ต้านกระแสคือหลักการข้อหนึ่งของ
ลัทธิมาร์กซ - เลนิน
เลนินต่อสู้ เพื่อก่อตั้งพรรคการเมืองปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพแบบใหม่
เหมาเจ๋อตุงกล่าวว่า " ต้านกระแสคือหลักการข้อหนึ่งของลัทธิมาร์กซ - เลนิน มาร์กซ เองเกงส์ เลนิน สตาลิน และเหม๋าเจ๋อตุง ปรมาจารย์ปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่ล้วนแต่เป็นตัวแทนและปรมาจารย์ที่กล้าต้านกระแสและยืนหยัดในแนวทางที่ถูกต้อง ท่านเหล่านั้นไม่เพียงแต่ได้อรรถาธิบายถึงความหมายอันยิ่งใหญ่ของการต้านกระแสอย่างลึกซึ้ง ในทางทฤษฎีเท่านั้น ทั้งยังได้สร้างแบบอย่างอันรุ่งโรจน์ในทางปฏิวัติไว้แก่เราอีกด้วยในปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 เพื่อก่อตั้งพรรคการเมืองชนชั้นกรรมาชีพแบบใหม่ เลนินได้ทำการต่อสู้กับพวกลัทธิแก้สากลที่ 2 ตลอดจนตัวแทนของมันในรัสเซีย ก็คือตัวอย่างอันรุ่งโรจน์ในการต้านกระแส
เมื่อจะปฏิวัติก็ต้องมีพรรคปฏิวัติพรรคหนึ่ง
ปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ทุนนิยมย่างเข้าสู่ขั้นจักรพรรดินิยม จักรพรรดินิยมคือทุนนิยมที่ผูกขาด เป็นทุนนิยมที่เป็นกาฝากหรือเน่าเฟะเป็นทุนนิยมหรือร่อแร่จวนสิ้นลมปราณ จักรพรรดินิยมทำให้ความขัดแย้งทั้งปวงของทุนนิยมแหลมคมจนขีดสุด ดังนั้นในยุคจักรพรรดินิยม การปฏิวัติสังคมนิยมองชนชั้นกรรมาชีพจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ รัสเซียสมัยพระเจ้าซาร์เป็นประเทศ " จักรพรดินิยมศักดินา ทหาร ลักษณะพิเศษของมันก็คือทุนนิยมผูกขาดกับเศษเดนระบอบทาสกสิกรศักดินาประสมกัน แสดงออกในทางการเมืองคือการปกครองอันเหี้ยมโหดของระบอบสมบูรญาณาสิทธิราชของพระเจ้าซาร์ ภายในประเทศกดขี่ประชาชนผู้ใช้แรงงานอย่างทารุณ ภายในประเทศกดขี่ประชาชนผู้ใช้แรงงานอย่างทารุณ ภายนอกประเทศก็ดำเนินการขยายอิทธิพลด้วยกำลังทหาร และปล้นสดมภ์อย่างบ้าคลั่งไปทั่ว ในทศวรรษที่ 8 - 9 ของศตวรรษที่ 19 ชนชั้นกรรมาชีพรัสเซียได้ทำการต่อสู้หยุดงานที่มีลักษณะมวลชนไปทั่วทุกแห่งหน ขณะเดียวกันหน่วยลัทธิมาร์กซรุ่นแรกก็ได้ปรากฏขึ้น " เมื่อจะปฏิวัติก็ต้องมีพรรคปฏิวัติพรรคหนึ่ง " ภาระหน้าที่อันรีบด่วนที่แบอยู่เบื้องหน้า นักปฏิวัติชาวรัสเซียในเวลานั้นก็คือ ก่อตั้งพรรคการเมืองชนชั้นกรรมาชีพแบบใหม่ขึ้น เพื่อนำชนชั้นรรมาชีพและมวลชนอันไพศาลไปโค่นล้มระบอบสมบูรณาญิสิทธิราชของพระเจ้าซาร์ แล้วก้าวไปสู่การต่อสู้ที่ทำให้การปฏิวัติสังคมนิยมปรากฏเป็นจริงขึ้น เลนินปรมาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ได้เข้าใจความจริงข้อนี้ก่อนใครอื่น ทั้งได้เข้าแบกรับภาระหน้าที่ทางประวัติศาสตร์นี้อย่างกล้าหาญในปี 1895 เลนินได้ก่อตั้ง " สมาคมต่อสู้ปลดแอกชนชั้นกรรมกรแห่งปีเตอร์เบอร์ก " ขึ้นที่ปีเตอร์เบอร์ก ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเมืองของรัสเซียดำเนินโฆษณาเผยแพร่ลัทธิมาร์กซในหมู่กรรมกรเป็นการใหญ่ เตรียมการก่อตั้งพรรคอย่างเอาการเอางานแต่เลนินก็ได้ถูกจับกุมในปีนั้นเองและแล้วก็ถูกเนรเทศ " สมาคมต่อสู้ " แห่งปีเตอร์เบอร์ก ตลอดจนในที่อื่นๆ ได้ทำการทดลองตั้งพรรคในปี 1896 โดยเรียกประชุมสมัชชาผู้แทนครั้งแรกของพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยแห่งรัสเซีย แต่การประชุมครั้งนี้เพียงแต่ได้ประกาศก่อตั้งพรรคเท่านั้น หาได้สร้างพรรคขึ้นมาอย่างแท้จริงไม่
ขณะนั้นลัทธิแก้กำลังระบาดอย่างบ้าคลั่งในสากลที่สอง เลินชี้ให้เห็นว่า : กระแสความคิดลัทธิฉวยโอกาสชนิดนี้ " มิใช่เป็นปรากฏการณ์บังเอิญ หาใช่เป็นโทษความผิดหรือการทรยศของบุคคลบางวคนไม่ หากแต่เป็นผลผลิตของสังคมแห่งยุค ในยุคจักรวรรดินิยมนายทุนผูกขาด ในประเทศจักรวรรดินิยม ได้ปันเงินส่วนน้อยส่วนหนึ่งจากกำไรผูกขาดที่มีอัตราสูงซึ่งได้มาจากการขูดรีด ต่างประเทศมาหว่านซื้อพวกชนชั้นสูงในชนชั้นกรรมกร เพาะเชื้อลัทธิฉวยโอกาสขึ้น เพราะฉะนั้น ถึงปลายศตวรรษที่ 19 ต้นศตวรรษที่ 20 ลัทธิแก้จึงกลายเป็นปรากฏการณ์ทางสากลอย่างหนึ่ง ทั้งยังมีฐานครอบครองในหลายๆ พรรคของสากลที่สองอีกด้วย พวกลิทธิแก้ในประเทศทั้งหลายต่างส่งเสียงโขมงโฉงเฉง ว่าท่าใหญ่โต หมายที่จะฉุดลากขบวนการลัทธิคอมมิวนิสต์สากลเข้ารกเข้าพงไป บุคคลที่เป็นตัวแทนของกระแสทวนนี้ก็คือเบิร์นสไตน์แห่งพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมัน ซึ่งเป็นขรัวเฒ่าเจ้าแห่งลัทธิแก้ที่ฉาวโฉ่นั้นเอง
ภายหลังเองเกลส์ถึงแก่กรรมไปเมื่อปี 1895 เบิร์นสไตน์ผู้ตีสองหน้าที่มักใหญ่ใฝ่สูงที่คัดค้านการปฏิวัติซึ่งแฝงตัวอยู่ในพรรคเยอรมันก็กระโดดออกมาทันที ชูธงดำที่จะทำการแก้ลัทธิมาร์กซออกมา โดยเก็บเอาขี้ปากจากกลุ่มเฟเบียนในอังกฤษ พวกค้านท์ใหม่และดูริงห์ในเยอรมัน เอามาผสมผเสกันเข้าเป็นระบบทฤษฎีลัทิแก้ทำการโจมตีลัทธิมาร์กซอย่างบ้าคลั่ง ในปี 1899 เขาได้ปล่อยหญ้าพิษกอใหญ่ที่ว่า " เงื่อนไขล่วงหน้าของสังคมนิยมและภาระหน้าที่ของพรรคสังคมประชาธิปไตย " ออกมาหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเอา " ทฤษฎี " ลัทธิแก้ทั้งหมดเข้าไว้ ทำการโจมตีส่วนประกอบสามส่วนของลัทธิมาร์กซอย่างชั่วช้า และทำการแก้มันทั่วทุกด้าน ขนานนามเองว่าลัทธิแก้
แกนกลางของลัทธิแก้เบิร์นสไตน์คือคัดค้่านการปฏิวัติที่ใช้ความรุนแรง คัดค้่านเผด็การชนชั้นกรรมาชีพมีความคิดเห็นให้ทุนนิยมงอกเข้าสู่สังคมนิยมอย่างสันติเขาพยายามบิดเบือนคำสอน เกี่ยวกับเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพของมาร์กซและเองเกลส์อย่างสุดแรง เสนอให้เปลี่ยนแปลงพรรคสังคมประชาธิปไตย " พรรคปฏิรูป " " พรรคสันติ " และ " พรรคประชาชาติ " เขาละทิ้งจุดหมายบั่นปลายในการต่อสู้ของพรรคอย่างสิ้นเชิง เสนอสูตรลัทธิแก้เหม็นโฉ่ออกมาว่า " จุดหมายบั้นปลายนั้นเป็นเรืองขี้ผงการเคลื่อนไหบคือทุกสิ่งทุกอย่าง "
ภายหลังที่หนังสือเรื่อง " เงื่อนไขล่วงหน้าของสังคมนิยมและภาระหน้าที่ของพรรคสังคมประชาธิปไตย " ของเบิร์นสไตน์ตีพิมพ์ออกมาแล้ว ก็ได้รับความนิยมชมชอบจากพวกลัทธิฉวยโอกาสของประเทศต่างๆ ในยุโรปอเมริกาทันที หนังสือดำแห่งลัทธิแก้ที่ปฏิกิริยาสุดยอดเล่มนี้ก้ได้เป็นหลักนโยบายของบรรดานักลัทธิฉวยโอกาสในประเทศต่างๆ ไป ถ้าจะใช้คำพูดของเบิร์นสไตน์เองมาบรรยายก็คือว่า ลัทธิแก้ในประเทศต่างๆ ล้วนถือมันเป็น " แกนกลาง " เป็น " ที่พึ่ง " ตั้งแต่นั้นมาการต่อสู้ระหว่างลัทธิมาร์กซกับลัทธิแก้ภายในขบวนการคอมมิวนิสต์สากล " นับเป็นครั้งแรกที่เปลี่ยนจากปรากฏการณ์ในเฉพาะประเทศกลายเป็นปรากฏการณ์ทางสากล " พวกลัทธิแก้ในประเทศต่างๆ " ล้วนได้กลายเป็นน้องในครอบครัวเดียวกัน พวกเขาต่างยกย่องซึ่งกันและกัน ศึกษาซึ่งกันและกันรวมหัวกันโจมตีลัทธิมาร์กซที่เป็น " แบบคัมภีร์ "
ไม่เพียงแต่เท่านี้ พวกลัทธิแก้ในต่างประเทศต่างๆ ยังชิงกันกระทำการตามลัทธิเบิร์นสไตน์ในทางปฏิบัติอีกด้วยในฝรั่งเศสได้มี " กลุ่มเข้าร่วมรัฐบาล " ซึ่งเป็นพวกลัทธิแก้ปรากฏขึ้น ปี 1899 มิเลอแลงหัวโจกพรรคสังคมฝรั่งเศสได้มุดเข้าไปเป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลชนชั้นนายทุนอย่างไร้ยางอาย นั่งบนม้านั่งตัวเดียวกันกับเหล่าเพชรฆาตที่ปราบปรามคอมมูนปารีส ร่วมกันรับใช้ชนชั้นนายทุนผูกขาดกลายเป็น " แบบอย่าง " ในการปฏิบัติตามลัทธิเบิร์นสไตน์
ในปี 1990 สากลที่สองเปิประชุมสมัชชาที่ปารีสได้เกิดการต่อสู้อย่างรุนแรงล้อมรอบปัญหา มิเลอแลงเข้าร่วมคณะรัฐบาล พวกลัทธิแก้ในประเทศต่างๆ อันมีเบิร์นสไตน์เป็นตัวแทนได้ทำการแก้ต่างมิเลอแลงอย่างสุดเรี่ยวแรง โดยเห็นว่านักสังคมนิยมร่วมมือกับชนชั้นนายทุนในรัฐบาลชนชั้นนายทุนในอีกไม่นานข้างหน้า พวกเขายังพูดเหลวไหลว่า นี่คือก้าวแรกที่รัฐชนชั้นกรรมาชีพแย่งยึดอำนาจรัฐ ภายใต้การกัดกร่อนของลัทธิแก้ พรรคการเมืองชนชั้นกรรมาชีพในประเทศต่างๆ ในสากลที่สองก็ค่อยๆ แปรธาตุไป กลายเป็นพรรคการเมืองลัทธิปฏิรูปและลัทธิแก้
ลมร้ายแห่งลัทธิแก้ก็ได้โหมมายังรัสเซียเช่นเดียวกันในขบวนการกรรมกรรัสเซียก็มีลัทธิแก้กลุ่มหนึ่ง ปรากฏขึ้นเช่นเดียวกัน คนกลุ่มนี้พยายามโฆษณาว่าคนงาน " ควรจะดำเนินการต่อสู้ทางเศรษฐกิจเท่านั้น " จึงได้ชื่อว่าเป็น " กลุ่มเศรษฐกิจ " " กลุ่มเศรษฐกิจ " ถือเอาสินค้าดำของลัทธิแก้เบิร์นสไตน์เป็นสินค้าที่ทันสมัยที่สุด เที่ยวเร่ขายในรัสเซีย พวกเขาคัดค้านชนชั้นกรรมาชีพดำเนินการต่อสู้ทางการเมืองอย่างเป็นอิสระ ปฏิเสธความจำเป็นในการก่อตั้งพรรคการเมืองชนชั้นกรมาชีพโดยมูลฐาน พวกเขาอาศัยโอกาสที่เลนินถูกเนรเทศมาทำการเคลื่อนไหวคดค้านการตั้งพรรคการเมืองชนชั้นกรรมาชีพ ในขบวนการกรรมกรอย่างเต็มที่ การที่กระแสทวนลัทธิแก้ท่วมท้นทั้งภายในประเทศและสากลนี้ ทำให้งานสร้างพรรคของรัสเซียมีอันตรายที่จะตายในครรภ์อย่างหนักหน่วง
ในวันเวลาที่เมฆดำปกคลุมไปทั้วนี้ ปรมาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ เลนินผู้กล้าต้านกระแสได้ยืนหยัดในหลักการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ ยืนหยัดถึงความจำเป็นที่จะต้องก่อตั้งพรรค การเมืองของชนชั้นกรรมาชีพ ในภาวะที่ถูกเนรเทศเช่นนี้ เลนินยังคงยืนออกมาต่อสู้กับคลื่นลมอันร้ายแรงอย่างสง่าผ่าเผยโต้การโจมตีของลัทธิเบอร์นสไตน์และ " กลุ่มเศรษฐกิจ " ซึ่งเป็นลูกน้อง " พันธุ์ทาง " ของมันในรัสเซียอย่างเด็ดเดี่ยว
การต่อสู้ที่คัดค้าน ลัทธิเบิร์นสไตน์และกลุ่มเศรฐกิจ
ในปี 1899 ณ สถานเนรเทศ เลนินได้เห็นแถลงการณ์ซึ่งก็คือ " ข้อญัติ " ที่ " กลุ่มเศรษฐกิจ " จัดพิมพ์เผยแพร่อย่างเปิดเผย ท่านก็ลงมือร่าง " สารประท้วงของชาวพรรคสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย " ทันที เสี่ยงอันตรายเดินทางมาทางหมู่บ้านใกล้เคียงแห่งหนึ่ง เรียกประชุมบรรดาชาวลัทธิสังคมประชาธิปไตยที่ถูกเนรเทศมาอยู่ในบริเวณใกล้เคียงนั้น ได้เปิดอภิปรายและลงมติเห็นชอบสารประท้วงฉบับดังกล่าว มีสหายสิบเจ็ดคนลงนามในสารประท้วงนั้น สารประท้วงได้ประณามความคิดเห็นที่เหลวไหลของ " กลุ่มเศรษฐกิจ " อย่างเจ็บแสบ ได้ชี้ให้เห็นว่าการที่จำกัดภาระหน้าที่ของชนชั้นกรรมกรไว้แค่การต่อสู้ทางเศรษฐกิจ ทำให้กรรมกรพึงพอใจ แต่การช่วงชิงผลประโยชน์เฉพาะหน้าที่ให้เพิ่มมากขึ้นเล็กน้อยนั้น เท่ากับเป็นการฆ่าตัวตายทางการเมือง ทำให้กรรมกรตกอยู่ในฐานะเป็นทาสตลอดไป ชนชั้นกรรมาชีพมีแต่ต้องใช้กำลังรุนแรงโค่นล้มการปกครองของชนชั้นนายทุน สร้างเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพขึ้นมาเท่านั้น จึงจะสามารถทำให้ตนเองได้รับการปลดแอกอย่างถึงที่สุด ใน " สารประท้วงของบรรดาชาวพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยรัสเซีย " เลนินได้อรรถาธิบายอย่างลึกซึ้งถึงความสำคัญของการก่อตั้งพรรคกรเมืองชนชั้นกรรมาชีพ เป็นอาวุธสำคัญและมีความหมายชี้ขาดในการต่อสู้ที่ชนชั้นกรรมาชีพคัดค้านชนชั้นนายทุน เมื่อชนชั้นกรรมาชีพมีอาวุธนี้แล้วจึงจะสามารถได้รับชัยชนะในการต่อสู้ทางชนชั้น สารประท้วงได้เผยแพร่ออไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็วในหมู่ชาวลัทธิมาร์กซรัสเซีย เกิดบทบาทอันสำคัญในการขจัดเมฆหมอกที่กลุ่มเศรษฐกิจสร้างขึ้น ขณะเดียวกันเลนินก็หาได้หวั่นเกรงต่อคนใหญ่คนโตเช่นเบิร์นสไตน์หัวโจกลัทธิแก้แห่งสากลที่สองไม่ ท่านไดพุ่งปลายหอกการโจมตีไปยังเบิร์นสไตน์อย่างโดยตรงห้าวหาญ ประณามลัทธิเบิร์นสไตน์ว่าเป็น " ลัทธิฉวยโอกาสสุอยอด " ท่านกล่าวอย่างมั่นใจว่า " ความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับของมันนั้นคงจะเป็นสิ่งที่พักมิต้องสงสัย "
ปี 1990 เลนินกลับจากถกเนรเทศ ท่านทุ่มเทกำลังทั้งหมดไปในการตระเตรียมงานก่อตั้งพรรคทันทีโดยออกหนังสือพิมพ์ " ประกายไฟ " เพื่อเป็นที่มั่นในการโฆษณา ทำการิพากษ์ลัทธิเศรษฐกิจและลัทธิเบิร์นสไตน์ลึกเข้าไปอีกก้าวหนึ่ง ในปี 1902 เลนินได้ชี้ออกมาอย่างแหลมคมในหนังสือเรื่อง " ทำอย่างไร ? " ว่าลัทธิเศรษฐกิจ มิใช่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างบังเอิญในรัสเซีย กลุ่มเศรษฐกิจนั้นก็คือกลุ่มคนที่เผยแพร่ผลสะท้อนของชนชั้นนายทุน ในหมู่ชนชั้นกรรมกร พวกนี้มีกลุ่มลัทธิแก้ที่สนับสนุนทัศนะของลัทธิฉวยโอกาสเบิร์นสไตน์ ซึงอยู่ในพรรคสังคมประชาธิปไตยของประเทศต่างๆ ในยุโรปเป็นพันธมิตร พวกเขาเรียกร้องให้แก้ไขปรับปรุงคำสอนของมาร์กซ ภายใต้ร่มธง " วิจารณ์อย่างเสรี " ที่กระทำต่อลัทธิมาร์กซ พวกเขาปฏิเสธการปฏิวัติ ปฏิเสธสังคมนิยม และปฏิเสธเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ ขณะเดียวกันเลนินยังได้ชี้ออกมาอย่างลึกซึ้งว่า จุดมุ่งหมายโดยตรงในการต่อสู้ของชนชั้นกรรมกรนั้น ไม่เพียงแต่เพื่อปรับปรุงเงื่อนไขในการที่กรรมกรขายแรงงานของตนให้แก่ชนชั้นนายทุนเท่านั้น หากยังเพื่อจะทำลายระบอบทุนนิยมที่บีบบังคับให้กรรมกรต้องขายแรงงานของตน ให้แก่นายทุนและต้องยอมทนรับการขูดรีดนั้นโดยสิ้นเชิงอีกด้วย ด้วยประการฉะนี้ก็ได้บดขยี้ระบบความคิดของกลุ่มเศรษฐีอย่างที่สุด และได้ตระเตรียมทางความคิดให้แก่การก่อตั้งพรรค ขณะเดียวกันหนังสือพิมพ์ " ประกายไฟ " ยังได้เชื่อมบรรดาหน่วยลัทธิมาร์กซที่กระจายเป็นขั้นต้น ซึ่งเป็นการเตรียมเงื่อนไขให้แก่การเรียกประชุมสมัชชาทั่วประเทศครั้งที่สองของพรรคกรรมกรสังคมประชาธิปไตยแห่งรัสเซีย
By กำเนิดลัทธิมาร์กซ
No comments:
Post a Comment