เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๖ )
บุญบั้งไฟ
โดยปกติงานบุญบั้งไฟนี้ จะจัดให้มีขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคมในแต่ละปีและช่วงนี้ก็เป็นระยะวลาเริ่มต้นของฤดูฝน ชาวนาต่างก็พร้อมที่จะทำการเพาะปลูก เทศกาลนี้นิยมเฉลิมฉลองกันมากในจังหวัดทางภาคอีสาน เช่น ยโสธร และ อุบลราชธานี การฉลองก็เพื่อเป็นการวิงวอนขอฝนจากพระพิรุณให้ประทานฝนมามากๆ ในช่วงฤดูการปลูกข้าวที่กำลังมาถึง
เทศกาลนี้มีที่มาจากตำนานกล่าวว่า เทพบุตรนามว่า " วัสสกาล เทพบุตร " ผู้ซึ่งเป็นที่เลื่องลือว่ามีความเสน่หาในการบูชาด้วยไฟเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นเพื่อให้มีน้ำฝนเพียงพอต่อการเพาะปลูกข้าว ชาวนาจึงส่งจรวด ( บั้งไฟ ) ที่ทำขึ้นเองไปยังสวรรค์ซึ่งเป็นที่สถิตของวัสสกาลเทพบุตร นับแต่นั้นมาเทศกาลนี้ก็ถือเป็นประเพณีปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้
ภายใต้การแนะนำของพระสงฆ์ ชาวบ้านต่างก็ใช้เวลาหลายสัปดาห์เพื่อทำบั้งไฟ แท่นยิงและการประดับประดาอื่นๆ โดยเฉลี่ยบั้งไฟแต่ละบั้งมีความยาวประมาณ ๙ เมตร และบรรจุดินปืนประมาณ ๒๐ - ๒๕ กก.
ครั้นตอนบ่ายของวันทำพิธี จะมีการแห่แหนบั้งไฟไปยังสถานที่สำหรับจุด ชาวบ้านต่างก็แต่งตัวตามประเพณีสวยงามเพื่อดึงดูดสายตาของคนดู ผู้ซึ่งเข้าแถวเรียงรายไปตามเส้นทางขบวนแห่
แต่ก่อนที่จะจุดบั้งไฟ ก็มีการขับร้องและเต้นรำเพื่อฉลองเทศกาลนี้กันอย่างครึกครื้นพอสมควร จุดเด่นของเทศกาลนี้ก็คือ ตอนที่จุดบั้งไฟ ซึ่งจะจุดทีละบั้ง การจุดแต่ละครั้งก็จะตามด้วยเสียงเชียร์และเสียงดนตรีดังอึกทึกไปทั่วบริเวณ บั้งไฟที่ขึ้นไปสูงสุดจะได้รับการตัดสินว่าชนะและผู้เป็นเจ้าของบั้งไฟที่ชนะเลิศนั้นก็จะเต้นรำและขอรางวัลจากคนทั่วไปในระหว่างทางที่่กลับบ้าน ในขณะเดียวกัน เจ้าของบั้งไฟที่ระเบิดหรือจุดไม่ขึ้นก็จะถูกโยนลงไปในโคลน การฉลองนี้เป็นกิจกรรมร่วมกันของชาวบ้าน ผู้ซึ่งต่างก็มาร่วมรื่นเริงสนุกสนานด้วยกันก่อนที่จะบ่าบยหน้าไปยังทุ่งนา ซึ่งรอการคลาดไถปักดำอยู่เบื้ิองหน้า
By Essays on Thailand
No comments:
Post a Comment