ผู้มีจิตใจซื่อตรงกว้างขวาง
ก็ดุจดังความอุ่นของลมฤดูใบไม้ผลิ
สรรพสิ่งที่ได้สัมผัส
จักมีชีวิตชีวา
ผู้มีใจคับแคบชี้ระแวง
ก็จักเหมือนหิมะจับเป็นน้ำแข็งในฤดูหนาว
สรรพสิ่งที่ได้สัมผัส
จักต้องดับสูญ
นิทัศน์อุทาหรณ์
ลมฤดูใบไม้ผลิกับหิมะน้ำแข็งลมฤดูใบไม้ผลิโชยพัดไปทั่วแผ่นดิน ความหนาวเย็นยะเยือกค่อยๆ ลดน้อยถอยลง ต้นไม้ใบหญ้าตลอดจนหนอนแมลงต่างๆ ฟื้นจากการหลับไหลในฤดูหนาวอันยาวนาน ทั่วทั้งท้องทุ่งเต็มไปด้วยความสดใสมีชีวิตชีวา
ภูมิภาพเหล่านี้ ทำให้คนเาคิดไปไกลว่า ถ้าหากคนเราทุกคนต่างก็มีความละมุนละไมเฉกเช่นลมฤดูใบไม้ผลิแล้วมันจะดีสักเพียงไหนหนอ ? โลกจะน่าอยู่มากขึ้นอีกสักเท่าใด ?
ในสมัยราชวงศ์จิ้น เคยมีชายคนหนึ่ง ชื่อว่าหวนอุน แม้จะเป็นเจ้าเมืองแห่งเกงจิ๋วก็ตาม แต่ก็ดีกับประชาชนเหลือเกิน วันหนึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาของเขาทำความผิด จะต้องโบยด้วยกระบอง หวนอุนก็สั่งลงทัณฑ์ว่า ให้โบยเบาๆ บนเสื้อผ้าของผู้ต้องโทษเท่านั้น จะถูกตัวเขาไม่ได้แม้แต่เส้นผม
ไม่นาน บุตรชายของหวนอุนกลับมาจากนอกบ้าน เห็นความเป็นไปดังนั้นก็พิศวง รีบเข้าไปหาบิดารายงานว่า
" ท่านพ่อ ข้าพเจ้าเพิ่งกลับจากข้างนอก เห็นเจ้าหน้าที่กำลังใช้กระบองโบยผู้ต้องโทษคนหนึ่งอยู่ เขายกไม้กระบองขึ้นสูงๆ แต่กลับตีเบาๆ ลงบนพื้น ทำไมจึงเป็นอย่างนี้เล่า ? "
หวนอุนหัวเราะตอบว่า " พ่อยังเป็นทุกข์ว่าเขาจะตีแรงไปด้วยซ้ำ ! "
คนที่มีใจเมตตากรุณาเช่นนี้ ไม่ว่าใครกอยากจะใกล้ชิดเขาเพื่อแบ่งปันความอบอุ่นที่เขานำมาให้แก่โลกนี้กันทั้งนั้น
สิ่งตรงกันข้ามกับลมฤดูใบไม้ผลิ ก็คือหิมะน้ำแข็งที่ทำให้คนเราต้องหนาวสั่นสะท้านไปทั่วสรรพางค์กาย หิมะน้ำแข็งสังหารพลังชีวิตของสิ่งมีชีวิตไปสิ้นเชิง ไม่ว่าใครก็หวาดกลัวที่จะเข้าใกล้มัน
มีคนชื่อเจียงชงซึ่งอยู่ในสมัยเดียวกันกับหวนอุน ภรรยาแซ่กว้อเป็นคนใจร้าย มีบุตรคนหนึ่งอายุได้ ๒ ขวบแล้ว
วันหนึ่ง เจี่ยชงไปธุระกลับมา บังเอิญแม่นมอุ้มบุตรชายเดินเล่นอยู่ที่ลานบ้าน บุตรชายเห็นบิดาของตนกลับมาก็ดิ้นด้วยความดีใจ เจี่ยชงจึงจูบมือบุตร ที่อยู่ในอ้อมอกของแม้นม
โชคร้ายถูกกว้อฮูหยินภรรยาขีหึงเห็นเข้า เข้าใจว่าเจี่ยชงชอบแม่นม เข้าครัวไปคว้ามีดออกมาฆ่าแม่นมตายในทันที
แม่นมตายแล้วก็ตายไป แต่บุตรชายของแม่นางนั่นสิ ร้องไห้หาแม่นมทั้งวันทั้งคืน ไม่ยอมกินไม่ยอมนอน ไม่นานก็ตายไปอีกคนหนึ่ง
ลมฤดูใบไม้ผลิอันอบอุ่น กับหิมะน้ำแข็งอันแวนจะทารุณ อันใดควรชอบอันใดควรชัง ย่อมเป็นที่แจ่มชัดยิ่งนัก !
By หงอิ้งหมิง สมัยราชวงศ์หมิง ( สายธารแห่งปัญญา )
No comments:
Post a Comment