ไตรลักษณ์
ไตรลักษณ์ หมายถึง ลักษณะที่ปรากฏให้เห็นสามอย่าง หรือ สามัญลักษณะ 3 ประการที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบว่า สรรพสิ่งทั้งหลายย่อมตกอยู่ภายใต้การควบคุมจากฏธรรมชาติ 3 ลักษณะอันประกอบด้วย อนิจจา ทุกขตา อนัตตตา หรือที่พากันเรียกง่ายๆ ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งทางพุทธศาสนาใหคำนิยามไว้ดังนี้
อนิจจัง สังขตธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ถาวร มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ทุกขัง สังขตธรรมและอสังขตธรรมทั้งหลายไม่มีตน ไม่ใช่ตัวตน ปราศจากตัวตน เป็นอนัตตา เป็นญญตา
อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ อนิจจัง หมายถึง การเปลี่ยนแปลง ทุกขัง หรือ ทุกข์ หมายถึง ความทนไม่ได้ ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ตลอดกาล เพราะทกสิ่งเกิดจากการรวมตัวกัน ถึงเวลาก็ดับสลายไปด้วยเหตุปัจจัย ส่วนอนัตตา แปลว่า ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตน ( ทั้งนี้รวมทั้งสิ่งที่เกิดจากการปรุงแต่ง - สังขตธรรม และ นิพพาน - อสังขตธรรม )
กฏไตรลักษณ์ หรือ กฏของความเปลี่นยแปลง ยืนยันว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่เป็นสังขตธรรม ถูกปรุงแต่งขึ้นมาจากเหตุปัจจัย ทั้งที่เป็นวัตถุและที่มิใช่วัตถุ ( จิตใจ ) ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ พร้อมกับการแปรเปลี่ยน แล้วก็ดับสูญสิ้นไป ทุกสิ่งเป็นอนัตตา เป็นอนิจจัง ทั้งนี้ย่อมไปรวมถึง รูป เวทนา สัญญา ใจ หรือ ความรู้สึก ( ธรรมารมณ์ ) และ วิญญาณ ชีวิตนั้นเมื่อพิจารณาโดยธรรมชาติแล้วเป็นทุกข์เพราะชีวิตก่อขึ้นภายใต้กรอบแห่งความไม่เที่ยงจีรัง ทุกอย่างไม่มีตัวตน เป็นอนัตตา มีแต่ความว่างเปล่า ไม่มีแก่นสาร ไม่เป็นของจริงและไม่เป็นความจริง ไม่เป็นตัวตน เกิดขึ้นเป็นเอกเทศและอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ได้โดยปราศจากการรวมตัวกันขึ้น เพราะสรรพสิ่งทั้งหลายเป็นสุญญตา เป็นอนัตตา ดังเช่นในทางอภิธรรมที่มีคำเปรียบเทียบไว้ว่า " ไม่มีผู้เดิน มีแต่การเดิน ไม่มีผู้ทำกรรม มีแต่กรรม " นั่นคือ ความหมายของคำว่า อนัตตา พระพุทธเจ้าตรัสว่า
" เมื่อสาธุชนเข้าใจความหมายเช่นนี้ ผู้เป็นศิษย์ของตถาคตทั้งหลาย พึงควรระวังจากอุปาทานในขันต์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เสีย เพื่อจิตใจจะได้หลุดพ้นเป็นอิสระ "
By แก่นพุทธธรรม
No comments:
Post a Comment