เลี้ยงลูกให้เป็นปราชญ์
กาลครั้งหนึ่ง...
มีนักปราชญ์ชาวจีนคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้สืบต่อคำสอนลัทธิปรัชญาของขงจื้อเฉกเช่นพลโต ได้สืบต่อแนวคิดของโสกราติส ฉะนั้นท่านผู้นี้ชื่อเม่งจื้อ เป็นชาวรัฐลู่เฉกเช่นขงจื้อ เกิดในพุทธศตวรรษที่สอง
ในวัยเด็กเม่งจื้อเกียจคร้าน ไม่ชอบเรียนหนังสือมักหนีโรงเรียนเมื่อมีโอกาส
มารดาเม่งจื้อชื่อเจียงสี เป็นคนฉลาด มิได้ด่าทุบตีลูกเหมือนชาวบ้านทั่วไปมักจะทำเพื่อระบายโทสะ นางคิดว่าสภาพแวดล้อมมีอิทพลต่อเด็กมาก การจะให้การศึกษาที่ดีแก่เด็ก สิ่งหนึ่งที่ควรทำคือ จัดสิ่งแวดล้อมให้ดี เดิมบ้านนางอยู่ตลาดสด จอแจไปด้วยเสียงผู้คนแต่ละวันจะได้ยินเสียงแม่ค้าถุ้มเถียงด่าทอกันด้วยคำหยาบคายเป็นประจำ เม่งจื้อมักจะเลียนคำของแม่ค้าปากตลาดพวกนั้นเสมอ
นางเจียงสีจึงย้ายภูมิลำเนาใหม่ สถานที่ใหม่นี้อยู่ใกล้โรงเรียน นางจะชี้ชวนให้ลูกดูเด็กนักเรียนที่มาเรียนหนังสือแล้วบอกว่า โตมาลูกจงขยันเรียนหนังสือเหมือนเด็กพวกนั้นนะ ลูกจะได้มีวิชาติดตัวไปในภายหน้า
เมื่อเม้งจื้อมีวัยสมควรศึกษาเล่าเรียน นางจึงนำลูกไปฝากเรียนในโรงเรียนดังกล่าว
Thursday, January 31, 2013
ลมอุ่นให้ชีวิตแก่สรรพสิ่ง หิมะไม่เอื้ออาทรผู้ใด
ผู้มีจิตใจซื่อตรงกว้างขวาง
ก็ดุจดังความอุ่นของลมฤดูใบไม้ผลิ
สรรพสิ่งที่ได้สัมผัส
จักมีชีวิตชีวา
ผู้มีใจคับแคบชี้ระแวง
ก็จักเหมือนหิมะจับเป็นน้ำแข็งในฤดูหนาว
สรรพสิ่งที่ได้สัมผัส
จักต้องดับสูญ
นิทัศน์อุทาหรณ์
ลมฤดูใบไม้ผลิกับหิมะน้ำแข็งลมฤดูใบไม้ผลิโชยพัดไปทั่วแผ่นดิน ความหนาวเย็นยะเยือกค่อยๆ ลดน้อยถอยลง ต้นไม้ใบหญ้าตลอดจนหนอนแมลงต่างๆ ฟื้นจากการหลับไหลในฤดูหนาวอันยาวนาน ทั่วทั้งท้องทุ่งเต็มไปด้วยความสดใสมีชีวิตชีวา
ภูมิภาพเหล่านี้ ทำให้คนเาคิดไปไกลว่า ถ้าหากคนเราทุกคนต่างก็มีความละมุนละไมเฉกเช่นลมฤดูใบไม้ผลิแล้วมันจะดีสักเพียงไหนหนอ ? โลกจะน่าอยู่มากขึ้นอีกสักเท่าใด ?
Wednesday, January 30, 2013
เรือล่มเมื่อจอด
เรือล่มเมื่อจอด
มีฆราวาสคนหนึ่งชื่อ เฉินฮุ่ยหมิง เข้าร่วมปฏิบัติธรรมแบบฌาน เป็นศิษย์พระอาจารย์หงเหยิ่น ( พระฮวางยาน มหาครูบา พระสังฆปรินายกองค์ที่ ๕ ของจีน ) นานมากแล้ว ยังไม่เข้าใจฌาน อยู่มาวันหนึ่ง เขาได้ยินว่าอาจารย์หงเหยิ่นไดรับการถ่ายทอดบาตร จีวร สังฆาฏิ และธรรมะทั้งหมดของพระพุทธเจ้าจากพระอาจารย์เต้าซิ่น ( พระตูชุน มหาครูบา พระสังฆปรินายกองค์ที่ ๕ ของจีน ) แล้ว และอยู่ในระหว่างเดินทางไกลเพื่อหลบลี้หนีภัย เขาจึงติดตามเสาะแสวงหาพระอาจารย์หงเหยิ่นอย่างไม่ลดละ หวังว่าจะได้รับคำแนะนำจากพระอาจารย์
พระอาจารย์หงเหยิ่นทราบดีถึงเจตนาของเขา จึงบอกเขาว่า " โยมอย่าไปนึกถึงบุญ อย่าไปนึกถึงบาป ตอนนี้ ขอถามหน่อยซิว่า อะไรคือ ภาวะที่แท้จริงแท้ของปัญญาญาณอันสว่างไสว ? "
เฉินฮุ่ยหมิงได้ยินดังนั้น ก็กระจ่างวูบในบัดดล จึงขอให้พระอาจารย์ช่วยอธิบายความหมายของเคล็ดลับบางประการ
พระอาจาร์หงเหยิ่นจึงกล่าวว่า " ถ้าอาตมาบอกโยมได้ มันก็ไม่ใช่เคล็ดลับแล้ว ถ้าโยมสามารถหวนมองตัวเอง หวนส่องตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าเคล็ดลับนั้น มันอยู่ในจิตใจของโยมนั่นแหละ "
มีฆราวาสคนหนึ่งชื่อ เฉินฮุ่ยหมิง เข้าร่วมปฏิบัติธรรมแบบฌาน เป็นศิษย์พระอาจารย์หงเหยิ่น ( พระฮวางยาน มหาครูบา พระสังฆปรินายกองค์ที่ ๕ ของจีน ) นานมากแล้ว ยังไม่เข้าใจฌาน อยู่มาวันหนึ่ง เขาได้ยินว่าอาจารย์หงเหยิ่นไดรับการถ่ายทอดบาตร จีวร สังฆาฏิ และธรรมะทั้งหมดของพระพุทธเจ้าจากพระอาจารย์เต้าซิ่น ( พระตูชุน มหาครูบา พระสังฆปรินายกองค์ที่ ๕ ของจีน ) แล้ว และอยู่ในระหว่างเดินทางไกลเพื่อหลบลี้หนีภัย เขาจึงติดตามเสาะแสวงหาพระอาจารย์หงเหยิ่นอย่างไม่ลดละ หวังว่าจะได้รับคำแนะนำจากพระอาจารย์
พระอาจารย์หงเหยิ่นทราบดีถึงเจตนาของเขา จึงบอกเขาว่า " โยมอย่าไปนึกถึงบุญ อย่าไปนึกถึงบาป ตอนนี้ ขอถามหน่อยซิว่า อะไรคือ ภาวะที่แท้จริงแท้ของปัญญาญาณอันสว่างไสว ? "
เฉินฮุ่ยหมิงได้ยินดังนั้น ก็กระจ่างวูบในบัดดล จึงขอให้พระอาจารย์ช่วยอธิบายความหมายของเคล็ดลับบางประการ
พระอาจาร์หงเหยิ่นจึงกล่าวว่า " ถ้าอาตมาบอกโยมได้ มันก็ไม่ใช่เคล็ดลับแล้ว ถ้าโยมสามารถหวนมองตัวเอง หวนส่องตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าเคล็ดลับนั้น มันอยู่ในจิตใจของโยมนั่นแหละ "
ความกรุณา ที่เหี้ยมโหด
ความกรุณา ที่เหี้ยมโหด
วันหนึ่ง...
เม่งจื้อกล่าวกับพระเจ้าชี้ซวนอ๊วงว่า
" ได้ข่าวว่า วันหนึ่งพระองค์ทอดพระเนตรเห็นคนเขาจูงวัวตัวหนึ่งผ่านไป ตรัสถามเขาว่า จะจูงวัวไปไหน เขากราบทูลว่า จูงไปฆ่าเอาเลือดทางระฆังที่หล่อใหม่เป็นการเซ่นไหว้ตามประเพณี พระองค์ตรัสให้เขาปล่อยวัวตัวนั้นเพราะไม่อาจทนดูวัวที่ไร้ความผิดต้องถูกฆ่า ครั้นคนจูงวัวกราบทูลว่า ถ้าเช่นนั้นจะให้เลิกประเพณีฆ่าวัวเซ่นระฆังที่หล่อใหม่หรือ ? พระองค์ครัสว่า จะล้มเลิกได้อย่างไร จงเอาแพะตัวหนึ่งแทนก็แล้วกัน ข้าพเจ้าอยากทราบว่าเรื่องที่เขาเล่าให้ฟังนี้เป็นจริงหรือไม่ "
พระเจ้าชี้ซวนอ๊วงตรัสว่า
" เป็นความจริง "
เม่งจื้อจึงว่า
The Theravada philosophy
The Theravada philosophy
Is Buddhist doctrine a philosophy or religion ? The answer depends largely on how one defines philosophy and religion. Webster's dictionary defines philosophy as " love of wisdom ", as a search for a general understanding of values and reality by chiefly speculative rather than observational means while religion simply as " the service and worship of God or supernatural ".
Team like philosophy and ethics are used to designate certain discipline of human thought and behaviour. This usually results from logic and speculative thinking. But the Dhamma is the truth discovered by the Buddha as a result of his supreme enlightenment. The Dhamma i a way of life, a system of thought by which we live and on which we base our moral conduct. Both philosophy and ethics can be found embodied in the Dhamma, but the Dhamma covers a much wider scope. When the Buddha taught the Dhamma, he did not intend it to be characterized as either philosophy or ethics. He simply explained the truth and the course of action to follow in order to lead a happy and useful life .
If we regard the Dhamma as plilosophy, we can see that, according to the Buddha's teachings, man has been the central problem. Metaphysical speculation concerning problems not relate to human activities and the attainment of Nirvana - such as weather the world is infinite or finite, whether the soul and the body are identical from each other, or whether a perfect person exists after his death - is discouraged, and to be regarded by the Buddha as a non exposition problem.
Admitting the transitoriness of everything, the Buddha did not want to assume the existence of my metaphysical substance. This attitude was logically derived from his fundamental standpoint. The Buddha reduced things, substances and souls, to force, movements, functions, processes and adapted a dynamic conception of reality. Life is nothing but a series of manifestation of generation and extinction. It is a stream of becoming and change.
Is Buddhist doctrine a philosophy or religion ? The answer depends largely on how one defines philosophy and religion. Webster's dictionary defines philosophy as " love of wisdom ", as a search for a general understanding of values and reality by chiefly speculative rather than observational means while religion simply as " the service and worship of God or supernatural ".
Team like philosophy and ethics are used to designate certain discipline of human thought and behaviour. This usually results from logic and speculative thinking. But the Dhamma is the truth discovered by the Buddha as a result of his supreme enlightenment. The Dhamma i a way of life, a system of thought by which we live and on which we base our moral conduct. Both philosophy and ethics can be found embodied in the Dhamma, but the Dhamma covers a much wider scope. When the Buddha taught the Dhamma, he did not intend it to be characterized as either philosophy or ethics. He simply explained the truth and the course of action to follow in order to lead a happy and useful life .
If we regard the Dhamma as plilosophy, we can see that, according to the Buddha's teachings, man has been the central problem. Metaphysical speculation concerning problems not relate to human activities and the attainment of Nirvana - such as weather the world is infinite or finite, whether the soul and the body are identical from each other, or whether a perfect person exists after his death - is discouraged, and to be regarded by the Buddha as a non exposition problem.
Admitting the transitoriness of everything, the Buddha did not want to assume the existence of my metaphysical substance. This attitude was logically derived from his fundamental standpoint. The Buddha reduced things, substances and souls, to force, movements, functions, processes and adapted a dynamic conception of reality. Life is nothing but a series of manifestation of generation and extinction. It is a stream of becoming and change.
Tuesday, January 29, 2013
ปรัชญาเถรวาท
ปรัชญาเถรวาท
พุทธธรรมเป็นปรัชญาหรือศาสนา ขึ้นอยู่กับการตีความตามคำนิยาม หากพิจารณาตามหนังสือปทานุกรมฉบับของเวบส์เตอร์ที่ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับ ปรัชญา ว่า หมายถึง " การรักที่จะแสวงหาปัญญาความรู้ โดยการทำความเข้าใจในสิ่งที่เป็นคุณค่าและเป็นสัจธรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นความรู้ที่ได้มาจากการคิดใคร่ครวญมากกว่าที่จะได้จากการสังเกตุการณ์ " ส่วนศาสนา หมายถึง " การกราบไหว้บูชาต่อพระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ "
ตามทัศนคติแห่งพุทธปรัชญา มุ่งมองปัญหาของมนุษย์เป็นศูนย์กลาง อภิปรัชญาใดที่ไม่เกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์เพื่อความมุ่งมั่นต่อการรู้แจ้งในอภิสัมโพธิ เช่นปัญหาที่ว่า โลกจะมีอยู่ตลอดไปหรือไม่ วิญญาณกับร่างกายเป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ ตายแล้วสูญหรือว่าตายแล้ววิญาณไปเกิดใหม่ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่คำตอบแต่เป็นคำถามที่จัดเป็น อัพยากตปัญหา ที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์และไม่ได้ให้ความสนใจจากทางพุทธศาสนา
เนื่องจากพุทธศาสนามองเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ไม่จีรังยั่งยืนในสรรพสิ่งทั้งหลาย พระพุทธองค์จึงไม่ได้ทรงให้ความสนใจในเนื้อหาทางอภิปรัชญาใดๆ ด้วยจุดยืนทางตรรกะแห่งทัศนคติดังกล่าวพระองค์ทรงมองสรรพสิ่งทั้งที่เป็นรูปและนามว่าเป็นกระบวนการทางด้านพลวัตทรงเล็งเห็นว่า ชีวิตไม่มีอะไรเลยนอกจากเป็นเพียงอนุกรมแห่งการเกิดดับ มันเป็นเพียงกระแสแห่งภพและชาติที่เป็นอนิจจัง
พุทธศาสนามีทัศนะที่ว่า เหตุการณ์ทุกสิ่งทุอย่างที่เกิดขึ้นและปรากฏในโลกที่เรารับรู้ได้หรือจากที่ใดๆ ก็ตามย่อมเกิดจากเหตุดังนั้นปรากฏการณ์ต่างๆ จึงอยู่ภายใต้กฏแห่งเหตุปัจจัยด้วยกันทั้งสิ้นเพราะสรรพสิ่งทั้งหลายโดยตัวของมันเองเป็นสังขตธรรม ไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้อย่างอิสระ นี่คือปรัชญาพุทธ ดังเราจะพึงสังเกตหลักการในแก่นคำสอนของพระพุทธองค์ได้ต่อไป
พุทธธรรมเป็นปรัชญาหรือศาสนา ขึ้นอยู่กับการตีความตามคำนิยาม หากพิจารณาตามหนังสือปทานุกรมฉบับของเวบส์เตอร์ที่ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับ ปรัชญา ว่า หมายถึง " การรักที่จะแสวงหาปัญญาความรู้ โดยการทำความเข้าใจในสิ่งที่เป็นคุณค่าและเป็นสัจธรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นความรู้ที่ได้มาจากการคิดใคร่ครวญมากกว่าที่จะได้จากการสังเกตุการณ์ " ส่วนศาสนา หมายถึง " การกราบไหว้บูชาต่อพระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ "
ตามทัศนคติแห่งพุทธปรัชญา มุ่งมองปัญหาของมนุษย์เป็นศูนย์กลาง อภิปรัชญาใดที่ไม่เกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์เพื่อความมุ่งมั่นต่อการรู้แจ้งในอภิสัมโพธิ เช่นปัญหาที่ว่า โลกจะมีอยู่ตลอดไปหรือไม่ วิญญาณกับร่างกายเป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ ตายแล้วสูญหรือว่าตายแล้ววิญาณไปเกิดใหม่ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่คำตอบแต่เป็นคำถามที่จัดเป็น อัพยากตปัญหา ที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์และไม่ได้ให้ความสนใจจากทางพุทธศาสนา
เนื่องจากพุทธศาสนามองเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ไม่จีรังยั่งยืนในสรรพสิ่งทั้งหลาย พระพุทธองค์จึงไม่ได้ทรงให้ความสนใจในเนื้อหาทางอภิปรัชญาใดๆ ด้วยจุดยืนทางตรรกะแห่งทัศนคติดังกล่าวพระองค์ทรงมองสรรพสิ่งทั้งที่เป็นรูปและนามว่าเป็นกระบวนการทางด้านพลวัตทรงเล็งเห็นว่า ชีวิตไม่มีอะไรเลยนอกจากเป็นเพียงอนุกรมแห่งการเกิดดับ มันเป็นเพียงกระแสแห่งภพและชาติที่เป็นอนิจจัง
พุทธศาสนามีทัศนะที่ว่า เหตุการณ์ทุกสิ่งทุอย่างที่เกิดขึ้นและปรากฏในโลกที่เรารับรู้ได้หรือจากที่ใดๆ ก็ตามย่อมเกิดจากเหตุดังนั้นปรากฏการณ์ต่างๆ จึงอยู่ภายใต้กฏแห่งเหตุปัจจัยด้วยกันทั้งสิ้นเพราะสรรพสิ่งทั้งหลายโดยตัวของมันเองเป็นสังขตธรรม ไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้อย่างอิสระ นี่คือปรัชญาพุทธ ดังเราจะพึงสังเกตหลักการในแก่นคำสอนของพระพุทธองค์ได้ต่อไป
Monday, January 28, 2013
กฏเกณฑ์ของการเป็นคนดี
กฏเกณฑ์ของการเป็นคนดี
เมื่อขงจื้ออายุ ๕๒ ปี ได้รับตำแหน่งเป็นนคราภิบาล นครซุงตู ภายในระยะเวลาไม่ถึงสามปี เมืองซุงตูก็มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว
เกียรติศัพท์เล่าลือว่า ตั้งแต่ขงจื้อมาเป็นนครภิบาลจะหาชาวเมืองไหนที่ว่านอนสอนง่าย และมีความสุขเสมอชาวเมืองซุงตูเป็นไม่มี
เจ้าผู้ครองรัฐลู่ได้ทราบข่าว จึงส่งคนมาเชิญขงจื้อไปเรียนถามว่า " ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าได้ทราบข่าวว่าท่านได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองในเมืองซุงตูหลายประการเป็นความจริงหรือไม่ "
ขงจื้อตอบว่า
" เป็นความจริงดังนั้น "
เจ้าผู้ครองรัฐลู่ถามต่อไปว่า
ข้าพเจ้าทราบว่าตั้งแต่ท่านรับหน้าที่ปกครองชาวเมืองมีความสุขเจริญกันทั่วหน้า ท่านใช้วิธีอย่างไร จึงสัมฤทธิ์ผลในระยะเวลาอันสั้นเช่นนั้น "
ขงจื้อตอบว่า
เมื่อขงจื้ออายุ ๕๒ ปี ได้รับตำแหน่งเป็นนคราภิบาล นครซุงตู ภายในระยะเวลาไม่ถึงสามปี เมืองซุงตูก็มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว
เกียรติศัพท์เล่าลือว่า ตั้งแต่ขงจื้อมาเป็นนครภิบาลจะหาชาวเมืองไหนที่ว่านอนสอนง่าย และมีความสุขเสมอชาวเมืองซุงตูเป็นไม่มี
เจ้าผู้ครองรัฐลู่ได้ทราบข่าว จึงส่งคนมาเชิญขงจื้อไปเรียนถามว่า " ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าได้ทราบข่าวว่าท่านได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองในเมืองซุงตูหลายประการเป็นความจริงหรือไม่ "
ขงจื้อตอบว่า
" เป็นความจริงดังนั้น "
เจ้าผู้ครองรัฐลู่ถามต่อไปว่า
ข้าพเจ้าทราบว่าตั้งแต่ท่านรับหน้าที่ปกครองชาวเมืองมีความสุขเจริญกันทั่วหน้า ท่านใช้วิธีอย่างไร จึงสัมฤทธิ์ผลในระยะเวลาอันสั้นเช่นนั้น "
ขงจื้อตอบว่า
ความวิเศษแห่งการเนรมิตของธรรมชาติ ยากที่สติปัญญาความสามารถใดจะทัดเทียม
วางอวนจับปลา
ห่านป่ากลับมาติดอวน
ตั๊กแตนจับจักจั่น
นกขมิ้นก็จ้องอยู่ข้างหลัง
มีอุบายในอุบาย
มีการเปลี่ยนแปลงในการไม่เปลี่ยนแปลง
จึงไม่ควรพึงพอใจในสติปัญญาความสามารถที่มีอยู่ !
นิทัศน์อุทาหรณ์
ชาวประมงจับปลา" เฮ้อ หลายวันมานี่ จับปลาไม่ได้เลยสักตัว ! "
ชาวประมงเฒ่าถอนหายใจบ่นกับตัวเอง แกไปเอาอวนที่ใหญ่กว่าเก่าออกมา เป็นอวนลูกที่ ๗ แล้ว และเป็นอวนที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่แกมีอยู่
เมื่อวันก่อนแกก็เพิ่มอวนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แล้วเหมือนกัน แต่ก็ยังจับปลาไม่ได้จนแล้วจนรอด หรือว่าอวนใหญ่ของแกก็ยังเล็กไป ?
ชาวประมงเฒ่าลากอวนเดินไปยังริมฝั่งทะเล ท่ามกลางแสงแดดแผดจ้า จัดการลงอวนไว้เรียบร้อย แล้วไปนั่งพักอยู่บนก้อนหินมองดูพวกหลานเล่นกันอยู่บนชายหาดส่งเสียงเจี้ยวจ้าว พวกเด็กๆ ไม่รู้ว่าไปเก็บอวนเล็กขาดๆ มาจากไหน เอาไม้ไผ่มาแขวนกางออกมาเล่นกัน
ยิ่งมากยิ่งดี
ยิ่งมากยิ่งดี
นักบำเพ็ญศีล หยางถิงกวาง ขอคำแนะนำจาฌานาจารย์เปิ่นจิ้งว่า " พวกปราชญ์ในเมืองหลวงล้วนบอกฉันว่า ' ศึกษาพุทธธรรม ต้องเริ่มจากบริจาคทาน ถือศีล อดกลั้น ให้อภัย และบำเพ็ญทุกรกริริยา ฯลฯ ' แต่อาจารย์ท่านบอกว่า ' ปัญาญาณอันบริสุทธิ์นั้น คนเรามีพร้อมโดยกำเนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยการบำเพ็ญเพียร ' หากเป็นเช่นนี้จริง การบริจาคทานถือศีล และบำเพ็ญเพียรที่แล้วมาของฉัน มิเท่ากับสูญเปล่าดอกหรือ ? "
ฌานาจารย์เปิ่นจิ้งตอบอย่างหนักแน่นว่า " ใช่ สูญเปล่า! "
เหตใดฌานจารย์จึงตอบว่าสูญเปล่าเล่า ? อันที่จริง บุญกับกุศลแตกต่างกัน การบริจาคทานและถอศีลนั้นได้บุญ ทำมากเท่าใดก็ได้บุญมากเท่านั้น ( บุญเป็นโลกียะ) แต่กุศลไม่มีขอบเขต มีโดยตัวมันเอง ไม่ต้องมีหลักฐาน ไม่ต้องอาศัยการบำเพ็ญเพียร ( กุศลเป็นโลกุตระ ) สิ่งที่เรียกว่าพุทธะและตถตานั้น ทุกคนมีอยู่แล้วไม่ต้องแสวงหาจากภายนอก
นักบำเพ็ญศีล หยางถิงกวาง ขอคำแนะนำจาฌานาจารย์เปิ่นจิ้งว่า " พวกปราชญ์ในเมืองหลวงล้วนบอกฉันว่า ' ศึกษาพุทธธรรม ต้องเริ่มจากบริจาคทาน ถือศีล อดกลั้น ให้อภัย และบำเพ็ญทุกรกริริยา ฯลฯ ' แต่อาจารย์ท่านบอกว่า ' ปัญาญาณอันบริสุทธิ์นั้น คนเรามีพร้อมโดยกำเนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยการบำเพ็ญเพียร ' หากเป็นเช่นนี้จริง การบริจาคทานถือศีล และบำเพ็ญเพียรที่แล้วมาของฉัน มิเท่ากับสูญเปล่าดอกหรือ ? "
ฌานาจารย์เปิ่นจิ้งตอบอย่างหนักแน่นว่า " ใช่ สูญเปล่า! "
เหตใดฌานจารย์จึงตอบว่าสูญเปล่าเล่า ? อันที่จริง บุญกับกุศลแตกต่างกัน การบริจาคทานและถอศีลนั้นได้บุญ ทำมากเท่าใดก็ได้บุญมากเท่านั้น ( บุญเป็นโลกียะ) แต่กุศลไม่มีขอบเขต มีโดยตัวมันเอง ไม่ต้องมีหลักฐาน ไม่ต้องอาศัยการบำเพ็ญเพียร ( กุศลเป็นโลกุตระ ) สิ่งที่เรียกว่าพุทธะและตถตานั้น ทุกคนมีอยู่แล้วไม่ต้องแสวงหาจากภายนอก
Saturday, January 26, 2013
พญามังกรเฒ่า
พญามังกรเฒ่า
ครั้งหนึ่ง...
ขงจื้อนั่งอ่นหนังสืออยู่ มีชายชราศรีษะล้านไว้เครายาว เดินตรงเข้ามาหา ขงจื้อจึงลุกขึ้นทำความเคารพแก่ท่านอวุโสตามมรายาท
ท่านผู้เฒ่าถมว่า
" ท่านกำลังทำอะไร "
" ข้าพเจ้ากำลังอ่านตำราอีฉิ่ง ( The Book of Change ) "
ขงจื้อตอบ และกล่าวสืบไปว่า
" ข้าพเจ้าทราบว่า ปราชญ์สมัยก่อนทุกคนศึกษาเรื่องนี้ "
" ท่านอ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยความมุ่งหมายใด "
" ต้องการศึกษาเรื่องมนุษยธรรม และยุติธรรม "
" มนุษยธรรมและยุติธรรม "
ครั้งหนึ่ง...
ขงจื้อนั่งอ่นหนังสืออยู่ มีชายชราศรีษะล้านไว้เครายาว เดินตรงเข้ามาหา ขงจื้อจึงลุกขึ้นทำความเคารพแก่ท่านอวุโสตามมรายาท
ท่านผู้เฒ่าถมว่า
" ท่านกำลังทำอะไร "
" ข้าพเจ้ากำลังอ่านตำราอีฉิ่ง ( The Book of Change ) "
ขงจื้อตอบ และกล่าวสืบไปว่า
" ข้าพเจ้าทราบว่า ปราชญ์สมัยก่อนทุกคนศึกษาเรื่องนี้ "
" ท่านอ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยความมุ่งหมายใด "
" ต้องการศึกษาเรื่องมนุษยธรรม และยุติธรรม "
" มนุษยธรรมและยุติธรรม "
The practice of Insight meditation
The practice of Insight meditation
The practice of insight meditation or vipassana bhavana, according to Buddhism, is divided into types.The first is vipassana samadhi in which mindfulness in Satipathana 4, is the most important element. This kind of insight practice is based on the state of the mind in between khanikka samadhi and neighborhood samadhi.
The second is samadha vipassana, in which highly concentration of jhana has been already attained. In this stage, the mind is completely controlled by the force of will power into a tranquil state of absorption, which actively prepares for application in all duties including realization of the true nature through Sattipathana 4 and three kinds of wisdom, Samadhi 3.
As aforementioned, there are two types of meditation, concentration and insight. To practice concentration, a properly structured environment is required. For example, it should be relatively seclude and quiet, somewhat segregated from other activities and completely free from disturbances.
Contrarily, insight meditation does not need any of these requirements. Although concentration, in the initial stages of practice, may prove valuable, but this training employs only one object as a tool for cultivating one - pointedness of mind, whereas insight meditation in the from of vipassana samadhi, used all available experiences as the primary matrix by which mindfulness and insight may be developed.
The practice of insight meditation or vipassana bhavana, according to Buddhism, is divided into types.The first is vipassana samadhi in which mindfulness in Satipathana 4, is the most important element. This kind of insight practice is based on the state of the mind in between khanikka samadhi and neighborhood samadhi.
The second is samadha vipassana, in which highly concentration of jhana has been already attained. In this stage, the mind is completely controlled by the force of will power into a tranquil state of absorption, which actively prepares for application in all duties including realization of the true nature through Sattipathana 4 and three kinds of wisdom, Samadhi 3.
As aforementioned, there are two types of meditation, concentration and insight. To practice concentration, a properly structured environment is required. For example, it should be relatively seclude and quiet, somewhat segregated from other activities and completely free from disturbances.
Contrarily, insight meditation does not need any of these requirements. Although concentration, in the initial stages of practice, may prove valuable, but this training employs only one object as a tool for cultivating one - pointedness of mind, whereas insight meditation in the from of vipassana samadhi, used all available experiences as the primary matrix by which mindfulness and insight may be developed.
Friday, January 25, 2013
การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
วิปัสสนาภาวนา คือ การฝึกควบคุมจิตเพื่อแสวงหาปัญญาซึ่งจัดว่าเป็นลักษณะพิเศษในทางพุทธศาสนา แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท ประเภทแรกเรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ เป็นการปฏิบัติวิปัสสนาโดยการนำสมาธิในระดับแรกๆ ที่อยู่ระหว่าง ขณิกสมาธิ กับ อุปจรสมาธิ มาเป็นฐานร่วมปฏิบัติกับการนำตัว สติปัฏฐาน ๔ มาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการปฏิบัติภาวนา
วิปัสสนาภาวนาในแบบที่สอง เรียกว่า สมถวิปัสสนา หรือ สมาธิวิปัสสนา เป็นวิปัสสนาที่ต่อจากอัปปนาสมาธิภาวนาได้ณานซึ่งเป็นการทำสมาธิที่จิตถูกควบคุมด้วยพลังความตั้งใจอย่างสูงเพื่อเข้าสู่สภาวะของความวิเวก อันเป็นสมาธิที่สามารถทำให้จิตอยู่ในสภาพการเตรียมพร้อมแก่งานในทุกกรณี รวมทั้งการนำ สติปัฏฐาน และ สมาธิ ๓ มาพิจารณาเพื่อการเข้าถึงความเป็นจริงในธรรมชาติ
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า การปฏิบัติสมาธิภาวนามีเป็น ๒ ระดับ กล่าวคือ การทำสมาธิ กับการปฏิบัติวิปัสสนา ในการทำสมาธิให้จิตอยู่นิ่งนั้นจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติจะต้องแสวงหาสถานที่ที่เหมาะสม เช่นการปลีกตัวจากสังคมทั่วไปในระดับหนึ่งเพื่อแสวงหาสถานที่สงบสงัดและพ้นจากหน้าที่การงานและสิ่งรบกวนต่างๆ ในชั่วระยะหนึ่ง
ส่วนการปฏิบัติวิปัสสนา จะมีความแตกต่างตรงข้ามกับการทำสมาธิภาวนาตรงที่การปฏิบัติวิปัสสนาไม่มีความจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติจะต้องอยู่ในบรรยากาศสงบ สงัด หรือต้องปลีกตัวจากผู้คนและการงาน การปฏิบัติเพียงอย่างเดียวนั้นจะได้ประโยชน์ในระดับหนึ่งในตอนแรกๆ แต่ก็เป็นการปฏิบัติเพียงอย่างเดียวนั้นจะได้ประโยชน์ในระดับหนึ่งในตอนแรกๆ แต่ก็เป็นการปฏิบัติเพียงเพื่อให้จิตเข้าสู่ความสงบในภาวะที่เป็นเอกัคคตา แตกต่างจากการปฏิบัติวิปัสสนาที่จำเป็นต้องนำส่วนประกอบที่เป็นประสบการณ์เบื้องต้น โดยเฉพาะการนำสัมมาสติมาใช้ในกระบวนการภาวนา
วิปัสสนาภาวนา คือ การฝึกควบคุมจิตเพื่อแสวงหาปัญญาซึ่งจัดว่าเป็นลักษณะพิเศษในทางพุทธศาสนา แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท ประเภทแรกเรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ เป็นการปฏิบัติวิปัสสนาโดยการนำสมาธิในระดับแรกๆ ที่อยู่ระหว่าง ขณิกสมาธิ กับ อุปจรสมาธิ มาเป็นฐานร่วมปฏิบัติกับการนำตัว สติปัฏฐาน ๔ มาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการปฏิบัติภาวนา
วิปัสสนาภาวนาในแบบที่สอง เรียกว่า สมถวิปัสสนา หรือ สมาธิวิปัสสนา เป็นวิปัสสนาที่ต่อจากอัปปนาสมาธิภาวนาได้ณานซึ่งเป็นการทำสมาธิที่จิตถูกควบคุมด้วยพลังความตั้งใจอย่างสูงเพื่อเข้าสู่สภาวะของความวิเวก อันเป็นสมาธิที่สามารถทำให้จิตอยู่ในสภาพการเตรียมพร้อมแก่งานในทุกกรณี รวมทั้งการนำ สติปัฏฐาน และ สมาธิ ๓ มาพิจารณาเพื่อการเข้าถึงความเป็นจริงในธรรมชาติ
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า การปฏิบัติสมาธิภาวนามีเป็น ๒ ระดับ กล่าวคือ การทำสมาธิ กับการปฏิบัติวิปัสสนา ในการทำสมาธิให้จิตอยู่นิ่งนั้นจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติจะต้องแสวงหาสถานที่ที่เหมาะสม เช่นการปลีกตัวจากสังคมทั่วไปในระดับหนึ่งเพื่อแสวงหาสถานที่สงบสงัดและพ้นจากหน้าที่การงานและสิ่งรบกวนต่างๆ ในชั่วระยะหนึ่ง
ส่วนการปฏิบัติวิปัสสนา จะมีความแตกต่างตรงข้ามกับการทำสมาธิภาวนาตรงที่การปฏิบัติวิปัสสนาไม่มีความจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติจะต้องอยู่ในบรรยากาศสงบ สงัด หรือต้องปลีกตัวจากผู้คนและการงาน การปฏิบัติเพียงอย่างเดียวนั้นจะได้ประโยชน์ในระดับหนึ่งในตอนแรกๆ แต่ก็เป็นการปฏิบัติเพียงอย่างเดียวนั้นจะได้ประโยชน์ในระดับหนึ่งในตอนแรกๆ แต่ก็เป็นการปฏิบัติเพียงเพื่อให้จิตเข้าสู่ความสงบในภาวะที่เป็นเอกัคคตา แตกต่างจากการปฏิบัติวิปัสสนาที่จำเป็นต้องนำส่วนประกอบที่เป็นประสบการณ์เบื้องต้น โดยเฉพาะการนำสัมมาสติมาใช้ในกระบวนการภาวนา
ความตั้งใจ
ความตั้งใจ
ครั้งฌานาจารย์ต้าจูฮุ่ยไห่มีโอกาสพบฌานาจารย์ม่าจู่เต้าอี้เป็นครั้งแรก พอพบหน้ากัน อาจารย์ม่าจู่ก็ถามว่า " ท่านมาจากที่ใด ? "
อาจารย์ต้าจู ตอบว่า " อาตมามาจากอารามต้าหยุนทางกวางตุ้ง "
อาจารย์ม่าจู่ ถามอีกว่า " ท่านมาที่นี่เพื่อเสาะแสวงหาสิ่งใด ? "
อาจารย์ต้าจู ตอบว่า " อาตมามาเรียนพุทธธรรม "
เอาจารย์ม่าจู่ได้ยินเช่นนั้น ก็พูดอย่างไม่เกรงใจว่า " ท่านอยู่บ้านไม่ดูแลรักษามณีวิเศษในบ้านตนเองให้ดี ออกมาเร่ร่อนข้างนอกเพื่ออะไร ? อารามที่นี่ไม่มีสิ่งใดเลย ท่านมาเรียนพุทธธรรมอะไรหรือ ? "
อาจารย์ต้าจูถามด้วยเสียงวิตกกังวลว่า " ขอถามอาจารย์ท่าน อะไรคือมณีวิเศษในบ้านตัวเอง ? "
ครั้งฌานาจารย์ต้าจูฮุ่ยไห่มีโอกาสพบฌานาจารย์ม่าจู่เต้าอี้เป็นครั้งแรก พอพบหน้ากัน อาจารย์ม่าจู่ก็ถามว่า " ท่านมาจากที่ใด ? "
อาจารย์ต้าจู ตอบว่า " อาตมามาจากอารามต้าหยุนทางกวางตุ้ง "
อาจารย์ม่าจู่ ถามอีกว่า " ท่านมาที่นี่เพื่อเสาะแสวงหาสิ่งใด ? "
อาจารย์ต้าจู ตอบว่า " อาตมามาเรียนพุทธธรรม "
เอาจารย์ม่าจู่ได้ยินเช่นนั้น ก็พูดอย่างไม่เกรงใจว่า " ท่านอยู่บ้านไม่ดูแลรักษามณีวิเศษในบ้านตนเองให้ดี ออกมาเร่ร่อนข้างนอกเพื่ออะไร ? อารามที่นี่ไม่มีสิ่งใดเลย ท่านมาเรียนพุทธธรรมอะไรหรือ ? "
อาจารย์ต้าจูถามด้วยเสียงวิตกกังวลว่า " ขอถามอาจารย์ท่าน อะไรคือมณีวิเศษในบ้านตัวเอง ? "
ประจบประแจงยกยอปอปั้น คือปกติวิสัยของมนุษย์
หิวก็หาที่พึ่ง
อิ่มก็ปลีกตัวหนี
มั่งมีก็ประจบ
ยากจนก็ตีจาก
เป็นโรคร่วมกันแห่งวิสัยมนุษย์
นิทัศน์อุทาหรณ์
ผู้พึ่งเมิ่งฉางจุนเมื่อหิวก็ไปพึ่งอาศัยคนอื่น เมื่ออิ่มแล้วก็หันหลังตีจากไป คนอื่นได้ลาภยศก็เข้าหาประจบ เมื่อยากจนข้นแค้นก็รีบพากันหลบหนีแทบไม่ทัน ช่างน่าชังเสียจริงๆ
ถ้าหากสามารถจะเข้าใจว่า พฤติการณ์เหล่านี้เป็นวิสัยของมนุษย์ ไม่เรียกร้องจนเกินการแล้ว นั่นแสดงว่าตนมีใจคอกว้างขวางโอบอ้อมอารี
มีนิทานเรืองหนึ่งมีค่าน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
เมิ่งฉางจุนเป็นพวกผู้ดีมีสกุลของแคว้นฉีในสมัยชุนชิว เขามีทั้งทรัพย์มีทั้งอำนาจ จึงมีคนจำนวนมากมาพึ่งพาอาศัยเขากินอยู่หลับนอนในบ้าน ในบางครั้ง พวกที่มาพึ่งพาเหล่านั้น เคยช่วยเขาออกความเห็นบ้าง จึงทำให้ตำแหน่งราชการของเขาสูงขึ้นเรื่อยๆ เมิ่งฉางจุนก็ปฏิบัติต่อคนพวกนี้ด้วยดี กล่าวกันว่า ในยุคที่รุ่งเรือง ก็มีคนมาพึ่งพาอยู่ใต้บารมีของเขาถึง ๓,๐๐๐ กว่าคน
กิตติศัพท์โด่งดังของเมิ่งฉางจุนดังนี้ ทำให้ฉีอ๋องแห่งแคว้นฉีรู้สึกไม่สบายใจเป็นอันมาก ทรงรำพึงว่า " ไม่แน่ว่าในวันหนึ่งข้างหน้า เมิ่งฉางจุนอาจจะเข้ามาแย่งราชบัลลังก์ของเราไปครองก็เป็นได้ " ฉีอ๋องยิ่งคิดยิ่งกลัวจึงตัดสินพระทัยปลดตำแหน่งราชการของเมิ่งฉางจุนออกทั้งหมด
Thursday, January 24, 2013
หลานนักปราชญ์
หลานนักปราชญ์
วันหนึ่ง...
ขงจื้อนั่งอยู่ในห้องคนเดียวเงียบๆ ถอนหายใจเฮือกใหญ่ ด้วยความวิตกกังวลบางอย่างอยู่ในใจ
พอดีหลานชายของขงจื้อชื่อ เค เดินเข้ามาถามว่า
" คุณปู่ครับ คุณปู่ถอนหายใจทำไม คุณปู่วิตกว่า ลูกหลานจะไม่สามารถทำตนให้คู่ควรแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณของคุณปู่ใช่ไหมครับ
ขงจื้อลุกขึ้นเดินมาโอบกอดหลานรัก
" หลานเอ๋ย ทำไมเจ้าล่วงรู้ความคิดของปู่ "
เคตอบว่า
" ผมเคยได้ยินคุณปู่ปรารภเสมอว่า ถ้าพ่อแม่หาฟืนมากองไว้แล้ว ลูกหลานไม่มีปัญญาแบกฟืนไป ก็เรียกว่าไม่คู่ควรแก่พ่อแม่ "
" หลานเข้าใจข้อความนั้นอย่างไร "
วันหนึ่ง...
ขงจื้อนั่งอยู่ในห้องคนเดียวเงียบๆ ถอนหายใจเฮือกใหญ่ ด้วยความวิตกกังวลบางอย่างอยู่ในใจ
พอดีหลานชายของขงจื้อชื่อ เค เดินเข้ามาถามว่า
" คุณปู่ครับ คุณปู่ถอนหายใจทำไม คุณปู่วิตกว่า ลูกหลานจะไม่สามารถทำตนให้คู่ควรแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณของคุณปู่ใช่ไหมครับ
ขงจื้อลุกขึ้นเดินมาโอบกอดหลานรัก
" หลานเอ๋ย ทำไมเจ้าล่วงรู้ความคิดของปู่ "
เคตอบว่า
" ผมเคยได้ยินคุณปู่ปรารภเสมอว่า ถ้าพ่อแม่หาฟืนมากองไว้แล้ว ลูกหลานไม่มีปัญญาแบกฟืนไป ก็เรียกว่าไม่คู่ควรแก่พ่อแม่ "
" หลานเข้าใจข้อความนั้นอย่างไร "
เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๑๗ )
เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๑๗ )
สะพานรถไฟมรณะ
สะพานทางรถไฟข้ามแม่น้ำแควที่มีชื่อเสียงดังไปทั่วโลกแห่งหนึ่ง อยู่ในจังหวัดกาญจนบุรีซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศตะวันตกประาณ ๑๓๐ กม. สะพานแห่งนี้มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ก็เพราะว่าเกือบครึ่งศตวรรษมาแล้ว มีทหารพันธมิตรที่ถูกจับเป็นเชลยประมาณ ๑๖,๐๐๐ คน ต้องมาเสียชีวิตที่นี่ในขณะสร้าง " สะพานมรณะ " ไปยังประเทศพม่า เชลยเหล่านี้ถูกบังคับโดยทหารของจักรพรรดิญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ให้สร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ผ่านป่าไม้ ที่เต็มไปด้วยโรคร้ายและแม่น้ำอันเชี่ยวกรากของจังหวัดนี้
ทางรถไฟถูกสร้างขึ้นด้วยเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ เพื่อใช้เป็นทางลำเลียงสำรองสำหรับกองทัพญี่ปุ่น เพื่อชนะพม่าและประเทศแถบเอเชียไปจนถึงแถบตะวันตก การก่อสร้างเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๕ และวัสดุที่ใช้สร้างสะพานนั้นกล่าวกันว่านำมาจากชวา และประกอบขึ้นที่นี่ ประมาณว่าการก่อสร้างจะต้องใช้เวลานานถึง ๕ ปี เพื่อเชื่อมโยงประเทศไทยและประเทศพม่าโดยทางรถไฟ แต่ทหารญี่ปุ่นบังคับให้เชลยสร้างทางรถไฟที่มีความยาวถึง ๔๑๕ กิโลเมตรนี้ เสร็จภายในระยะเวลาเพียง ๑๖ เดือนเท่านั้น และสะพานนี้ใช้การได้เพียง ๒๐ เดือนเท่านั้น ก็ถูกทหารฝ่ายพันธมิตรระเบิดทำลายในปี พ.ศ. ๒๔๘๘
สะพานรถไฟมรณะ
สะพานทางรถไฟข้ามแม่น้ำแควที่มีชื่อเสียงดังไปทั่วโลกแห่งหนึ่ง อยู่ในจังหวัดกาญจนบุรีซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศตะวันตกประาณ ๑๓๐ กม. สะพานแห่งนี้มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ก็เพราะว่าเกือบครึ่งศตวรรษมาแล้ว มีทหารพันธมิตรที่ถูกจับเป็นเชลยประมาณ ๑๖,๐๐๐ คน ต้องมาเสียชีวิตที่นี่ในขณะสร้าง " สะพานมรณะ " ไปยังประเทศพม่า เชลยเหล่านี้ถูกบังคับโดยทหารของจักรพรรดิญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ให้สร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ผ่านป่าไม้ ที่เต็มไปด้วยโรคร้ายและแม่น้ำอันเชี่ยวกรากของจังหวัดนี้
ทางรถไฟถูกสร้างขึ้นด้วยเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ เพื่อใช้เป็นทางลำเลียงสำรองสำหรับกองทัพญี่ปุ่น เพื่อชนะพม่าและประเทศแถบเอเชียไปจนถึงแถบตะวันตก การก่อสร้างเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๕ และวัสดุที่ใช้สร้างสะพานนั้นกล่าวกันว่านำมาจากชวา และประกอบขึ้นที่นี่ ประมาณว่าการก่อสร้างจะต้องใช้เวลานานถึง ๕ ปี เพื่อเชื่อมโยงประเทศไทยและประเทศพม่าโดยทางรถไฟ แต่ทหารญี่ปุ่นบังคับให้เชลยสร้างทางรถไฟที่มีความยาวถึง ๔๑๕ กิโลเมตรนี้ เสร็จภายในระยะเวลาเพียง ๑๖ เดือนเท่านั้น และสะพานนี้ใช้การได้เพียง ๒๐ เดือนเท่านั้น ก็ถูกทหารฝ่ายพันธมิตรระเบิดทำลายในปี พ.ศ. ๒๔๘๘
Thailand " Land of Smile " ( Part 17 )
Thailand " Land of Smile " ( Part 17 )
The Death Railway Bridge
The world - famous railway bridge over the River Kwai is in Kanchanaburi Province about 130 kms west of Bangkok. The bridge is well - know all over the world because almost half a century ago about 16,000 Allied POWs died while building the " Death Railway " to Burma. The prisoners were forced by the Imperial Japanese Army in the World War II to build a strategic railway through the disease ridden jungle and treacherous rivers of the province.
The Railway was built with the strategic objected of securing an alternative supply route the Japanese conquest of Burma and other Asian countries to the west. The construction began on September 16, 1942 and the materials for the bridge were said to have been brought from Java and the assembled here. It was estimated that the construction would take years to link Thailand and Burma by rail, but the Japanese army forced the POWs to complete the 415 - km railway in just 16 months but the bridge was in use for only 20 months before the Allies bombed it in 1945.
The Death Railway Bridge
The world - famous railway bridge over the River Kwai is in Kanchanaburi Province about 130 kms west of Bangkok. The bridge is well - know all over the world because almost half a century ago about 16,000 Allied POWs died while building the " Death Railway " to Burma. The prisoners were forced by the Imperial Japanese Army in the World War II to build a strategic railway through the disease ridden jungle and treacherous rivers of the province.
The Railway was built with the strategic objected of securing an alternative supply route the Japanese conquest of Burma and other Asian countries to the west. The construction began on September 16, 1942 and the materials for the bridge were said to have been brought from Java and the assembled here. It was estimated that the construction would take years to link Thailand and Burma by rail, but the Japanese army forced the POWs to complete the 415 - km railway in just 16 months but the bridge was in use for only 20 months before the Allies bombed it in 1945.
Saturday, January 19, 2013
ไม่โอ้อวดความสวยงามความบริสุทธิ์ ก็ไม่ขายหน้าในความอัปลักษณ์สกปรก
มีความสวยงามก็จะต้องมีความอัปลักษณ์เป็นของคู่กัน
ถ้าเราไม่อวดว่าเราสวย
ใครจะว่าเราอัปลักษณ์ ?
มีความสะอาดก็จะต้องมีความสกปรกเป็นปรปักษ์
ถ้าเราไม่คุยโอ่ในความสะอาดบริสุทธิ์
ใครจะมาว่าเราสกปรก ?
นิทัศน์อุทาหรณ์
สี่อิ๋วล้างหูอันที่จริงเล็กหรือใหญ่นั้น มิใช่เป็นสิ่งสมบูรณ์ อันหมายความว่า มิใช่ว่าเขาใหญ่ก็อยู่ได้ตลอดไป และเล็กก็เล็กอยู่อย่างนั้น หมายความว่า มิใช่ว่าใหญ่ก็อยู่ได้ตลอดไป และเล็กก็เล็กอยู่อย่างนั้นเป็นนิจ
สรรพสิ่งหนึ่งใดก็ได้ มีเล็กมาเทียบเคียงจึงจะแสดงให้เห็นถึงความใหญ่ของมันได้ แต่ถ้าหากมีสิ่งที่ส่วนใหญ่กว่ามาเปรียบเทียบ มันก็จะกลายเป็นเล็กไปในทันที
ภาวะนิรจิต
ภาวะนิรจิต
มีอยู่ครั้งหนึ่ง อยางถิงกวง นักบำเพ็ญศีลผู้ศรัทธาในพุทธธรรมอย่างแรงกล้า มีโอกาสพบฌานาจารย์เปิ่งจิ้งบนเขาซือคง จึงขอคำแนะนำจากท่านว่า " การเกิดการตายเป็นเรื่องใหญ่ ฉับพลันและไม่แน่นอน อาจารย์ท่านโปรดช่วยชี้ทางหลุดพ้นด้วยเถิด "
ณานาจารย์ตอบว่า " โยมมาจากนครหลวงที่ประทับขององค์จักรพรรดิ์ ซึ่งมีพระเถระชั้นผู้ใหญ่มากมาย โยมไม่ถามธรรมที่นั่น กลับมาถามธรรมบนเทือกเขาซือคง สิ่งที่เรียกว่าทางหลุดพ้นนั้น อาตมาไม่ทราบเลยแม้แต่น้อย "
ขณะที่หยางถิงกวงคิดจะถามอีกนั้น ณานาจารย์กลับถามว่า " ท่านมาแสวงพุทธะ หรือมาถามมรรค ? ถ้ามาแสวงพุทธะ จิตก็คือพุทธะ ถ้ามาถามมรรค นิรจิตก็คือมรรค "
มีอยู่ครั้งหนึ่ง อยางถิงกวง นักบำเพ็ญศีลผู้ศรัทธาในพุทธธรรมอย่างแรงกล้า มีโอกาสพบฌานาจารย์เปิ่งจิ้งบนเขาซือคง จึงขอคำแนะนำจากท่านว่า " การเกิดการตายเป็นเรื่องใหญ่ ฉับพลันและไม่แน่นอน อาจารย์ท่านโปรดช่วยชี้ทางหลุดพ้นด้วยเถิด "
ณานาจารย์ตอบว่า " โยมมาจากนครหลวงที่ประทับขององค์จักรพรรดิ์ ซึ่งมีพระเถระชั้นผู้ใหญ่มากมาย โยมไม่ถามธรรมที่นั่น กลับมาถามธรรมบนเทือกเขาซือคง สิ่งที่เรียกว่าทางหลุดพ้นนั้น อาตมาไม่ทราบเลยแม้แต่น้อย "
ขณะที่หยางถิงกวงคิดจะถามอีกนั้น ณานาจารย์กลับถามว่า " ท่านมาแสวงพุทธะ หรือมาถามมรรค ? ถ้ามาแสวงพุทธะ จิตก็คือพุทธะ ถ้ามาถามมรรค นิรจิตก็คือมรรค "
The roles of mindfulness and concentration
The roles of mindfulness and concentration
Samatha means calm or concentration. Concentration in Vipassana bhavana is a mental training process in which mindfulness is the most important element. Although mindfulness and concentration are two distinct mental faculties, having function of their own, they do depend on one another and should therefore be cultivated together in a balance manner.
The relationship between concentration and mindfulness is somewhat delicate and sensitive. By definition, concentration refers to the faculty of mind to focus on single object in a sustained and uninterrupted manner. In order to achieve the state of one - pointedness, it is necessary for the attention to remain unremittingly focused on the meditation object for a long period of time. This presupposes the use of force; the meditator constantly applies will power to remain mental focus on the object of meditation.
Contrarity, mindfulness, on the other hand, requires no use of force or will to maintain a mental focus other than the application of bare awareness to the object of experience. Constant practice of mindfulness leads to refine sensibilities and the ability to recognize realities according to their true nature.
When mindfulness developed together with concentration mindfulness performs the function of selecting an object for concentration and subtly helping to maintain the focus on that particular object. It is a state of bare awareness of the object of experience, involving no desire or aversion, no force of will or attachment.
Samatha means calm or concentration. Concentration in Vipassana bhavana is a mental training process in which mindfulness is the most important element. Although mindfulness and concentration are two distinct mental faculties, having function of their own, they do depend on one another and should therefore be cultivated together in a balance manner.
The relationship between concentration and mindfulness is somewhat delicate and sensitive. By definition, concentration refers to the faculty of mind to focus on single object in a sustained and uninterrupted manner. In order to achieve the state of one - pointedness, it is necessary for the attention to remain unremittingly focused on the meditation object for a long period of time. This presupposes the use of force; the meditator constantly applies will power to remain mental focus on the object of meditation.
Contrarity, mindfulness, on the other hand, requires no use of force or will to maintain a mental focus other than the application of bare awareness to the object of experience. Constant practice of mindfulness leads to refine sensibilities and the ability to recognize realities according to their true nature.
When mindfulness developed together with concentration mindfulness performs the function of selecting an object for concentration and subtly helping to maintain the focus on that particular object. It is a state of bare awareness of the object of experience, involving no desire or aversion, no force of will or attachment.
Friday, January 18, 2013
การทำงานร่วมกันระหว่างสติกับสมาธิ
การทำงานร่วมกันระหว่างสติกับสมาธิ
คำว่า สมถะ หมายถึง ภาวจิตที่อยู่ในสภาวะสงบนิ่งเป็น สมาธิ ส่วนคำว่า สมถะ - วิปัสสนา เป็นกระบวนการฝึกสมาธิจิต โดยนำเอาสัมมาสติเป็นเครืองมือในการปฏิบัติ แม้ว่าทั้งสติและสมาธิจะทำหน้าที่คนละส่วนของจิต แต่ในการปฏิบัติวิปัสสนา ทั้งสติและสมาธิจำเป็นจะต้องทำงานร่วมกันและอยู่ในภาวะที่สมดุลซึ่งกันและกัน
ความสัมพันธ์ในการทำงานระหว่าง สติ กับ สมาธิ ค่อนข้างที่จะอยู่ในสภาพละเอียดอ่อน แม้ว่าตามคำจำกัดความ สมาธิหมายถึงความสามารถของจิตในการเพ่งไปยังวัตถุใดวัตถุหนึ่งในเวลานานๆ ติดต่อกัน เพื่อให้จิตเข้าสู่สภาวะที่แน่วแน่รวมกันเป็นจุดเดียว หรือที่เรียกว่าเอกัคคตาความจำเป็นต่อการพยายามเพ่งวัตถุในการทำสมาธิดังกล่าวอยู่นานๆ ติดต่อกันนี้ ผู้ปฏิบัติสมาธิย่อมจะต้องใช้พลังทางจิตอย่างสูงในการเพ่งเพื่อให้จิตเข้าสู่สมาธิตามทีตนต้องการ
ตรงข้ามกับการปฏิบัติวิปัสสนาสมาธิที่ใช้สติเป็นตัวนำไม่จำเป็นต้องใช้พลังจิตในการเพ่งเหมือนกับการปฏิบัติวิปัสสนาในแบบแรก เพียงแต่ใช้สติต่อการตระหนักรู้ในวัตถุที่ใช้ในการรับรู้การฝึกปฏิบัติโดยการนำสติมาใช้ประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ โดยวิธีนี้จะสามารถทำให้มองเห็นความจริงในสัจธรรมได้อย่างละเอียดประณีต
เมื่อเราสามารถเจริญสัมมาสติร่วมกับการเจริญสัมมาสมาธิได้แล้ว สตินั่นเองจะเป็นปัจจัยในการทำหน้าที่เลือกวัตถุที่ใช้เพ่งและยังเป็นตัวช่วยลดพลังจิตต่อการเพ่งได้ในระดับหนึ่ง จนสามารถรับรู้เกี่ยวกับอารมณ์ที่จะไม่ยึดติดอยู่กับพลังความอยากเหล่านั้น
คำว่า สมถะ หมายถึง ภาวจิตที่อยู่ในสภาวะสงบนิ่งเป็น สมาธิ ส่วนคำว่า สมถะ - วิปัสสนา เป็นกระบวนการฝึกสมาธิจิต โดยนำเอาสัมมาสติเป็นเครืองมือในการปฏิบัติ แม้ว่าทั้งสติและสมาธิจะทำหน้าที่คนละส่วนของจิต แต่ในการปฏิบัติวิปัสสนา ทั้งสติและสมาธิจำเป็นจะต้องทำงานร่วมกันและอยู่ในภาวะที่สมดุลซึ่งกันและกัน
ความสัมพันธ์ในการทำงานระหว่าง สติ กับ สมาธิ ค่อนข้างที่จะอยู่ในสภาพละเอียดอ่อน แม้ว่าตามคำจำกัดความ สมาธิหมายถึงความสามารถของจิตในการเพ่งไปยังวัตถุใดวัตถุหนึ่งในเวลานานๆ ติดต่อกัน เพื่อให้จิตเข้าสู่สภาวะที่แน่วแน่รวมกันเป็นจุดเดียว หรือที่เรียกว่าเอกัคคตาความจำเป็นต่อการพยายามเพ่งวัตถุในการทำสมาธิดังกล่าวอยู่นานๆ ติดต่อกันนี้ ผู้ปฏิบัติสมาธิย่อมจะต้องใช้พลังทางจิตอย่างสูงในการเพ่งเพื่อให้จิตเข้าสู่สมาธิตามทีตนต้องการ
ตรงข้ามกับการปฏิบัติวิปัสสนาสมาธิที่ใช้สติเป็นตัวนำไม่จำเป็นต้องใช้พลังจิตในการเพ่งเหมือนกับการปฏิบัติวิปัสสนาในแบบแรก เพียงแต่ใช้สติต่อการตระหนักรู้ในวัตถุที่ใช้ในการรับรู้การฝึกปฏิบัติโดยการนำสติมาใช้ประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ โดยวิธีนี้จะสามารถทำให้มองเห็นความจริงในสัจธรรมได้อย่างละเอียดประณีต
เมื่อเราสามารถเจริญสัมมาสติร่วมกับการเจริญสัมมาสมาธิได้แล้ว สตินั่นเองจะเป็นปัจจัยในการทำหน้าที่เลือกวัตถุที่ใช้เพ่งและยังเป็นตัวช่วยลดพลังจิตต่อการเพ่งได้ในระดับหนึ่ง จนสามารถรับรู้เกี่ยวกับอารมณ์ที่จะไม่ยึดติดอยู่กับพลังความอยากเหล่านั้น
มองที่เรื่องใหญ่ ทำที่เรื่องเล็ก
เรื่องเล็กไม่เสียหาย
ที่มืดไม่หลอกลวงปิดบัง
อับจนไม่เกียจคร้าน
นี้จึงเป็นวีรชนที่แท้จริง
นิทัศน์อุทาหรณ์
รังมดเล็กๆจางเอ้อหมา เป็นพ่อค้าขายของเบ็ดเตล็ด เขาหาบของไปขายจากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่งทุกๆ วัน สินค้าในหาบของเขามีของใช้จุกจิก ร้อยแปด
ในวันนั้น จางเอ้อหมาออกจากหมู่บ้านจางเชียจุน คิดจะเร่งไปให้ถึงหมู่บ้านจางเจียชุนก่อนฟ้ามืด เพื่อพักผ่อนและซื้อสินค้าเพิ่มเติมเพื่อจะได้นำไปขายหากำไรในวันรุ่งขึ้น เขาเดินไปเดินไป ฝีก้าวของจางเอ้อหมาหนักแน่น มั่นคงและรวดเร็ว
เส้นทางสายนี้เขาเดินไปมาไม่รู้ว่ากี่ร้อยเที่ยวแล้วจนชำนาญเมื่อมาถึงตรงนี้ข้างหน้าจะต้องมีเนินดิน พ้นเนินดินไปก็จะเป็นลำธารเล็กๆ เดินไปตามทางเล็กๆ สักครู่ใหญ่ก็จะถึงหมู่บ้านจางเจียชุนได้ถูก
เขาเดินทางไปพลางคิดพลางอย่างสบายใจ เมื่อเดินขึ้นไปบนเนินดินเขารู้สึกครึ้มอกครึ้มใจ ฮัมเพลงออกมาว่า
ธัมมิกสังคมนิยมของท่านพุทธทาส ( บทที่ ๔ " บทสุดท้าย " )
ธัมมิกสังคมนิยมของท่านพุทธทาส ( บทที่ ๔ )
แนวทางสู่ธัมมิกสังคมนิยม
ธัมมิกสังคมนิยมของธรรมชาติต้องกลับมา
" ...ธรรมิกสังคมนิยมที่ถูกต้องจะกลับมา ก็เพราะว่า เราเข้าใจสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง ตรงตามข้อเท็จจริงของธรรมชาติ หรือของกฎของธรรมชาตินั้นเอง
- ตั้งต้นด้วยข้อเท็จจริงพื้นฐานที่สุดที่ว่า ชีวิตนี้มันคือรูปหรือกายใจ เราได้ยินอย่างนี้ กันมากทั้งนั้นแต่เข้าใจความหมายผิด ไปแยกกายออกจากใจ แยกใจออกจากกาย หรือแยกนามออกจากรูป ไปแยกรูปออกยากนาม... ถ้าเรามองเห็นอย่างนี้ ว่ากายกับใจเป็นสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน อย่างนี้แล้ว ไม่มีทางที่จะเป็นวัตถุนิยมได้เลย หรือว่าไม่บ้าหลีงถึงกับว่า เอาแจ่จิตตนิยม มโนนิยม อย่างเดี่ยวได้ มันจะถูกอยู่ตามธรรมชาติ ถ้าเราจะพูดว่าสังคมนิยม นิยมการสังคม ก็อย่าเพ่อไปคิดถึง สังคมอื่นเลย คิดถึงสังคมของกายกับใจก็แล้วกัน กายกับใจนั่นแหละเป็นตัวสังคมที่ดี มันต้อง เข้ากันได้อย่างถูกต้อง จนเรียกว่า ธรรมิกสังคมนิยม คือกายกับใจมันเข้ากันได้อย่างถูกต้อง ตามทางธรรมหรือตามธรรมชาติ
ทีนี้เมื่อเรามีธรรมิกสังคมนิยมที่กายกับใจในภายในอย่างถูกต้องแล้ว มันก็ง่ายนิดเดียว ที่จะมีสังคมนิยมภายนอก คือ ระหว่างบุคคล ระหว่างประเทศ ระหว่างอะไรกัน กระทั่งทั้งโลกนี้ จะมีธรรมสังคมนิยมอย่างถูกต้องได้...
- จะแก้ปัญหาได้ ต้องไม่เป็นทาสของวัตถุ กันทั้งนายทุนและชนชั้นกรรมาชีพ เดี๋ยวนี้ พูดผ่าซากลงไปได้เลย แล้วก็มองเห็นด้วย มองเห็นได้จริงด้วยว่า นายทุนก็เป็นทาสวัตถุ ชนกรรมาชีพ ก็เป็นทาสฝ่ายวัตถุ แล้วมันจะถูกต้องกันได้อย่างไร มันก็มีแต่แย่งชิงกัน ฉะนั้น พอเลิกเป็นทาส ทางวัตถุกันเสียเท่านั้น ก็หมดความเป็นนายทุน หรือความเป็นชนชั้นกรรมาชีพ ทั้งนายทุนและชนชั้นกรรมาชีพ กลายเป็นผู้ที่ต้องการที่จะร่ำรวยด้วยบุญ เสียอย่างเดียวเท่านั้น หมดปัญหา...
- เจตนารมณ์ของการเมือง ต้องเป็นศีลธรรม... อย่าลืมว่าการเมืองนนี้ เราให้ความหมายว่า มันเป็นเรื่องถูกต้องของการปฏิบัติของมนุษย์ในการเป็นอยู่ร่วมกันอย่างมากๆ อย่างผาสุก เพราะว่า ทำถูกต้องตามกฏของธรรมชาติ เจตนารมณ์ของการเมืองเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นตามความประสงค์ ของทุกคนที่อยู่ร่วมกัน...
แนวทางสู่ธัมมิกสังคมนิยม
ธัมมิกสังคมนิยมของธรรมชาติต้องกลับมา
" ...ธรรมิกสังคมนิยมที่ถูกต้องจะกลับมา ก็เพราะว่า เราเข้าใจสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง ตรงตามข้อเท็จจริงของธรรมชาติ หรือของกฎของธรรมชาตินั้นเอง
- ตั้งต้นด้วยข้อเท็จจริงพื้นฐานที่สุดที่ว่า ชีวิตนี้มันคือรูปหรือกายใจ เราได้ยินอย่างนี้ กันมากทั้งนั้นแต่เข้าใจความหมายผิด ไปแยกกายออกจากใจ แยกใจออกจากกาย หรือแยกนามออกจากรูป ไปแยกรูปออกยากนาม... ถ้าเรามองเห็นอย่างนี้ ว่ากายกับใจเป็นสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน อย่างนี้แล้ว ไม่มีทางที่จะเป็นวัตถุนิยมได้เลย หรือว่าไม่บ้าหลีงถึงกับว่า เอาแจ่จิตตนิยม มโนนิยม อย่างเดี่ยวได้ มันจะถูกอยู่ตามธรรมชาติ ถ้าเราจะพูดว่าสังคมนิยม นิยมการสังคม ก็อย่าเพ่อไปคิดถึง สังคมอื่นเลย คิดถึงสังคมของกายกับใจก็แล้วกัน กายกับใจนั่นแหละเป็นตัวสังคมที่ดี มันต้อง เข้ากันได้อย่างถูกต้อง จนเรียกว่า ธรรมิกสังคมนิยม คือกายกับใจมันเข้ากันได้อย่างถูกต้อง ตามทางธรรมหรือตามธรรมชาติ
ทีนี้เมื่อเรามีธรรมิกสังคมนิยมที่กายกับใจในภายในอย่างถูกต้องแล้ว มันก็ง่ายนิดเดียว ที่จะมีสังคมนิยมภายนอก คือ ระหว่างบุคคล ระหว่างประเทศ ระหว่างอะไรกัน กระทั่งทั้งโลกนี้ จะมีธรรมสังคมนิยมอย่างถูกต้องได้...
- จะแก้ปัญหาได้ ต้องไม่เป็นทาสของวัตถุ กันทั้งนายทุนและชนชั้นกรรมาชีพ เดี๋ยวนี้ พูดผ่าซากลงไปได้เลย แล้วก็มองเห็นด้วย มองเห็นได้จริงด้วยว่า นายทุนก็เป็นทาสวัตถุ ชนกรรมาชีพ ก็เป็นทาสฝ่ายวัตถุ แล้วมันจะถูกต้องกันได้อย่างไร มันก็มีแต่แย่งชิงกัน ฉะนั้น พอเลิกเป็นทาส ทางวัตถุกันเสียเท่านั้น ก็หมดความเป็นนายทุน หรือความเป็นชนชั้นกรรมาชีพ ทั้งนายทุนและชนชั้นกรรมาชีพ กลายเป็นผู้ที่ต้องการที่จะร่ำรวยด้วยบุญ เสียอย่างเดียวเท่านั้น หมดปัญหา...
- เจตนารมณ์ของการเมือง ต้องเป็นศีลธรรม... อย่าลืมว่าการเมืองนนี้ เราให้ความหมายว่า มันเป็นเรื่องถูกต้องของการปฏิบัติของมนุษย์ในการเป็นอยู่ร่วมกันอย่างมากๆ อย่างผาสุก เพราะว่า ทำถูกต้องตามกฏของธรรมชาติ เจตนารมณ์ของการเมืองเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นตามความประสงค์ ของทุกคนที่อยู่ร่วมกัน...
Sunday, January 13, 2013
ป้องกันก่อนฝนตก เตรียมไว้ ไม่มีภัย
ยามว่างไม่ควรให้ผ่านเลย
จักได้ประโยชน์ยามงานชุก
ยามสงบไม่ควรจะอยู่เฉย
จักได้ประโยชน์ยามเคลื่อนไหว
ยามมืดไม่ควรหลอกลวงปกปิด
จักได้ประโยชน์ยามสว่าง
นิทัศน์อุทาหรณ์
กันไว้ดีกว่าแก้" ป้องกันก่อนฝนตก " เป็นสำนวนทีมักจะใช้กันอยู่เสมอๆ ทุกๆ คนต่างล้วนแต่เข้าใจควมหมายของมันดี คำคำนี้มาจากบทกวีบทหนึ่งชื่อว่า " เหยี่ยวนกเค้าแมว " ใน " คัมภีร์กวี "
ตัวเอกของบทกวี " เหยี่ยวนกเค้าแมว " นี้ ไม่ใช่เหยี่ยวนกเค้าแมวอันเป็นนกดุร้าย แต่เป็นแม่นกที่น่าสงสารตัวหนึ่ง ลูกๆ ของแม่นกถูกนกดุร้ายกินไปหมดแล้ว รังที่อยู่บนต้นไม้ก็ถูกเด็กๆ ใช้ลูกกระสุนยิงจนพังไปแล้ว แต่แม่นกก็มิได้ท้อถอย บินลงไปคาบรากไม้ใบหญ้า สร้างรังใหม่ที่แข็งแรงกว่าเก่าขึ้นมาอีก
อาจจะมีคนไม่เข้าใจว่า หลังจากได้ผ่านเหตุการณ์อันน่าเศร้าที่ลูกนกและรังนกสูญไปหมดแล้ว แม่นกก็เหนื่อยแสนจะเหนื่อยแล้ว เหตุไฉนจึงยังไม่ยอมหยุดพัก ยังคงทำงานขยันขันแข็งอยู่เช่นนั้น ?
Saturday, January 12, 2013
ไม่เกิด ไม่ตาย
ไม่เกิด ไม่ตาย
มีอยู่ครั้งหนึ่ง ฌานาจารย์เจี้ยนหยวนติดตามพะอาจารย์ของท่านไปงานศพแห่งหนึ่ง เพื่อสวดพระอภิธรรมอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย หลังเสร็จพิธีแล้ว ฌานาจารย์เจี้ยนหยวนใช้มือเคาะโลงศพถามอจารย์เต้าอู้ว่า " คนในโลงศพเกิดหรือตาย ? "
พระอาจารย์เต้าอู้ตอบว่า " ไม่ขอบอกว่าเกิด ไม่ขอบอกว่าตาย " ฌานาจารย์เจี้ยนหยวนถามอย่างประหลาดใจว่า " ทำไมถึงไม่ขอบอก ? " พระอาจารย์ตอบว่า " ไม่บอกก็คือไม่บอก "
เมื่อกลับถึงอาราม ฌานาจารย์เจี้ยนหยวนพูดอย่างไม่พอใจว่า " ถ้าอาจารย์ยังไม่บอก ต่อไปอาตมาจะไม่ติดตามอาจารย์ไปทำพิธีอะไรที่ไหนอีกแล้ว " พระอาจารย์ตอบว่า " ไม่ไปก็ไม่ไป ยังไงอาตมาก็ไม่บอก "
หลังจากนั้น ฌานาจารย์เจี้ยนหยวนก็ไม่ติดตามพระอาจารย์ไปทำพิธีอะไรที่ไหนอีกเลย จนกระทั่งพระอาจารย์ดับขันธ์ในฌานสมาบัติต่อมา ฌานาจารย์เจี้ยนหยวนมีโอกาสไปเยี่ยมฌานาจารย์สือซวง ก็ถามท่านด้วยคำถามเดียวกัน และได้คำตอบเหมือนอาจารย์ว่า " ไม่ขอบอกว่าเกิด ไม่ขอบอกว่าตาย " ถึงตอนนี้ ฌานาจารย์เจี้ยนหยวนก็สว่างวูบเข้าใจโดยฉัพลัน
มีอยู่ครั้งหนึ่ง ฌานาจารย์เจี้ยนหยวนติดตามพะอาจารย์ของท่านไปงานศพแห่งหนึ่ง เพื่อสวดพระอภิธรรมอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย หลังเสร็จพิธีแล้ว ฌานาจารย์เจี้ยนหยวนใช้มือเคาะโลงศพถามอจารย์เต้าอู้ว่า " คนในโลงศพเกิดหรือตาย ? "
พระอาจารย์เต้าอู้ตอบว่า " ไม่ขอบอกว่าเกิด ไม่ขอบอกว่าตาย " ฌานาจารย์เจี้ยนหยวนถามอย่างประหลาดใจว่า " ทำไมถึงไม่ขอบอก ? " พระอาจารย์ตอบว่า " ไม่บอกก็คือไม่บอก "
เมื่อกลับถึงอาราม ฌานาจารย์เจี้ยนหยวนพูดอย่างไม่พอใจว่า " ถ้าอาจารย์ยังไม่บอก ต่อไปอาตมาจะไม่ติดตามอาจารย์ไปทำพิธีอะไรที่ไหนอีกแล้ว " พระอาจารย์ตอบว่า " ไม่ไปก็ไม่ไป ยังไงอาตมาก็ไม่บอก "
หลังจากนั้น ฌานาจารย์เจี้ยนหยวนก็ไม่ติดตามพระอาจารย์ไปทำพิธีอะไรที่ไหนอีกเลย จนกระทั่งพระอาจารย์ดับขันธ์ในฌานสมาบัติต่อมา ฌานาจารย์เจี้ยนหยวนมีโอกาสไปเยี่ยมฌานาจารย์สือซวง ก็ถามท่านด้วยคำถามเดียวกัน และได้คำตอบเหมือนอาจารย์ว่า " ไม่ขอบอกว่าเกิด ไม่ขอบอกว่าตาย " ถึงตอนนี้ ฌานาจารย์เจี้ยนหยวนก็สว่างวูบเข้าใจโดยฉัพลัน
ถ่อมตัวจักได้ เย่อหยิ่งจักเสีย
โอ่งเอียงเมื่อเต็มปรี่จึงคว่ำ
กระบอกเงินเมื่อว่างเปล่าจึงปลอดภัย
...ด้วยเหตุนี้
สุภาพชนพึงดำรงตนอยู่อย่างไม่มีดีกว่ามี
อยู่อย่างพร่องดีกว่าอยู่อย่างเต็ม
นิทัศน์อุทาหรณ์
โอ่งเอียงกับกระบอกเงินเมื่อนับย้อนหลังไปแล้ว วันนั้นเป็นตอนเช้าวันหนึ่งของเมื่อ ๒,๐๐๐ กว่าปีก่อน
ขงจื้อยดเมธีได้นสานุศิษย์ทั้งหลายของตนเดินทางท่องเที่ยวไปยังศาลเจ้าหลู่กวนหง พอเข้าไปถึงวิหารใหญ่ ขงจื้อก็เห็นโอ่งใบหนึ่งตั้งตะแคงไปตะแคงมาไม่ตรงที่ จึงถามคนเฝ้าศาลเจ้าว่า " ภาชนะนี้คืออะไร ? "
คนเฝ้าศาลเจ้าตอบว่า " เขาเรียกกันว่าโอ่งเอียง "
ขงจื้อฟังว่า " โอ่งเอียง " ก็พูดกับเหล่าสานุศิษย์ว่า " ครูเคยฟังเขาว่ากันว่า โอ่งเอียงภ้าไม่ใส่น้ำจะตะแคงไปข้างหนึ่ง ถ้าหากเทน้ำลงไปครึ่งโอ่งมันก็จะตั้งตรง แต่ถ้าใส่น้ำจนเต็ม มันก็จะคว่ำ ไปเอาน้ำมาเทลงไป ดูซิว่ามันจะเป็นอย่างไร ? "
คุณธรรมสำคัญกว่า
คุณธรรมสำคัญกว่า
จื้อกุงถามขงจื้อว่า
" จะปกครองรัฐอย่างไรจึงจดี "
ขงจื้อตอบว่า
" จงปกครองให้ประชาชนมีอาหารบริโภคอุดมสมบูรณ์ ให้ประเทศชาติมีกองทัพเข้มแข็ง และให้ประชาชนมีความเชื่อถือในรัฐบาล "
" ถ้าหากจำเป็นจะตัดออกสักข้อหนึ่ง ควรตัดข้อไหนออก "
" ตัดกองทัพออก "
" ถ้าจำเป็นต้องตัดอีกหนึ่งข้อ จะตัดข้อใดก่อน "
จื้อกุงถามขงจื้อว่า
" จะปกครองรัฐอย่างไรจึงจดี "
ขงจื้อตอบว่า
" จงปกครองให้ประชาชนมีอาหารบริโภคอุดมสมบูรณ์ ให้ประเทศชาติมีกองทัพเข้มแข็ง และให้ประชาชนมีความเชื่อถือในรัฐบาล "
" ถ้าหากจำเป็นจะตัดออกสักข้อหนึ่ง ควรตัดข้อไหนออก "
" ตัดกองทัพออก "
" ถ้าจำเป็นต้องตัดอีกหนึ่งข้อ จะตัดข้อใดก่อน "
เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๑๖ )
เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๑๖ )
สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของเรา
ประเทศไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวอังดงามทางธรรมชาติ และทางวัฒนธรรมที่จะทำให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกตื่นเต้น และซาบซึ้งอยู่มากมายหลายแห่ง ทางภาคเหนือเป็นพื้นที่ราบสูง มีลักษณะเป็นภูเขาที่ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ อันเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเขาเผ่าต่างๆ ในขณะที่ภาคอีสานเคยเป็นดินแดนที่เคยรุ่งเรืองมาแล้วในอดีต ส่วนทางภาคใต้ก็มีเกาะที่สวยงามที่สุดของโลกแห่งหนึ่ง ซึ่งมีแสงอาทิตย์สิ่งตลอดปี ในขณะที่ภาคกลางปกคลุมไปด้วยพื้นที่อันอุดสมบูรณ์กว้างใหญ่ไพศาล เหมาะสมกับการเกษตรกรรม ( เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศไทย )
แต่ก่อนที่จะท่องเที่ยวไปยังภาคหนึ่งภาคใดของประเทศ นักท่องเที่ยวควรจะเยี่ยมชมสถานที่น่าสนใจต่างๆ ในกรุงเทพมหานครเสียก่อน แน่นอนที่สุดกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงที่สวยงามโดดเด่นทางด้านวัฒนธรรม และธรรมชาติซึ่งไม่สามารถที่จะบรรยายให้หมดภายใน ๒ - ๓ หน้ากระดาษได้สถานที่ควรจะไปเยี่ยมชมได้แก่ สถานที่ดังต่อไปนี้ พระบรมมหาราชวัง หรือวัดพระแก้ว ซึ่งได้รับการบรรยายว่าเป็นสิ่งอัศจรรย์ทางด้านสถาปัติยกรรมที่สวยงามที่สุดในเอเชียแห่งหนึ่งในด้านสีสัน รูปการออกแบบและศิลปกรรม ทางด้านฝั่งตะวันตกของท้องสนามหลวงก็เป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติซึ่งกล่าวกันว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุด และรวบรวมวัตถุโบราณไว้มากที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตั้งอยู่ข้างๆ พระบรมมหาราชวังก็คือ วัดโพธิ์หรือวัดพระเชตุพนฯ ซึ่งเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุด นอกจากนี้วัดแห่งนี้ยังจัดว่าเป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษาของประชาชนแห่งแรกอีกด้วย และด้วยเหตุนี้บางครั้งก็เรียกว่าเป็น " มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย "
ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรีก็คือ วัดอรุณราชวราราม ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ไม่อาจจะลืมได้แห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ และมักจะมีปรากฏการณ์ให้เห็นในหนังสือค่มือนักท่องเที่ยวเสมอ สิ่งปลูกสร้างที่น่าดึงดูดใจมากที่สุดของวัดนี้กคือ พระปรางค์ที่มีความสูง ๘๒ เมตร
สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของเรา
ประเทศไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวอังดงามทางธรรมชาติ และทางวัฒนธรรมที่จะทำให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกตื่นเต้น และซาบซึ้งอยู่มากมายหลายแห่ง ทางภาคเหนือเป็นพื้นที่ราบสูง มีลักษณะเป็นภูเขาที่ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ อันเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเขาเผ่าต่างๆ ในขณะที่ภาคอีสานเคยเป็นดินแดนที่เคยรุ่งเรืองมาแล้วในอดีต ส่วนทางภาคใต้ก็มีเกาะที่สวยงามที่สุดของโลกแห่งหนึ่ง ซึ่งมีแสงอาทิตย์สิ่งตลอดปี ในขณะที่ภาคกลางปกคลุมไปด้วยพื้นที่อันอุดสมบูรณ์กว้างใหญ่ไพศาล เหมาะสมกับการเกษตรกรรม ( เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศไทย )
แต่ก่อนที่จะท่องเที่ยวไปยังภาคหนึ่งภาคใดของประเทศ นักท่องเที่ยวควรจะเยี่ยมชมสถานที่น่าสนใจต่างๆ ในกรุงเทพมหานครเสียก่อน แน่นอนที่สุดกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงที่สวยงามโดดเด่นทางด้านวัฒนธรรม และธรรมชาติซึ่งไม่สามารถที่จะบรรยายให้หมดภายใน ๒ - ๓ หน้ากระดาษได้สถานที่ควรจะไปเยี่ยมชมได้แก่ สถานที่ดังต่อไปนี้ พระบรมมหาราชวัง หรือวัดพระแก้ว ซึ่งได้รับการบรรยายว่าเป็นสิ่งอัศจรรย์ทางด้านสถาปัติยกรรมที่สวยงามที่สุดในเอเชียแห่งหนึ่งในด้านสีสัน รูปการออกแบบและศิลปกรรม ทางด้านฝั่งตะวันตกของท้องสนามหลวงก็เป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติซึ่งกล่าวกันว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุด และรวบรวมวัตถุโบราณไว้มากที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตั้งอยู่ข้างๆ พระบรมมหาราชวังก็คือ วัดโพธิ์หรือวัดพระเชตุพนฯ ซึ่งเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุด นอกจากนี้วัดแห่งนี้ยังจัดว่าเป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษาของประชาชนแห่งแรกอีกด้วย และด้วยเหตุนี้บางครั้งก็เรียกว่าเป็น " มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย "
ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรีก็คือ วัดอรุณราชวราราม ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ไม่อาจจะลืมได้แห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ และมักจะมีปรากฏการณ์ให้เห็นในหนังสือค่มือนักท่องเที่ยวเสมอ สิ่งปลูกสร้างที่น่าดึงดูดใจมากที่สุดของวัดนี้กคือ พระปรางค์ที่มีความสูง ๘๒ เมตร
Thailand " Land of Smile " ( Part 16 )
Thailand " Land of Smile " ( Part 16 )
Our well - know tourist attractions
Thailand has a wide variety of fascinating natural and cultural attractions to excite and thrill visitors from around the world. In the North, the forested highland features the jungle - clad mountains inhabited by colourful hill tribes while the Northeast is the land of past civilisations. In the South, there lie the world's most beautiful islands under year - round sunshine, while the central region covers a large plane of fertile land suitable for sgriculture - the rice bowl of Thailand.
Before travelling to any part of the country, the visitors are advised to visit server places of interest in Bangkok first. Indeed, Bangkok is a capital city with distinctive cultural and natural attractions which could not be described in a few pages. The following are recommended places to visit ; The Grand Palace or the Emerald Buddha Temple. It has been described as one of the most memorable Asian architecture fantasies in colour, shape, designs and artistry. On the west side of Sanam Luang, is the National Museum which is said to be one of the largest and most comprehensive museums in Southeast Asia. Standing beside the Grand Palace itself is Wat Po or Temple of the Reclining Buddha which is Bangkok's oldest and largest temple. The temple is also regarded as the first centre of public education and is sometimes called " Thailand 's First University ".
Located on the west bank of the Chao Phraya River on the Thonburi side is Wat Arun or the Temple of Dawn. It is one of Bangkok's most memorable landmarks and always appears in all tourist brochures. The most attractive structure in the temple is the 82 -meter - high pagoda or Phra Prang in Thai.
Our well - know tourist attractions
Thailand has a wide variety of fascinating natural and cultural attractions to excite and thrill visitors from around the world. In the North, the forested highland features the jungle - clad mountains inhabited by colourful hill tribes while the Northeast is the land of past civilisations. In the South, there lie the world's most beautiful islands under year - round sunshine, while the central region covers a large plane of fertile land suitable for sgriculture - the rice bowl of Thailand.
Before travelling to any part of the country, the visitors are advised to visit server places of interest in Bangkok first. Indeed, Bangkok is a capital city with distinctive cultural and natural attractions which could not be described in a few pages. The following are recommended places to visit ; The Grand Palace or the Emerald Buddha Temple. It has been described as one of the most memorable Asian architecture fantasies in colour, shape, designs and artistry. On the west side of Sanam Luang, is the National Museum which is said to be one of the largest and most comprehensive museums in Southeast Asia. Standing beside the Grand Palace itself is Wat Po or Temple of the Reclining Buddha which is Bangkok's oldest and largest temple. The temple is also regarded as the first centre of public education and is sometimes called " Thailand 's First University ".
Located on the west bank of the Chao Phraya River on the Thonburi side is Wat Arun or the Temple of Dawn. It is one of Bangkok's most memorable landmarks and always appears in all tourist brochures. The most attractive structure in the temple is the 82 -meter - high pagoda or Phra Prang in Thai.
Friday, January 11, 2013
Concentration in Insight meditation
Concentration in Insight meditation
As mentioned above, samadha or samadhibhavana is characterized by its mundane nature, whereas vipassana is directed toward the transcendent goal of Nibbana. Obviously, the strength of concentration differs in the different stages of training. Moreover, concentration used in insight meditation, assists to penetrate into the three existence realities. These are the characteristics common to all existence, namely, impermanence, unsatisfactoriness, and non - substantially. Based on three insights of reality, vipassana concentration is therefore divided into three types as follows;
1. Sunnata samadhi or concentration on the void. This is the concentration, which is specifically based on anattalakhana or the characteristic of soullessness. It supports and identifies with the insight that contemplates on the relative, non - substantial nature of realities. This insight aims primarily at liberation through penetration into the soulless nature of all things.
2. Animitta samadhi or concentration on signless, an expression referring to the transitoriness of existence. This concentration supports insight which contemplates the impermanence nature of all things [ aniccalakhana ], particularly the experiences to the meditator's awareness, is applied in the training of insight meditation that liberation is achieved through seeing in their true nature as impermanence and ever changing.
As mentioned above, samadha or samadhibhavana is characterized by its mundane nature, whereas vipassana is directed toward the transcendent goal of Nibbana. Obviously, the strength of concentration differs in the different stages of training. Moreover, concentration used in insight meditation, assists to penetrate into the three existence realities. These are the characteristics common to all existence, namely, impermanence, unsatisfactoriness, and non - substantially. Based on three insights of reality, vipassana concentration is therefore divided into three types as follows;
1. Sunnata samadhi or concentration on the void. This is the concentration, which is specifically based on anattalakhana or the characteristic of soullessness. It supports and identifies with the insight that contemplates on the relative, non - substantial nature of realities. This insight aims primarily at liberation through penetration into the soulless nature of all things.
2. Animitta samadhi or concentration on signless, an expression referring to the transitoriness of existence. This concentration supports insight which contemplates the impermanence nature of all things [ aniccalakhana ], particularly the experiences to the meditator's awareness, is applied in the training of insight meditation that liberation is achieved through seeing in their true nature as impermanence and ever changing.
สมาธิที่นำมาใช้ในการปฏิบัติวิปัสสนา
สมาธิที่นำมาใช้ในการปฏิบัติวิปัสสนา
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า สมาธิภาวนาเป็นเพียงกรปฏิบัติสมถะแม้จะบรรลุฌาน ก็เป็นเพียงความสำเร็จธรรมในระดับโลกียะเท่านั้น ส่วนการเจริญวิปัสสนาเป็นการปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมชั้นสูงในระดับโลกุตตระที่ต้องใช้สมาธิ ซึ่งปรากฏชัดว่ามีระดับความลึกที่แตกต่างกันตามการฝึกปฏิบัติสมาธิภาวนา ในการปฏิบัติสมาธิวิปัสสนา นิยมใช้สมาธิ ๓ ในการเพ่งพิจารณาไตรลักษณ์ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สมาธิ ๓ ดังกล่าวประกอบด้วย
๑. สุญญตาสมาธิ เป็นสมาธิที่เพ่งไปยังความว่าง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะในการพิจารณาอนัตตลักษณะของธรรมทั้งหลายว่าโดยแท้จริงแล้วไม่มีตัวตน ไร้แก่นสาร เป็นอนัตตา เป็นสมาธิอันดับแรกที่ใช้เพ่งพิจารณาความไม่มีตัวตนของสรรพสิ่งทั้งหลายเพื่อให้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ
๒. อนิมิตตสมาธิ อนิมิต แปลว่าปราศจากนิมิต เป็นสมาธิตัวที่ ๒ ที่ใช้ในการปฏิบัติวิปัสสนาที่นำมาพิจารณาอนิจจาลักษณะได้แก่ ความไม่เที่ยง ไม่แน่นอน ไม่คงที่ ไม่ถาวร มีการเปลี่ยนแปลงของสังขตธรรมทั้งหลาย เพื่อทำให้จิตมองผ่านลงไปวิเคราะห์ถึงสัจธรรมในข้อต่อไป
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า สมาธิภาวนาเป็นเพียงกรปฏิบัติสมถะแม้จะบรรลุฌาน ก็เป็นเพียงความสำเร็จธรรมในระดับโลกียะเท่านั้น ส่วนการเจริญวิปัสสนาเป็นการปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมชั้นสูงในระดับโลกุตตระที่ต้องใช้สมาธิ ซึ่งปรากฏชัดว่ามีระดับความลึกที่แตกต่างกันตามการฝึกปฏิบัติสมาธิภาวนา ในการปฏิบัติสมาธิวิปัสสนา นิยมใช้สมาธิ ๓ ในการเพ่งพิจารณาไตรลักษณ์ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สมาธิ ๓ ดังกล่าวประกอบด้วย
๑. สุญญตาสมาธิ เป็นสมาธิที่เพ่งไปยังความว่าง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะในการพิจารณาอนัตตลักษณะของธรรมทั้งหลายว่าโดยแท้จริงแล้วไม่มีตัวตน ไร้แก่นสาร เป็นอนัตตา เป็นสมาธิอันดับแรกที่ใช้เพ่งพิจารณาความไม่มีตัวตนของสรรพสิ่งทั้งหลายเพื่อให้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ
๒. อนิมิตตสมาธิ อนิมิต แปลว่าปราศจากนิมิต เป็นสมาธิตัวที่ ๒ ที่ใช้ในการปฏิบัติวิปัสสนาที่นำมาพิจารณาอนิจจาลักษณะได้แก่ ความไม่เที่ยง ไม่แน่นอน ไม่คงที่ ไม่ถาวร มีการเปลี่ยนแปลงของสังขตธรรมทั้งหลาย เพื่อทำให้จิตมองผ่านลงไปวิเคราะห์ถึงสัจธรรมในข้อต่อไป
เป็นอะไรกันแน่
เป็นอะไรกันแน่
เม่งจื้อเดินทางไปยังรัฐงุ่ย เข้าเฝ้าพระเจ้าเนี้ยฮุยอ๊วง พระเจ้าเนี้ยฮุยอ๊วงดีพระทัย ตรัสปฏิสันถารว่า
" ท่านอาจารย์อุตส่าห์จาริกมาแต่ไกลถึงที่นี่ คงจะมาแนะนำประโยชน์ให้แก่รัฐงุ่ยเป็นแน่แท้ "
เม่งจื้อ
" ทำไมหนอ พระองค์จึงทรงคำนึงถึงแต่ประโยชน์ ข้าพเจ้าคิดว่าเราควรจะพูดถึง ยิ้น ( เมตตา ) กับ หงี ( ซื่อสัตย์ ) มากกว่า ถ้าพระเจ้าแผ่นดินตรัสว่าทำอย่างไรรัฐของฉันจะได้ประโยชน์พวกขุนนางก็จะพูดว่า ทำอย่างไรครอบครัวของฉันจะได้ประโยชน์ ประชาชนทั่วไปก็จะพูดว่า ทำอย่างไรฉันจึงจะได้ประโยชน์ เมื่อต่างคนต่างคิดแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตน ย่อมจะเกิดการแก่งแย่งผลประโยชน์ขึ้น รัฐใดเป็นเช่นนี้ไม่ช้ารัฐนั้นจะถึงความพินาศ แต่ถ้าประชาชนพลเมืองในรัฐใด มีแต่ความเมตตาและความซื่อสัตย์สุจริตต่อกัน รัฐนั้นจะมีแต่ความสงบสุข "
เม่งจื้อเดินทางไปยังรัฐงุ่ย เข้าเฝ้าพระเจ้าเนี้ยฮุยอ๊วง พระเจ้าเนี้ยฮุยอ๊วงดีพระทัย ตรัสปฏิสันถารว่า
" ท่านอาจารย์อุตส่าห์จาริกมาแต่ไกลถึงที่นี่ คงจะมาแนะนำประโยชน์ให้แก่รัฐงุ่ยเป็นแน่แท้ "
เม่งจื้อ
" ทำไมหนอ พระองค์จึงทรงคำนึงถึงแต่ประโยชน์ ข้าพเจ้าคิดว่าเราควรจะพูดถึง ยิ้น ( เมตตา ) กับ หงี ( ซื่อสัตย์ ) มากกว่า ถ้าพระเจ้าแผ่นดินตรัสว่าทำอย่างไรรัฐของฉันจะได้ประโยชน์พวกขุนนางก็จะพูดว่า ทำอย่างไรครอบครัวของฉันจะได้ประโยชน์ ประชาชนทั่วไปก็จะพูดว่า ทำอย่างไรฉันจึงจะได้ประโยชน์ เมื่อต่างคนต่างคิดแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตน ย่อมจะเกิดการแก่งแย่งผลประโยชน์ขึ้น รัฐใดเป็นเช่นนี้ไม่ช้ารัฐนั้นจะถึงความพินาศ แต่ถ้าประชาชนพลเมืองในรัฐใด มีแต่ความเมตตาและความซื่อสัตย์สุจริตต่อกัน รัฐนั้นจะมีแต่ความสงบสุข "
ตายแล้วยังไม่ยอมรับกรรม
ตายแล้วยังไม่ยอมรับกรรม
ชายคนหนึ่งดำรงชีพด้วยการจับปลาจับนก ขณะล้มหมอนนอนเสื่อใกล้สิ้นบุญ เขาฝันเห็นปูปลากุ้งหอยและนกจำนวนมากมาทวงหนี้ชีวิต ในที่สุดก็สิ้นใจไปในสภาพที่เจ็บปวดทุกข์ทรมานยิ่ง
เมื่อฌานาจารย์อี้ซิวรู้เข้า ก็สวดมนต์อุทิศส่วนกุศลให้ ทว่าญาติของผู้ตายยังไม่พอใจ ถึงกับร้องให้ฌานาจารย์เขียนจดหมายวิงวอนมัจจุราชโปรดให้อภัยเวรกรรมที่ผู้ตายก่อไว้ขณะยังมีชีวิต เพื่อให้ผู้ตายมีโอกาสขึ้นสวรรค์
ฌานาจารย์จึงเขียนข้อความลงบนแผ่นกระดาษว่า " ผู้ตายฆ่าสัตว์ตัดชีวิต สร้างบาปสร้างกรรมไว้มากมายหนักหนาสาหัสยิ่งกว่าสิเนรุบรรพตเกรงว่าสมุดบัญชีมัจจุราชยังจดไว้ไม่ครบ เพราะฉะนั้น ทางที่ดีที่สุดคือส่งผู้ตายขึ้นสวรค์ไปเสีย "
ภรรยาของผู้ตายจึงตำหนิฌานาจารย์ว่า ไม่ควรเขียนทำนองผู้ตายสร้างบาปกรรมไว้มากมายหนักหนาสาหัส แม้แต่มัจจุราชยังจดไม่ครบ ฌานาจารย์อี้ซิวจึงพูดว่า " โยมไม่ยอมรับว่าสามีโยมฆ่าสัตว์สร้างบาปกรรมไว้หนักหนาสาหัสยิ่งกว่าสิเนรุบรรพตหรือ ? " ภรรยาของผู้ตายตอบว่า " แม้จะเป็นเช่นนั้น อาจารย์ก็น่าจะมีวิธีโปรดเขามิใช่หรือ ? "
ชายคนหนึ่งดำรงชีพด้วยการจับปลาจับนก ขณะล้มหมอนนอนเสื่อใกล้สิ้นบุญ เขาฝันเห็นปูปลากุ้งหอยและนกจำนวนมากมาทวงหนี้ชีวิต ในที่สุดก็สิ้นใจไปในสภาพที่เจ็บปวดทุกข์ทรมานยิ่ง
เมื่อฌานาจารย์อี้ซิวรู้เข้า ก็สวดมนต์อุทิศส่วนกุศลให้ ทว่าญาติของผู้ตายยังไม่พอใจ ถึงกับร้องให้ฌานาจารย์เขียนจดหมายวิงวอนมัจจุราชโปรดให้อภัยเวรกรรมที่ผู้ตายก่อไว้ขณะยังมีชีวิต เพื่อให้ผู้ตายมีโอกาสขึ้นสวรรค์
ฌานาจารย์จึงเขียนข้อความลงบนแผ่นกระดาษว่า " ผู้ตายฆ่าสัตว์ตัดชีวิต สร้างบาปสร้างกรรมไว้มากมายหนักหนาสาหัสยิ่งกว่าสิเนรุบรรพตเกรงว่าสมุดบัญชีมัจจุราชยังจดไว้ไม่ครบ เพราะฉะนั้น ทางที่ดีที่สุดคือส่งผู้ตายขึ้นสวรค์ไปเสีย "
ภรรยาของผู้ตายจึงตำหนิฌานาจารย์ว่า ไม่ควรเขียนทำนองผู้ตายสร้างบาปกรรมไว้มากมายหนักหนาสาหัส แม้แต่มัจจุราชยังจดไม่ครบ ฌานาจารย์อี้ซิวจึงพูดว่า " โยมไม่ยอมรับว่าสามีโยมฆ่าสัตว์สร้างบาปกรรมไว้หนักหนาสาหัสยิ่งกว่าสิเนรุบรรพตหรือ ? " ภรรยาของผู้ตายตอบว่า " แม้จะเป็นเช่นนั้น อาจารย์ก็น่าจะมีวิธีโปรดเขามิใช่หรือ ? "
คนตายชื่อยัง เสือตายหนังอยู่
ยามเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ อากาศก็อบอุ่น
มวลหมู่บุผชาติก็เบ่งบานสวยสล้าง
เหล่าสกุณาส่งเสียงร้องเจื้อยแจ้ว
สุภาพชนเมื่อมีโอกาสเงยหน้าอ้าปาก
กินอิ่มสวนอุ่นไม่ทุกข์ร้อน
กลับไม่คิดที่จะเผยแพร่ความรู้และการกระทำความดีแล้วไซร้
แม้จะอายุยืนถึงร้อยปี
ก็เหมือนยังมิได้ถือกำเนิดมาแม้สักวันเดียว
นิทัศน์อุทาหรณ์
ความฝันของมหาเศรษฐีในอดีตนานมาแล้ว ในสมัยราชวงศ์โจว มีคนฐานะดีคนหนึ่งชื่ออิ่นสื้อ เขาได้ใช้ความพยายามอย่างสุดความสามารถ ที่จะเพิ่มพูนทรัพย์สมบัติของเขาทุกๆ วัน เขาจ้างคนงานไว้เป็นจำนวนมาก มาช่วยทำไร่ไถนาก่อบ้านสร้างเรือน แต่เขาก็ต้องเหน็ดเหนื่อยเมื่อล้าอย่างแสนสาหัสในการดูแลทรัพย์สมบัติอันใหญ่โตมโหฬารของเขาแต่เช้าจรดค่ำ ไม่มีเวลาจะพักผ่อนหย่อนใจเลย
ในแต่ละค่ำคืน แม้เขาจะหลับแล้วก็ยังเอาไปฝัน ฝันว่าตนเองเป็นคนใช้ที่คอยรับใช้่คนอื่นอย่างหัวปักหัวปำ ทำทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้หยุดซ้ำยังต้องทนรับการทุบตีด่าว่าของเจ้านายอีกด้วย เขาฝันเป็นคนรับใช้อยู่ตลอดทั้งคืน ทำให้ความรู้สึกปวดร้าวเป็นอย่างยิ่ง จนฟ้าสาง เขาจึงตื่นกลับคืนมาเป็นมหาเศรษฐีมีเกียรติอย่างเดิม
Thursday, January 10, 2013
สามารถ แต่ไม่ยอมสามารถ
สามารถ แต่ไม่ยอมสามารถ
คราวหนึ่ง...
เม่งจื้อ ปรัชญาเมธีชาวจีนที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งประสงค์จะสอนเจ้าผู้ครองนครชี้ ให้ปกครองเมืองโดยชอบธรรมกล่าวว่า
" สมมติว่ามีคนมาทูลพระองค์ว่า ข้าพเจ้ามีกำลังสามารถยกน้ำหนัก ๓๐๐ ชั่งได้ แต่ไม่สามารถยกขนนกเพียงขนเดียว สายตาของข้าพระองค์สามารถมองเห็นจุดปลายเส้นขนนกได้ชัดเจน แต่ไม่สามารถมองเห็นฟืนและหญ้าบนคนรถได้ พระองค์จักเชื่อหรือไม่ "
พระเจ้าชื้ ตรัสว่า " ข้าพเจ้าไม่เชื่อ "
เม้งจื้อ กล่าวต่อไปว่า
" ในทำนองเดียวกัน ผู้ปกครองนครทำตนเสมือนยกขนนกขนเดียวไม่ขึ้น เพราะไม่ยอมใช้กำลังเลยแม้นิดเดียว ไม้ฟืนกับหญ้าเต็มคันรถก็ว่าและไม่เห็น เพราะไม่ยอมดูแลเอาเสียเลย ประชาราษฎร์มิได้รับความคุ้มครอง ให้ได้รับสันติสุขทั่วถึงกัน เพราะผู้ปกครองไม่ยอมสนใจ ไม่ดำเนินการปกครองโดยธรรม มิใช่ว่าไม่สามารถ "
คราวหนึ่ง...
เม่งจื้อ ปรัชญาเมธีชาวจีนที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งประสงค์จะสอนเจ้าผู้ครองนครชี้ ให้ปกครองเมืองโดยชอบธรรมกล่าวว่า
" สมมติว่ามีคนมาทูลพระองค์ว่า ข้าพเจ้ามีกำลังสามารถยกน้ำหนัก ๓๐๐ ชั่งได้ แต่ไม่สามารถยกขนนกเพียงขนเดียว สายตาของข้าพระองค์สามารถมองเห็นจุดปลายเส้นขนนกได้ชัดเจน แต่ไม่สามารถมองเห็นฟืนและหญ้าบนคนรถได้ พระองค์จักเชื่อหรือไม่ "
พระเจ้าชื้ ตรัสว่า " ข้าพเจ้าไม่เชื่อ "
เม้งจื้อ กล่าวต่อไปว่า
" ในทำนองเดียวกัน ผู้ปกครองนครทำตนเสมือนยกขนนกขนเดียวไม่ขึ้น เพราะไม่ยอมใช้กำลังเลยแม้นิดเดียว ไม้ฟืนกับหญ้าเต็มคันรถก็ว่าและไม่เห็น เพราะไม่ยอมดูแลเอาเสียเลย ประชาราษฎร์มิได้รับความคุ้มครอง ให้ได้รับสันติสุขทั่วถึงกัน เพราะผู้ปกครองไม่ยอมสนใจ ไม่ดำเนินการปกครองโดยธรรม มิใช่ว่าไม่สามารถ "
จะ เลือก อย่างไหน
จะ เลือก อย่างไหน
คราวหนึ่ง...
จวงจื้อกับลูกศิษย์เดินทางผ่านต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง มีกิ่งก้านสาขาแผ่คลุมไปไกล แต่นักตัดต้นไม้ไม่มีใครสนใจ จวงจื้อประหลาดใจจึงแวะเข้าไปถามนักตัดต้นไม้คนหนึ่ง เขาตอบว่าต้นไม้นี้เนื้อไม้ไม่ค่อยดี ใช้ทำประโยชน์อะไรก็ไม่ได้
จวงจื้อจึงชี้ให้ศิษย์ดูว่า " ต้นไม้ต้นนี้ มันมีประโยชน์ มันจึงสามารถรอดอันตราย ไม่ถูกโค่น "
เมื่อเดินทางผ่านป่าออกมาแล้ว จวงจื้อได้แวะพักที่บ้านเพื่อนคนหนึ่ง เพื่อเก่าเจ้าของบ้านดีอกดีใจที่ได้พบจวงจื้อ จึงสั่งให้คนใช้ฆ่าห่านเลี้ยงดูปูเสื่อจวงจื้อกับศิษย์ผู้ติดตาม
คนใช้ถามนายว่า
" มีห่านอยู่สองตัว ตัวหนึ่งร้องไห้ อีกตัวร้องไม่ได้ จะให้ฆ่าตัวไหน "
คราวหนึ่ง...
จวงจื้อกับลูกศิษย์เดินทางผ่านต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง มีกิ่งก้านสาขาแผ่คลุมไปไกล แต่นักตัดต้นไม้ไม่มีใครสนใจ จวงจื้อประหลาดใจจึงแวะเข้าไปถามนักตัดต้นไม้คนหนึ่ง เขาตอบว่าต้นไม้นี้เนื้อไม้ไม่ค่อยดี ใช้ทำประโยชน์อะไรก็ไม่ได้
จวงจื้อจึงชี้ให้ศิษย์ดูว่า " ต้นไม้ต้นนี้ มันมีประโยชน์ มันจึงสามารถรอดอันตราย ไม่ถูกโค่น "
เมื่อเดินทางผ่านป่าออกมาแล้ว จวงจื้อได้แวะพักที่บ้านเพื่อนคนหนึ่ง เพื่อเก่าเจ้าของบ้านดีอกดีใจที่ได้พบจวงจื้อ จึงสั่งให้คนใช้ฆ่าห่านเลี้ยงดูปูเสื่อจวงจื้อกับศิษย์ผู้ติดตาม
คนใช้ถามนายว่า
" มีห่านอยู่สองตัว ตัวหนึ่งร้องไห้ อีกตัวร้องไม่ได้ จะให้ฆ่าตัวไหน "
Wednesday, January 09, 2013
Different levels of concentration or samadhi
Different levels of concentration or samadhi
To practice vipassana, a certain concentration is required. There are three levels of concentration for mental development according to Buddhism.
1. Khanika samadhi or momentary concentration is a quality of mind that is inherently common in all sentient beings which is an essential faculty that we all need in our everyday activities.
2. Upacara samadhi, or access or approximate or neighborhood concentration, is a more developed form of concentration attainable through the process of mental development. At this stage, the mind is elevated beyond the ordinary level of consciousness but it is not as yet well established in deep concentration. The stage of non - pointednes of mind is still subject to some degree of instability and fluctuation, although it can be better controlled than in the first type of concentration. Concentration at this particular level provides the necessary basis for the practice of insight meditation.
3. Attainment concentration [ Appana samadhi, jhana 8, absorption or trance ], Three are 2 main levels of jhana, called rupajhana and arupajhana. Each rupajhana and arupajhana are subdivided in to 8 levels of attainments.
To practice vipassana, a certain concentration is required. There are three levels of concentration for mental development according to Buddhism.
1. Khanika samadhi or momentary concentration is a quality of mind that is inherently common in all sentient beings which is an essential faculty that we all need in our everyday activities.
2. Upacara samadhi, or access or approximate or neighborhood concentration, is a more developed form of concentration attainable through the process of mental development. At this stage, the mind is elevated beyond the ordinary level of consciousness but it is not as yet well established in deep concentration. The stage of non - pointednes of mind is still subject to some degree of instability and fluctuation, although it can be better controlled than in the first type of concentration. Concentration at this particular level provides the necessary basis for the practice of insight meditation.
3. Attainment concentration [ Appana samadhi, jhana 8, absorption or trance ], Three are 2 main levels of jhana, called rupajhana and arupajhana. Each rupajhana and arupajhana are subdivided in to 8 levels of attainments.
ระดับต่างๆ ของสมาธิ
ระดับต่างๆ ของสมาธิ
แม้ว่าสมาธิจิตมีอยู่ ๓ ระดับ แต่ตามหลักกรปฏิบัติในทางพุทธศาสนาเกี่ยวกับการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานจิตที่เป็นสมาธิในบางระดับเท่านั้นที่นำมาใช้ในการปฏิบัติวิปัสสนา สมาธิจิต ๓ ระดับ ดังกล่าวนี้ประกอบด้วย
๑. ขณิกสมาธิ หมายถึงสมาธิที่เกิดขึ้นชั่วระยะ ซึ่งเป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานในสัตว์ทุกประเภทที่นำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน
๒. อุปจารสมาธิ หมายถึงสภาพของจิตที่เข้าสู่สมาธิแบบเฉียดๆ หรือจวนจะแน่วแน่ใกล้จะเข้าสู่ปฐมฌาน เป็นภาวจิตที่ประณีตขึ้นมาจากขณิกสมาธิ แม้ว่าภาวจิตถูกควบคุมจะอยู่ในอารมณ์หนึ่ง ( เอกัคตา ) แต่ยังไม่ลึกและแน่วแน่ มีความฟุ้งซ่านซัดส่ายไปมาและยังมีการรับรู้อยู่บางระดับหนึ่ง มีความประณีตกว่าขณิกสมาธิและสมาธิระดับต้นๆ ที่นำมาใช้ในการปฏิบัติวิปัสสนาที่เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ
๓. อัปปนาสมาธิ หมายถึงสมาธิที่แนบสนิทอยู่ในฌานหรือสมาบัติ ๘ ฌานเหล่านี้จัดเป็นระดับของสภาวจิตที่อยู่เหนือการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ในขณะนั้น จิตจะอยู่เหนือการรับรู้ทางจักขุวิญญาณโสตวิญญาณ และความรู้สึกจากทางผัสสะ เป็นสมาธิจิตที่อยู่เหนือการควบคุมของเจตสิกที่เป็นเวทนา คืออารมณ์ความรู้สึกพึงสังเกตุว่า ในการปฏิบัติวิปัสสนาแบบแรกนั้น จิตจะอยู่ในสมาธิระดับต้นๆ ระหว่างขณิกสมาธิกับอุปจารสมาธิยังไม่เข้าถึงอัปปนาสมาธิ ส่วนอัปปนาสมาธินั้น เป็นสมาธิในการบำเพ็ญฌานสมาบัติตามแบบโยคะ ที่พุทธศาสนาสามารถนำมาเป็นฐานต่อไปยังการปฏิบัติสมาธิวิปัสสนาเป็นขั้นที่ ๙ ที่เรียกว่า นิโรธสมาบัติ
แม้ว่าสมาธิจิตมีอยู่ ๓ ระดับ แต่ตามหลักกรปฏิบัติในทางพุทธศาสนาเกี่ยวกับการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานจิตที่เป็นสมาธิในบางระดับเท่านั้นที่นำมาใช้ในการปฏิบัติวิปัสสนา สมาธิจิต ๓ ระดับ ดังกล่าวนี้ประกอบด้วย
๑. ขณิกสมาธิ หมายถึงสมาธิที่เกิดขึ้นชั่วระยะ ซึ่งเป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานในสัตว์ทุกประเภทที่นำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน
๒. อุปจารสมาธิ หมายถึงสภาพของจิตที่เข้าสู่สมาธิแบบเฉียดๆ หรือจวนจะแน่วแน่ใกล้จะเข้าสู่ปฐมฌาน เป็นภาวจิตที่ประณีตขึ้นมาจากขณิกสมาธิ แม้ว่าภาวจิตถูกควบคุมจะอยู่ในอารมณ์หนึ่ง ( เอกัคตา ) แต่ยังไม่ลึกและแน่วแน่ มีความฟุ้งซ่านซัดส่ายไปมาและยังมีการรับรู้อยู่บางระดับหนึ่ง มีความประณีตกว่าขณิกสมาธิและสมาธิระดับต้นๆ ที่นำมาใช้ในการปฏิบัติวิปัสสนาที่เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ
๓. อัปปนาสมาธิ หมายถึงสมาธิที่แนบสนิทอยู่ในฌานหรือสมาบัติ ๘ ฌานเหล่านี้จัดเป็นระดับของสภาวจิตที่อยู่เหนือการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ในขณะนั้น จิตจะอยู่เหนือการรับรู้ทางจักขุวิญญาณโสตวิญญาณ และความรู้สึกจากทางผัสสะ เป็นสมาธิจิตที่อยู่เหนือการควบคุมของเจตสิกที่เป็นเวทนา คืออารมณ์ความรู้สึกพึงสังเกตุว่า ในการปฏิบัติวิปัสสนาแบบแรกนั้น จิตจะอยู่ในสมาธิระดับต้นๆ ระหว่างขณิกสมาธิกับอุปจารสมาธิยังไม่เข้าถึงอัปปนาสมาธิ ส่วนอัปปนาสมาธินั้น เป็นสมาธิในการบำเพ็ญฌานสมาบัติตามแบบโยคะ ที่พุทธศาสนาสามารถนำมาเป็นฐานต่อไปยังการปฏิบัติสมาธิวิปัสสนาเป็นขั้นที่ ๙ ที่เรียกว่า นิโรธสมาบัติ
Tuesday, January 08, 2013
อ่านบทประพันธ์ดีเยี่ยมในใจตน ฟังดนตรีเสนาะโสตจริงแท้
ใจคนมีบทประพันธ์ชั้นยอดอยู่บทหนึ่ง
แต่ถูกปิดกั้นด้วยบทเขียนที่ขาดวิ่นไม่สมบูรณ์ไปทั้งหมด
ใจคนมีบทเพลงอันไพเราะจับใจอยู่เพลงหนึ่ง
แต่ถูกกลบฝังด้วยเพลงอันเย้ายวนระบำหยาดเยิ้มไปสิ้น
แสวงหาธรรมชาติวิสัยเดิมของตน จึงจะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
นิทัศน์อุทาหรณ์
สุภาษิตของหนอนขาเดียว
ที่แท้นั้น ภายในจิตใจของแต่ละคน ล้วนแต่มีพู่กันวิเศษอยู่ด้ามหนึ่ง สามารถที่จะเขียนบทกวีและบทประพันธ์อันอมตะออกมาได้แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ผู้คนทั้งหลายล้วนแต่วุ่นอยู่กับการค้นคว้าหนังสือโบราณขาดๆ วิ่นๆ ไม่สมบูรณ์ทั้งกลางวันและกลางคืน ลืมไปว่า ตัวเองก็มีพู่กันวิเศษอยู่ด้ามหนึ่ง จึงทำให้พู่กันเล่มนั้นไม่ขนหลุดก็ขึ้นรา ไม่สามารถที่จะเขียนบทประพันธ์ชั้นยอดที่สืบทอดกันไปชั่วกัลปวสานได้
ในใจของคนเรา ยังมีดนตรีอันไพเราะเพราะพริ้งแว่ววนอยู่เพลงหนึ่ง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ผู้คนทั้งหลายล้วนแต่เบียดเสียดจ้องมองบนเวที อย่างเอาเป็นเอาตายกลางสีแสงดูระบำรำฟ้อน ฟังดนตรีซซึ่งแม้จะเย้ายวนแต่ก็ต่ำค่า ส่วนดนตรีอันไพเราะในใจตน กลับไม่ได้ยินเอาเสียเลย
คนเราในบางครั้งก็โง่เสียจริงๆ เหมืองทองคำภูเขาเงินอยู่ใต้ฝ่าเท้าของตนเองแท้ๆ แต่กลับทอดทิ้งบ้านเกิดเมืองนอน ข้ามน้ำข้ามเขาไปหาร่อนทองที่อื่น ตนเองก็มีของดีอยู่แต่่ทะนุถนอมไม่เป็น ใช้ก็ไม่เป็น แต่กลับไปนั่งอิจฉาริษยาคนอื่นไม่เข้าเรื่อง
รูปคือสุญ
รูปคือสุญ
ศิษย์คนหนึ่งเรียนถามฌานาจารย์เจ้าโจว ว่า " รูปคือสุญ สุญคือรูป หมายความอย่างไร ? "
ฌานาจารย์ตอบด้ยโศลกธรรมว่า " ที่รกไร้กำแพง ที่แจ้งไร้ที่ว่าง หากรู้จริง รูปคือสุญ สุญคือรูป "
ศิษย์คนนั้นงุนงง ไม่เข้าใจ ฌานาจารย์จึงตอบด้วยโศลกธรรมอีกบทหนึ่งว่า " พุทธปรากฏเด่นชัด ผู้ยึดมั่นถือมั่นย่อมไม่พบ หากไร้ตัวกูของกู หน้าตนฤๅมิใช่หน้าพุทธะ "
ศิษย์คนนั้นก็ยังไม่เข้าใจ ฌานาจารย์จึงลืมตาตวาดใส่ด้วยเสียงอันดังว่า " รูปคือสุญ สุญคือรูป " ศิษยคนนั้นเกิดความสว่างไสวเข้าใจในบัดดล
ศิษย์คนหนึ่งเรียนถามฌานาจารย์เจ้าโจว ว่า " รูปคือสุญ สุญคือรูป หมายความอย่างไร ? "
ฌานาจารย์ตอบด้ยโศลกธรรมว่า " ที่รกไร้กำแพง ที่แจ้งไร้ที่ว่าง หากรู้จริง รูปคือสุญ สุญคือรูป "
ศิษย์คนนั้นงุนงง ไม่เข้าใจ ฌานาจารย์จึงตอบด้วยโศลกธรรมอีกบทหนึ่งว่า " พุทธปรากฏเด่นชัด ผู้ยึดมั่นถือมั่นย่อมไม่พบ หากไร้ตัวกูของกู หน้าตนฤๅมิใช่หน้าพุทธะ "
ศิษย์คนนั้นก็ยังไม่เข้าใจ ฌานาจารย์จึงลืมตาตวาดใส่ด้วยเสียงอันดังว่า " รูปคือสุญ สุญคือรูป " ศิษยคนนั้นเกิดความสว่างไสวเข้าใจในบัดดล
เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๑๕ )
เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๑๕ )
จังหวัดสุพรรณบุรี
จังหวัดสุพรรณบุรีตั้งอยู่ในภาคกลางของปรเทศไทยและอยู่ห่างจากกุรงเทพฯ ประมาณ ๑๐๕ กม. จังหวัดสุพรรณบุรีนี้จัดว่าเป็นจังหวัดเก่าแก่จังหวัดหนึ่งในพระราชอาณาจักร และส่วนใหญ่จะเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นสถานที่เกิดของขุนช้าง - ขุนแผนในวรรณคดีไทย
จังหวัดสุพรรณบุรีมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานที่ทางประวัติศาสตร์เช่น อนุสรณ์ดอนเจดีย์ ซึ่งเป็นสถานที่ทำยุทธหัตถีมีชื่อเสียงของสมเด็จพระนเรศวรใหาราช ( ในขณะทรงเป็นเจ้าชาย ) ผู้ซึ่งเอาชนะเจ้าชายพม่า ( พระมหาอุปราช ) ได้สำเร็จในการทำศึกยุทธหัตถีในปลายศตวรรษที่ ๑๖ ความจริงแล้วเจดีย์นี้สร้างขึ้นในสมัยที่สมเด็จพระนเรศวรยังทรงพระชนมาชีพอยู่ แต่ว่าถูกทิ้งร้างว่างเปล่าจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๖ จึงได้ถูกค้นพบโดยกรมพระยาดำรงเดชานุภาพ จึงได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์เจดีย์ขึ้นและพัฒนาพื้นที่บริเวณนั้นให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติทุกๆ ปี ในช่วงวันที่ ๒๕ มกราคม จะมีงานเฉลิมฉลองพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์เป็นเวลานานนับสัปดาห์ และจะมีการแสดงการทำยุทหัตถีคล้ายเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้มานานนับเป็นเวลา ๔ ศตวรรษมาแล้ว
การเดินทางไปเที่ยวชมจังหวัดสุพรรณบุรี จะไม่สมบูรณ์ถ้าไม่ได้ไปเยือน วัดป่าเลไลย์ วัดเก่าแก่ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับวรรณคดีขุนช้างขุนแผน ตามเนื้อเรื่องกล่าวว่า ที่วัดนี้เฉพาะนางพิมพิลาไลย์เท่านั้น ผู้ซึ่งสามารถลอดประตูวิหารเข้าไปได้เพราะว่านางพิมเป็นคนรูปร่างเอวเล็กเอวบางสระสวย นางพิมพ์ถูกสั่งตัดศรีษะโดยพระเจ้าแผ่นดิน เพราะว่านางไม่สามารถตัดสินใจเลือกว่าจะใช้ชีวิตอยู่กับใคร ระหว่างขุนช้างกับขุนแผน พระเจ้าแผ่นดินไม่ทรงพระประสงค์จะให้นางเป็นเยี่ยงอย่างที่ไม่ดีสำหรับอนุชนรุ่นหลังๆ คนทั่วไปประณามนางและเรียกนางว่า หญิงสองใจ ในบริเวณวิหารรูปปั้นของคนทั้ง ๓ แสดงไว้ให้เห็น หรือแม้แต่ถนนบางสายยังตั้งชื่อตามบุคคลทั้ง ๓ เช่น ถนนนางพิมพ์
จังหวัดสุพรรณบุรี
จังหวัดสุพรรณบุรีตั้งอยู่ในภาคกลางของปรเทศไทยและอยู่ห่างจากกุรงเทพฯ ประมาณ ๑๐๕ กม. จังหวัดสุพรรณบุรีนี้จัดว่าเป็นจังหวัดเก่าแก่จังหวัดหนึ่งในพระราชอาณาจักร และส่วนใหญ่จะเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นสถานที่เกิดของขุนช้าง - ขุนแผนในวรรณคดีไทย
จังหวัดสุพรรณบุรีมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานที่ทางประวัติศาสตร์เช่น อนุสรณ์ดอนเจดีย์ ซึ่งเป็นสถานที่ทำยุทธหัตถีมีชื่อเสียงของสมเด็จพระนเรศวรใหาราช ( ในขณะทรงเป็นเจ้าชาย ) ผู้ซึ่งเอาชนะเจ้าชายพม่า ( พระมหาอุปราช ) ได้สำเร็จในการทำศึกยุทธหัตถีในปลายศตวรรษที่ ๑๖ ความจริงแล้วเจดีย์นี้สร้างขึ้นในสมัยที่สมเด็จพระนเรศวรยังทรงพระชนมาชีพอยู่ แต่ว่าถูกทิ้งร้างว่างเปล่าจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๖ จึงได้ถูกค้นพบโดยกรมพระยาดำรงเดชานุภาพ จึงได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์เจดีย์ขึ้นและพัฒนาพื้นที่บริเวณนั้นให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติทุกๆ ปี ในช่วงวันที่ ๒๕ มกราคม จะมีงานเฉลิมฉลองพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์เป็นเวลานานนับสัปดาห์ และจะมีการแสดงการทำยุทหัตถีคล้ายเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้มานานนับเป็นเวลา ๔ ศตวรรษมาแล้ว
การเดินทางไปเที่ยวชมจังหวัดสุพรรณบุรี จะไม่สมบูรณ์ถ้าไม่ได้ไปเยือน วัดป่าเลไลย์ วัดเก่าแก่ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับวรรณคดีขุนช้างขุนแผน ตามเนื้อเรื่องกล่าวว่า ที่วัดนี้เฉพาะนางพิมพิลาไลย์เท่านั้น ผู้ซึ่งสามารถลอดประตูวิหารเข้าไปได้เพราะว่านางพิมเป็นคนรูปร่างเอวเล็กเอวบางสระสวย นางพิมพ์ถูกสั่งตัดศรีษะโดยพระเจ้าแผ่นดิน เพราะว่านางไม่สามารถตัดสินใจเลือกว่าจะใช้ชีวิตอยู่กับใคร ระหว่างขุนช้างกับขุนแผน พระเจ้าแผ่นดินไม่ทรงพระประสงค์จะให้นางเป็นเยี่ยงอย่างที่ไม่ดีสำหรับอนุชนรุ่นหลังๆ คนทั่วไปประณามนางและเรียกนางว่า หญิงสองใจ ในบริเวณวิหารรูปปั้นของคนทั้ง ๓ แสดงไว้ให้เห็น หรือแม้แต่ถนนบางสายยังตั้งชื่อตามบุคคลทั้ง ๓ เช่น ถนนนางพิมพ์
Thailand " Land of Smile " ( Part 15 )
Thailand " Land of Smile " ( Part 15 )
Suphan Buri Province
Suphan Buri is a province which islocated in the central region of Thailand and is about 105 kilometers from Bangkok. It is one of the oldest Thai towns in the kingdom and widely known as the birthplace of Khun Chang - Khun Phaen in the Thai literature.
Suphan Buri has many interesting places to visit especially historical sites, such as Don Chedi, a very famous battle site King Naresuan the Great ( then the Prince ) defeated the Burmese Prince, Maha Uparaja elephant back in the late 16th century. In fact, the chedi ( or paoda in English ) was built during King Naresuan 's lifetime but was abandoned till 1913 when it was rediscovered by Prince Damrong. The pagoda was restored and the area was developed as a national historical site. Every year during the week of January 25, there is a week - long Don Chedi Monument Fair which includes a full costume re - enactment of elephant battle that took place four four centuries ago.
A journey to the province will be incomplete without visiting Wat palepai, an old temple which has a strong connection with the Khun Chang - Khun Phaen literature. Here as the story says, only Nang Pim could enter the door of the temple chapel as she had a beautiful slim figure. Nang Pim was beheaded by the king's order as she could not decide which man she wanted to spend the life with, Khun Chang or Khun phaen. The King did not want her to be a bad example for the new generation. People condemed her and called her a woman who had two hearts or " Wan Thong Song Jai " un Thai. In the chapel's compound, the moulded figures of these three people can be seen and even some roads in the city itself are named after them e.g. Nang Pim Road.
Suphan Buri Province
Suphan Buri is a province which islocated in the central region of Thailand and is about 105 kilometers from Bangkok. It is one of the oldest Thai towns in the kingdom and widely known as the birthplace of Khun Chang - Khun Phaen in the Thai literature.
Suphan Buri has many interesting places to visit especially historical sites, such as Don Chedi, a very famous battle site King Naresuan the Great ( then the Prince ) defeated the Burmese Prince, Maha Uparaja elephant back in the late 16th century. In fact, the chedi ( or paoda in English ) was built during King Naresuan 's lifetime but was abandoned till 1913 when it was rediscovered by Prince Damrong. The pagoda was restored and the area was developed as a national historical site. Every year during the week of January 25, there is a week - long Don Chedi Monument Fair which includes a full costume re - enactment of elephant battle that took place four four centuries ago.
A journey to the province will be incomplete without visiting Wat palepai, an old temple which has a strong connection with the Khun Chang - Khun Phaen literature. Here as the story says, only Nang Pim could enter the door of the temple chapel as she had a beautiful slim figure. Nang Pim was beheaded by the king's order as she could not decide which man she wanted to spend the life with, Khun Chang or Khun phaen. The King did not want her to be a bad example for the new generation. People condemed her and called her a woman who had two hearts or " Wan Thong Song Jai " un Thai. In the chapel's compound, the moulded figures of these three people can be seen and even some roads in the city itself are named after them e.g. Nang Pim Road.
Subscribe to:
Posts (Atom)