คนฉลาดที่โง่ กับ คนโง่ที่ฉลาด
ผมรู้สึกว่าไม่มีศัพท์อะไรเข้าใจยากยิ่งกว่าคำว่า " โง่ " และ " ฉลาด " อีกแล้ว ผมพบความจริงข้อนี้เมื่อประมาณ 10 ปีก่อน ขณะที่ผมพบคำว่า " คนบางคนอวดฉลาด " ในพจนานุกรมสำนวน ผมอธิบายเองว่า " บางคนอวดฉลาด ที่แท้คือคนโง่ " นี่มิใช่ตัวผมเองดอกหรือ ? บางคน " ทำใบ้แสร้งโง่ ที่แท้คือคนฉลาด " เป็นแบบนี้เอง เขาก็คือคนโง่ที่ฉลาดมั้ง !
หลังจากผมได้รับการกระตุ้นจากสำนวนข้างต้นแล้ว ก็ไม่เคยลืมผ่านมากว่า 10 ปีจนทุกวันนี้ ยังถึงกับคิดจะเขียนหนังสือ ปรัชญาแห่งความโง่เขลา ช่างเป็นเรื่องประหลาดแท้
เมื่อเร็วๆ นี้ ผมมีโอกาสสนทนากับคุณชิโละโอะ ทสึโตมุ เจ้าของโรงแรมเทนโนบิในโอซาก้า ท่านสอนบางสิ่งบางอย่างแก่ผม ซึ่งล้วนเป็นเรื่องน่าสนใจ ท่านบอกว่า คนโง่และคนฉลาดมีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่
ประเภทที่ 1 คนฉลาด ฉลาดมากไปจนไม่สามารถเข้าใจคนอื่น
ประเภทที่ 2 คนโง่ที่ฉลาด แสร้งโง่ดักดาน ที่แท้คือคนที่ฉลาด
ประเภทที่ 3 คนฉลาดที่โง่ คนโง่ที่อวดฉลาด
ประเภทที่ 4 คนโง่ดักดาน ทำอะไรไม่เป็น นี่คือคนโง่ที่แท้
เขาแบ่งคนออกเป็น 4 ประเภท พร้อมกับอธิบายว่า " คนฉลาด " ไปไม่รอด " คนฉลาดที่โง่ " ชอบอวดฉลาด ก็ไปไม่รอด คนโง่ดักดานก็ไปไม่รอด มีแต่ " คนโง่ที่ฉลาด " รู้แจ้งโง่งำประกาย จึงจะดีที่สุด... อธิบายเช่นนี้เชื่อว่าคนส่วนใหญ่คงจะเข้าใจ
ถึงฉลาดจริง ก็ไม่ควรโอ่อวด ในเมื่อฉลาด ก็ควรแสร้งโง่ไม่ให้คนอื่นรู้ นี่คือคนฉลาดที่แท้ ซึ่งเรียกว่า " คนโง่ที่ฉลาด "
บนโลกนี้ มีคนอวดฉลาดอยู่มากมาย ที่จริงไม่รู้กลับอวดรู้ ที่แท้ไม่เข้าใจกลับโอ่ว่าเข้าใจดี คล้าย " การขอคำแนะนำจากผู้อื่น แสดงตนว่าไม่รู้ เป็นเรื่องน่าอับอาย " ก็เพราะโลกนี้มีคนประเภทนี้มากมาย จึงมีคำเตือนดังต่อไปนี้
" ฟังก็เพียงอับอายชั่วขณะ ไม่ฟังจะอับอายชั่วชีวิต "
เห็นได้ชัดว่า คนที่รู้จัก " ฟัง " อย่างเสมอต้นเสมอปลาย กับคนที่ไม่รู้จัก " ฟัง " อย่างเสมอ้นเสมอปลาย จะเกิดผลลัพธ์แตกต่างอย่างมาก นี่มิเพียงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้เท่านั้น นิสัยเรียบๆ ซื่อตรงของคนประเภทแสร้งโง่ ยังเป็นที่ต้อนรับและเชื่อถือด้วย ขณะที่นิสัยเจ้าเล่ห์อวดฉลาดของคนฉลาด มีแต่จะทำให้คนอื่นเกลียดชังและตัวเองกลายเป็นคนไม่เป็นที่พึงปราถนา
by อิบูคิ ทาคาชิ, โทขุระ โทราโอะ ( คนฉลาดแสร้งโง่ )
No comments:
Post a Comment