Monday, September 10, 2012

ปรัชญาเหลาจื้อในคัมภีร์เหลาจื้อ

     


         นักประวัติศาสตร์กล่าวว่า เหลาจื้อนี้ เหลาจื้อสมชื่อ เพราะเหลาจื้อปรากฏชื่อในครั้งแรกในประวัติศาสตร์ก็เป็นคนอายุมากแล้ว ไม่มีผู้ใดสามารถล่วงรู้ชีวิตวัยเด็กของเหลาจื้อ ราวกับว่าเหลาจื้อไม่มีวัยเด็ก

         เหลาจื้อกับปรัชญาของเขา นับว่ามีอิทธิพลต่อวงการนักคิด ปรัชญาเหลาจื้อโด่งดังในประเทศจีนเป็นเวลา 2 พันกว่าปีมาแล้ว ไม่เพียงโด่งดังในประเทศจึน แม้ต่างประเทศก็ได้รับอืทธิพลจากปรัชญาเหลาจื้อ

         ในหนังสือเรื่อง " ตงกกและซื่อเหมี่ยยิ้งกู่สื่อ " ( บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์จีน ) ผู้ขียนได้วิเคราะห์ว่า คัมภีร์เหลาจื้อมีความคิดอย่างน้อย 4 แบบ ที่ไม่สอดคล้องกัน จึงสันนิษฐานว่า คัมภีร์คงถูกต่อเติมอย่างน้อย 4 ครั้งขึ้นไป

         ความคิดที่ 1 เห็นว่า..." วิถีแห่งสวรรค์ยุติธรรมที่สุด ปราศจากความเห็นแก่ตัว และมักให้คุณแก่คนดี ราษฏรอดอยากเพราะทางการเก็บภาษีหนัก " นี่คือแนวคิดของคนที่เที่ยงธรรม

         ความคิดที่ 2 เห็นว่า ... " ไม่ต้องการสติปัญญาของจอมปราชญ์ ไม่ต้องการคนรักคน ไม่ต้องการการกระทำที่สมควร แต่ต้องการให้มนุษย์กลับปใช้ชีวิตอย่างคนดึกดำบรรพ์ โดยมีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย "

         ความคิดที่ 3 เห็นว่า..." เรื่องราวต่างๆ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แทนที่จะอวดฉลาดมิสู้แกล้งโง่ ขอเพียงมีข้าวกินก็พอใจ "

        ความคิดที่ 4 เห็นว่า... " ผู้ที่จะชนะต้องควบคุมกฏแห่งความเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่า ต้องทำให้ศัตรูหัวปั่น และ ต้องทำให้ราษฏรโงาเขลา "



ป.แผนสำเร็จ ( ปรัชญาการดำรงตนของจอมปราชญ์ : สรรนิพนธ์จอมปราชญ์ )

No comments:

Post a Comment