Friday, November 30, 2012

The Training of Wisdom

The Training of Wisdom
Right View

           The Buddha recommended the virtues conducive for the development in wisdom, called " Vuddhi - dhamma 4 " ; 1. Association with a good and wise man. 2. Listening to the good teaching. 3. Having critical reflection or analytical thinking. 4. To practice in perfect conformity to the Dhamma principle under summathitti.

            Summathitti means right vision, right opinion, right theory and right understanding, in the cause and effect of wholesome and unwholesome deeds based upon Buddhadhamma such as the Four Noble Truths; the Principle of the Three Existence; and the Interdependent process of the mind and matter. Right view is regarded as the first and cardinal path of training on " Wisdom ", which is one of the threefold path of the middle way, using which we can develop an intellectual understanding of the truth. The truth of all lives that are interdependent and interrelated, we must exist as a personal benefits, One, who cannot see or understand the process of Dependent Origination, is identified as ignorant.

อธิปัญญาสิกขา

อธิปัญญาสิกขา
สัมมาทิฏฐิ

         อธิปัญญาสิกขา หมายถึงข้อปฏิบัติในการฝึกอบรมปัญญาเพื่อทำให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงคุณธรรม 4 ประการที่ก่อให้เกิดความเจริญงอกงามทางปัญญาเรียกว่า ปัญญาวุฒิธรรม 4 อันประกอบด้วย 1. สัปปุริสสังสวะ คบหาสัตบุรุษ คนดีมีปัญญามีคุณธรรม มีความรู้ความเข้าใจในธรรม 2. สัทธัมมัสสวนะ เอาใจใส่เล่าเรียนหาความรู้จริง 3. โยนิโสมนสิการ คิดวิเคราะห์หาเหตุผลอย่างถูกวิธี 4. ธัมมานุธัมมปฏิบัติ ปฏิบัติธรรมให้ถูกต้องตามหลักสัมมาทิฏฐิ

          คำว่า สัมมาทิฏฐิ หมายถึง การมองเห็นถูกต้อง มีความเห็นถูกต้อง ทฤษฎีถูกต้อง และมีความเข้าใจถูกต้อง ในเรื่องของเหตุปัจจัยต่อการประกอบศุลกรรมหรืออกุศลกรรม มีความเข้าใจถูกต้องต่อกฏไตรลักษณ์ เข้าใจถูกต้องตามกระบวนการทางรูปและนามในปฏิจจสมุปบาท สัมมาทิฏฐิเป็นมรรคข้อแรกและเป็นข้อสำคัญในหมวดว่าด้วย " ปัญญา " ซึ่งเป็นหนึ่งในสามตามทางหลักทางสายกลางแห่งไตรสิกขา ที่เราสามารถนำไปพัฒนาให้เกิดปัญญา เพื่อความเข้าใจในสัจธรรมของชีวิต หากเเข้าใจด้วยสัมมาทิฏฐิว่า สรรพสิ่งทั้งหลายต่างต้องอาศัยซึ่งกันและกันแล้ว เราก็จะอยู่อย่างสันติปราจากการเบียดเบียนทั้งต่อธรรมชาติ และต่อสิทธิประโยชน์ส่วนบุคคล ซึ่งผู้ยังมองไม่เห็นหรือไม่เข้าใจในมรรคข้อนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นบุคคล ผู้ซึ่งยังมองไม่เห็นหรือไม่เข้าใจในมรรคข้อนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นผู้ที่ตกอยู่ในอวิชชา

ความอยาก

ลาอยากมีรัก

          มีเรื่องเล่าสืบต่อกนมาว่าในกาลสมัยหนึ่ง องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็๋นมนุษย์มีนามว่า " กัปปะ " เป็นพ่อค้าชาวเมืองพาราณสี และพระอานนท์เสวยชาติเป็นลาของพระองค์

          ลาหนุ่มตัวนี้เป็นลาที่แข็งแรงและรูปร่างงดงามมาก นอกจากนี้ยังบรรทุกสัมภาระได้มาก และเดินทางได้ไกล

          วันหนึ่งกัปปะได้นำลาบรรทุกสินค้าไปขายยังเมืองตักสิลา เมื่อเดินทางถึงตัวเมืองเขาไดไปติดต่อขายสินค้ายังที่ต่างๆ ปล่อยลาให้พักผ่อนแลัวนัดพบตามเวลาที่นัดไว้

          เจ้าลาหนุ่มได้ออกเดินชมเมืองเป็นการพักผ่อน ครั้นเดินมาถึงคูเมืองก็ได้พบกับลาสาวเจ้าตัวหนึ่ง ลาทั้งสองได้ทักทายทำความรู้จักกัน และก่อเกิดความชอบพอกันในที่สุด เจ้าลาหนุ่มถึงกับหลงลืมเวลา ไม่ไปพบเจ้านายยังจุดนัดพบ

Thursday, November 29, 2012

จุดกำเนิดและแถลงการณ์

จุดกำเนิด

          เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 18481 คาร์ล มาร์กซ และ ฟรีดิช เองเกลส์ ได้ตีพิมพ์แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ ( Communist Manifesto ) ในนามของกลุ่มแรงงานผู้มีอุดมการณ์กลุ่มหนึ่ง ถึงแม้แต่เดิมมันจะถูกร่างขึ้นเพื่อเป็นแผนการของ " สันนิบาตคอมมิวนิสต์ " ( Communist League ) นานาชาติซึ่งมีที่มาจากแนวทางของกลุ่มสมาคมแรงงานแห่งการเกื้อกูลกันในศตวรรษที่ 19 หากต่อมามันได้กลายเป็นเอกสารทางการเมืองที่สำคัญที่สุดตลอดการชิ้นหนึ่ง ถือได้ว่ามีอิทธิพลเทียงเท่า คำประกาศอิสรภาพ ( Declaration of Independence/ 1776 ) ของสหรัฐอเมริกา และ ปฏิญญาว่า ด้วยสิทธิ ( Declaration of Rights of Man and of the Citizen/ 1789 ) ของฝรั่งเศส

แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์

          ถ้อยแถลงการณ์นี้ได้ฝากรอยจารึกอันสำคัญมิรู้เลือนไว้บนเส้นทางความก้าวหน้าของมนุษยชาติ และยังคงเป็นพื้นฐานของระบบความเชื่อทางการเมืองที่เป็นแรงผลักดันของคนหลายล้านในปัจจุบัน ก็แม้แต่หลังการพังทลายของกำแพงเบอร์ลินเมือปี ค.ศ. 1989 และการล่มสลายของคอมมิวนิสต์ในรัสเซียและยุโรปตะวันออกแล้ว หลายคนยังถือว่าพลังความคิดและความกระเดื่องเลื่องลือของมันดำรงอยู่ คำกล่าวใดบ้างเล่าในแถลงการณ์นี้ที่สำคัญและพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน ทั้งนี้ ว่ากันตามถ้อยความของผู้ประพันธ์แล้วข้อเรียกร้องหลักมีดังนี้ คือ...

Tuesday, November 27, 2012

Mujjhima Patipada

Mujjhima Patipada
The Middle Practice

           According to Buddhism, Majjhima Patipada is the middle path or the moderate practice code of conduct for both lay people and monastic life. Mujjhima Patipada is regarded as the Buddhist ethic, that the Buddha recommends all monks and lay people to abide by. It is the Eightfold Path for the cessation of suffering. This Eightfold Path is the way which consists of 8 Folds [ magga ]; Right View, Right Thought, Right Speech, Right Action, Right Livelihood, Right Effort, Right Mindfulness and Right Concentration. These 8 folds are categorized into 3 fundamental modes of training, called Trisikha, particularly for Buddhist monks and lay Buddhist in holy life, namely; Sila Sikha; training in the higher morality, Samadhi Sikha ; training in higher mentality and Panna Sikha; training in higher wisdom. This threefold training corresponds to the Buddha's fundamental teaching " Exhortatory Patimokkha ";

Not to do any evil [ Sila ]

To cutivate good [ Samadhi ] and

To purity the mind [ Panna ]

           which may be abbrevates as " Clean conduct, calm spirit and Clear vision. "

           Sila Sikha or training in higher morality is for the development of bodily and verbal actions under Right speech, Right action and Right livelihood. Samadhi Sikha or higher training in mentality under Right Effort, Right Mindfulness and Right Concentration. Panna Sikha is the training for higher wisdom under the Right View and Right Thought.

Monday, November 26, 2012

มัชฌิมาปฏิปทา

มัชฌิมาปฏิปทา
หลักการปฏิบัติตามทางสายกลาง

          ในทางพุทธศาสนา มัชฌิมาปฏิปทา หมายถึง หลักปฏิบัติตามทางสายกลางในการดับทุกข์ ที่พระพุทธศาสนาแนะนำให้ประพฤติปฏิบัติทั้งในชีวิตปกติและชีวิตพรหมจรรย์ มัชฌิมาปฏิปทาจัดเป็นจริยศาสตร์แนวพุทธที่สอนให้มนุษย์ในสังคมอยู่ในศีลธรรมจริยธรรมอันดีงามภายใต้มรรค 8 เพื่อเป้าหมายในการดับทุกข์ตามที่กล่าวไว้ในข้อที่ 4 แห่งอริยสัจ เป็นทางสายเดียวกันที่จะนำเราท่านไปสู่เป้าหมายทางพุทธศาสนาที่แท้จริง ทางสายกลางดังกล่าวประกอบด้วยมรรค 8 คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และ สัมมาสมาธิ มรรคทั้ง 8 นี้อาจจัดออกเป็น 3 หมวด เรียกว่า ไตรสิกขา ได้แก่ หมวดศีลเรียกว่า อธิศีลสิกขา หมวดสมาธิเรียกว่า อธิจิตตสิกขา และ หมวดปัญญาเรียกว่า อธิปัญญาสิกขา มรรคทั้งแปดจัดเป็นแนวทางในการพัฒนาจิตวิญญาณสำหรับผู้ครองพรหมจรรย์รวมทั้งฆราวาสที่ต้องการปฏิบัติธรรมโดยเฉพะ ส่วนพระพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปที่เรียกว่า คฤหัสถ์นั้น พระพุทธองค์ ทรงแนะนำให้ประพฤติปฏิบัติตามทางสายกลางแห่ง " บุญญาสิกขา " ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ด้วย " บุญกิริยาวัตถุ 3 " ได้แก่ 1. ทาน หรือ จาคะ การอยู่กับผู้อื่นด้วยการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูล หรือให้การสงเคราะห์ตามความเหมาะสม 2. ศีล หรือ สัญญมะ การควบคุมในการแสดงออกทาง กาย วาจา ด้วยการไม่เบียดเบียนผู้อื่น 3. ภาวนา หรือ ทมะ การฝึกอบรมจิตและภาวนาปัญญาให้คุณภาพ มีสมรรถภาพ และมีสุขภาพที่ดี มีคุณธรรม

            ไตรสิกขา หรือที่พากันเรียกสั้นๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ดังที่ได้กล่าวมานี้เปรียบได้กับคำสอนใน " โอวาทปาฏิโมกข์ " ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า หมายถึง " การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ( ศีล ) การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม ( สมาธิ ) และการทำจิตของตนให้ผ่องใส ( ปัญญา ) " ซึ่งหากจะย่อให้สั้นมักเรียกกันว่า " สะอาด สงบ และ สว่าง 

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๗ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๗ )

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

           พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนี้ จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคมของทุกๆ ปี ที่ท้องสนามหลวงใกล้พระบรมมหาราชวังในกรุงเทพมหานคร ประเพณีนี้ถือปฏิบัติมาตั้งแต่อดีตกาล โดยมุ่งหวังที่จะให้เป็นสิริมงคลแก่ฤดูกาลเพราะปลูกใหม่

           ความจริงแล้ว พิธีแรกนาขวัญนี้มีกำเนิดมาจากศาสนาพราหมณ์และถือปฏิบัติกันมาก่อนสมัยพุทธกาลเสียด้วยซ้ำไป ดังจะเห็นได้จากครั้งที่พระองค์ยังทรงเป็นเจ้าชายก็ยังเคยร่วมพิธีนี้ส่วนวันและเวลา อันเป็นมงคลสำหรับการประกอบพิธีนั้นจะถูกกำหนดขึ้นโดยโหรหลวง ทุกวันนี้แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าบรมราชินีนารถ จะทรงเสด็จมาเป็นประธานในพิธีแต่พระมหากษัตริย์ก็มิได้ทรงนำขบวนด้วยพระองค์เอง หากแต่ทรงแต่งตั้งพระยาแรกนาให้เป็นผู้นำในพิธีแทน

Thailand " Land of Smiles " ( Part 7 )

Thailand " Land of Smiles " ( Part 7 )

The Royal Ploughing Ceremony

           The annual Ploughing Ceremony usually takes place in May every year at Sanam Luang near the Grand Palace in Bangkok. The ceremony has been performed since ancient times and designed to give an auspicious beginning to the new planting season.

            In fact, the Ploughing Ceremony is of Brahman origin and it was practised even before the birth of Lord Buddha who, then a Prince, used to take part in the ceremony. The auspicious day and time are to set by the Royal Brahman astrologers. Nowadays, although Their Majesties are present at the ceremony, Ploughing Lord as his representative to carry out the rites.

            During this colourful ceremony, the amount of rainfall to be expected in the coming season is forecast. The Ploughing Lord is offered a choice of three lengths of cloth, all looking identical, if his choice is the longest one there will be little rain during the coming year; if it is the shortest one, rain will be plentiful while the one of medium length indicates average rain.

Sunday, November 25, 2012

ขุนช้าง - ขุนแผน " แว่นใหม่ที่ใส่มอง " ( ตอนที่ 5 )

ขุนช้าง - ขุนแผน " แว่นใหม่ที่ใส่มอง " ( ตอนที่ 5 )

          แต่ขุนช้างถูกทางกลุ่มกวีสำเร็จโทษ ที่แย่เอามากๆ ตั้งแต่ฉากแรกจนถึงฉากสุดท้าย ขุนช้างตามสายตา ( ของพวกเขา ) โดนกำหนดเอาเป็นคนสัปดนลามก ทำตลกหน้าด้านๆ และมีสันดานกลอกกลิ้ง ซึ่ง 3 สิ่งนี้จะมีควบทุกครั้งเมื่อขุนช้างโผล่หน้าปรกฏ ความโฉดตื้นๆ ถึงทะมึนขึ้นาบังบดความโฉดลึกๆ ของขุนแผนไว้เสียสิ้น เมื่อทำจนชินตาชินหูตามกวีผู้รจนาว่าไว้ ขอให้นึกทบทวนเอา เพราะเขาจะบอกย้ำว่า " ขุนช้างคางเคราไอ้เจ้าเล่ห์ " ทุกคราวไปในขณะที่เขาจะเรียกขุนแผนว่า " ขุนแผนแสนสุภาพ " ไม่ก้อ " ขุนแผนแสนศักดา " ทุกคราไปเช่นกัน

          ยิ่งมีนางวันทองเข้ามาเกี่ยวข้อง กวีจะลากเลี้ยวให้ขุนช้างคลั่งกามใส่แล้วให้วันทองด่าหยาบๆ คายๆ กลายเป็นเสภาฮาเฮ ดูเหมือนว่ายิ่งเทบทโหดมันฮามายังขุนช้างเท่าไหร่ ยิ่งเห็นความจงใจจงชังขุนช้างแห่งพวกเขา ( กวี ) มากขึ้นเป็นเงาตามตัว

           ขุนช้างจึงชั่วเพราะบทส่ง มิใช่จากพิษสงใดๆ ที่ไหนเลย อ่านคำเปรียบเปรยของพวกเขาเป็นทำเนา เอาเทอญ

ขุนช้างถูกจำตรวนถ้วนสามชั้น
เคยย่างยาวก้าวสิ้นก็ล้มปุก
ผู้คุมรุมไล่ก็ไม่ลุก
ทำเป็นจุกเจ็บท้องร้องอื้ออึง

ทำมะรงโกรธาคว้ามัดหวาย
ป่ายลงทั้งกำดังต้ำผึง
ตีซ้ำคว่ำหงายตายช่างมึง
ผิดก็เสียเฟื้องหนึ่งบอกศาลา

ขุนช้างเข้าใจเขาไม่ฟัง
ลุกขึ้นตึงตังทำเป็นบ้า
อ้าปากแลบลิ้นทำปิ้นตา
แก้ผ้านุ่งทิ้งวิ่งโทงเทง

หยิบเอาก้อนขี้หมาไล่ปาคน
เอาหัวชนเสาเล่นเต้นเหยงเหยง
ลากตรวนโกรกกรากปากร้องเพลง
คนดูอัดวัดเป้งเข้าด้วยคา

การก่อตั้งพรรคบอลเชวิค

การก่อตั้งพรรคบอลเชวิค

การต่อสู้ที่คัดค้านพวกเมนเชวิค 
และพวกลัทธิแก้แห่งสากลที่สอง

          ในขณะที่การก่อตั้งพรรคในรัสเซียมีแนวโน้มที่จักต้องดำเนินการอย่างแน่นอนแล้วนั้น พวกลัทธิแก้ก็ได้เปลี่ยนแปลงกลวิธีเสียใหม่ พวกเขาไม่อาจที่จะคัดค้านการก่อตั้งพรรคต่อไปอีกแล้ว จึงพยายามจะให้ถือเอาพรรคของลัทธิแก้สากลที่สองมาเป็นเบ้าในการหล่อพรรครัสเซีย ดังนั้นปัญหาที่ว่าจะก่อตั้งพรรคแบบไหนจึงกลายเป็นจุดรวมศูนย์ของการต่อสู้ในวาระต่อมา ในเดือนกรกฎาคมปี 1903 สมัชชาทั่วประเทศครั้งที่สองของพรรคกรรมกรสังคมประชาธิปไตยรัสเซียก็ได้เปิดขึ้นอย่างมีชัยเลนินหวังว่าที่ประชุมครั้งนี้จะสามารถกำหนดหลักนโยบายและระเบียบการของพรรคนี้เป็นลัทธิมาร์กซ จากนี้จะได้ทำให้พรรคกรรมกรสังคมประชาธิปไตยของรัสเซียกลายเป็นพรรคปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพแบบใหม่ที่แตกต่างกับพรรคลัทธิแก้แห่งสากลที่สอง แต่ทว่าในที่ประชุมได้เกิดการต่อสู้อย่างแหลมคมขึ้น ในขณะอภิปรายร่างหลักนโยบายของพรรคนั้น พวกลัทธิฉวยโอกาสคัดค้านการบรรจุข้อความที่ให้สร้างเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพเข้าไว้ในร่างนโยบายนี้ โดยอ้างว่าหลักนโยบายของพรรคสังคมประชาธิปไตยประเทศอื่นๆ ล้วนแต่ไม่ได้พูดถึงเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพกันเลย พรรครัสเซียก็ไม่ควรบรรจุเข้าไปด้วย โดยจุดมุ่งหมายที่จะทำให้พรรครัสเซียก็กลายเป็นพรรคลัทธิปฏิรูปไปเสีย เลนินได้ดำเนินการต่อสู้กับพวกลัทธิฉวยโอกาสเหล่านี้อย่างเด็ดเดี่ยว บดขยี้แผนกโลบายของพวกเขาอย่างสิ้นเชิง จนในที่สุดในหลักนโยบายที่ผ่านโดยที่ประชุมได้กำหนดไว้อย่างแจ่มชัดว่า การช่วงชิงให้บรรลุซึ่งเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพนั้น เป็นภาระหน้าที่พื้นฐานของพรรค นับว่าเป็นพรรคเดียวในบรรดาพรรคของนานาประเทศในสากลที่สอง ได้บรรจุข้อความให้บรรลุเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพไว้ในหลักนโยบายของพรรค และนี้ก็เป็นสัญลักษณ์เด่นชัดประการหนึ่งของพรรคการเมืองชนชั้นกรรมาชีพแบบใหม่ ที่เลนินตั้งขึ้น แตกต่างกับพรรคลัทธิแก้แห่งสากลที่สอง ต่อมาเลนินได้เคยชี้ว่า การเสนอปัญหาเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพขึ้นอย่างแจ่มชัด ในหลักนโยบายของพรรคที่ผ่านโดยที่ประชุมสมัชชาทั่วประเทศครั้งที่สองของพรรคกรรมกรสังคมประชาธิปไตยรัสเซียนั้น ก็เพื่อที่จะคัดค้านลัทธิเบิร์นสไตน์ คัดค้านลัทธิฉวยโอกาสนั่นเอง

            ในขณะที่อภิปรายระเบียบการของพรรคนั้น พวกลัทธิฉวยโอกาสซึ่งมีมาร์ตอฟเป็นหัวโจก ก็ดำเนินการทำลาย ในปัญหาเกี่ยวกับเงื่อนไขในการเป็นสมาชิกนั้นเลนินเสนอว่าผู้ที่รับรองหลักนโยบายของพรรค ให้การสนับสนุนแก่พรรคในทางวัตถุ และเข้าร่วมองค์กรการจัดตั้งแห่งหนึ่งของพรรค ล้วนแต่สามารถเข้าเป็นสมาชิกของพรรคกรรมกรสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย สมาชิกพรรคจักต้องเคารพและปฏิบัติตามวินัยของพรรค จักต้องเข้าร่วมในองค์การจัดตั้งของพรรค ทำให้บุคคลที่ขาดความแน่วแน่ซึ่งมิใช่ชนชั้นกรรมาชีพยากที่จะเล็ดลอดเข้ามาภายในพรรคได้ อันเป็นการประกันความบริสุทธิ์ขององค์กรจัดตั้งของพรรคก็ได้ กระทั่งว่าใครก็ตาม ล้วนแต่ " ลงชื่อ " เข้าพรรคเอาเองได้โดยไม่ต้องขึ้นต่อวินัยของพรรคก็ยังได้พวกเขาเอาเองได้โดยไม่ต้องขึ้นต่อวินัยของพรรคก็ยังได้ พวกเขายังคัดค้านการนำรวมศูนย์ที่เป็นเอกภาพของศูนย์กลางโฆษณาเผยแพร่ " ระบอบปกครองตนเอง " โดยเห็นว่าองค์การจัดตั้งส่วนท้องถิ่น ไม่ต้องขึ้นต่อมติของส่วนกลางก็ได้ เป็นที่แน่ชัดว่า มาร์ตอฟต้องการจะเลียนแบบแนวทางจัดตั้งที่เป็นลัทธิฉวยโอกาสของบรรดาพรรคในนานาประเทศแห่งสากลที่สอง ทำให้องค์การจัดตั้งของพรรคกลายเป็นสโมสรชนชั้นนายทุนที่มีส่วนส่วนประกอบสับสนที่มีรูปแบบไม่แน่นอน ยกเลิกลักษณะปฏิวัติและลักษณะนำหน้าของพรรคนั่นเอง เนื่องจากพวกลัทธิฉวยโอกาสมีคะแนนเสียงเป็นฝ่ายได้เปรียบในปัญหานี้ข้อเสนอของเลนินจึงไม่ได้รับการรับรองจากที่ประชุม แต่เนินหาได้ละทิ้งหลักการแต่อย่างไรไม่ หากยังคงดำเนินการต้อสู้กับพวกลัทธิฉวยโอกาสอย่างไม่ย่นย่อท้อถอยต่อไปในขณะที่ที่ประชุมเลือกตั้งองค์การส่วนกลางนั้น ฝ่ายที่สนับสนุนเลนินเป็นฝ่ายข้างมากจึงได้ชื่อว่าบอลเชวิค ( หมายถึงฝ่ายข้างมาก ) แต่นั้นมา ส่วนพวกลัทธิฉวยโอกาสซึ่งมีมาร์ตอฟเป็นแทนฝ่ายข้างน้อย จึงได้ชื่อว่าแมนเชวิค ( หมายถึงฝ่ายข้างน้อย ) แต่นั้นมา พวกแมนเชวิคนั้นอันที่จริงก็คือทายาทของกลุ่มเศรษฐกิจนั่นเอง

รู้จักถอย

ควรรุกก็รุก ควรถอยก็ควรถอย

          พระลูกศิษย์ในวัดหลงหู่วาดภาพมังกรกับพยัคฆ์ต่อสู้โรมรันกันไว้บนกำแพงวัด จากนั้นก็ไปเชิญพระอาจารย์อู๋เต๋อมาตัดสินให้คะแนน

           ท่านอู๋เต๋อดูเสร็จก็กล่าวว่า " รูปลักษณ์ภายนอกของมังกรกับเสือวาดได้ไม่เลว แต่เสือกับมังกรไม่ถูกท่า ก่อนหน้าที่มังกรจะจู่โจม หัวมังกรต้องถอยมาข้างหลังก่อน เสือก็เหมือนกัน หัวยิ่งใกล้พื้น พลังในการจู่โจมก็ยิ่งรวดเร็วทรงพลัง ขายิ่งเอนมาทางข้างหลัง ก็ยิ่งกระโดดได้สูํง "

           พระลูกศิษย์รู้สึกเลื่อมใสอย่างยิ่ง พากันพูดว่า " อาจารย์วิจารณ์ถูกจุดตรงเผงเลยแหละ มิน่าเล่า พวกเราถึงได้รู้สึกทะแม่งๆ คล้ายๆ กับว่าท่วงท่ามันไม่ค่อยจะถูกต้อง "

Clinging or Attachment

Clinging or Attachment

           The defilement, which follows on from craving, is a clinging, of which there are four kinds:

           1. Kamupadana: clinging to sensuality. Desire and effort to seek out sensual objects are naturally followed by clinging and attachment. When an objects of such gratification will produce clinging. In the event of disappointment or loss, attachment is based on yearning. Clinging becomes even stronger and generates further action in the quest for fulfillment. Because the desired objects provides no lasting satisfaction, nothing can ever really belong to the sense of ownership. The thinking of puthujhana is thus constantly clinging to and obsessed with one objects of desire or another. It is very difficult for such a mind to be free and unattached,

           2. Dithupadana: clinging to views. Desire to be or not to be, produces bias and attachment to views, theories, or philosophical systems, and in turn to methods, ideas, creeds and teachings. When views are clung to, they become identified with a part of one's self. Thus, when confronted with a theory or view which contradicts one's own, it is taken as a personal threat. The self must fight to defend its position, which in turn gives rise to all kinds of conflicts. Such thoughts and views do not provide knowledge, but rather obstruct it.

Saturday, November 24, 2012

อุปาทาน

อุปาทาน

          กิเลสอีกชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ต่อจากตัณหา คือ อุปาทาน หรือการยึดมั่นถือมั่น ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ

           1. กามุปาทาน ความยึดมั่นในกาม อันเป็นผลมาจากความอยากจึงพยายามแสวงหาวัตถุกามาสนองความอยาก ครั้นได้สิ่งที่ต้องการแล้วก็จะแสวงหาต่อมากมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อนำมาสะสมยึดมั่นไว้เป็นของตนเพราะเกรงว่าจะสูญหายหรือหลุดลอยไป ในกรณีที่เกิดความผิดหวังเพราะสูญเสียหรือเบื่อหน่ายในสิ่งที่ตนมี ก็จะแสวงหาสิ่งใหม่เพื่อสนองความอยากอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งๆ ที่โดยความจริงแล้ว ไม่มีสิ่งใดยิ่งยืนถาวรพอที่จะนำมายึดเป็นของตน นี่คือความคิดที่มีอยู่ในมนุษย์ปุถุชนที่ติดยึดอยู่กับการเป็นเจ้าของเพื่อการครอบครอง 

           2. ทิฏฐิปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในทฤษฎีต่างๆ เพื่อความอยากให้เป็นหรือไม่อยากให้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ตนต้องการจึงก่อให้เกิดความเอนเอียงยึดมั่นในทัศนคติ ทฤษฎี หรือหลักปรัชญาต่างๆ อย่างใดอย่างหนึ่งที่เข้ากับความคิดเห็นของตน จนกลายเป็นแนวความคิด ความเชื่อ และแนวการสอบอบรมสั่งสอน ครั้นเมื่อมีทฤษฎีความเชื่ออื่นมาคัดค้านหรือไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีของตนก็จะต่อสู้ คัดค้าน ถกเถียงเพื่อรักษาหรือปกป้องความเชื่อเดิมจนนำไปสู่ความขัดแย้งทางความคิดซึ่งถือว่าเป็นการปิดกั้นการแสวงหาความรู้ใหม่

รู้จักพลิกแพลง


เดินตรงไป

           ท่านเจ้าโจวเป็นพระอาจารย์เซนคนสำคัญในสมัยราชวงศ์ถัง ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมาก จึงมีผู้คนเดินทางมาคารวะท่านมากมาย

            ครั้งหนึ่ง มีพระรูปหนึ่งเดินทางมาเยี่ยมคารวะท่านเจ้าโจว ซึ่งจำวัดอยู่บนเขาไถซัน แต่ไม่รู้ทาง จึงไปถามแม่เฒ่าคนหนึ่งซึ่งเป็นชาวบ้านในละแวกนั้น

            แม่เฒ่าตอบโดยมิได้เงยหน้าขึ้นว่า " เดินตรงไป "

            พระรูปนั้นกล่าวขอบคุณ แล้วเดินจากไป แต่กลับได้ยินแม่เฒ่าบ่นพึมพำไล่หลังมาว่า " เป็นพระดีๆ แท้ๆ ไปมันแบบนี้อีกแล้ว "

            พระรูปนั้นรู้สึกสะดุดใจกับคำกล่าวแปลกๆ ของหญิงชรานั้นอย่างยิ่งคิไม่ออกว่าควรจะตอบหญิงชราอย่างไรดี เขาครุ่นคิดอยู่นานมากแต่ก็คิดไม่ออก จนกระทั่งมาถึงเขาไถซัน ได้พบท่านเจ้าโจว สนทนากันครู่ใหญ่ พระรูปนั้นจึงเล่าปัญหาคาใจให้ท่านเจ้าโจวฟัง

ไม่รู้ >>> รู้แจ้ง

คนใบ้กินน้ำผึ้ง

           ศิษย์เซนถามอาจารย์ฉือโซ่วว่า " เวลาบรรลุธรรม ผู้บรรลุธรรมสามารถบอกเล่าสภาวะและความรู้สึกขณะบรรลุธรรมได้หรือไม่ "

            ท่านฉือโซ่วตอบว่า " เหมือนคนใบ้กินน้ำผึ้ง "

            ศิษย์เซนถามอีกว่า " คนที่ยังไม่บรรลุธรรม สิ่งที่พูดออกมา จะนับได้หรือไม่ว่าเป็นธรรมะของเซน "

            ท่านฉือโซ่วตอบว่า " ในเมื่อยังไม่บรรลุธรรม สิ่งที่พูดออกมา จะนับเป็นธรรมะของเซนได้อย่างไร "

           ศิษย์เซนถามว่า " แต่สิ่งที่เขาพูดบรรยายมานั้น มีหลักการมีเหตุผล หากไม่นับเป็นธรรมะแห่งเซนได้อย่างไร "

            ศิษย์เซนถามว่า " แต่สิ่งที่เขาพูดบรรยายมานั้น มีหลักการมีเหตุมีผล หากไม่นับเป็นธรรมะแห่งเซน จะเรียกว่าอะไร "

            ท่านฉือโซ่วตอบว่า " ก็เมื่อนกแก้วนกขุนทองหัดพูดนั่นแหล่ะ "

Friday, November 23, 2012

Desires

Desires

           Tanha, desires or craving is the third kind of kilesa which causes suffering. There are three kinds of craving already mentioned : Kamatanha, Bhavatanha and Vibhavatanha. All are commonly experienced in everyday life, but they can only be seen when the working of the mind is carefully analyzed. At the root of all ignorance is the ignorance of thing as a natural process of interrelated causes ad effects, which give rise to the perception of self. This leads to a very important and fundamental desire or craving, the desire to be, the desire to survive, to wanting to have. Tanha is simply desired for existence, but existence in order to consume those objects which will produce feelings. Thus it can be said that desire for existence depends on the desire to have, and the desire to have intensifies the desire to exist.

            Tracing back along the process of Paticcasamupada, we find that these desires originate from the fundamental ignorance of things as they really are. Instead, worldly people have these two basic wrong views at the root of their consciousness. This gives rise to the three kinds of desires, particularly the desire for existence [ Bhavatanha ] and desire for annihilation [ Vibhavatanha ].

            As craving intensifies, a number of situations may result. If the desired object is not obtained at the desired time, the bhava or state of existence, at that time becomes intolerable. Life will seem difficult, resulting in a desire for annihilation of that undesirable situation. At the same time, desire to acquire will once again arise, based on the fear of no longer being able to experience pleasant feeling, and from there, desired to be once more.

Thursday, November 22, 2012

ตัณหา

ตัณหา

          ตัณหา คือ ความอยาก ความต้องการ เป็นกิเลสประเภทที่ 3 ที่ก่อให้เกิดทุกข์ ตัณหาแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ กามตัณหา ภวตัณหาและวิภวตัณหา ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ตัณหาทั้งสามประเภทนี้จะมีอยู่เป็นสามัญอย่างครบถ้วนในชีวิตประจำวันของปุถุชน แต่จะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อเราลองพิจารณาการทำงานของจิตใจในส่วนลึก เริ่มแต่มนุษย์ไม่รู้ไม่เข้าใจและไม่รู้จักมองสิ่งต่างๆ ทั้งหลายในรูปของกระบวนการแห่งความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยต่างๆ ตามธรรมชาติจึงเกิดความคิดปรุงแต่งแต่ว่ามีตัวตนอยู่ในรูปแบบใดแบบหนึ่ง ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดความอยากความต้องการใหักับตนเอง อยากที่จะมีอยากที่จะเป็น อยากที่จะอยู่ อยากปกป้องเก็บรักษาไว้เป็นของตนเองตามอำนาจแห่งความหลงผิดหรืออวิชชา ความอยากเป็น อยากอยู่ จึงสัมพันธ์กับความอยากมี ตัณหาจึงเป็นความอยากในภพ ในภาวะเพื่อเสพสุขเวทนาสนองความต้องการของตนต่อไป ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ความอยากในภพขึ้นอยู่กับความอยากที่จะมี และความอยากมีนี้จะเพิ่มความอยากในภพติดต่อกันไปเป็นลูกโซ่เสมอ

อย่าเอามา... ทำให้เราทุกข์

ใหญ่แค่ใหนก็หนีไม่พ้นความตาย

          ท่านเต้าซิ่นเห็นพระที่ศึกษาเซนทีหลังตนมีความก้าวหน้าทางธรรมมากกว่าตน ก็ร้อนใจ คิดในใจว่า " เราคงจะเอาดีทางเซนไม่ได้ ออกธุดงค์เป็นพระป่าดีกว่า " คิดเช่นนี้แล้ว ท่านเต้าซิ่นก็เก็บสัมภาระ เตรียมเดินทางไกล ก่อนออกเดินทาง เขามาล่ำลาพระอาจารย์ก่วงหวี่

          ท่านเต้าซิ่วกล่าวว่า " อาจารย์ ศิษย์ไม่เอาไหนจริงๆ ศึกษาธรรมกับท่านสิบกว่าปี แต่ไม่เข้าใจธรรมมะแม้แต่น้อย ศิษย์จึงตัดสินใจออกธุดงค์ "

          ท่านก่วงหวี่ตกใจมาก กล่าวว่า " อยู่ที่นี่ไม่บรรลุธรรม ไปที่อื่นจะบรรลุธรรมกระนั้นหรือ "

          ท่านเต้าซิ่นกล่าวว่า " ศิษย์ทุ่มเทกายใจศึกษาธรรมมะอย่างจริงจังแต่ขยันไปก็เท่านั้น วาสนาไม่ให้ เพื่อนๆ ที่ศึกษาเซนรุ่นเดียวกัน ไม่เห็นพวกเขาจะขยันอะไรมากมายนัก แต่กลับบรรลุธรรม เข้าใจเซนครั้งแล้วครั้งเล่า... ศิษย์พิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้ว เห็นว่าควรจะลดเกรดตัวเองลง เป็นแค่พระป่าก็พอ... นี่เป็นเสียงเพรียกจากหัวใจ "

           ท่านก่วงหวี่ไดฟังเช่นนี้ จึงชี้แนะว่า " อ้อ... เป็นเสียงเพรียกจากหัวใจ ไม่รู้จะบรรยายอย่างไรดี แล้วไม่รู้ว่าจะถ่ายทอดให้คนอื่นรับรู้ได้อย่างไร ยิ่งกว่านี้ เรียนรู้ก็ไม่ได้ ร้อนใจไปก็เปล่าประโยชน์ คนอื่นก็มีสภาวะธรรมของคนอื่น เจ้าก็มีสภาวะธรรมของเจ้า คนอื่นบรรลุธรรมเจ้าไม่บรรลุธรรม จึงต้องละทิ้งอุดมการณ์ นี่มันคนละเรื่องกัน ทำไมจึงเอามาพูดรวมๆ ผสมปนเปเล่า "

Wednesday, November 21, 2012

Ignorance

Ignorance

           Under the influence of delusion, most people believe that they themselves are perform actions. The irony is that they are not their own masters at all. Their behavior is totally controlled by intention, which is lacking in reflexive awareness. Essentially, delusion or ignorance is blindness to the Three Characteristics, especially the third one, non - self or anatta. Specifically, ignorance is not clearly knowing that the conditions usually taken to be an individual, a " me " and " you ", are simply a stream of physical and mental phenomena, constantly arising and ceasing, related and connected by the cause and effect process. This stream is in a state of continuous flux. 

อวิชชา

อวิชชา

         โดยความเป็นจริง มนุษย์ตกอยู่ในความหลงผิด แต่โดยสามัญสำนึกคนเราส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าตนเองกระทำการต่างๆ ภายใต้การควบคุมของตนเอง แท้ที่จริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้น ความตั้งใจที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ที่เราพบกันทำโดยปราศจากความไตร่ตรองนั้นเป็นเพราะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลจากความหลงผิดที่มีอวิชชาเป็นพื้นฐาน เป็นความหลงผิดที่ทำให้เกิดความมืดบอดทางความคิด มองไม่เห็นไตรลักษณ์ โดยเฉพาะในความเป็นอนัตตา เป็นความหลงผิดที่ก่อให้เกิดความคิดในการมีตัวตน เช่น " เรา " " ท่าน " ขึ้นมา ซึ่งแท้ที่จริงแล้วสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงกระแสแห่งรูปธรรมนามธรรมที่สัมพันธ์กันโดยอาศัยเหตุปัจจัยที่มีการเกิดการดับอยู่ตลอดเวลา 

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๖ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๖ )
บุญบั้งไฟ

         โดยปกติงานบุญบั้งไฟนี้ จะจัดให้มีขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคมในแต่ละปีและช่วงนี้ก็เป็นระยะวลาเริ่มต้นของฤดูฝน ชาวนาต่างก็พร้อมที่จะทำการเพาะปลูก เทศกาลนี้นิยมเฉลิมฉลองกันมากในจังหวัดทางภาคอีสาน เช่น ยโสธร และ อุบลราชธานี การฉลองก็เพื่อเป็นการวิงวอนขอฝนจากพระพิรุณให้ประทานฝนมามากๆ ในช่วงฤดูการปลูกข้าวที่กำลังมาถึง

          เทศกาลนี้มีที่มาจากตำนานกล่าวว่า เทพบุตรนามว่า " วัสสกาล เทพบุตร " ผู้ซึ่งเป็นที่เลื่องลือว่ามีความเสน่หาในการบูชาด้วยไฟเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นเพื่อให้มีน้ำฝนเพียงพอต่อการเพาะปลูกข้าว ชาวนาจึงส่งจรวด ( บั้งไฟ ) ที่ทำขึ้นเองไปยังสวรรค์ซึ่งเป็นที่สถิตของวัสสกาลเทพบุตร นับแต่นั้นมาเทศกาลนี้ก็ถือเป็นประเพณีปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้

           ภายใต้การแนะนำของพระสงฆ์ ชาวบ้านต่างก็ใช้เวลาหลายสัปดาห์เพื่อทำบั้งไฟ แท่นยิงและการประดับประดาอื่นๆ โดยเฉลี่ยบั้งไฟแต่ละบั้งมีความยาวประมาณ ๙ เมตร และบรรจุดินปืนประมาณ ๒๐ - ๒๕ กก.


Tuesday, November 20, 2012

Thai Land " Land of Smiles " ( Part 6 )


Thai Land " Land of Smiles " ( Part 6 )
Rocket Festival

           Rocket festival or " Boon Bang Fai " in Thai is usually held in the second week of May of each year, at the beginning of the rainy season. The farmers are ready to cultivate their paddy fields. The festival is popularly celebrated in the northeastern provinces of Yasothorn and Ubon Ratchathani. The celebration is an entreaty to the rain god for plentiful rains during the coming rice planting season.

           The festival itself owes its beginning to a legend that a rain god named Vassakan was knows for his fascination of being worshipped with fire. To receive plentiful rains for rice cultivation, the farmers send the home - made rockets to the heaven the god resided. The festival has been carried out till these days.

           Under the guidance of Buddhist monks, its takes the villagers weeks to make the rockets, launching platforms and other decorations. An average rocket is some nine meters in length and carries 20 - 25 kilograms of gun powder. 

อย่างง่าย ไม่เสียสะตางค์

บริจาคโลหิต

          การบริจาค คือ การ " ให้ " การให้ที่ดี คือ ให้ " ทาน " การให้ทาน ควร กระทำต่อผู้ที่สมควร " ให้ " การ " ให้ " แบบนี้ เรียกว่า การให้โดย " ไม่หวังผลตอบแทน " การให้โดยไม่หวังผลตอบแทน คือ " บุญ " บุญที่เกิดจากจิตใจที่ต้องการจะช่วยเหลือชีวิตๆ หนึ่ง นั้น ย่อมเป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่ และการช่วยเหลือชีวิตผู้อื่น โดยการบริจาคโลหิตนั้น เป็นการทำทานง่ายๆ และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมาย ( อาจจะเสียค่าเดินทาง ) แต่กลับได้รับผลบุญที่ยิ่งใหญ่ 

" เรามาช่วยกันบริจาคโลหิตกันเถอะ "

 คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต

           1. มีน้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป

           2. อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 60 ปีบริบูรณ์ ( ถ้าเป็นผู้บริจาคครั้งแรกต้องอายุไม่เกิน 55 ปี )

           3. มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่อยู่ระหว่างไม่สบายหรือรับประทานยาใดๆ 

           4. ไม่มีพฤติกรรมเสียงทางเพศ หรือติดยาเสพย์ติด

           5. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน ตั้งครรภ์หรือ ให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตร หรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนี่ผ่านมา

Defilement

Defilement

          When the working of the human mind is examined closely, experiences and situations are normally interpreted and evaluated through the influence of the following biases :

           1. Kamasava, which is the concern for desires for the five kinds of sense objects: sights, sounds, smells, tastes and bodily sensation

           2. Bhavasava, which is the concern for existence and preservation of the self.

           3. Ditthasava, which is the concern or attchment to, or fixed ideas on views, beliefs and ways of thinking.

           4. Avijjasava, which means delusion or ignorance, not clearly knowing the meaning of things as they really are, which leads to the perception of self.

           In all unenlightened beings, without wisdom or right reflection, behavior will be guided or controlled by these kinds of outflows, particularly Avijjasava - delusion or ignorance and Ditthasava - biased views and belief, including political, social, religious ideals and practices. They condition everything from likes and dislikes to means and methods chosen to gratify human desire.

อาสวกิเลส

อาสวกิเลส

           หากมีการสังเกตกระบวนการทำงานของจิต เราจะพบว่าคนเรานั้นมักจะคิดจะทำหรือจะประเมินคุณค่าสิ่งต่างๆ จากประสบการณ์หรือสถานการณ์ใดๆ ภายใต้อิทธิพลของความเบี่ยงเบนเอนเอียงที่จัดว่าเป็นอาสวะอยู่ 4 ประการคือ

           1. กามาสวะ ความเบี่ยงเบนอันเกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส

           2. ภาวสวะ ความห่วงในความมีอยู่แห่งตน

           3. ทิฏฐาสวะ ความเชื่อ ความเคยชิน ทฤษฎี แนวความคิด อย่างใดอย่างหนึ่งที่สร้างสมอบรมมาและยึดถือเชิดชูไว้

           4. อวิชชาสวะ ความหลง ความไม่เข้าใจ ความไม่ตระหนักรู้ ในความหมายความเป็นไปในสภาวะที่แท้จริงของธรรมชาติ จึงนำไปสู่ความเชื่อหรือก่อให้เกิดความเชื่อในความมีตัวตน

            หากพิจารณาตามวงจรปฏิจจสมุปบาท เราจะพบว่า ตัณหาหรือความอยากเหล่านี้เป็นผลมาจากอวิชชาหรือความหลงผิดในการมีตัวตนซึ่งมนุษย์ทั่วไปมีแนวความคิดที่หลงผิดเช่นนี้อยู่ภายใต้จิตสำนึกด้วยกันทุกคน  จึงก่อให้เกิดความอยาก โดยเฉพาะความอยากสองประการ กล่าวคือ ความอยากที่จะอยู่ จะมี จะเป็น ไม่อยากสูญสิ้นเช่นนี้ตลอดไปที่เรียกว่า ภวตัณหา กับอีกประเภทหนึ่ง คือ เมื่อไม่ประสบสิ่งดังหวัง ก็มีความต้องการเพื่อที่จะให้หลุดพ้นสูญสิ้นไปเสีย ซึ่งทางพุทธศาสนา เรียกว่า วิภวตัณหา

สิ่งที่ " คนโง่ " ได้มาด้วยความยากลำบาก

สิ่งที่ " คนโง่ " ได้มาด้วยความยากลำบาก

          คนฉลาดมี 2 ประเภท

          1. คนฉลาดที่รู้จักใช้ตัวอย่างยืดหยุ่นพลิกแพลง เช่น แพทย์ ศิลปิน นักวิชาการ นักคิด นักแสดง วิศวกร สถาปนิก นักกีฬา ฯลฯ

          2. คนฉลาดที่รู้จักใช้คนอื่นอย่างยืดหยุ่นพลิกแพลง เช่น ผู้ประกอบการ ผู้นำ นักบริหาร ครูฝึก นักเจรจาต่อรอง นักขาย ฯลฯ

          กล่าวกันว่า " นักกีฬามือดีไม่แน่ว่าจะเป็นครูฝึกได้ " หมายความว่าความสามารถของนักกีฬากับครูฝึกต่างกัน ความสามารถแบบหลังคือ " ความสามารถในการครองใจคน " ซึ่งเป็นเรื่องยากมาก ในท้องตลาดมีหนังสือประเภท เคล็ดลับการเป็นผู้นำ ตลอดจน พลังแห่งการชี้นำ อยู่ไม่น้อยซึ่งเนื้อหาหลักล้วนกล่าวถึง " ความสามารถในการครองใจคน " แต่ผมอ่านแล้วยังรู้สึกว่าเกาไม่ถูกที่คัน เพราะหนังสือเล่มนี้ส่วนใหญ่เขียนขึ้นบนจุดยืน " คนโง่ที่อวดฉลาด " กำหนดเอาเองว่าตนคือ " คนเลอเลิศ " และเขียนด้วยความรู้สึกของ " ผู้นำที่ชี้นำบริวารจากบนลงล่าง " ทำไมไม่เขียนบน " จุดยืนของคนฉลาดที่แสร้งโง่ " บ้าง ?

เพราะว่าเขาขาด แต่เรามี

เพราะว่าเขาขาด แต่เรามี

          ณ ป่าแห่งหนึ่ง

          กระต่ายป่าถามเจ้าป่าสิงโตว่า

          " เจ้าช้างเป็นสัตว์นิสัยอย่างไร ? "

          " ถ้าพูดในความมีเมตตา เขาดีกว่าข้าพเจ้า " สิงโตตอบ

          " ลิงนั่นล่ะ ? "

          " เขาพูดเก่งกว่าข้าพเจ้า "

          " แล้วเสือโคร่ง เป็นอย่างไร ? "

          " เสือโคร่งมีความกล้ามากกว่าข้าพเจ้า "

          " ม้าลายล่ะ ? "

          " ม้าลายมีท่าทางสง่างามมากกว่าข้าพเจ้า "

         กระต่ายป่าลุกขึ้นจากที่นั่งอย่างไม่พอใจในคำตอบ


" ก็เมื่อพวกเขาเหล่านั้นดีกว่า
เก่งกว่าท่าน
ทำไมเขายอมยกให้ท่านเป็นเจ้าป่า
และเป็นศิษย์รับใช้ท่านเล่า "

ผิดปกติ คือ ปกติ ปกติ คือ ไม่ปกติ

ผิดปกติ คือ ปกติ ปกติ คือ ไม่ปกติ

          พ่อค้าชาวจิวมีลูกชายที่ผิดปกติคนหนึ่ง ตอนเล็กๆ ก็ไม่มีอะไรผิดแปลกไปจากเด็กทารกทั่วไป แต่เมื่อโตขึ้นมาหน่อยก็แสดงพฤติกรรมผิดปกติปว่าคนอื่นๆ ทั่วไป

          ลูกชายแกได้ยินเสียงเพลงเป็นเสียงร้องไห้ เวลาใครร้องไห้กลับได้ยินเสียงหัวเราะ มองเห็นสีขาวเป็นสีดำ สีดำเป็นสีขาว เรื่องกลิ่นและเรื่องรสก็เหมือนกัน ไอ้ใครๆ เขาเหม็น ปิดจมูกฟิตๆ แกกลับหอม รสขมขนาดใครถ่มน้ำลายปิ๊ด แกกลับชอบอกชอบใจบอกว่าหวานดี เรียกว่าประสาทสัมผัสของแกกลับตาลปัตรผิดไปจากสามัญชนธรรมดาไปหมดก็ว่าได้

          คนที่เดือดร้อนหนักคือพ่อค้าผู้เป็นพ่อ ไม่รู้จะทำอย่างไร พอดีมีคนแนะนำว่ามีผู้รู้หลายคนที่แคว้นลู่ " รีบไปเถอะ บางทีเขาอาจรักษาลูกชายแกได้ ดีกว่าอยู่ที่นี่แล้วปล่อยให้ลูกชายแกมีปัญหามากขึ้น "

Monday, November 19, 2012

The causes of suffering

The causes of suffering 

           According to the concept of Dependent Origination, when we consider the process of suffering more deeply, we will find that the determinant of human suffering are Kilesa.

           Kilesa or defilement means impurities or impairment of mind. There are many kinds of Kilesa mentioned in the Buddhist doctrine such as : greed, hatred, delusion, conceit, wrong view, uncertainly, sloth, restlessness, shamelessness and lack of moral dread. In order to clarify kilesa as causes of suffering, we will concentrate particularly on the following four : Asava, Avijja Tanha and Uppadana. Here we will first consider Asava, or the outflows, which create delusion or ignorance.


สาเหตุแห่งทุกข์

สาเหตุแห่งทุกข์

           ตามวงจรปฏิจจสมุปบาทเมื่อเรานำมาพิจารณาให้ลึกสักหน่อยจะพบว่า สาเหตุแห่งทุกข์ไม่ใช่ว่าจะมีเฉพาะ " ตัณหา " ดังที่กล่าวไว้ในอริยสัจเพียงอย่างเดียว แต่ยังประกอบไปด้วยสิ่งที่เรียกว่า " กิเลส " หรือปัจจัยที่ทำให้จิตเศร้าหมอง ซึ่งในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาจัดแบ่งไว้มากมาย เช่น โลภ โกรธ หลง ความถือตัว ทิฏฐิ ความสงสัย ลังเล ความหดหู่ ท้อถอย ความฟุ้งซ่าน ความไม่ละอาย หรือเกรงกลัวต่อบาป เป็นต้น สำหรับกิเลสในปฏิจจสมุปบาทที่มีบทบาทสำคัญที่ก่อให้เกิดทุกข์ ได้แก่ อ่าสวะ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ในที่นี้จะกล่าวถึง อาสวะ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอวิชชา ก่อนดังนี้

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๕ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๕ )
อาสาฬหบูชา และ วันเข้าพรรษา

          วันอาสาฬหบูชาจัดเป็นวันที่สำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่ง เพราะเป็นวันที่พระรัตนตรัยอุบัติขึ้นในโลก คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ วันเพ็ญ เดือน ๘ ( เดือนกรกฎาคม )  วันนี้ในพุทธกาลกว่า ๒๕๐๐ ปีมาแล้ว เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดง ปฐมเทศนา โปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี

           เพื่อเป็นการระลึกถึงวันอันเป็นมงคลนี้ ชาวพุทธทั่วทั้งประเทศจะทำบุญและรักษาศีลบางคนก็ไปวัดเพื่อถวายอาหารและเจตุปัจจัยไทยธรรมแก่พระสงฆ์ และฟังพระธรรมเทศนาเพื่อขัดเกลาจิตใจ โดยปกติวันอาสาฬหบูชาจะมีขึ้นก่อนวันเข้าพรรษาหนึ่งวัน กล่าวคือ วันเข้าพรรษาจะตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘

            ประเพณีเข้าพรรษาสืบเนื่องมาตั้งแต่ต้นพุทธกาลในประเทศอินเดีย เมื่อบรรดาผู้ทรงศีลนีกบวช และฤๅษีต่างอยู่ประจำในช่วงฤดูฝน เป็นเวลา ๓ เดือน พวกเขาพยายามหลีกเลี่ยงการเดินทางโดยไม่จำเป็นในช่วงระยะเวลานี้ เพราะเพิ่งเริ่มฤดูเพาะปลูกโดยเกรงว่าจะไปเหยียบต้นกล้าโดยบังเอิญได้ เพื่อให้สอดคล้องกับสมัยนิยม พระพุทธเจ้าจึงทรงออกพุทธบัญญัติให้พุทธสาวกปฏิบัติตามประเพณีปฏิบัตินี้ จึงเริ่มกันอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ โดยสร้างที่พักง่ายๆ ขึ้นก่อน

Thailand " Land of Smiles " ( Part 5 )

Thailand " Land of Smiles " ( Part 5 )
Asanha Puja and Buddhist Lent

         The Asanha Puja Day is one of the scared days in Buddhism as it marks the coming into existence of the Triple Gems, namely ; the Load Buddha, His Teachings and his Disciples. The day falls on the fifteenth day of the waxing moon of the eight lunar month ( July ). It is an anniversary of the day on Deer Park in Benares over two thousand five hundred years ago.

          To observe this auspicous day, Buddhists all over the country perform merit - making and observe Silas ( Precepts ). Some go to a sermon to purify their minds. The Asanha Puja Day falls on the day preceding the Buddhist Lent which starts on the first day of the waning moon of the eight lunar month.

           The tradition of Buddhist Lent or the annual three - month Rains Retreat known in Thai as " Phansa " dates back to the time of early Buddhism in ancient India, all holy men, mendicants and sages spent three months of the annual rainy season in permanent dwellings. They avoided unnecessary travel during the period when crops were still new for fear they might accidentally step on young plants. In deference to popular opinion, Lord Buddha decreed that his followers should also abide by this ancient tradition, and thus began to gather in groups of simple dwellings.

ไร้ค่า ไร้ความหมาย

ความหวังของน้ำ

          ภายในห้องหนังสือที่แสนสวยหรู มีแจกันโบราณใบหนึ่งตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่กลางห้อง ในนั้นมีน้ำอยู่นิดหน่อย และมีดอกเหมยกิ่งหนึ่งปักอยู่ น้ำในแจกันถูกเปลี่ยนตั้งแต่ตอนเช้า แต่ดูเหมือนว่าน้ำใหม่เหล่านี้จะอึดอัดมาก มันบ่นอยู่ตลอดเวลาว่า

           " ฉันไม่อยากอยู่นิ่งๆ ในแจกันแบบนี้ ที่นี่คับแคบ เหมือนคุกไม่มีผิดอยู่แค่วินาทีเดียวก็จะอกแตกตายแล้ว ฉันอยากออกไปข้างนอก ไปสู่โลกกว้างโลกที่มีแสงอาทิตย์อันเจิดจ้า ซึ่งจะทำให้ฉันเปล่งประลกายระยิบระยับน่าพิศวง ฉันอยากจะไปอยู่ในแม่น้ำลำคลองที่สายน้ำไม่เคยเหือดแห้ง เพื่อที่ฉันจะได้ขับร้องเพลงตามใจปราถนา ฉันทนอยู่นิ่งๆ ในที่แบบนี้ไม่ได้ ที่นี่คับแคบ ไม่สะดวก ไม่น่าอยู่ "

          ด้วยเหตุนี้เอง น้ำจึงดิ้ขลุกขลิกพร้อมกับบ่นเสียงดังอย่างไม่สบอารมณ์แต่ก็ไม่มีอะไรดีขึ้น แม้ว่าปากแจกันจะสูงกว่าระดับน้ำไม่มากนักก็ตาม ทว่าน้ำซึ่งถูกขังอยู่ในนั้นก็ไม่มีทางที่จะกระโดดออกไปได้

Sunday, November 18, 2012

What is suffering ?

What is suffering ?

           Suffering is the problem faced by human beings. According to Buddhist teachings on the Law of three Existence, The Four Noble Truths and Dependent Origination, we can classify suffering into 3 characteristics as follows;

            1. Suffering due to being oppressed; i.e. the suffering of body and mind, caused by unpleasant or disagreeable objects.

            2. Suffering due to impremanence, which is fear of changing status from positive to negative worldly conditions.

อะไรคือ ทุกข์



อะไรคือ ทุกข์

           ทุกข์ คือปัญหาของมนุษย์ที่เป็นปุถุชน ตามคำอธิบายในทางพุทธศาสนาเกี่ยวกับกฏไตรลักษณ์ในอริยสัจ 4 และในปฏิจจสมุปบาทแบ่งลักษณะของ ทุกข์ ออกเป็น 3 แบบคือ

           1. ทุกข์ที่เป็นความรู้สึก อย่างสามัญสำนึกเข้าใจในนามของทุกข์กาย ทุกข์ใจ หรือ ทุกขเวทนา ที่เกิดขึ้นจากสิ่งกระทบกระทั่งบีบคั้นจากสิ่งที่ไม่ชอบใจหรืออนิฏฐารมณ์

           2. ทุกข์เกิดจากความไม่แน่นอนหรือที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหรือความกลัวในการต้องแปรเปลี่ยนจากโลกธรรมฝ่ายบวก ได้แก่ สุข ลาภ ยศ สรรเสริญ มาเป็นฝ่ายลบ กล่าวคือ ทุกข์ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ และ นินทา สิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์แฝงที่คอยแสดงตัวออกมาเมื่อความสุขจืดจางหรือเกรงกลัวว่าจะจืดจางสูญสิ้นไป

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๔ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๔ )
เทศกาลสงกรานต์

          " สงกรานต์ " คือวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีไทยและเป็นโอกาสที่สมาชิกในครอบครัวจะได้พบกันพร้อมหน้าพร้อมตา ในช่วงเวลานี้ประชาชนผู้ซึ่งเป็นคนต่างจังหวัดที่มาทำงานในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ก็จะเดินทางไปฉลองเทศกาลนี้ที่บ้านเกิดของตน ดังนั้นเมื่อเทศกาลนี้มาถึงกรุงเทพมหานครก็จะกลายเป็นเมืองร้างไปชั่วคราว

           เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายนและการฉลองประจำปีก็จะจัดให้มีขึ้นทั่วทั้งราชอาณาจักร ที่จริงแล้วคำว่า " สงกรานต์ " นี้เป็นภาษาไทยซึ่งหมายถึง " เคลื่อนย้าย " หรือ " เปลี่ยนที่ " เพราะว่าเป็นวันที่พระอาทิตย์เปลี่ยนตำแหน่งในทางจักรราศี นอกจากนี้ยังเรียกว่า " เทศกาลน้ำ " อีกด้วย เพราะว่าประชาชนเชื่อว่าน้ำจะพัดพาเอาสิ่งที่เป็นอัปมงคลออกไป

            วันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีของไทยเริ่มต้นตั้งแต่เช้าตรู่ด้วยการทำบุญตักบาตรแก่พระสงฆ์และปล่อยนกที่ขังไว้ให้เป็นอิสระ ในช่วงวาระโอกาสอันเป็นมงคลนี้ สัตว์ต่างๆ ที่ถูกขังไว้ก็จะได้รับการปล่อยให้เป็นอิสระ พร้อมกันนี้การไหว้บรรพบุรุษก็เป็นส่วนสำคัญของวันนี้ด้วย ประชาชนจะแสดงความเคารพต่อผู้สูงอายุ และในทางกลับกันผู้สูงอายุก็จะอวยพรให้ผู้น้อยประสบโชคดีและเจริญรุ่งเรือง

Thailand " Land of Smiles " ( Part 4 )

Thailand " Land of Smiles " ( Part 4 )
Songkran Festival

          " Songkran " is the Thai traditional New Year and an occasion for family reunion. At this time, people the rural areas who are working in the city usually return home to celebrate the festival. This, when the time comes, Bangkok temporarily turns into a deserted city.

          The festival falls on April 13 and the annual celebration is held throughout he kingdom, In fact, " Songkran " is a Thai word which means " move " or " change place " as it is the day when the sun changes its position in the zodiac. It is also known as the " Water Festival " as people believe that water will wash away bad luck.

           This Thai traditional New Year begins with early morning merit - making offering food to Buddhist monks and releasing caged birds fly freely into the sky. During this auspicious occasion, any animals kept will be set free. Paying homage to one's ancestors is an important part of the day. People will pay their respects to the elders by pouring scented water over the palms of their hands. The elders in return wish the youngsters good luck and prosperity.

Saturday, November 17, 2012

ต้านกระแสคือหลักการข้อหนึ่งของลัทธิมาร์กซ - เลนิน

ต้านกระแสคือหลักการข้อหนึ่งของ
ลัทธิมาร์กซ - เลนิน
เลนินต่อสู้ เพื่อก่อตั้งพรรคการเมืองปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพแบบใหม่

          เหมาเจ๋อตุงกล่าวว่า " ต้านกระแสคือหลักการข้อหนึ่งของลัทธิมาร์กซ - เลนิน มาร์กซ เองเกงส์ เลนิน สตาลิน และเหม๋าเจ๋อตุง ปรมาจารย์ปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่ล้วนแต่เป็นตัวแทนและปรมาจารย์ที่กล้าต้านกระแสและยืนหยัดในแนวทางที่ถูกต้อง ท่านเหล่านั้นไม่เพียงแต่ได้อรรถาธิบายถึงความหมายอันยิ่งใหญ่ของการต้านกระแสอย่างลึกซึ้ง ในทางทฤษฎีเท่านั้น ทั้งยังได้สร้างแบบอย่างอันรุ่งโรจน์ในทางปฏิวัติไว้แก่เราอีกด้วยในปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 เพื่อก่อตั้งพรรคการเมืองชนชั้นกรรมาชีพแบบใหม่ เลนินได้ทำการต่อสู้กับพวกลัทธิแก้สากลที่ 2 ตลอดจนตัวแทนของมันในรัสเซีย ก็คือตัวอย่างอันรุ่งโรจน์ในการต้านกระแส

เมื่อจะปฏิวัติก็ต้องมีพรรคปฏิวัติพรรคหนึ่ง

           ปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ทุนนิยมย่างเข้าสู่ขั้นจักรพรรดินิยม จักรพรรดินิยมคือทุนนิยมที่ผูกขาด เป็นทุนนิยมที่เป็นกาฝากหรือเน่าเฟะเป็นทุนนิยมหรือร่อแร่จวนสิ้นลมปราณ จักรพรรดินิยมทำให้ความขัดแย้งทั้งปวงของทุนนิยมแหลมคมจนขีดสุด ดังนั้นในยุคจักรพรรดินิยม การปฏิวัติสังคมนิยมองชนชั้นกรรมาชีพจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ รัสเซียสมัยพระเจ้าซาร์เป็นประเทศ " จักรพรดินิยมศักดินา ทหาร ลักษณะพิเศษของมันก็คือทุนนิยมผูกขาดกับเศษเดนระบอบทาสกสิกรศักดินาประสมกัน แสดงออกในทางการเมืองคือการปกครองอันเหี้ยมโหดของระบอบสมบูรญาณาสิทธิราชของพระเจ้าซาร์ ภายในประเทศกดขี่ประชาชนผู้ใช้แรงงานอย่างทารุณ ภายในประเทศกดขี่ประชาชนผู้ใช้แรงงานอย่างทารุณ ภายนอกประเทศก็ดำเนินการขยายอิทธิพลด้วยกำลังทหาร และปล้นสดมภ์อย่างบ้าคลั่งไปทั่ว ในทศวรรษที่ 8 - 9 ของศตวรรษที่ 19 ชนชั้นกรรมาชีพรัสเซียได้ทำการต่อสู้หยุดงานที่มีลักษณะมวลชนไปทั่วทุกแห่งหน ขณะเดียวกันหน่วยลัทธิมาร์กซรุ่นแรกก็ได้ปรากฏขึ้น " เมื่อจะปฏิวัติก็ต้องมีพรรคปฏิวัติพรรคหนึ่ง " ภาระหน้าที่อันรีบด่วนที่แบอยู่เบื้องหน้า นักปฏิวัติชาวรัสเซียในเวลานั้นก็คือ ก่อตั้งพรรคการเมืองชนชั้นกรรมาชีพแบบใหม่ขึ้น เพื่อนำชนชั้นรรมาชีพและมวลชนอันไพศาลไปโค่นล้มระบอบสมบูรณาญิสิทธิราชของพระเจ้าซาร์ แล้วก้าวไปสู่การต่อสู้ที่ทำให้การปฏิวัติสังคมนิยมปรากฏเป็นจริงขึ้น เลนินปรมาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ได้เข้าใจความจริงข้อนี้ก่อนใครอื่น ทั้งได้เข้าแบกรับภาระหน้าที่ทางประวัติศาสตร์นี้อย่างกล้าหาญในปี 1895 เลนินได้ก่อตั้ง " สมาคมต่อสู้ปลดแอกชนชั้นกรรมกรแห่งปีเตอร์เบอร์ก " ขึ้นที่ปีเตอร์เบอร์ก ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเมืองของรัสเซียดำเนินโฆษณาเผยแพร่ลัทธิมาร์กซในหมู่กรรมกรเป็นการใหญ่ เตรียมการก่อตั้งพรรคอย่างเอาการเอางานแต่เลนินก็ได้ถูกจับกุมในปีนั้นเองและแล้วก็ถูกเนรเทศ " สมาคมต่อสู้ " แห่งปีเตอร์เบอร์ก ตลอดจนในที่อื่นๆ ได้ทำการทดลองตั้งพรรคในปี 1896 โดยเรียกประชุมสมัชชาผู้แทนครั้งแรกของพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยแห่งรัสเซีย แต่การประชุมครั้งนี้เพียงแต่ได้ประกาศก่อตั้งพรรคเท่านั้น หาได้สร้างพรรคขึ้นมาอย่างแท้จริงไม่

เสมอกัน

อรหันต์กับลา

         ครั้งหนึ่งที่ท่านกวงหย่งพบท่านหย่างซัน

         ท่านหยางซันถามว่า " ท่านมาทำอะไร "

         ท่านกวงหย่งตอบว่า " มาคารวะท่านอาจารย์ "

         ท่านหยางซันถามว่า " ท่านมองเห็นข้าใหม "

         ท่านกวงหย่งตอบว่า " มองเห็นขอรับ "

         ท่านหย่างซันถามว่า " ข้าเหมือนลาไหม "

         ท่านกวงหย่งตอบว่า " ข้าเห็นว่าท่านไม่เหมือนพระอรหันต์ "

         ท่านหยางซันถามว่า " ในเมื่อไม่เหมือนพระอรหันต์ แล้วเหมือนอะไร "

Friday, November 16, 2012

Is Buddhism pessimistic ?

Is Buddhism pessimistic ?

         Some western theologians criticize Buddhist teaching about suffering as being a pessimistic view of a world negative religion. For Claude Whitmyer, he disagrees with this myth. He contends in his article " Doing Well by Doing Good : "

         " If we suffering consider with the right view, we will see clearly that, suffering is really present in the world, despite our many and varied attempts to deny it and get on with our mundane routine life. The deepest, most persistent suffering comes from attachment to our desire, and our inability to accept the inevitability of change. Attachment cease when we let go of our fixed notions about the world and being to accept things as they are. As a result, suffering ceases. The way to learn to do this, the Buddha tells us, is to practice the Noble Eightfold Path. "

          Also T.F.Clearly, he argues with the view that Buddhism is pessimistic : " Western culture has interpreted these statements [ the Three Common Characteristics and the Four Noble Truth ] as implying that life is suffering. In fact, a conventional translation would be : " All is transient, all is sorrow. When one sees this, one is above misery. This is the clear path. "

Thursday, November 15, 2012

พุทธศาสนา มองโลกในแง่ร้ายจริงหรือ ?

พุทธศาสนา มองโลกในแง่ร้ายจริงหรือ ?

          เคยมีความเห็นจากนักเทววิทยาชาวตะวันตกบางคนวิจารณ์คำสอนเรื่องทุกข์ในอริยสัจ ว่า พระพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์ปฏิเสธโลกและสอนให้มองโลกในแง่ร้าย แต่สำหรับ เคลาด์ วิตไมเออร์ ผู้ซึ่งเคยศึกษาพุทธศาสนาไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่านี้ ดังบทความที่เขาแสดงความเห็นไว้ในหนังสือเล่มหนึ่งว่า

           " โดยความเป็นจริงแล้ว หากเรามาพิจารณากันให้ถ่องแท้ด้วยสัมมาทิฏฐิ เราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ความทุกข์นั้นเป็นปัญหาที่มีอยู่จริงในโลก แม้จะมีหลายคนพยายามที่จะปฏิเสธและไม่ยอมรับโดยปล่อยให้การดำเนินชีวิตประจำวันเป็นไปตามรูปแบบแห่งโลกียวิสัย แต่หากพิจารณาให้ลึกซึ้ง ความทุกข์นั้นจะยังคงมีอยู่อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น อันเนื่องมาจากความเป็นอนิจจัง เว้นเสียแต่เมื่อเรามองเห็นสัจธรรมว่า สรรพสิ่งทั้งหลายมันเป็นเช่นนั้นเองแล้วเท่านั้น อุปาทานต่อสิ่งที่เราเคยหลงยึดติดอยู่ในโลกนี้จึงจะหมดไป เมื่ออุปาทานดับ ทุกข์ก็ดับ นี่คือคำสอนของพระพุทธองค์ตามแนวทางแห่งมัชฌิมาปฏิปทา "

เลี้ยงลูก...



ถ้าเลี้ยงลูกโดยการจับผิด   เขาจะสถิตความล้มเหลว

ถ้าเลี้ยงลูกโดยไม่เป็นมิตร  เขาจะติดนิสัยต่อต้าน

ถ้าเลี้ยงลูกโดยการเย้ยหยัน  เขาจะหวั่นกลัวและขี้ขลาด

ถ้าเลี้ยงลูกโดยให้ได้อับอาย  เขาจะเป็นคนที่รู้สึกว่าทำผิด

ถ้าเลี้ยงลูกด้วยความมานะ  เขาจะไม่ลดละความอดทน

Wednesday, November 14, 2012

การให้

กิเลสบุญ

          สมัยที่ท่านเฉิงจัวบวชอยู่ที่วัดเหวียนเจี๋ยนั้น ชื่อเสียงของท่านโด่งดังมาก ทุกครั้งที่แสดงธรรม ศาสนิกชนจะแห่กันมาฟังธรรมแน่นวัด จนวัดดูเล็กแคบน่าอึดอัด ดังนั้น จึงมีคนเสนอให้ขยายวัด 

           เศรษฐีคนหนึ่งมีจิตศรัทธาบริจากเงินสร้างวัด เขาแบกทองคำหนัก 100 ตำลึงทองมาถุงหนึ่ง มาถึงวัดก็รีบนำมาถวายท่านเฉิงจัว ท่านเฉิงจัวรับทองคำไว้แล้วก็ไปทำงานของท่าน ท่านเศรษฐีรู้สึกไม่พอใจอย่างยิ่ง เขาคิดในใจว่า " ทองคำตั้ง 100 ตำลึง เป็นเงินไม่น้อยเลย แต่ดูท่านเฉิงจัวสิ ไม่ขอบคุณสักคำ " คิดเช่นนี้แล้วจึงเดินตามท่านเฉิงจัวไปแล้วทวงถามว่า " ท่านอาจารย์ ในถุงนั่นบรรจุทองคำ 100 ตำลึงนะขอรับ "

           ท่านเฉิงจัวตอบเสียงเรียบเฉยว่า " อาตมาทราบแล้ว ท่านบอกอาตมาเมื่อสักครู่นี้เอง "

           ท่านเศรษฐีไม่พอใจมากยิ่งขึ้น พดเสียงดังว่า " นี่แน่ะ พระสงฆ์ ข้าบริจาคเงินตั้งเยอะแยะ ท่านจะไม่ขอบคุณข้าสักคำเลยหรือ "

Tuesday, November 13, 2012

ขุนช้าง - ขุนแผน " แว่นใหม่ที่ใส่มอง " ( ตอนที่ 4 )

ขุนช้าง - ขุนแผน " แว่นใหม่ที่ใส่มอง " ( ตอนที่ 4 )

          วิถีวิสัยในด้านลบของขุนแผนที่แล่นโลดโดดเด่น แต่ไม่ไคร่มีใครใฝ่เห็นนัก คือการเป็นนักรักซึ่งแย่เอามากๆ หากแต่เรามักเมินการณ์ไป

          ในบรรดา 5 เมียของขุนแผนนั้น ทุกคนโดนมนต์เทพรัญจวนหมด ( บางบทบางคนด้นว่า คาถามหาละลวย ) แล้วตามด้วยการชื่นชมสมสนิทคิดว่าเป็นยอดเสน่ห์แห่งยอดชาย แม้แต่บางรายจะบอกขานขุนแผนมีคารมหวานพกติดปากอยู่เป็นอาวุธคู่บุญ

          แต่ภาพของขุนแผนที่อ่านทีไร แกเล่นใช้มนต์ออกเป่ากรอกหูทุกครั้ง ยังไงๆ ก็ถือว่าได้หญิงมาด้วยฤทธีหาใช่ฝีมือไม่ ทั้งความจริงใจอันจะใช้ผูกตรึงเห็นมีเพียงกึ่งๆ มิเต็มจิต

          วันทองถึงคิดถึงขุนช้างทุกครั้งที่มีเรื่องร้ายแรง ความรักแห่งสายทองที่มีต่อขุนแผนกลับดูแกนๆ พิกล หรือมนต์ที่บัวคลี่ถูกก็มิได้ผูกได้เที่ยงแท้เหนือความเป็นแม่และพ่อ ฯลฯ

          ข้อบกพร่องสิ่งนี้มีต้นเค้ามาจากเหล่ากวีเหมือนที่แย้มไว้ก่อนหน้า เพราะดีแต่ใช้ลีลากลอน ทว่าหย่อนเชิงชั้นแง่การสรรคำนำเสนอหลายส่วน

Monday, November 12, 2012

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๓ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๓ )
เทศกาลลอยกระทง

           เทศกาลที่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดเทศกาลหนึ่งในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ก็คือ เทศกาลลอยกระทง ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงอากาศโปร่งใสสบายและสิ้นสุดฤดูฝนแล้ว นอกจากนี้ระดับน้ำในแม่น้ำละคลองทั่วทั้งประเทศก็มีระดับสูงด้วย

            คำว่า " Loy " ก็คือ " ลอย " และคำว่า " กระทง " นี้หมายถึงกระทงรูปดอกบัวทำด้วยใบตองและใูกระทงส่วนใหญ่ก็จะใส่เทียนไข ธูป ๓ ดอก ดอกไม้และเงินเหรียญ

            ความจริงแล้ว เทศกาลนี้แต่เดิมเป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ซึ่งประชาชนต้องการแสดงความขอบคุณต่อเจ้าแม่คงคา ดังนั้น คืนเดือนเพ็ญประชาชนจึงจุดเทียนและธูปพร้อมกับตั้งจิตอธิษฐานแล้วจึงลอยกระทงในลำคลอง แม่น้ำ หรือแม้แต่สระน้ำเล็กๆ เป็นที่เชื่อกันว่า กระทงนี้จะพาไปซึ่งบาปและความโชคร้ายทั้งมวลออกไป นอกจากนี้การตั้งจิตอธิษฐานก็เพื่อปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง แน่นอนที่สุดช่วงนี้เป็นเวลาแห่งความรื่นเริงและสนุกสนาน เพราะได้ลอยความเศร้าโศกต่างๆ ออกไปแล้ว