Saturday, November 10, 2012

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๑ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๑ )
เทศกาลตักบาตรเทโวและประเพณีชักพระ

          ตามตำนานทางพระพุทธศาสนากล่าวว่าในช่วงฤดูเข้าพรรษาฤดูกาลหนึ่ง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จขึ้นไปบนสวรรค์ เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระมารดา ผู้ซึ่งหลังจากที่คลอดเจ้าชายสิทธัตถะแล้วก็สิ้นพระชนม์ลงและได้เกิดเป็นเทพยดาอยู่บนสวรรค์ในเวลาต่อมา กล่าวกันว่าพระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงแก่พระมารดานี้มีความยาวตลอดทั้งพรรษา ( ๓ เดือน ) จึงจบลง

          หลังจากเสร็จสิ้นภาระกิจบนสวรรค์แล้ว พระพุทธเจ้าได้เสด็จกลับสู่โลกมนุษย์ พระองค์ได้รับการต้อนรับจากฝูงชนทั้งที่เป็นพระสาวกและผู้เลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก และเพื่อเป็นการระลึกถึงวันนี้ในครั้งพุทธกาล จึงได้มีการจัดงานเทศกาลขึ้น ๒ งานด้วยกันคือกล่าวคือ "ตักบาตรเทโว " ซึ่งจัดขึ้นในภาคกลางและ " ประเพณีชัพระ " จัดขึ้นทางภาคใต้ของประเทศ ทั้ง ๒ งานนี้ต่างก็จัดขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นการเสด็จกลับสู่โลกมนุษย์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และทุกๆ ปีก็จะจัดให้มีขึ้นทันทีหลังจากออกพรรษาแล้ว อย่างไรก็ตามการเฉลิมฉลองของงานเทศกาลทั้ง ๒ นี้ อาจจะแตกต่างกันบ้างทางด้านการตระเตรียมงานและถือปฏิบัติกล่าวคือ การตักบาตรเทโวซึ่งหมายถถึง " การถวายอาหารแก่พระสงฆ์ " งานฉลองจึงเป็นการจำลองเหตุการณ์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ดังนั้นจุดเริ่มต้นของขบวนการแห่จึงนิยมใช้ที่สูงๆ เช่นเนินภูเขา สำหรับในกรุงเทพมหานครนั้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ภูเขาทอง วัดสระเกษ แต่สำหรับวัดที่ตั้งอยู่ห่างจากเนินเขาก็จะใช้พระอุโบสถเป็นจุดเริ่มต้นขบวนแห่


           เมื่อทุกคนเตรียมพร้อมแล้ว พระสงฆ์จะยืนเรียงแถวในขบวนซึ่งจะนำโดยพระพุทธรูปในท่ายืนอัญเชิญโดยชายผู้ซึ่งได้รับการสมมติให้เป็พระอินทร์และพระพรหม แล้วจึงค่อยๆ เคลื่อนขบวนแห่ไปตามทางที่เตียมไว้ ประชาชนก็จะถวายอาหารและผลไม้ต่างๆ แก่พระสงฆ์ที่จะเดินผ่านมาข้างหน้าตน พิธีจะจบลงเมื่อพระสงฆ์รูปสุดท้ายในขบวนเดินครบรอบ

           ในขณะเดียวกัน คำว่า " ชักพระ " ถ้าแปลตามตัวก็คือ " การดึงพระ " นั่นเอง และส่วนใหญ่ก็จะจัดขึ้นในหลายจังหวัดทางภาคใต้ เช่น ที่นครศรีธรรมราช ปัตตานี พัทลุง สงขลา และยะลา ประเพณีชักพระที่น่าตื่นตามากที่สุดก็เห็นจะเป็นที่แม่น้ำตาปี ในจังหวักสุราษฏธานี เพื่อเป็นการฉลองโอกาสนี้ก็จะมีพิธีจัดขบวนแห่ขึ้น 2 ขบวนพร้อมๆ กันกล่าวคือ สำหรับแห่ทางบกและทางน้ำ สำหรับขบวนแห่ทางบกนั้นก็จะมีการประดับประดาขบวนอย่างสวยงามแล้วก็จะถูกลากไปรอบๆ เมือง โดยผู้ที่มาเข้าร่วมในขบวนแห่นั้น ในขณะเดียวกันประเพณีทางน้ำนั้นก็มีจุดเด่นอยู่ที่การประดับตกแต่งทุ่นเรือแพปะรำพิธีด้วยลวดลายไทยสีต่างๆ เพื่อใช้ประดิษฐานพระพุทธรูป ทุ่นนี้ก็จะถูกลากจูงไปย้งกลางแม่น้ำเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา พอถึงวันรุ่งขึ้นทุ่นที่ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปนี้ก็จะถูกลากจูงไปตามลำน้ำ เพื่อให้ประชาชนได้สัการะบูชาและทำบุญ ขบวนแห่ทั้งทางน้ำและทางบกต่างก็เป็นเหตุการณ์ที่สวยงามมาก ประเพณีชักพระนี้ก็จะจบลงด้วยการแข่งเรืออันน่าตื่นตาตื่นใจหร้อมกับการละเล่นทางประเพณีต่างๆ






By Essays on Thailand

No comments:

Post a Comment