึงจะมองเห็นพุทธองค์ " หรือ

            " ผู้มีดวงตาเห็นธรรมแม้แต่เพียงวันเดียว ย้อมดีกว่าผู้หลงติดอยู่ในธรรม แม้จะนานเป็นร้อยปี "

ทางออกประชาชน ( ตอนที่ 4 )

วิกฤติจะทำให้เกิดโอกาสใหม่ 
และแนวคิดใหม่ ได้อย่างไร



          วิกฤติที่ร้ายแรงกว่าวิกฤติเศรษฐกิจ คือ วิกฤติทางการเมืองและวิกฤติทางภูมิปัญญา

          สังคมไทยกำลังเผชิญวิกฤติที่ร้ายแรงมากกว่าวิกฤติการเป็นหนี้ต่างชาติ และเศรษฐกิจตกต่ำ อย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกัน เรากำลังเผชิญกับวิกฤติทางการเมืองของระบบประชาธิปไตย แบบกึ่งนายทุนกึ่งผู้อุปถัมภ์ ที่ประชาชนต้องจำใจเลือกนักการเมืองที่มีวิสัยทัศน์และคุณธรรมต่ำ ไม่แตกต่างกันมากนัก วิกฤติการทุจริตฉ้อฉลของทั้งภาครัฐและเอกชน ความเสื่อมทรามทางด้านสังคมและวัฒนธรรมรอบๆ ตัวเรา โดยที่ประชาชนทั่วๆ ไป อาจยังไม่ได้ตระหนักถึงความร้ายแรงของวิกฤติ หรือตระหนักอยู่ แต่ยังไม่เห็นทางออกที่ชัดเจน

           ทางด้านเศรษฐกิจ คนส่วนใหญ่ยังถูกครอบงำโดยแนวคิดการพัฒนาแบบพึ่งพาทุนต่างชาติ และมุ่งหากำไรแบบช่วยคนรวยก่อน ทางด้านการเมืองถูกครอบงำโดยนักการเมือง ที่มีฐานการเมืองในฐานะผู้มีอำนาจ และผู้อุปถัมภ์ประชาชน พวกเขาหาเสียงโดยการสร้างภาพพจน์ที่ดีและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันต่อวัน ทางด้านสังคมวัฒนธรรมก็ถูกครอบงำโดยความคิดค่านิยม ว่าการแก่งแย่งแข่งขันเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวระยะสั้นเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ว่าระบบแข่งขันเสรีจะทำให้ทุกคนได้ประโยชน์ในภายหลัง แต่จริงๆ แล้วเป็นการเอาเปรียบและทำลายกัน ขาดภูมิปัญญาและจิตสำนึกที่จะเข้าใจความจำเป็นของการร่วมมือกัน เพื่อประโยชน์สุขส่วนรวมในระยะยาว

Myth in Buddhism

Myth in Buddhism

           A myth is a story, which had been made up in the past to explain natural events or to justify religious belief. Not only theistic religion, out also atheistic as Buddhism has a myth.

           The Buddhism scriptures related that one day, the Buddha went out from the monastery where he was staying and walked towards a great forest. Seeing him going in that direction, various people working in their fields called out to warn him that in that forest dwelling the dread Angulimala.

            Little is known for certain about Ahimsagha but the usual account for his life has him the son of a well - to - do family and at one time a brilliant student in the school of Tisapamoke  at Taxila.

นิทานในพุทธศาสนา

นิทานในพุทธศาสนา

         นิทาน นิยาย ชาดก เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นและเล่าขานสืบต่อกันมาเพื่อสร้างและสนับสนุนความเชื่อความศรัทธาต่อปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในฐานะที่เป็นลัญลักษณ์อย่างหนึ่งของทางศาสนา ไม่เฉพาะแต่ศาสนาเทวนิยมเท่านั้นที่มีนิยาย แม้แต่พุทธศาสนาก็มีนิยายที่แต่งขึ้นหรือมีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกที่รู้จักกันดีอยู่เรื่องหนึ่งคือเรื่อง องคุลีมาล

          พระคัมภีร์กล่าวไว้ดังนี้ ในกาลครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินเข้าไปในป่าทึบ ไม่ไกลจากคันธกุฏีที่พระองค์ทรงจำพรรษาอยู่เท่าใดนัก ชาวบ้านที่กำลังทำไร่ไถนาอยู่ในละแวกนั้นมองเห็นพระองค์ทรงดำเนินไปตามทาง จึงพากันเข้าไปกราบทูลให้ทรงทราบถึงภยันตรายจากโจรองคุลีมาลที่ซ่อนตัวอยู่ในป่าแห่งนั้น

         คนส่วนใหญ่คงจะยังไม่ทราบถึงภูมิหลังขององคุลีมาลเท่าใดนัก จากหลักฐานทางพุทธศาสนา ปรากฏว่า เดิมเขาชื่อ อหิงสกะ ( แปรว่า ผู้ไม่เบียดเบียน ) เป็นบุตรของภัควพราหมณ์ผู้มีอันจะกินปุโรหิตในพระเจ้าโกศล มารดาชื่อนางมันตานีพราหมณี อหิงสกะเป็นผู้เฉลียวฉลาด บิดาส่งให้ไปศึกษาศิลปศาสตร์ในสำนักพระอาจารย์ทิศาปาโมกข์แห่งเมืองตักสิลาซึ่งในสมัยนั้นถือว่าเป็นแหล่งการศึกษาชั้นสูง

Tuesday, October 23, 2012

ทางออกประชาชน ( ตอนที่ 3 )


ประชาชนไทยมีทางเลือกอื่น 
แต่จะต้องกล้าเดินด้วยตัวเอง



ทำไมประชาชนต้องร่วมกันสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ?

          เพราะแนวคิดของชนชั้นนำไทยในการพัฒนาประเทศแบบเชื่อฟังประเทศมหาอำนาจตะวันตก โดยไม่รู้จักคิดแนวการพัฒนาอย่างเป็นตัวของตัวเอง คือสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดวิกฤติทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม มาแล้ว การที่ชนชั้นนำยังคิดแก้ปัญหาโดยใช้กรอบแนวคิดเดิม คือ การหวังกู้เงินเพิ่มมากขึ้น ขายรัฐวิสาหกิจ ธนาคาร กิจการต่างๆ ให้ต่างประเทศมากขึ้น จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างฉายฉวย คือฟื้นเพียงบางส่วน ได้เพียงระยะหนึ่ง แต่การจ้างงาน การเพิ่มรายได้คนส่วนใหญ่จะไม่ฟื้น และยิ่งทำให้เศรษฐกิจไทยอยู่ภายใต้การครอบงำและเสียเปรียบต่างชาติมากยิ่งขึ้น ต่อไปประเทศไทยจะมีสภาพแบบประเทศในลาตินอเมริกาส่วนใหญ่ ที่มีคนรวยและชนชั้นกลางส่วนน้อยเท่านั้นที่รวยขึ้นหรืออยู่รอดได้ แต่คนส่วนใหญ่จะยากจนและทุกข์ยากมากขึ้น

         วิกฤติเศรษฐกิจสังคมของคนไทยส่วนใหญ่จะยืดเยื้อต่อไปอีกหลายปี และจะมีผลกระทบรุนแรงกว้างขวางมากขึ้น เพราะพรรคการเมืองใหญ่ๆ ทุกพรรคยังคงคิดแก้ไขปัญหาในกรอบของการกู้เงินต่างชาติเพิ่มขึ้น ให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน เข้ามาซื้อกิจการมากขึ้นพยายามส่งออกให้มากขึ้น ( โดยไม่สนว่าเป็นสินค้าที่ต้องพึ่งการสั่งเข้ามากแค่ใหน ) การที่นักการเมืองแบบเก่ายังคิดในกรอบการพัฒนาแบบเก่านี้ นอกจากจะแก้วิกฤติทางโครงสร้างไม่ได้แล้วยังทำให้ธุรกิจขนาดกลางขนาดย่อมล้มละลาย ประชาชนตกงาน รายได้ลดลง เป็นหนี้ และถูกครอบงำจากต่างชาติมากขึ้น

เป็นไปได้



วิธีการที่ถูกต้อง

          ท่านเหลียงควนเป็นพระเซนที่มีจิตเมตตาสูงมาก วันหนึ่ง ท่านได้รับจดหมายจากทางบ้านความว่า หลานชายของท่านใช้ชีวิตอีเหละเขละขละ วันๆ เอาแต่กิน นอน เที่ยวเตร่ ไม่ทำงานทำการ ญาติโยมทางบ้านอยากให้ท่านเหลียงควนกลับบ้านสักครั้งหนึ่งเพื่อว่ากล่าวสั่งสอนหลานชายคนนี้ให้กลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดี

           ท่านเหลียงควนจึงเดินทางกลับบ้าน
        
           คนทางบ้านจึงดีใจกันยกใหญ่ ต่างฝากความหวังไว้กับท่านเหลียงควน หวังว่าคืนนั้นท่านเหลียงควนจะใช้เวลาคืนนั้นทั้งคืนอบรมสั่งสอนหลานชายให้เป็นคนดี

           แต่ผิดคาดอย่างยิ่ง คืนนั้น ท่านเหลียงควนเอาแต่นั่งสมาธิอยู่บนเตียงทั้งคืน ไม่พูดอะไรเลยแม้แต่คำเดียว สร้างความแปลกใจแก่หลานชายจอมเกเรอย่างยิ่ง เขาคิดในใจว่า " น้าเราจะมาไม้ไหนกันนะ รอให้เราง่วงจัด ค่อยเทศนาสั่งสอน กวนประสาทให้เรานอนไม่หลับ หรือ ..." เขาคิดโน่นคิดนี่ กระสับกระส่ายทั้งคืน จนกระทั่งเช้า ท่านเหลียงควงสวมรองเท้าฟาง เตรียมเดินทางจากไป ท่านจึงหันกลับมาพูดกับหลานชายว่า

Monday, October 22, 2012

The Goal of Buddhism

The Goal of Buddhism

         Phra Dhammapitaka wrote that - Buddhism religion has come into existence as a result of the human struggle to solve the basic problem of life, that is - suffering. The Buddha says, " If there were no birth, decay, and death, the enlightened One would not have arisen in the world and his teaching would not have spread abroad. "

         He also proclaims again that a Buddha arises in the world for the good and happiness of the many , out of compassion for the world, for the benefit, for the advantage and for the happiness of gods and men. This is the same with preaching of the Dhamma, the lastingness of his dispensation and the solidarity of Sangha. Thus, just as the worth of medicine lies in the cure of the disease, so the value of religion is ascertained by its efficacy in the alleviation and elimination of human suffering.

เป้าหมายของพุทธศาสนา

เป้าหมายของพุทธศาสนา

          ท่านพรธรรมปิฏก เขียนในหนังสือเล่มหนึ่งว่า " พุทธศาสนาเกิดขึ้นจากความพยายามของมนุษย์ที่จะแก้ไขปัญหาสำคัญของชีวิต นั่นคือ ความทุกข์ พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า ถ้าหากไม่มีชาติ ชรา มรณะ พระตถาคตเจ้าก็จะไม่บังเกิดในโลก และพระธรรมก็จะไม่เจริญรุ่งเรือง
     
           นอกจากนั้น พระพุทธองค์ทรงประกาศย้ำว่า พระเจ้าอุบัติขึ้นในโลกเพื่อประโยชน์สุขคนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกเพื่อเกื้อกูลและเพื่อความสุขแก่เทวะและมนุษย์ทั้งหลาย แม้การประกาศสั่งสอนธรรมก็ดี ความดำรงอยู่ยั่งยืนแห่งพระศาสนาของพระพุทธเจ้าก็ดี และความสามัคคีแห่งสงฆ์ก็ดี ก็ย่อมมีเพื่อประโยชน์อย่างเดียวกันนี้ ฉะนั้น คุณค่าของศาสนาจึงวัดได้ด้วยความได้ผลในการบรรเทาและกำจัดความทุกข์ของมนุษย์ เช่นเดียวกับคุณค่าของยาก็อยู่ที่บำบัดโรค

ทางออกประชาชน ( ตอนที่ 2 )

สร้างภูมิปัญญาใหม่ กอบกู้ประชาชนไทยจากวิกฤติ



เราเรียนรู้อะไรจากการแสวงหาสังคมที่ดีกว่าในรอบ 40 ปี ที่ผ่านมา

         1. เรามองแต่ข้อดีของแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจตามกรอบคิดตะวันตก ที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก มองว่าการเพิ่มผลผลิต และเพิ่มการบริโภค คือ ความสำเร็จมากเกินไปส่วนหนึ่งเพราะว่ามีบางคนได้ผลประโยชน์ แต่ส่วนใหญ่ก็คือเพราะเราเชื่อตามฝรั่งและอธิบายซ้ำๆ จนประชาชนส่วนใหญ่ศรัทธาเหมือนความเชื่อทางศาสนา ว่าแนวทางการพัฒนาประเทศมีอยู่หนทางเดียวคือต้องร่วมการแข่งขันตามกระแสโลกาภิวัฒน์ จนไม่อาจคิดได้ว่ามีแนวการพัฒนาทางเลือกอื่นที่ต่างไปจากแนวทางนี้

ทั้งยาก ทั้งเหนื่อย

สัตบุรุษ กับ คนถ่อย

          ศิษย์ถามอาจารย์ว่า " สัตบุรุษทำผิดอะไรนิดๆ หน่อยๆ ก็ถูกคนตำหนิติเตียน แต่คนถ่อยทำผิดคิดชั่วสารพัด ทำไมเขาถึงไม่รู้สึกอะไร "

           อาจารย์ตอบว่า " สัตบุรุษเปรียบประดุจหยกชิันงาม เนื้อหยกหากมีตำหนิแม้เพียงเส้นเท่าขนแมว คนเขาก็มองเห็น และลงคะแนนว่าเป็นหยกมีตำหนิ ส่วนคนถ่อยที่ทำเลวทำชั่วทุกวี่วัน ชั่วจนชินตา ชั่วทุกตารางนิ้ว ชั่วจนหาดีไม่เจอ จึงไม่มีใครนึกจะตำหนิติเตียน "

รู้จักใช้

พิการ

         ชายคนหนึ่งปรึกษาพระอาจารย์กั่วไตว่า " ภรรยาของผมเป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว เรื่องทำบุญทำทาน เธอไม่กระเซ็นเลยแม้แต่แดงเดียวไม่ทราบว่าท่านอาจารย์จะเมตตา ไปที่บ้านกระผมสักเที่ยวหนึ่ง ไปเทศนาสั่งสอนภรรยาผมให้รู้จักทำบุญทำทาน รู้จักบริจาค รู้จักให้ รู้จักช่วยเหลืคนอื่นบ้างได้หรือไม่

          ท่านกั่วไตตอบรับคำเชิญอย่างเมตตา

          เมื่อท่านกั่วไตมาถึงบ้านของชายคนนั้น ภรรยาของชายคนนั้นออกมาตอนรับ แต่หล่อนขี้เหนียวมาก แม้แต่น้ำชาสักถ้วยก็ไม่ยกมาเลี้ยงพระ

ทางออกประชาชน ( ตอนที 1 )






" สร้างภูมิปัญญาใหม่
เพื่อความเป็นไท
เป็นธรรม
และคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน "

40 ปีภายหลังยุค " ฉันจึงมาหาความหมาย "
เราเรียนรู้อะไร และเราควรจะทำอะไรกันต่อไป

เผด็จการทหาร 2501 - 2516



         เมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว นิสิตนักศึกษาจำนวนหนึ่งไม่พอใจกับมหาวิทยาลัยที่มีปรัชญาการสอนหนังสือแบบท่องตำราฝรั่งและมุ่งวัดผลแบบท่องมากเกินไป ไม่พอใจกับพวกนักศึกษารุ่นพี่ที่ทำตัวเป็นอภิสิทธิชน เอาแต่สนุกสนานกับงานรับน้องใหม่ งานลีลาส การเชียร์กีฬามากเกินไป ในสภาพที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังยากจนและถูกทอดทิ้ง ไม่พอใจกับรัฐบาลเผด็จการทหารผู้ทุจริตฉ้อฉล ใช้อำนาจบาตรใหญ่และไม่พอใจกับนโยบายการเปิดประเทศให้สหรัฐฯ เข้ามาตั้งฐานทัพ เพื่อส่งทหารไปรบกับประเทศอินโดจีนเพื่อนบ้าน และส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนกอบโกยทรัพยากรของประเทศ เพื่อประโยชน์ของผู้มีอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจกลุ่มน้อย โดยกดราคาข้าวในประเทศ ทำให้ชาวนายากจน และกดค่าจ้างแรงงานเพื่อเอาใจภาคอุตสาหกรรม

Sunday, October 21, 2012

Mahayana and Theravada Buddhism

Mahayana and Theravada Buddhism

         With the passage of time, there arose certain developments within the Buddhist Order that finally led ti the formation of different sects. The Mahasanghika came into existence toward the end of the first century after the Buddha's death. The other major school, which claimed to be orthodox and conservative, became known as Theravada. The school of Mahasinghika was later called Mahayana. It was the later that was in due course introduce in to Tibet, acquiring its own distinct flavor and characteristics as the Vajirayana School.

          Questions are often asked as to the differences between the two major traditions. To be sure, most of differences are rather superficial, and can be observed by the way monks put on their monastic garments, the way ceremonies are conducted and the languages used to the record the Buddha's teachings - Theravada adhere to the original Pali, while Mahayana uses Sanskrit.

มหายาน กับ เถรวาท

มหายาน กับ เถรวาท

          เมื่อเวลาได้ล่วงเลยประมาณ 100 ปี ภายหลังพุทธปรินิพพานได้เกิดความแตกแยกทางความคิดความเห็น ทำให้พุทธศาสนาถูกแบ่งออกเป็น 2 นิกาย ได้แก่นิกายมหาสังฆิกะ ซึ่งมีความเห็นว่า ควรมีการแก้ไขปรับปรุงพระธรรมวินัยบางข้อ กับนิกายเถรวาทที่เห็นควรให้คงไว้ซึ่งพระธรรมวินัยดั้งเดิม ต่อมานิกายสังฆิกะได้พัฒนากลายมาเป็นพุทธศาสนานิกายวัชรยาน

          มีคำถามอยู่เสมอว่า พุทธศาสนาทั้งสองนิกายคือมหายานกับเถรวาทมีความแตกต่างกันอย่างไร คำตอบที่แน่ๆ ก็คือ ในด้านเปลือกนอก เราจะมองเห็นความแตกต่างในรูปแบบของการครองจีวรระหว่างภิกษุทั้งสองนิกาย ความแตกต่างในการประกอบพิธีทางศาสนา กับประการที่สองมีความแตกต่างกันในภาษาที่ใช้บันทึกคำสอนของพระพุทธองค์โดยทางเถรวาทให้ภาษาบาลี ขณะที่นิกายมหายานใช้ภาษาสันสกฤต

STORE

What is Buddhism?

What is Buddhism?

          Religions, as often observed, are products of fear. This fear in turn is based on ignorance. With the down of wisdom and the ever - expanding horizons of knowledge, creeds or faith without wisdom rising religion begins to evaporate, like morning mist under the rising sun. With the advance of science and technology, many of order faith have suffered as their beliefs went against the new knowledge.

           Not so with Buddhism, which as an atheistic religion, as a result of the human quest for the ultimate truth, an aspiration for that which is the highest and noblest in life. It is based on the Buddha's wisdom, on his enlightenment, attained through the complete eradication of ignorance, fear and all other defilements from his mind. His teachings called Dhamma [ Sansakrit : Dharma ], have stood the test of time for more than twenty five centuries. It is with deep faith and conviction in the Buddha's teaching that Francis Story. British scholar, asserts :

พุทธศาสนาคืออะไร?

พุทธศาสนาคืออะไร์?

          ศาสนาส่วนใหญ่เกิดขึ้นมาเนื่องจากความกลัวที่ตั้งอยู่บนอวิชชา ดังนั้นความเชื่อความศรัทธาต่อคำสอนในบางศาสนาที่มิได้ตั้งอยู่บนปัญญาจึงเริ่มค่อยๆ เสื่อมคลายลง เมื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแผ่ขยายตามมาภายหลัง เปรียบเสมือนน้ำค้างบนใบหญ้าในตอนเช้าที่ถูกแผดเผาให้ระเหยหายไปโดยแสงแดดในยามตะวันรุ่ง

           แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นกับพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาอเทวนิยมที่เกิดขึ้นมาจากผลของความสำเร็จในการค้นพบสัจธรรม เพื่อประโยชน์สูงสุดให้กับมวลมนุษยชาติ โดยพระปรีชาญาณแห่งพระองค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญเพียรละกิเลสตัณหาและความกลัวจนหมดสิ้น ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณ ทำให้พุทธธรมคำสั่งสอนของพระองค์อยู่ยั่งยืนยงมาตลอดกว่าสองพันห้าร้อยปีโดยไม่ได้รับผลกระทบจากกาลเวลาและความรู้อื่นใด ดังที ฟรานซิส สตอรี่ ผู้เชี่ยวชาญทางศาสนาชาวอังกฤษกล่าวไว้ว่า

Saturday, October 20, 2012

ฉันจึงมาหาความหมาย

วิทยากร เชียงกูล

เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน

         เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน หรือที่นิยมเรียกว่า " ฉันจึงมาหาความหมาย " เป็นกลอนที่มีชื่อเสียงชิ้นหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อเขียนชิ้นหนึ่งในหลายชิ้น ที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษา " หัวก้าวหน้า " ยุคก่อนและหลัง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งต่อมาได้พัฒนาไปสู่การเรียกร้องประชาธิปไตย ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 เนื้อหาของกลอนสะท้อนถึงความรู้สึกนึกคิดของนักศึกษาคนหนึ่ง ซึ่งตั้งคำถามเชิงเสียดสีเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาในมหาวิทยาลัย

Religion in Perspective

Religion in Perspective

What is religion?

          The word religion has no one generally accept definition. Some philosophers have called it " a superstitious structure of incoherent metaphysical notions. "; followers of Karl Marx define it as " the opiate of the people " while some psychologists call it the " mythical complex surrounding a projected super - ego. " The BBC English Dictionary defines religion in short: Religion is belief in a God or gods and the activities connected with this belief. The Newbury House Dictionary defines religion as a system of belief in a God or philosophy of life. In a nutshell, religion is the product of human's faith or belief in Higher Power. It is a response to the spiritual need for higher happiness beyond other basic requisites.

          Although it is impossible to give a conclusive definition of religion, there are certain characteristic forms of human activity and belief which are commonly recognized as religious: worship, separate of the sacred from the profane, belief in the soul, belief in gods or God, acceptance of the supernatural revelation, and quest for salvation.

Friday, October 19, 2012

ศาสนาในภาพรวม


ศาสนาในภาพรวม

ศาสนาคืออะไร

          การให้คำนิยามคำว่า " ศาสนา " อย่างครอบคลุมเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากต่อการยอมรับโดยทั่วไป มีนักปรัชญาบางคนอธิบายว่า " ศาสนาคือ อภิปรัชญาความเชื่อที่ยากต่อการทำความเข้าใจในสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ " สาวกของ คาร์ล มาร์กซ เคยวิจารณ์ว่า " ศาสนาคือยาเสพติดของมนุษย์ " นักจิตวิทยาบางคนกล่าวว่า " ศาสนาคือปมแห่งความหลงเชื่อที่แสดงออกผ่านทางจิตฝ่ายสูง "

           ตามพจนานุกรมบีบีซีให้คำนิยามอย่างสั้นๆ ว่า " ศาสนา คือความเชื่อที่มนุษย์มีต่อพระเจ้าองค์หนึ่ง หรือหลายองค์ และมีกิจกรรมที่สัมพันธ์กับความเชื่อเหล่านั้น " ส่วนพจนานุกรมฉบับภาษาอเมริกันให้คำจำกัดความว่า " ศาสนา คือระบบความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าหรือต่อปรัชญาชีวิต " กล่าวอย่างสรุป " ศาสนาคือความเชื่อความศรัทธาที่มนุษย์มีต่ออำนาจเบื้องบน เพื่อให้บรรลุความสุขทางจิตวิญญาณที่ตนเองต้องการ นอกเหนือจากความจำเป็นพื้นฐานทางวัตถุ "

Buddhadhamma ( พุทธธรรม )


Buddhadhamma

Dhamma is greastest

protector. Its taste excels all.

Its value excels all priceless jewels.

Dhamma is the means to

destroy all sufferings.

Cultivate mindfulness

by practicting the Dhamma

earnestly.

นิกาย

ยานใหญ่ - ยานเล็ก

          ครั้งหนึ่ง ขณะพระอาจารย์หวงปอเดินทางไปท่องเที่ยวเขาเทียนไถซัน ระหว่างทางเจอพระสงฆ์รูปหนึ่ง แต่งตัวแปลกๆ พฤติกรรมก็แปลกๆ แต่พอพบกันปั๊บ ทั้งสองก็สนิทสนมกันอย่างรวดเร็ว จึงเดินทางไปด้วยกัน

           วันหนึ่ง พวกเขาเดินทางมาถึงริมธารสายหนึ่ง น้ำไหลเชี่ยวกราก ท่านหวงปอได้แต่ส่ายหน้า พูดว่า " ดูท่า พวกเราคงต้องเดินอ้อมไปทางอื่นแล้วมั้ง "

           พระประหลาดกลับพูดอย่างไม่ยี่หระว่า " เดินอ้อมเสียเวลา ข้ามไปตรงนี้แหละ "

Prologue

The Situation of Buddhism in Thailand

           An editorial columnist once raised some questions: Is Buddhism in contemporary Thailand at the crossroads? What is really happening to our national religion? She attempted to shed a light on the situation of orthodox Theravada Buddhism in contemporary Thailand giving that some monks have been involved in controversial scandals over the past decades concerning commercialization, animism, anachronistic practice, sex and drug abuse. Do these controversies spell doom for Buddhism in our country? In her book, she state:

           " Although Buddhism is the dominant religion of Thailand, it has been weakened over the past century by the advent of modernization - so much so that many critics now see it as little more than a set rite and ceremonies

Thursday, October 18, 2012

อารัมภกถา

สถานการณ์ของพุทธศาสนาในประเทศไทย

         มีนักเขียนบทความในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ท่านหนึ่งยกปัญหาเกี่ยวกับความศรัทธาในพุทธศาสนาไว้ในหนังสือ Keeping the faith  ด้วยคำถามว่า " พุทธศาสนาในประเทศไทยในปัจจุบันกำลังจะไปในทางใด ? เกิดอะไรขึ้นกับศาสนาประจำชาติของเรา ?

          ผู้เขียนได้ยกปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของพุทธศาสนิกายเถรวาทดั้งเดิมที่ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ให้ความเคารพนับถือ จากข่าวเล่าลือในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาเกี่ยวกับการมีพระสงฆ์บางรูปมีข้อวัตรฏิบัติผิดวินัย เช่น การทำธุรกิจเชิงพาณิชย์ นับถือไสยศาสตร์ ประกอบพิธีกรรมผีเจ้าเข้าทรง ตลอดทั้งมีข่าวฉาวโฉ่เกี่ยวกับทางด้านชู้สาว ว่าเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้กำลังนำพุทธศาสนาในบ้านเราไปสู่ความเสื่อมศรัทธาหรืออย่างไร ในบทนำของหนังสือดังกล่าว ผู้เขียนได้แสดงความคิดเห็นไว้ดังนี้

สิ่งที่ต้องเอาชนะ

สัตว์ประหลาดมาจากใหน

          แต่ก่อน มีพระธุดงค์รูปหนึ่งชื่อท่านหมิงฮุ่ย มักจะเข้าป่าไปบำเพ็ญตบะแต่ทุกครั้งที่นั่งสมาธิ ภาพที่ปรากฏตรงหน้าก็คือแมงมุมตัวใหญ่ตัวหนึ่งกางเขี้ยวเล็บก่อกวนตรงหน้า ทำให้พระรูปนี้นั่งสมาธิไม่สำเร็จ 

           ท่านหมิงฮุ่ยไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี จึงปรึกษาอาจารย์ว่า " อาจารย์ทุกครั้งที่ศิษย์หลับตานั่งสมาธิ ก็จะมีแมงมุมยักษ์มาก่อกวนสมาธิทำให้เข้าฌานไม่ได้ อาจารย์ได้โปรดช่วยชี้แนะศิษย์ด้วยเถิด "

Wednesday, October 17, 2012

For Singles


Welcome to the winter
        
       Triple song are suitable to singles person on  winter. 
Take care of your health, your heart and your mind.Good luck.



Philosophy, Religion and Science

Philosophy, Religion and Science

         A philosophy is a particular set of theories or beliefs about subjects such as the nature of existence and knowledge of how people should live. Science is the study of nature and behavior of natural things and the knowledge that we obtain about them while religion is belief in a good or gods and the activities connected with the belief.

         Saint Thomas Aquinas once stated " Philosophy is the maid of the religion. " But as a time - honored saying has it : " Philosophy is the mother of the sciences. "

         Einstein, who rejected the biblical idea of God, once state: Sciences without religion is lame, religion without science is blind.

Treasure

Treasure in your mind

          Each one has a treasure in their mind, just find it . This song " I 'm still hear " , I was ever like very much when I was a teenage. I thought, meaning of this song is very good.

รสชาติของชีวิต


เค็มกับจืดล้วนเป็นรสชาติอย่างหนึ่ง

          วันหนึ่ง เซี่ยไก้จุน เดินทางมาเยี่ยมคารวะท่านหงอีซึ่งเป็นเพื่อนจิตรกรที่มาบวชเป็นพระ และตั้งปณิธานไว้ว่าจะเป็นพระที่นำเอาศิลปะมาประสานกับธรรมะ

           ตอนกินข้าว เซี่ยไก้จุนเห็นทางหงอีกินแต่ผักดองอย่างเดียว จึงเอ่ยขึ้นว่า " ท่านไม่รู้สึกว่าผักดองมันเค็มเกินไปดอกหรือ "

           ท่านหงอีตอบว่า " เค็มเป็นรสชาติอย่างหนึ่ง "

           ครู่ต่อมา ท่านหงอีฉันอาหารเสร็จ ในมือถือน้ำเปล่าถ้วยหนึ่งเซี่ยไก้จุนขมวดคิ้ว ถามอีกว่า " ไม่มีชาหรือ ทำไมกินแต่น้ำเปล่า "

           ท่านหงอีหัวเราะ พูดว่า " น้ำเปล่าจืดสนิท จืดก็เป็นรสชาติอย่างหนึ่ง "

           คำกล่าวที่ว่า " เค็มเป็นรสชาติอย่างหนึ่ง จืดก็เป็นรสชาติอย่างหนึ่ง " ของท่านหงอีนั้น สะท้อนปรัชญาเซนได้ชัดเจนจริงๆ

คำติชม

เพียงลมตด ก็ปลิวข้ามแม่น้ำ

          ซูตงพอเป็นมหาบัณฑิตในสมัยราชวงศ์ซ่ง เขาศรัทธาในพระพุทธศาสนาใช้ชีวิตอย่างสันโดษ และชอบคิดว่าตัวเองเป็นคนซื่อตรง ไม่เหมาะที่จะเป็นขุนนางที่ต้องพัวพันกับเรื่องลาภยศสรรเสริญ

           ต่อมา ซูตงพอถูกลดตำแหน่ง และถูกเนรเทศไปเป็นขุนนางเมืองกัวโจวซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของแม่น้ำ ที่นี่เองที่เขาเริ่มสนิทสนมกับพระอาจารย์ฝออิ้นอริยสงฆ์นิกายเซน

            ซูตงพอศึกษาธรรมะจนกระทั่งหลงคิดว่าตัวเองบรรลุธรรมขั้นสูงแล้ว วันหนึ่ง เขาเกิดแรงบันดาลใจอันแรงกล้า จึงเขียนกวีบทหนึ่งความว่า

Tuesday, October 16, 2012

สันติ ( Peace )

        " ไม่มีสุขใดเสมอด้วย ความสงบสันติ "

        " นตฺถิ สนฺติปร  สุขํ "

พระไพศาล  วิสาโร



         พุทธภาษิตข้างต้นเป็นข้อความที่นายปรีดี  พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสได้นำมาปิดท้ายในหนังสือเรื่อง " พระเจ้าช้างเผือก " อันเป็นนวนิยายเรื่องแรกและเรื่องเดียวของท่าน นวนิยายเล่มนี้ซึ่งเดิมตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เป็นเรื่องราวของพระเจ้าจักราผู้ครองกรุงอโยธยา พระองค์เป็นกษัตริย์ที่รักสันติภาพ หากจำต้องทำสงครามเพื่อปกป้องราชอาณาจักรจากการรุกรานของพระเจ้าหงสา พระเจ้าจักราเป็นกษัตริย์ที่ทรงคุณธรรม ไม่ประสงค์ให้ไพร่พลของพระองค์ต้องสูญเสียเลือดเนื้อ จึงเลือกใช้วิธีรบแบบยุทธหัตถีกับพระเจ้าหงสา ครั้นประสบชัยชนะแล้วก็สั่งปล่อยแม่ทัพนายกอง และทหารกรุงหงสาทั้งหมด หาได้จับกุมคุมขังหรือทำร้ายแต่อย่างใดไม่

          นวนิยายเล่มนี้แม้มีสงครามเป็นแกนของเรื่อง แต่หัวใจของหนังสือคือการเชิดชูสันติภาพ ที่ตั้งอยู่บนความปราถนาดีต่อกัน ไม่มีการอาฆาตพยาบาทจองเวรกัน ตามพุทธภาษิตที่ว่า " เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร " ดังสะท้อนจากคำตรัสของพระเจ้าจักราที่มีต่อเจ้าชายบุเรงนองว่า " ขอให้มีความเข้าใจกัน มีความปราถนาดีต่อกันในระหว่างพวกเราทั้งสอง และขอให้สันติสุขกลับมาสู่พวกเราและบ้านเมืองน้องของเราในโลกนี้อีกครั้งหนึ่งจงตลอดไปเถิด "

Joseph Stalin

โจเซฟ  สตาลิน ( Joseph  Stalin )

         โจเซฟ สตาลิน ( 21 ธันวาคม ค.ศ. 1879 - 5 มีนาคม ค.ศ. 1953 ) ศิษย์เอกและมิตรร่วมรบของเลนิน ผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต ( บอลเชวิค ) นักลัทธิมาร์กซผู้ยิ่งใหญ่ เกิดในเมืองโกรี รัฐจอร์เจียร์ ประเทศจอร์เจียร์ บิดาเป็นช่างทำรองเท้า มารดาเป็นบุตรสาวของทาสกสิกร เข้าร่วมการเคลื่อนไหวปฏิวัติตั้งแต่อยู่โรงเรียนมัธยม

          ปี ค.ศ. 1898 สมัครเข้าหน่วยทิฟลิสของพรรคสังคมประชาธิปไตย และได้กลายเป็นบุคคลสำคัญของพรรคในไม่ช้า ขณะเดียวก็พยายามค้นคว้าบทนิพนธ์ของมาร์กซและเองเกลส์อย่างจริงจัง สนับสนุนทัศนะการปฏิวัติของเลนินที่เขียนลงในหนังสอพิมพ์ อิสคระ ปี ค.ศ. 1901 จัดออกหนังสือพิมพ์ชื่อ ต่อสู้ เป็นภาษาจอร์เจียน ยืนหยัดสนับสนุนความคิดของเลนินเกี่ยวกับอำนาจการนำของชนชั้นกรรมาชีพในการปฏิวัติชนชั้นนายทุน ก่อตั้งการจัดตั้งบอลเชวิคของฝ่ายอิสคระของเลนินในคอเคซัสใต้

วันดีๆ ในชีวิต


วันใหนๆ ก็เป็นวันดี

         วันหนึ่ง ท่านเหวินเอี่ยนถามศิษย์ว่า " พวกเจ้าคิดว่า วันดีคือวันแบบไหน การดูฤกษ์ดูยามดี เขาดูกันอย่างไร "

          เหล่าศิษย์ต่างให้คำตอบต่างๆ นานา ลึกซึ้งซ่อนเงื่อน น่าสนใจไม่น้อย แต่ท่านเหวินเอี่ยนกลับตอบง่ายๆ ว่า " ฤดูใบไม้ผลิดอกไม้เบ่งบาน ฤดูใบไม้ร่วงดวงจันทร์แจ่มจรัส ฤดูลมพัดเย็นสบาย ฤดูหนาวหิมะโปรยปราย หากใจไร้กังวล วันไหนๆ ก็ล้วนเป็นวันดี "

Monday, October 15, 2012

ประโยคเด่นในคัมภีร์เหลาจื้อ



ประโยคเด่นในคัมภีร์เหลาจื้อ


เต๋าที่นำมาเล่าสู่กัน ไม่ใช่เต๋าปกติ

ชื่อที่เรียกขานได้ ไม่ใช่ชื่อที่ยั่งยืน

ใจที่ปราศจากความอยาก จะเห็นความอัศจรรย์ของสรรพสิ่ง

ใจที่ใฝ่รู้อยากจะเห็น จะเห็นความอยากของสรรพสิ่ง

ผู้คนทั่วแผ่นดินรู้ว่าสิ่งนั้นสวยงามเพราะมีสิ่งที่น่าเกลียดเป็นตัวเปรียบเทียบ

รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นความดี เพราะมีความชั่วเป็นตัวเปรียบเทียบ

เมื่อมีเกิด ย่อมมีดับ มีมีย่อมมีไม่มี มียากย่อมมีง่าย มียาวย่อมมีสั้น