ภาวะนิรจิต
มีอยู่ครั้งหนึ่ง อยางถิงกวง นักบำเพ็ญศีลผู้ศรัทธาในพุทธธรรมอย่างแรงกล้า มีโอกาสพบฌานาจารย์เปิ่งจิ้งบนเขาซือคง จึงขอคำแนะนำจากท่านว่า " การเกิดการตายเป็นเรื่องใหญ่ ฉับพลันและไม่แน่นอน อาจารย์ท่านโปรดช่วยชี้ทางหลุดพ้นด้วยเถิด "
ณานาจารย์ตอบว่า " โยมมาจากนครหลวงที่ประทับขององค์จักรพรรดิ์ ซึ่งมีพระเถระชั้นผู้ใหญ่มากมาย โยมไม่ถามธรรมที่นั่น กลับมาถามธรรมบนเทือกเขาซือคง สิ่งที่เรียกว่าทางหลุดพ้นนั้น อาตมาไม่ทราบเลยแม้แต่น้อย "
ขณะที่หยางถิงกวงคิดจะถามอีกนั้น ณานาจารย์กลับถามว่า " ท่านมาแสวงพุทธะ หรือมาถามมรรค ? ถ้ามาแสวงพุทธะ จิตก็คือพุทธะ ถ้ามาถามมรรค นิรจิตก็คือมรรค "
ณานาจารย์จึงกล่าวว่า " ที่ว่าจิตคือพุทธะ หมายความว่า พุทธะบรรลุโดยจิต ถ้ารู้แจ้งถึงขั้นนิรจิต ก็หมายความว่า ไร้แม้กระทั่งพุทธะเมื่อเข้าถึงภาวะนิรจิต ก็หมายความว่าสำเร็จมรรคผลอย่างแท้จริง "
มรรคผลมิใช่จะสำเร็จได้ง่ายๆ แม้แต่ขงจื้อยังกล่าวอย่างไม่ปิดบังว่า " อายุเจ็ดสิบจึงพอจะทำอะไรได้ดังใจ ! "
การบรรลุภาวะนิรจิตต้องอาศัยจิตเป็นพื้นฐาน ที่เรียกว่า ภาวะนิรจิตคือ " การคล้อยตามกฏเกณฑ์และสลายในกฏเกณฑ์ " กล่าวคือต้องผ่านความสำนึกโดยคล้อยตามกฏเกณฑ์ จึงจะสามารถรู้แจ้งเห็นจริงขณะที่เราเลื่อมใสและเอาอย่างพระอาจารย์ท่านใด เราพึงเข้าใจอย่างถ่องแท้ด้วยว่า ท่านต้องผ่านความมุมานะพยายามมากมายเพียงใดกว่าจะลุถึงจุดนั้น
By เซน : วิถีแห่งความสุขที่แท้จริง
No comments:
Post a Comment