Saturday, September 22, 2012
ทฤษฏีการหยั่งรู้
ทฤษฏีการหยั่งรู้
ขงจื้อกล่าวว่า... " นิ่งก่อนจึงสงบ สงบก่อนจึงสุขใจ สุขใจก่อนจึงวิเคราะห์ วิเคราะห์ก่อนจึงหยั่งรู้ " นี่คือรูปแบบความคิดของคนโบราณ กล่าวคือ มุ่งเน้นให้รู็ว่า อะไรมาก่อน อะไรมาหลัง นอกจากนี้ขงจื้อยังกล่าวว่า... " เรื่องราวต่างๆ มีจุดเริ่มต้นและจุดจบ ผู้รู้ว่าเรื่องใดมาก่อน เรื่องใดจะเกิดตามมา ผู้นั้นใกล้เคียงกับผู้รู้วิถีแห่งเต๋า " ( เต๋า แปลว่า ทางเดิน เต๋าของขงจื้อ กับเต๋าของเหลาจื้อมีทฤษฏีต่างกัน )
กุ๋ยก๊กจื้อ ( กุ่ยกู่จื่อ ) กล่าวว่า... " เพราะมีความอยากใจจึงมุ่งมั่น แต่หากมีความอยากในหลายสิ่งหลายอย่างพร้อมกัน ใจจะเริ่มเสือมกำลัง ไม่สามารถรวมสมาธิมุ่งในเป้าหมายเดียว ดังนั้น กฏเกณฑ์การของการสร้างกำลังใจคือ ต้องไม่มีความอยากในหลายสิ่งหลายอย่างพร้อมกัน เมื่อมีความอยากที่บรรลุเป้าหมายเดียว ใจจะแข็งแกร่ง และจะมุ่งมั่น หยั่งรู้ลึกซึ้งในสิ่งนั้น "
เมื่อประสานแนวคิดของขงจื้อกับกุ่ยกู๋จื่อ ได้ข้อสรุปว่า การหยั่งรู้ ต้องรู้ก่อนหลัง และต้องมีใจมั่นในสิ่งเดียว เมื่อผ่านประสบการณ์มากมาย จะเห็นเรื่องราวในแง่มุมต่างๆ กอให้เกิดความคิดลึกซึ้งและแยบยล
คนโบราณใช้สูตร 5 ประการ เพื่อหยั่งรู้เรื่องราวต่างๆ สูตรนั้นคือ กวน ( กวง ) แปลว่าดูด้วยตา เช่อ ( เฉ็ก ) แปลว่า คาดคะเน ฉา ( ฉัก ) แปลว่า สังเกตการณ์ เปี้ยนอุ๋ย ( เปี่ยงมุ้ย ) แปลว่า เห็นรายละเอียดเล็กๆ หยั่งรู้ความเป็นมาและความเป็นไป จือฉัง ( ไจเซี่ย ) แปลว่า รู้กฏธรรมชาติแห่งความเป็นไปของสิ่งนั้น
By ป.แผนสำเร็จ ( ปรัชญาการดำรงตนของจอมปราชญ์ : สรรนิพนธ์จอมปราชญ์ )
PIC. By University Alliance