กิเลสบุญ
สมัยที่ท่านเฉิงจัวบวชอยู่ที่วัดเหวียนเจี๋ยนั้น ชื่อเสียงของท่านโด่งดังมาก ทุกครั้งที่แสดงธรรม ศาสนิกชนจะแห่กันมาฟังธรรมแน่นวัด จนวัดดูเล็กแคบน่าอึดอัด ดังนั้น จึงมีคนเสนอให้ขยายวัด
เศรษฐีคนหนึ่งมีจิตศรัทธาบริจากเงินสร้างวัด เขาแบกทองคำหนัก 100 ตำลึงทองมาถุงหนึ่ง มาถึงวัดก็รีบนำมาถวายท่านเฉิงจัว ท่านเฉิงจัวรับทองคำไว้แล้วก็ไปทำงานของท่าน ท่านเศรษฐีรู้สึกไม่พอใจอย่างยิ่ง เขาคิดในใจว่า " ทองคำตั้ง 100 ตำลึง เป็นเงินไม่น้อยเลย แต่ดูท่านเฉิงจัวสิ ไม่ขอบคุณสักคำ " คิดเช่นนี้แล้วจึงเดินตามท่านเฉิงจัวไปแล้วทวงถามว่า " ท่านอาจารย์ ในถุงนั่นบรรจุทองคำ 100 ตำลึงนะขอรับ "
ท่านเฉิงจัวตอบเสียงเรียบเฉยว่า " อาตมาทราบแล้ว ท่านบอกอาตมาเมื่อสักครู่นี้เอง "
ท่านเศรษฐีไม่พอใจมากยิ่งขึ้น พดเสียงดังว่า " นี่แน่ะ พระสงฆ์ ข้าบริจาคเงินตั้งเยอะแยะ ท่านจะไม่ขอบคุณข้าสักคำเลยหรือ "
ท่านเฉิงจัวหันมาตอบว่า " เงินนั่น ท่านทำบุญให้พระให้เจ้าบุญกุศลเป็นของท่านเอง ถ้าหากท่านเห็นการทำบุญเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง อาตมาจะกล่าวขอบคุณแทนพระเจ้าก็ได้ แต่ว่า นับแต่นี้ไปความสัมพันธ์ระหว่างท่านกับพระเจ้าก็กลายเป็นความสัมพันธ์แบบซื้อ - ขายท่านจะเอาใหม "
ท่านเศรษฐีอายจนก้มหน้างุดๆ อำลาจากไปทันที
แง่คิด
ทำบุญเพื่อให้รู้จักการ " ให้ "
พะพุทธเจ้าสอนให้ชาวพุทธทำบุญ บริจาคทาน เพื่อฝึกให้รู้จัก " ให้ " เป็นการชำระจิตใจให้โปร่งโล่ง ไม่ยึดติดกับกิเลสทั้งหลาย แต่คนส่วนใหญ่กลับทำบุญด้วยความโลภ " ให้ " เพราะ " เพราะอยากได้ " บริจาค 100 บาท อธิษฐานให้ถูกหวยหนึ่งล้านบาท บริจาคเงินสร้างวัดหนึ่งแสนบาท อธิษฐานขอให้ทำมาค้าขึ้น ได้กำไรร้อยล้าน พันล้าน หรือไม่ก็ขอให้ตายแล้วได้ขึ้นสวรรค์ไปเป็นเทวดา หรือไม่ก็เกิดชาติหน้า ขอให้ร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐี สุขสายยิ่งกว่าชาตินี้ ฯลฯ
การทำบุญหรือการทำความดีบนฐานของกิเลสตัณหาเช่นนี้ ยิ่งทำจิตใจก็ยิ่งฟุ้งซ่าน ปัญญาไม่เกิด พฤติกรรมตกต่ำ ไม่ได้บุญ ไม่ได้ดี
ในชีวิตของคนเรา มีเรื่องราวมากมายที่เรามิบังควรเห็นเป็นเรื่อง ซื้อ - ขาย แลกเปลี่ยน อย่างเช่นทำบุญ ถ้าหากทำบุญหวังผล สิ่งศักดิสิทธิ์ก็จกลายเป็นบริษัทประกันภัย และการกระทำบุญก็จะเป็นเพียงการซื้อประกันเพื่อความอุ่นใจ
เด็กๆ มักพูดว่า " คุณครูขา วันนี้หนูตั้งใจเรียน คุณครูน่าจะชมหนูหน่อยนะ " " แม่ครับ วันี้ผมไม่ได้ทำอะไรผิดเลย แม่น่าจะให้รางวัลผมบ้างนะ "
เราพึงระลึกไว้ว่า เรื่องงาน เรื่องความรัก เรื่องครอบครัว การศึกษา การทำความดี การช่วยเหลือสังคม การทำบุญ ฯลฯ นั้นไม่ใช่การค้า ไม่ใช่การแลกเปลี่ยน เราต้องรักงาน รักครอบครัว รักสังคม รักการศึกษา นี่เป็นหน้าที่ที่เราพึงกระทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ใช่เพื่อหน้าตา ทำเพระหวังคำชมเชย
พ่อแม่รักลูกมาก ความรักที่พ่อแม่มีให้ลูกนั้นเป็นความรักที่จริงใจไม่หวังสิ่งตอบแทน แม้ว่าชั่วชีวิตของพ่อแม่ เงินส่วนใหญ่ที่หามาได้จะหมดไปกับการเลี้ยงดูลูกๆ แต่พ่อแม่คิดก็ไม่เคยคิดว่าความรักที่มีให้ลูกๆ นั้นเป็นการลงทุนอย่างหนึ่งที่ต้องถอนทุนคืน
ในโลกนี้ มีคนประเภทหนึ่ง จิตใจเหมือนพ่อแม่ พวกเขามีชีวิตอยู่อย่างสุขสงบเรียบง่าย ถือเอาการทำความดีในแต่ละวันเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต เป็นกิจวัตรประจำวันแบบเดียวกับเรื่องกิน นอน ขับ ถ่าย เป็นการแสดงออกของสามัญสำนึกที่เป็นธรรมชาติมาก
มีคำกล่าวว่า " ผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น บุญคุณ ความดีความชอบของท่าน เราต้องจดจำใส่ใจเสมอ แต่ถ้าเราช่วยเหลือผู้อื่น บุญคุณ ความดีความชอบนั้น จงลืมเสีย อย่าเอามาใส่ใจ "
โปรดอย่าถามว่า " คุณจะทำอะไรให้ฉันได้บ้าง " แต่ควรจะถามว่า " ฉันจะทำอะไรให้คุณได้บ้าง "
By สุภาพร ปิยพสุทรา ( สว่าง อย่าง เซน )
No comments:
Post a Comment