การบริจาค คือ การ " ให้ " การให้ที่ดี คือ ให้ " ทาน " การให้ทาน ควร กระทำต่อผู้ที่สมควร " ให้ " การ " ให้ " แบบนี้ เรียกว่า การให้โดย " ไม่หวังผลตอบแทน " การให้โดยไม่หวังผลตอบแทน คือ " บุญ " บุญที่เกิดจากจิตใจที่ต้องการจะช่วยเหลือชีวิตๆ หนึ่ง นั้น ย่อมเป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่ และการช่วยเหลือชีวิตผู้อื่น โดยการบริจาคโลหิตนั้น เป็นการทำทานง่ายๆ และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมาย ( อาจจะเสียค่าเดินทาง ) แต่กลับได้รับผลบุญที่ยิ่งใหญ่
" เรามาช่วยกันบริจาคโลหิตกันเถอะ "
คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต
1. มีน้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป
2. อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 60 ปีบริบูรณ์ ( ถ้าเป็นผู้บริจาคครั้งแรกต้องอายุไม่เกิน 55 ปี )
3. มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่อยู่ระหว่างไม่สบายหรือรับประทานยาใดๆ
4. ไม่มีพฤติกรรมเสียงทางเพศ หรือติดยาเสพย์ติด
5. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน ตั้งครรภ์หรือ ให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตร หรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนี่ผ่านมา
การเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต
1. นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อเนื่อง ในเวลาปกติคืนก่อนวันบริจาค
2. รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และบาธาตุเหล็กเพิ่ม
3. รับประทานอาหารมื้อหลักก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
4. ดื้มน้ำ 3 - 4 แก้ว และเครื่องดื่มเหลวเพิ่ม เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิตในร่างกาย จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น มึนงง อ่อนเพลีย หรือ วิงเวียนศรีษะภายหลังบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
5. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก่อนบริจาค
6. งดสูบบุหรี่ ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตให้ดี
ขณะบริจาคโลหิต
1. สวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป สามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว
2. เลือกแขนข้างที่เส้นโลหิตดำใหญ่ชัดเจน ที่สามารถให้โลหิตไหลลงถุงได้ดี บริเวณผิวหนังที่จะให้เจาะ ไม่มีผื่นคัน หรือรอยเขียวช้ำ ถ้าแพ้ยาทาฆ่าเชือ เช่น แอลกอฮอล์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า
3. ทำตัวตามสบาย อย่ากลัว หรือวิตกกังวล
4. ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิต
5. ขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก หากมีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการที่จ็บผิดปกติ ต้องรีบแจ้งให้พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในบริเวณนั้นให้ทราบทันที
6. หลังจากบริจาคโลหิตเรียบร้อย ห้ามลุกทันที ให้นอนพักสักครู่ จนกระทั่งรู้สึกสบายดี จึงลุกไปดื่มน้ำ และรับประทานอาหารว่างที่จัดไว้รับรอง
หลังบริจาคโลหิต
1. ดื้มน้ำมากกว่าปกติ 1 - 2 วัน
2. หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือ ออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากๆ งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ รวมถึงการหิ้วของหนักๆ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ภายหลังการบริจาคโลหิต
3. ถ้ามีอาการเวียนศรีษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติให้รีบก้มศรีษะต่ำระหว่างเข่า หรือนอนราบยกเท้าสูงจนกระทั่งมีอาการปกติจึงลุกขึ้น และเดินทางกลับ ป้องกันอุบัติเหตุจากการล้ม
4. ถ้ามีโลหิตซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล อย่าตกใจ ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก็อส กดให้แน่นและยกแขนสูงประมาณ 3 - 5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมาที่สถานบริจาคโลหิตเพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล
5. ผู้บริจาคโลหิตที่ปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน
6. รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละอย่างน้อย 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
ขั้นตอนบริจาคโลหิต
1. กรอกแบบฟอร์มผู้บริจาคโลหิต
* ควรให้ข้อมูลตรงตามความเป็นจริงของผู้บริจาค จะทำให้ได้โลหิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทั้งต่อตัวผู้บริจาคเอง และตัวผู้ป่วย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการรับบริจาคโลหิต
2. ตรวจร่างกาย วัดความดันโลหิต และความเข้มโลหิต
* บุคลากรทางการแพทย์ จะสอบถามผู้บริจาคเพิ่มเติม หรือวินิจฉัยเบื้องต้นว่าท่าน มีสุขภาพพร้อมที่จะบริจาคโลหิตหรือไม่ โปรดอย่าปิดบังข้อมูลเรื่องสุขภาพ หรือเขินอายที่จะตอบคำถาม
3. ลงทะเบียนรับหมายเลขถุงบริจาคโลหิต ที่เคาน์เตอร์ทะเบียน
4. บริจาคโลหิต
5. พักรับประทานอาหารว่าง / เครื่องดื่ม
* หลังบริจาคโลหิตจำเป็นต้องดื่มเครื่องดื่มที่เจ้าหน้าที่จัดไว้บริการให้ และนั่งพักสักระยะหนึ่ง เพื่อให้ร่างกายได้ปรับสภาพน้ำในร่างกาย เมื่อปกติดีแล้วจึงเดินทางกลับ
By PUMICE
No comments:
Post a Comment