เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๒ )
ปลาบึก
ทุกๆ ปี ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ที่หมู่บ้านหาดไคร้ในจังหวัดเชียงรายซึ่งอยู่เหนือสุดของประเทศ ชาวประมงไทยและลาวจะยุ่งอยู่กับการวางอวนไนลอนที่มีความยาวถึง ๒๕๐ เมตร เพื่อจับปลาบึกในลำน้ำโขง
The Giant Catfish นีภาษาไทยเรียกว่า " ปลาบึก " ซึงเป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่และเป็นราชาแห่งแม่น้ำโขง เพราะว่ามันสามารถเตริญเติบโตจนมีน้ำหนักถึง ๓๐๐ กิโลกรัม และมีขนาดลำตัวยาวถึง ๓ เมตร หลังจากอายุได้ ๑๕ ปี ในช่วงระยะเวลานี้ของปีซึ่งเป็นฤดูวางไข่ ปลาบึกจะว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ อนิจจา ! ในระหว่างการเดินทางไปวางไข่นี้เองที่เจ้าแห่งลำน้ำโขง ต้องมาสังเวยชีวิตให้กับชาวประมงทั้ง ๒ ประเทศนี้
ที่จริงแล้วก่อนที่จะเริ่มจับปลานี้ จะต้องมีการจัดพิธีกรรมทางศาสนาพราห์มเสียก่อนเพื่อเป็นการเอาใจเจ้าพ่อปลาบึก เป็นที่เชื่อกันว่า ตลอดฤดูกาลจับปลานี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับพิธีเริ่มนี้ด้วย หลังจากเสร็จพิธีกรรมแล้วชาวประมงไทยและลาวก็จะทำการสร้างที่พักชั่วคราวด้วยไม้ใผ่ในประเทศของตนแล้ว พวกเขาก็จะเผาสมุนไพรชนิดหนึ่งเพื่อขับไล่วิญญาณชั่วร้ายให้ออกไปจากอวน และนับจากนี้ไปการไล่ล่าก็จะเริ่มขึ้น
การจับปลาก็จะหมุนเวียนกันในแต่ลเดือนของแต่ละประเทศทั้ง ๒ โดยการจับฉลาก ทุกคนต่างรอให้ถึงรอบของตนอย่างกระตือรือร้นและทันทีที่ทีมไทยบ่ายหน้าออกไป เรือของฝ่ายลาวก็เตรียมพร้อมที่จะทะยานออกไปทันทีที่ถึงรอบตน
กล่าวกันว่าโปรตีนที่ได้จากเนื้อปลาบึกนี้เป็นอาหารบำรุงสมองได้ดีกว่าโปรตีนที่ได้จากสัตว์อื่นๆ และยังเชื่อกันอีกว่าใครก็ตามที่ได้ลิ้มรสของปลานี้แล้วจะทำให้อายุยืนและชาญฉลาด ดังนั้นปลาบึกจึงดูเหมือนว่าจะกลายเป็นอาหารจานโปรดและค่อนข้างแพง ซึ่งมีบริการในภัตตาคารทั้งในจังหวัดใกล้เคียงและกรุงเทพหานคร แต่ละช่วงฤดูกาลชาวประมงของทั้ง ๒ ประเทศ สามารถจับปลาบึกได้ประมาณ 25 - 30 ตัว
นอกจากนี้ฤดูกาลจับปลาบึกยังสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศผู้ซึ่งกระตือรือร้นที่จะดูเจ้าสัตว์ประหลาดน้ำจืดนี้อีกด้วย ตราบใดที่ปลาบึกยังไม่สูญพันธุ์ ฤดูกาลไล่ล่าก็จะยังคงสืบทอกต่อๆ กันไป โดยอนุชนรุ่นหลังของทั้ง ๒ ประเทศ
By Essays on Thailand
No comments:
Post a Comment