Wednesday, January 02, 2013

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๑๔ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๑๔ )
ศาสนาพุทธในประเทศไทย

           ศาสนาพุทธมีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันของชาวไทย เพราะว่าประมาณ ๙๕ เปอร์เซ็น ของประชากรทั่วราชอาณาจักรไทยเป็นชาวพุทธ ดังนั้น จึงเป็นการยากที่ศาสนาพุทธจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับแทบทุกโอกาส เช่น วันเกิด วันแต่งงาน การขึ้นปีใหม่ การฌาปนกิจศพ การเปิดสำนักงานทางธุรกิจ และการซื้อยานพาหนะ เป็นต้น

            ถึงแม้จะไม่มีหลักฐานที่ค้นพบได้อย่างแน่ชัดว่า ศาสนาพุทธตั้งหลักปักฐานในประเทศไทยระหว่างช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓ เมื่อคณะพระธรรมทูตสายเถรวาทนำโดยพระโสณะและพระอุตระส่งมาโดยพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนา ได้เดินทางมาถึงเมืองสุวรรณภูมิหรือนครปฐมในปัจจุบัน และหลังจากมีการประกาศแล้ว ศาสนาพุทธก็ได้รับการต้อนรับอย่างกว้างขวางและตั้งรากฐานอย่างมั่นคงในแหลมทองแห่งนี้
           
             กล่าวโดยย่อ หลักคำสอนของศษสนาพทุธยึดหลัก ๓ ประการ คือ

             ทุกข์              = ความทุกข์

             อนิจจา           = ความไม่เที่ยงแท้ และ

             อนัตตา          = ความไม่มีตัวตน

             ดังนั้น จุดมุ่งหมายอันสูงสุดของศาสนาพุทธก็คือ นิพพาน หรือ นิรวานะ ในภาษาสันสกฤตซึ่งถ้าแปลตามตัวก็หมายถึงการดับสนิทแห่งกิเลสทั้งมวล และดังนั้นจึงดับความทุกข์ทั้งปวง นั่นคือการดับสิ้นทั้งความทุกข์ กรรม และวัฏสงสาร กล่าวคือ ดับสิ้นซึ่งการเวียนว่ายตายเกิด


              อาจกล่าวได้ว่าศาสนาพุทธเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสูงสุดในรัชสมัยของพระเจ้าลิไทแห่งกรุงสุโขทัย ( ทรงเป็นพระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ) และในช่วงรัชสมัยของพระองค์นี้เองที่ได้มีการเขียนบทเทศนาคำสอนทางศาสนาพุทธขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งมีชื่อเรียกว่า " ไตรภูิมกถา " ( ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น " ไตรภูมิพระร่วง " ) ตลอดระยะเวลาหลายศตวรรษที่ศาสนาพุทธได้กลายเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาวันธรรมไทย ชาวไทยทุกชั้นวรรณะต่างปฏิบัติตามคำสอนของพุทธศาสนาในการเลือกนับถือศาสนา แม้รัฐธรรมนูญไทยจะกำหนดไว้ว่าองค์พระมหากษัตริย์ไทยต้องเป็นชาวพุทธ แต่พระองค์ก็ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นอัครศาสนูปถัมให้กับทุกศาสนาด้วย

             ประมาณว่าทั่วทั้งประเทศนี้มีวัดอยู่ประมาณ ๒๗,๐๐๐ วัด และส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในชนบทในประเทศไทยพระสงฆ์จะได้รับความเคารพนับถืออย่างสูงสุด เพราะเป็นผู้ที่ประพฤติพรหมจรรย์เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความเมตตากรุณา และมีความรอบรู้ด้านการปฏิบัติตามำสอนทางศาสนาและเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้มีเวลาประพฤติปฏิบัติธรรม วันสำคัญๆ ทางศาสนาจึงถูกกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ นอกจากนี้ ยังมีประเพณีไทยที่สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านานสำหรับชายชาวพุทธผู้มีอายุ ๒๐ ปีขึ้นไป จะทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุเป็นเวลาชั่วคราวระยะเวลาหนึ่งโดยปกติจะเป็นช่วงฤดูกาลเข้าพรรษา การอุปสมบทชั่วคราวนี้มีระยะเวลาแตกต่างกันไปตั้งแต่ ๒ - ๓ วัน จนถึง ๓ เดือน ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกๆ คน แม้แต่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมโอรสาธิราชก็ทรงผนวชเป็นเวลาสั้นๆ ช่วงหนึ่ง การถือปฏิบัติเช่นนี้จะได้รับการสืบทอดจากอนุชนรุ่นหลังๆ ต่อไป







By Essays on Thailand

No comments:

Post a Comment