แบบมาตรฐานการแปลความในวงจรปฏิจจสมุปบาท
เนื่องจากหลักคำสอนในเรื่องปฏิจจสมุปบาทค่อนข้างยากต่อการทำความเข้าใจ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาพุทธธรรมโดยละเอียดอย่างผู้เชี่ยวชาญทางพุทธศาสนา ดังนั้นสำหรับผู้อ่านทั่วไปที่ต้องการเข้าถึงหลักธรรมอย่างกว้างๆ อาจทำความเข้าใจกับเรื่องนี้ที่พอจะสรุปให้ง่ายขึ้นจากการอธิบายเป็น 2 แบบ ดังนี้
แบบแรก เป็นการอิบายสิ่งที่เคยพบเห็นและได้ยินได้ฟังอยู่เสมอๆ นั่นคือ แบบวงจรหรือวงล้อแห่งการเวียนว่ายตายเกิดหรือวัฏสังสาร กับอีกแบบหนึ่งเรียกว่า ไตรวัฏ กล่าวถึงวงจรจากการกระทำอันเนื่องมาจากกิเลส ที่ประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการประกอบกรรมและรับผลของการกระทำ หมุนเวียนติดต่อกันไปตลอดช่วงของชีวิตประจำวันตราบที่อาสวะเหล่านี้ยังไม่หมดสิ้นไป
การอธิบายแบบวงจรสังสารวัฏ จะกล่าวถึงกรรมที่ทำไว้ในอดีตชาติ ส่งผลให้มีการรับกรรมในชาตินี้ และกรรมดีกรรมชั่วที่ประกอบไว้ในชาตินี้จะส่งผลต่อชีวิตในชาติหน้า โดยนับเอาอวิชชา และสังขารที่ก่อให้เกิดการกระทำกรรมไว้เป็นเรืองอดีตชาติ จัดอธิบายให้ปัจจัยรวมที่ประกอบด้วย วิญญาณ รูป และ นาม อายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน และภพไว้ในชาติปัจจุบัน ส่วน ชาติ ชรา มรณะ รวมทั้ง ความเศร้าโศก คร่ำครวญ ฯลฯ อันเป็นส่วนที่เรียกว่าทุกข์ จัดไว้ให้รออยู่ในชาติหน้า การแสดงธรรมโดยนัยนี้ทำให้หลักการสอนในทางพุทธศาสนาไม่แตกต่างไปจากหลักความเชื่อในศาสนาและปรัชญาจิตนิยมอื่นๆ ที่ตั้งสมมติฐานในการมีอยู่ของมูลการณ์ คือ พระเจ้า ซึ่งเป็นการสอนที่ส่อแสดงว่าน่าขัดหรือเข้ากันไม่ได้กับทฤษฎีอนัตตาในทางพุทธศาสนาหรือไม่ เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาพุทธรรมควรนำมาพิจารณาด้วยปัญญาของตนเอง
ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการอธิบายในแบบข้ามภพข้ามชาติอาจเลือกทำความเข้าใจกับการแสดงธรรมในรูปแบบที่สอง เรียกว่า ไตรวัฏ ซึ่งประกอบด้วยวงจรของ กิเลส กรรม และ วิบาก ที่อธิบายการเกิดดับทุกข์ทั้งในระดับปัจเจกชนและระดับสังคม ทั้งสามวัฏ คือ กิเลส กรรม วิบาก จะหมุนเวียนกันติดต่อกันไปตามกระแสการทำงานของจิตที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น
กิเลสวัฏ ประกอบขึ้นจากอาสวะ คือ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน รวมเรียกว่า กิเลส หรือ อาสวะ ที่เป็นแรงกะตุ้นให้เกิดสังขารปรุงแต่งทั้งทางด้านความคิดและการกระทำ
กรรมวัฏ ประกอบขึ้นด้วยแรงผลักดันจากกิเลสให้เกิดการประกอบกรรมตามที่สังขารปรุงแต่งขึ้นจากอิทธิพลของอาสวกิเลส ที่เรียกว่า กรรมภพ
วิบากวัฏ ได้แก่ วิญญาณทั้งหก รูปและนาม อายตนะ ผัสสะ และเวทนา ซึ่งถือว่าเป็นวิบากกรรมของชีวิตอันเป็นผลมาจากกรรม กรรมเหล่านี้จะกลับไปเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงกิเลสให้หมุนเวียนมาเป็นเหตุให้มีการสร้างกรรมเพิ่มมากยิ่งขึ้น ตราบเท่าที่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ยังไม่ถูกกำจัดออกไปจากวงจรไตรวัฏ
เนื่องจาก อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นกิเลสหรืออาสวะที่มีความสำคัญต่อกระบวนการเกิดดับแห่งทุกข์ในวงจรปฏิจจสมุปบาท ดังนั้นในการอธิบายจึงนิยมเริ่มต้นจากอวิชชาเป็นปัจจัยแรก เช่นในการอธิบายจึงนิยมเริ่มต้นจากอวิชชาเป็นปัจจัยแรก เช่นในการอธิบายในรูปแบบของสังสารวัฏ ก็จัดให้ตัณหาเป็นปัจจัยเริ่มในปัจจุบัน ต่อด้วยเวทนาไปจนถึงชาติชรามรณะในอนาคต
สังสารวัฏ เป็นรูปแบบในการอธิบายที่ตีความเอาตามตัวอักษรในหลักปฏิจจสุมปบาทชนิดที่ไม่มีต้นไม่มีปลายอย่างเรียกว่าข้ามภพข้ามชาติ กล่าวคือ จาก อดีต ปัจจุบัน ไปจนถึงชาติต่อไปไม่มีทางที่สิ้นสุดตามผลของกรรม ดังที่พระคูณเจ้าทั้งหลายนิยมนำมาสั่งสอนชาวบ้าน การสอนในลักษณะเช่นนี้ ถึงแม้ว่าจะได้ประโยชน์อยู่บ้างในทางศีลธรรมจริยรรม แต่ก็เห็นว่ามีข้อจำกัดเมื่อพิจารณาตามหลักมัชเฌนธรรมเทศนา ซึ่งอาจถือได้ว่าน่าจะขัดกับหลักสัมมาทิฏฐิในทางพุทธศาสนา
อย่างไรก็ตาม ในหนังสือพุทธธรรมของท่านพระธรรมปิฎกแนะนำให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับคำอธิบายแบบข้ามภพข้ามชาติ สามารถเลือกทำความเข้าใจกับคำสอนในแบบที่สองที่อธิบายถึงกระบวนการเกิดดับแห่งทุกข์ที่มีผลให้เห็นจริงในชาตินี้ นั่นคือการอธิบายตามหลักไตรวัฏ อันเป็นกระบวนการอธิบายโดยวิธีนี้ค่อนข้างจะยาก แต่เป็นเหตุเป็นผลและน่าจะเข้ากันได้หลักคำสอนเกี่ยวกับเรื่องอนัตตาในทางพุทธศาสนา
วงจรที่แสดงดังต่อไปนี้ เป็นเครื่องแสดงการเกิดปัญหาคือความทุกข์ทั้งในระดับบุคคลและในระดับชุมชนหรือสังคม
ในระดับบุคคล วงจรปฏิจจสมุปบาทจพเริ่มอธิบาย โดนนกเอาอวิชชาเป็นตัวหลัก จากอวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร >>> วิญญาณ >>> นามรูป >>> อายตนะ >>> ผัสสะ >>> เวทนา >>> ตัณหา ต่อจากนั้นในระดับบุคคล ตัณหาเป็นปัจัยให้เกิด อุปาทาน >>> ภพ >>> ชาติ >>> ชรา >>> มรณะ และในที่สุดนำไปสู่กองทุกข์
ส่วนในระดับชุมชนหรือในระดับสังคมส่วนรวม ตัวตัณหาที่บุคคลในสังคมยึดจะเป็นปัจจัยให้เกิดการแสวงหา การยึดถือเอาเป็นของตน การยึดครองเป็นเจ้าของ ความตระหนี่เห็นแก่ตัว การปกป้อง การกันไม่ให้ผู้อื่นเข้ามายุ่งเกี่ยว นำไปสู่การถกเถียง โต้แย้งทะเลาะวิวาท แก่งแย่งชิงดี ผิดศีลธรรม โกหกหลอกลวง ก่อให้สังคมนั้นๆ อยู่ไม่เป็นสุขหรือเต็มไปด้วยความทุกข์ เป็นต้น
ผู้ที่สนใจในเรื่องนี้สามารถอ่านและศึกษารายละเอียดได้จากหนังสือพุทธรรมของท่านพระธรรมปิฎก ( ป.อ. ปยุตโต )
By แก่นพุทธธรรม
No comments:
Post a Comment