Tuesday, September 11, 2012

ความเห็นของเหลาจื้อ

   

             ในสมัยที่จิวเก้งอ๊วง ( โจวจิ่งหวาง ) เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จิว ( โจว ) ( ก่อน ค.ศ.520 ปี ) ในยุคนั้น บรรดานักการเมืองของรัฐต่างๆ เกิดการถกเถียงกันว่า รูปแบบการปกครอง " โหลตี่ " ( หลี่จื้อ ) กับ     " หวกตี่ " ( ฝ่าจื้อ ) แบบใหนดีกว่า

         " โหลยตี่ " ( หลี่จื้อ ) หมายถึงการปกครองโดยใช้ขนบธรรมเนียมที่ดี เป็นแนวความคิดของ พวกบัณฑิตหยู พวกบัณฑิตหยูคือพวกที่นับถือลัทธิขงจื้อ ขงจื้อนำเสนอให้ปกครองโดยใช้ " โหลยตี่ " ( หลี่จื้อ ) โดยกล่าวว่า... " ปกครองโดยใช้กฏหมายและใช้การลงโทษ ราษฏรจะหลบหลีกและไร้ยางอาย ส่วนปกครองโดยใช้ความดีและการให้เกียรติ ( หมายถึง การแสดงมารยาทที่ดีต่อราษฏร ในที่นี้คือการปกครองแบบโหลยตี่หรือหลี่จื้อนั่นเอง ) ราษฏรจะละอายต่อการทำผิดและยังเป็นราษฏรที่มีมาตรฐานที่ดี "

          " หวกตี่ " ( ฝ่าจื้อ ) หมายถึง การปกครองโดยใช้กฏหมาย ผู้ใดกระทำผิดจะลงโทษไม่ละเว้น


          ประวัติศษสตร์บันทึกว่า นับตั้งแต่สถาปนาราชวงศ์จิว ( โจว ) ราชวงศ์จิวก็ใช้รูปแบบการปกครองแบบโหลยตี่ ( หลี่จื้อ ) ขุนนางผู้ใหญ่ในยุคนั้นคือ จิวกง ( โจวกุง ) จิวกงเป็นผู้สร้างรูปแบบการปกครองโดยใช้ " โหลตี่ " ( หลี่จื้อ ) 

           เมื่อมาถึงสมัยของเหลาจื้อ การปกครองโดยใช้ " โหลยตี่ " ( หลี่จื้อ ) เริ่มไม่ได้ผล ผู้คนเริ่มไม่ยอมปฏิบัติตามธรรมเนียมที่ดี ฉะนั้น ราชวงศ์จิว ( โจว ) เริ่มเสื่อม รัฐต่างๆ เริ่มสะสมกำลังผลตั้งตัวเป็นหัวหน้ารัฐทั้งปวงโดยไม่เห็นราชวงศ์จิวในสายตา

           ในช่วงนี้เองจึงเกิดกระแส ถกเถียงกันว่า ระหว่าง " โหลยตี่ " กับ " หวกตี่ " แบบใหนจะใช้ปกครองบ้านเมืองได้ดีกว่า ผู้คนเริ่มถกเถียงกันอย่างกว้างขวางเป็นประเด็นยอดฮิต แทบจะว่า ข้าราชการทุกคนต้องพูดถึงเรื่องนี้ แต่มีข้าราชการคนหนึ่งไม่รู้สึกสนใจประเด็นนี้เลย จึงไม่พูดแม้แต่คำเดียว และคนผู้นี้ก็คือ เหลาจื้อ

            ต่อมาเหลาจื้อเห็นว่า ผู้ที่ถกเถียงปัญหานี้คิดแต่จะใช้ ขนบธรรมเนียมกับกฏหมายมากดขี่ราษฏร เหลาจื้อจึงติเตียนคนทั้ง 2 พวกนี้ คนทั้ง 2 พวกนี้ไม่พอใจจึงปล่อยข่าวว่า เหลาจื้อเป็นคนบ้าคลั่ง

            ฝ่ายศิษย์เหลาจื้อจึงถามเหลาจื้อว่า... " ถ้าเช่นนั้น อาจารย์คิดว่าปกครองด้วยวิธีใด "

            เหลาจื้อกล่าวว่า... " การปกครองของจอมปราชญ์ ผู้ปกครองต้องแสดงตัวเป็นผู้ปราศจากความอยากใดๆ ราวกับเด็กทารก ไม่เข้าไปเจ้ากี้เจ้าการในเรื่องของราษฏร ราษฏรจะมีความสุขเอง เมื่อผู้ปกครองพึงพอใจที่จะอยู่อย่างเงียบสงบ ราษฏรจะประพฤติเป็นคนดี เมื่อผู้ปกครองอยู่อย่างประหยัดราษฏรจะรวยขึ้นมาเอง เมื่อผู้ปกครองปราศจากความอยากใดๆ ราษฏรจะเป็นคนเรียบๆ ซื่อๆ ไม่มีเล่เหลี่ยมใดๆ

            แนวความคิดนี้ ในคัมภีร์เหลาจื้อเรียกว่า " บ่ออุ๊ยตี่ " ( อู๋อุ๋ยจื้อ หรือ อู๋เว๋ยจื้อ ) แปลว่าการปกครองโดยไม่เข้าแทรกแซง ไม่เข้าไปเจ้ากี้เจ้าการ ปล่อยให้ราษฏรปรับตัวให้ดี ผู้ปกครองมีหน้าที่เปิดโอกาส หรือสร้างโอกาสให้ราษฏรปรับตัว




By ป.แผนสำเร็จ ( ปรัชญาการดำรงตนของจอมปราชญ์ : สรรนิพนธ์จอมปราชญ์ )

No comments:

Post a Comment