จุดกำเนิด
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 18481 คาร์ล มาร์กซ และ ฟรีดิช เองเกลส์ ได้ตีพิมพ์แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ ( Communist Manifesto ) ในนามของกลุ่มแรงงานผู้มีอุดมการณ์กลุ่มหนึ่ง ถึงแม้แต่เดิมมันจะถูกร่างขึ้นเพื่อเป็นแผนการของ " สันนิบาตคอมมิวนิสต์ " ( Communist League ) นานาชาติซึ่งมีที่มาจากแนวทางของกลุ่มสมาคมแรงงานแห่งการเกื้อกูลกันในศตวรรษที่ 19 หากต่อมามันได้กลายเป็นเอกสารทางการเมืองที่สำคัญที่สุดตลอดการชิ้นหนึ่ง ถือได้ว่ามีอิทธิพลเทียงเท่า คำประกาศอิสรภาพ ( Declaration of Independence/ 1776 ) ของสหรัฐอเมริกา และ ปฏิญญาว่า ด้วยสิทธิ ( Declaration of Rights of Man and of the Citizen/ 1789 ) ของฝรั่งเศส
แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์
ถ้อยแถลงการณ์นี้ได้ฝากรอยจารึกอันสำคัญมิรู้เลือนไว้บนเส้นทางความก้าวหน้าของมนุษยชาติ และยังคงเป็นพื้นฐานของระบบความเชื่อทางการเมืองที่เป็นแรงผลักดันของคนหลายล้านในปัจจุบัน ก็แม้แต่หลังการพังทลายของกำแพงเบอร์ลินเมือปี ค.ศ. 1989 และการล่มสลายของคอมมิวนิสต์ในรัสเซียและยุโรปตะวันออกแล้ว หลายคนยังถือว่าพลังความคิดและความกระเดื่องเลื่องลือของมันดำรงอยู่ คำกล่าวใดบ้างเล่าในแถลงการณ์นี้ที่สำคัญและพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน ทั้งนี้ ว่ากันตามถ้อยความของผู้ประพันธ์แล้วข้อเรียกร้องหลักมีดังนี้ คือ...
1. เลิกล้มกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าเช่าที่ดินทั้งหมด สู่การใช้ประโยชน์สาธารณะ
2. เรียกเก็บภาษีเงินได้ในอัตราก้าวหน้าอย่างหนัก หรือเก็บแตกต่างตามชั้นของรายได้
3. ยกเลิกสิทธิในมรดกทุกประเภท
4. ริบสมบัติของพวกที่หลบหนีไปต่างประเทศและพวกกบฎทั้งปวง
5. รวมศูนย์การจัดการสินเชื่อในธนาคารของรัฐ โดยใช้ธนาคารชาติเป็นเครื่องมือผ่านทุนของรัฐและการผูกขาดแต่ผู้เดียวเป็นพิเศษ
6. รวมศูนย์ช่องทางการติดต่อสื่อสารและการเดินทางในมือของรัฐทั้งหมด
7. เพิ่มโรงงานและเครื่องมือการผลิตของรัฐ บุกเบิกที่ดินที่ถูกปล่อยทิ้งไม่ใช้ประโยชน์เพิ่มสภาพอุดมของดินให้สอดคล้องกับแผนการโดยรวม
8. บังคับให้ทุกคนลงแรงงานโดยถ้วนหน้า ก่อตั้งกองทัพอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตร
9. ประสมการเกษตรเข้ากับอุตสาหกรรมการผลิต ค่อยๆ ทลายความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบทลงด้วยการกระจายปริมาณประชากรทั่วประเทศให้เท่าเทียมยิ่งขึ้น
10. จัดการศึกษาแบบให้เปล่าแก่เด็กทุกคนในโรงเรียนรัฐ ล้มเลิกการใช้แรงงานเด็กในโรงงานอย่างที่พบเห็นในปัจุบัน ผสมผสานการศึกษาให้สอดคล้องกับการผลิตเชิงอุตสาหกรรม
" ถ้าหากว่า ระหว่างการขับเคี่ยวกับกระฎุมพีนี้ ทำให้กรรมาชีพจำต้องจัดตั้งเป็นชนชั้นตามแรงบีบของสภาวการณ์ อีกถ้าหากว่า ด้วยการปฏิวัติ กรรมาชีพได้กลายเป็นชนชั้นปกครองเสียเอง และกำจัดเอารูปแบบการผลิตอย่างเก่าทิ้งไป เช่นนี้แล้ว ก็เป็นว่ากรรมาชีพย่อมจะได้กำจัดสภาวะความขัดแย้งระหว่างชนชั้นและสภาวะของชนชั้นออกไปเสียที และนี่ย่อมหมายถึงการจัดสภาวะเหนือกว่าทางชนชั้นออกไปเสียที และนี่ย่อมหมายถึงการขจัดสภาวะเหนือกว่าทางชนชั้นของตนทิ้งไปเช่นกัน อนึ่งเมื่อรื้อถอนสังคมกระฎุมพีอย่างเก่า ที่มีชนชั้นและความขัดแย้งระหว่างชนชั้นออกไปเราย่อมจะมีข่ายใยสัมพันธ์ในแบบที่มีการพัฒนาโดยอิสระของคนคนหนึ่งคือสภาวะตั้งต้นสู่การพัฒนาโดยอิสระของคนทั้งมวล "
ด้วยคำกล่าวนี้ ในช่วงหนึ่งศตวรรษครึ่งถัดมา การเคลื่อนไหวปฏิวัติจึงได้แผ่ไปทั่วบุโรปก่อน จากนั้นจึงลามไปทั่วโลก
By รู้รากมากร์ซิสม์
No comments:
Post a Comment