Monday, September 10, 2012

อย่าบอกคนโง่ " แสร้งโง่ "



       ครั้งหนึ่ง ขณะที่มีคนบอกผมว่า " อย่าบอกคนโง่ แสร้งโง่ " ผมรู้สึกงงอยู่บ้าง แต่ผมก็ตอบไปว่า

       " ในเมื่อโง่อยู่แล้ว บอกให้เขารักษาความโง่ไว้ เป็นอันใช้ได้ "
       
       อย่างไรก็ตาม ขณะที่เขารักษาความโง่ไว้ ก็เกรงจะเป็นที่เข้าใจผิดหรือ เกลียดชัง เพราะโดยพื้นฐานแล้ว เรามักจะมีทัศนะคติในแบบว่า

       ความรู้  >>>> ฉลาด = ดี

       ไม่มีความรู้ >>>> โง่ = ไม่ดี

       ถ้าต้องการให้คนที่มีทัศนะคติดังกล่าวฝังลึก เข้าใจคำแนะนำของผมจะต้องทำลาย " การบูชาความรู้ " ของพวกเขาก่อน ยุคสมัยกำลังเปลี่ยนสินค้ามิใช่จะขายออกง่ายๆ มีความจำเป็นต้องทำลาย " การบูชาความรู้ " มากขึ้น คนที่หงุดหงิดกลัดกลุ้มกับความขัดแย้งและทฤษฏีเชิงซ้อนดังกล่าวจึงเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ป่วยโรคลักษณะประสาทเพิ่มขึ้นตาม


       ถ้าเช่นนั้น ต้องทำอย่างไร พวกเขาจึงจะเข้าใจตรรกะต่อไปนี้

       ฉลาด >>>> ถูกความรู้บงการ = ไม่ดี

       โง่ >>>> ไม่ถูกความรู้บงการ = ดี

       ผมพยายามอธิบายเหตุผลต่างๆ จากหลายแง่มุม พวกเขาก็ยังไม่เข้าใจ ทำให้ผมกลัดกลุ้มเป็นทุกข์กับเรื่องนี้เอาการ นับแต่นั้นมา ผมครุ่นคิดอย่างจริงจัง ตั้งใจจะเขียนหนังสือ ปรัชญาแห่งความโง่เขลา สักเล่ม 

       ทุกครั้งที่มีโอกาส ผมจะนึกถึงความยิ่งใหญ่ของโคเปอร์นิคัส ( Copernicus ) คนสมัยโบราณล้วนเชื่อว่า " พระอาทิตย์หมุนรอบโลก " ซึ่งก็คือทฤษฏีฟ้าหมุน คนที่ลุกขึ้นมาโต้แย้งด้วยทฤษฏีโลกหมุนว่า " ไม่ถูกต้อง ที่หมุนคือโลกต่างหาก " ก็คือ โคเปอร์นิคัส ซึ่งหลังจากนั้นเป็นเวลายาวนาน ก็ยังไม่มีใครเข้าใจทฤษฏีของท่าน แต่กาลเวลาผ่านไป ชาวโลกเข้าใจดีสัจธรรมทฤษฏีโลกหมุนในที่สุด สภาพดังกล่าวแล้วข้างต้น ก็ดุจเดียวกัน

       เมื่อเราค้นพบบางสิ่งบางอย่างและทำความเข้าใจแล้ว ก็คิดว่าเป็นเรื่องจริง บางครั้งถึงมิใช่ความรู้ ยังเชื่ออย่างไม่ต้องสงสัย

       เรามีวิธีแก้ไขความเข้าใจผิดที่มีต่อ " ความรู้ " หรือไม่ ?

     



by อิบูคิ ทาคาชิ, โทขุระ โทราโอะ ( คนฉลาดแสร้งโง่ )

No comments:

Post a Comment