Wednesday, September 12, 2012
จิตวิทยาเกี่ยวกับ " รู้ " " ไม่รู้ "
สำนวนหนึ่งของผมคือ " โลกนี้ประกอบขึ้นจากความรู้สึกและความเข้าใจที่ผิด " หมายความว่า ทุกสิ่งล้วนเกี่ยวข้องกับจิตวิทยา
กระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ ผมจึงค้นพบจิตวิทยาเกี่ยวกับ " รู้ " และ " ไม่รู้ " ขอเพียงรู้สึกว่า " ไม่รู้ " ความอยากรู้อยากเห็นที่มีลักษณะเสริมสร้างสติปัญญา ก็จะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าไม่รู้สึกว่า " รู้ " แล้ว ก็จะขาดความสนใจใคร่รู้
ความอยากรู้อยากเห็นเป็นสัญชาตญาณหนึ่งของมนุษย์เรา ซึ่งแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด หนึ่งในนั้นคือความอยากรู้อยกเห็นที่มีลักษณะเสริมสร้างสติปัญญา ทำให้คนเรา " อยากรู้ " อย่างรุนแรง แต่หลังจากผ่านวัยหนุ่มสาว ถึงวัยวิจารณญาณเริ่มก่อตัว ความรู้และประสบการณ์ทั้งหมดก็จะกลายเป็น " ทัศนคติ " ที่ " เข้าก่อนเจ้าบ้าน " ย้อนกลับมากด " ความอยากรู้อยากเห็น " แต่เดิม นี่คือสภาวะจิตแบบ " อนุรัษย์นิยม " ที่โน้มไปทางเชื่อว่า " ผมรู้ " " ผมเข้าใจ " " สังคมเป็นแบบนี้เอง " ฯลฯ
นี่คือ " อาการปัญญาอ่อน " ของ " การเสริมสร้างสติปัญญา " ทำให้คนเราไม่เติบโตแล้ะก้าวหน้าต่อไป แต่มีคนประเภทหนึ่ง เรียกกันว่าคนประเภทประสบความสำเร็จในบั้นปลาย หมายถึง คนที่รักษาความอยากรู้อยากเห็นและการเสริมสร้างสติปัญญาไว้ได้ตลอดชีวิต พูดให้ชัดเจนคือ คนประเภทนี้มีความอยากรู้อยากเห็นมากยิ่งขึ้น หมายความว่า พวกเขาค้นพบ " ความไม่รู้ " ของตัวเองครั้งแล้วครั้งเล่า
วัยหนุ่มสาว สภาวะจิตแสวงหาความรู้ ( ความอยากรู้อยากเห็นที่มีลักษณะเสริมสร้างสติปัญญา ) กระตุ้นให้เกิดการเก็บความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ มิได้ขาด
เมื่อพ้นวัยหนุ่มสาว ความรู้และประสบการณ์เหล่านั้น กลายเป็น " ทัศนคติ " ที่ " เข้าก่อนเป็นเจ้าบ้าน " เกิดบทบาทต่อต้านสิ่งใหม่ๆ ทำให้สมองชราภาพอย่างรวดเร็ว
" การแสวงหาควมรู้ " ของพวกเขามีลักษณะวัฏจักร สุดแล้วเริ่มใหม่ เพลี่ยงพล้ำเท่าไรก็เติบโตเท่านั้น ชอบตั้งข้อสงสัยต่อความรู้ หรือรู้สึกได้ถึง " การดำรงอยู่ของความเป็นจริงต่างๆ นอกเหนือความรู้
by อิบูคิ ทาคาชิ, โทขุระ โทราโอะ ( คนฉลาดแสร้งโง่ )
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment