Sunday, September 09, 2012

ผมผิดเอง Part 2

   

         สมัยผมเรียนมัธยมปลาย ผมมีเพื่อนนักเรียนคนหนึ่งชื่อ ฟูจิโอขะ โมโตฮิโขะ เป็นคนชนบทแถบอำเภอกิฟู ครั้งหนึ่ง เพื่อนนักเรียนทะเลาะกัน อาจารย์โมโหมาก ถามด้วยน้ำเสียงดุดันว่า " ใครเป็นคนก่อเรื่องวุ่นวาย ? " พร้อมกับบอกให้ลุกขึ้นยืน นักเรียนทั้งห้องเงียบกริบที่เห็นอาจารย์เกิดโทสะ ทันใดนั้น มีนักเรียนคนหนึ่งลุกขึ้นพูดว่า " ผมเป็นคนก่อเรื่องเอง " เขาก็คือ ฟูจิโอขะ

        ผมเกิดความรู้สึกทันทีว่า " เขารับโทษแทนคนอื่นอย่างสมัครใจ " พร้อมกับคิดว่า " ไอ้หมอนี่ยิ่งใหญ่จริงๆ " ต่อมาเขาจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยนาโกยา เข้าทำงานในธนาคารแห่งหนึ่ง สามารถไต่เต้าขึ้นสู่ตำแหน่งกรรมการบริหารของธนาคารในเวลาอันสั้น เมื่อเทียบกับกรรมการคนอื่นๆ


        พูดไปแล้ว คนทั่วไปน้อยนักจะขออภัยอย่างตรงไปตรงมาว่า " ผมผิดเอง " โดยเฉพาะผู้หญิง จะไม่ขออภัยอย่างเด็ดขาดว่า " ฉันผิดเอง " นักเขียนชื่อดัง นากาโมริ ชิเกโนบุ กรรมการผู้จัดการบริษัทเครื่องไฟฟ้าแห่งหนึ่งเติบโตอย่างรวดเร็ว เคยเขียนไว้ในหนังสือ เรื่องอัศจรรย์เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร ว่า " ถ้าเป็นพนักงานชาย เราตะคอก ตำหนิ และบริภาษเขา จนไม่มีชิ้นดี อาจกระตุ้นให้เขาเกิดความคิดโต้แย้ง หรือ ฮึดสู้ มุมั่น กล้า ยอมรับผิด แต่วิธีนี้ ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับพนักงานหญิง ซึ่งเราต้องใช้วิธีตรงข้าม คำแรกต้แงชมเชย คำที่สองก็ต้องชมเชย และคำที่สามยังคงต้องชมเชย "

       สมัยโบราณ มีสำนวนหนึ่งว่า " ต่อผู้หญิงและผู้น้อย ( คนธรรมดาไม่ใช่ผู้ยิ่งใหญ่ ) " ต้องยกย่องชมเชย จึงจะสามารถใช้เขาให้เกิดประโยชน์  หมายความว่า " การตำหนิบริภาษผู้หญิงนั้น จะไม่เกิดผล " ยังมีอีกสำนวนหนึ่งว่า " มีแต่ผู้หญิงและผู้น้อยเท่านั้นที่เลี้ยงยาก "

       คนส่วนใหญ่อ่านพบสำนวนข้างต้น จะเห็นด้วย ในใจคงคิดเหมือนกันว่า " ถูกต้องแล้ว " ผมเองกคิดเช่นนั้นมานาน มักใช้สำนวนข้างต้นปลอบใจตัวเอง อย่างไรก็ตาม ผมจำต้องอธิบายเพิ่มเติม เพื่อป้องกันอคติว่า ขณะที่เราเกิดความรู้สึกเช่นนั้น ก็แสดงว่าตัวเราเองคือ " ผู้น้อย " ด้วย บางคนพูดว่า " ผิดก็ยอมรับผิด ไม่เห็นมีอะไรแปลก

       แต่ตามตรรกะข้างต้นนี้ ถ้ายอมรับความผิดและโทษทัณฑ์แทนคนอื่น ก็จะเป็นเรื่องตลกโดยยิ่งแท้

       การบริภาษคนอื่นเป็นเรื่องสนุกอย่างยิ่ง ช่วยคลี่ปมในใจออกได้ สมัยเด็ก ผมเคยได้ยินคนอื่นพูดว่า " การโค้งคำนับ  ก็มีแบบแผน " แบบแผนที่ว่านี้ ก็คือการบ่นท่องในใจว่า " กูฉลาด มึงมันไอ้งั่ง !" จากนั้นโค้งคำนับ การบ่นท่องเหตุผลทำนองนี้ในใจ ดูจะเป็นความคิดจิตใจของคนปกติธรรมดา

       ในเมื่ออนุมานจากเหตุผลทั่วไป นี่คือความคิดจิตใจของคนปกติธรรมดา การเกลี้ยกล่อมให้คนอื่นเห็นคุณค่าของการพูดว่า " ผมผิดเอง " จึงเป็นเรื่องยากลำบากมาก ขณะที่ผมผิดหวังอย่างยิ่งนั้น ผมพยามปลอบใจตัวเองว่า " อย่าไปสนเลยว่ามีเหตุผลอะไรหรือไม่ ขอเพียงทดลองทำใบ้แสร้งโง่ ย่อมสมปราถนาในที่สุด "



by อิบูคิ ทาคาชิ, โทขุระ โทราโอะ ( คนฉลาดแสร้งโง่ )
       

No comments:

Post a Comment