Monday, November 05, 2012

การกำเนิดของลัทธิมาร์กซ

การกำเนิดของลัทธิมาร์กซ
เป็นความเรียกร้องต้องการของยุคสมัย

          ยุโรปตะวันตกเป็นดินแดนที่ทุนนิยมพัฒนาก่อนที่สุดในโลก นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ทุนนิยมก็ได้เริ่มปรากฏขึ้นแล้ว ก่อนหน้านี้ 200 ปี คือในตอนปลายศตวรรษที่ 16 นั้น ได้เกิดสิ่งที่เรียกว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรม ( การเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรมทุนนิยม ) ขึ้นในประเทศอังกฤษถัดจากนั้น การปฏิวัติอุตสาหกรรมก็ได้เกิดขึ้นต่อเนื่องกันเป็นลำดับในประเทศฝรั่งเศส ทวีปอเมริกาเหนือและเยอรมันจนถึงกึ่งแรกของศตวรรษที่ 19 ก็ได้มีการสร้างโรงงานที่ทำการผลิตด้วยเครืองจักรกลขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ได้ยังผลให้ขบวนการกรรมกรอุตสาหกรรมขยายตัวเติบใหญ่ และรวมศูนย์อย่างรวดเร็ว ก่อตัวเป็นชนชั้นกรรมาชีพยุคใกล้ เมื่อระบอบทุนนิยมพัฒนาไป กรรมกรก็ยิ่งทุกข์ยากยิ่งถูกขูดรีดหนักขึ้น ในปี 1825 อังกฤษได้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจขึ้นเป็นครั้งแรก มาถึงปี 1837 วิกฤตดังกล่าวก็ได้ลุกลามไปสู่ทั่วโลก บรรดานายทุนได้โยนความเสียหายทั้งหมดที่เกิดจากวิกฤตให้ตกอยู่บนตัวของกรรมกร เริ่มแรกกรรมกรยังไม่เข้าใจในสาเหตุอันแท้จริงที่ก่อให้เกิดความยากจนข้นแค้นขึ้น กรรมกรบางส่วนเข้าใจว่าเครื่องจักรนั่นแหละเป็นสิ่งที่นำเอาภัยพิบัตมาให้เลยพากันทำลายเครื่องจักรและพังโรงงานเสีย ต่อมาไม่นานพวกเขาก็เริ่มมีการจัดตั้งกันขึ้น บ้างก็ก่อตั้งเป็นสมาคมกรรมกร ขบวนกรรมกรเริ่มต้นจากการต่อสู้โดยเอกเทศและเป็นไปเอง แล้วพัฒนาไปสู่การต่อสู้ที่มีการจัดตั้ง จากการต่อสู้ทางเศรษฐกิจล้วนๆ แล้วพัฒนาไปเป็นการต่อสู้ที่มีลักษณะการเมือง จากการทำลายเครื่องจักรไปเป็นการลุกขึ้นสู้ด้วยอาวุธในเฉพาะเขตและปลายหอกแห่งการต่อสู้ก็ได้พุ่งไปยังชนชั้นนายทุนโดยตรง ในปี 1831 และปี 1834 กรรมกรเมืองเลอองในฝรั่งเศสได้ก่อการลุกขึ้นสู้ด้วยกำลังอาวุธสองครั้ง ต่อมาระหว่างปี 1836 - 1848 กรรกรอังกฤษก็ได้ก่อการเคลื่อนไหวเรียกรองธรรมนูญอันลือชื่อ โดยชนชั้นกรรมาชีพได้เสนอธรรมนูญประชาชนออกมา เรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้งและสิทธิทางการเมืองอื่นๆ และทำการโจมตีอำนาจรัฐของชนชั้นนายทุนในปี 1844 กรรกรชิลีเลียประเทศเยอรมันก็ได้ทำการต่อต้านการกดขี่ของชนชั้นนายทุน และเกิดการปะทะด้วยอาวุธกับทหาร - ตำรวจ เหตุการณ์เหล่านี้ได้แสดงให้เห็นอย่างเต็มตาว่า ชนชั้นกรรมาชีพได้ก้าวขึ้นสู่เวทีประวัติศาสตร์ในฐานะพลังทางการเมืองที่เป็นอิสระและกลายเป็นพลังผลักดันอันยิ่งใหญ่ที่สุดในการผลักดันประวัติศาสตร์ให้พัฒนาคืบหน้าไป


ถ้าไม่มีทฤษฎีที่ปฏิวัติก็จะไม่มีการเคลื่อนไหวที่ปฏิวัติ

          ขบวนการกรรมกรในขณะนั้น เนื่องจากขาดการชี้นำของทฤษฎีปฏิวัติ และการนำของพรรคการเมืองชนชั้นกรรมาชีพ และการนำของพรรคการเมืองชนชั้นกรรมาชีพ จึงประสบความปราชัยไปตามๆ กัน ในที่สุดชนชั้นกรรมาชีพต้องการทฤษฎีปฏิวัติที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างเร่งด่วนมาชี้ทิศทางการต่อสู้และหนทางสู่ชัยชนะดังนั้น การสถาปนาลัทธิคอมมิวนิสต์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ และนำเอาทฤษฎีนี้มาประสานกับการเคลื่อนไหวของกรรมกร จึงเป็นความต้องการอันเร่งด่วนแห่งยุค

ปฏิบัติการในระยะต้นของมาร์กซ - เองเกลส์

             ภาระหน้าที่ในการสถาปนาทฤษฎีลัทธิคอมมิวนิสต์ที่เป็นวิทยาศาสตร์นี้ได้ตกอยู่บนบ่าของมาร์กซ ( ปี 1818 - 1883 ) และเองเกลส์ ( ปี 1820 - 1895 ) ปรมาจารย์ปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ ทั้งมาร์กซและเองเกลส์ต่างถือกำเนิดในแคว้นไรน์แห่งปรัสเซีย มาร์กซเกิดที่เมืองทลีล ส่วนเองเกลส์เกิดที่เมืองบาเมน ในกึ่งแรกของศตวรรษที่ 19 เศรษฐกิจทุนนิยมได้ขยายตัวไปค่อนข้างเร็ว ในประเทศเยอรมัน โดยเฉพาะในแคว้นไรน์แห่งปรัสเซียนับว่าเจริญมากที่สุด แต่ว่าขณะนั้น เยอรมันยังเป็นประเทศที่บรรดาเจ้าผู้ครองนครแยกกันปกครองแบบศักดินา อำนาจทางการปกครองอยู่ในมือของพวกเจ้าที่ดิน และขุนนางเป็นอุปสรรคขัดขวางการพัฒนาของทุนนิยมอย่างหนักหน่วงในศตวรรษที่ 40 เยอรมันกำลังอยู่ในวาระก่อนรุ่งแห่งการปฏิวัติชนชั้นนายทุน ความขัดแย้งทางชนชั้นในเยอรมันแหลมคมและสลับซับซ้อนอย่างยิ่ง นอกจากความเป็นปฏิปักษ์กันระหว่างชนชั้นนายทุนกับชนชั้นกรรมาชีพอีกด้วย ชนชั้นนายทุนเยอรมันแม้จะมีความปราถนาที่จะให้ประเทศของตนเป็นเอกภาพกัน และล้มเลิกระบอบศักดินาเสีย แต่ว่าพวกนี้เป็นกลุ่มชนที่อ่อนแอขี้ขลาดตาขาว พวกเขากลัวการเคลื่อนไหวของชนชั้นกรรมาชีพที่เกิดใหม่จนขวัญหนีดีฝ่อ จึงได้ยินยอมปะนีประนอมกับพวกขุนนางศักดินา พยายามหลีกเลี่ยงให้พ้นจากหนทางปฏิวัติอย่างสุดกำลัง ยิ่งกว่านั้นยังทำการคัดค้านการเคลื่อนไหวปฏิวัติอีกด้วย ดังนั้นชนชั้นกรรมชีพที่เยาว์วัยของเยอรมันจึงได้กลายเป็นเสาหลักในการปฏิวัติชนชั้นนายทุนของเยอรมันก็ย่อมอยู่ในวิสัยที่อาจกลายเป็นฉากนำโดยตรงของการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพไปได้ ในวาระเช่นนี้มาร์กซและเองเกลส์ได้โถมตัวเข้าสู่ปฏิวัติการต่อสู้ที่ปฏิวัติอันร้อนระอุ

           มาร์กซที่เยาว์วัยเป็นนักรบที่ยิ่งใหญ่ที่คึกคักทะมัดทะแมงกล้าวิพากษ์ระบบขูดรีดและกล้าต้านกระแสปี 1842 หลังจากได้สำเร็จการศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้วท่านก็ได้เริ่มดำเนินการเคลื่อนไหวทางการเมืองในสังคมเริ่มแรกท่านได้เขียนบทนิพนธ์ให้แก่หนังสือพิมพ์ " ไรน์ " ต่อมาไม่นานนักท่านก็ได้รับตำแหน่งเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น ขณะนั้นมาร์กซเป็นนักประชาธิปไตยที่ปฏิวัติ ท่านได้ทำการสำรวจสังคมเป็นประจำ จะได้เข้าใจสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของมวลประชา เมื่อทุนนิยมพัฒนาไป พวกเจ้าที่ดินใหญ่ก็ได้อาศัยอำนาจรัฐไปยึดครองที่ดินของชาวนาอย่างบ้าระห่ำ ขยายที่นาแห่งรายได้ของตน บีบคั้นจนชาวนาไม่มีทางออก สภาพเช่นนี้ทำให้มาร์กซเดือดแค้นยิ่งนัก ท่านได้เขียนบทความบทหนึ่งตีพิมพ์ในหนังสือ " ไรน์ " ในหัวเรื่องว่า " การโต้แย้งเกี่ยวกับกฏหมายลักลอบตัดไม้ " ด้วยจิตใจที่ปราศจากความเกรงกลัวใดๆ โจมตีระบอบการปกครองของปรัสเซียว่าเป็นเครื่องมือในการใช้กำลังรุนแรงของชนชั้นปกครองรับใช้พวกขุนนางเจ้าที่ดินในการปล้นสะดมภ์ขูดรีดประชาชนโดยจำเพาะ มาร์กซได้ชี้ว่า ประชาชนจักต้องใช้ความรุนแรงที่ปฏิวัติเท่านั้นจึงจะสามารถได้มาซึ่งอิสรภาพ

           การปฏิบัติการปฏิวัติที่คัดค้านรัฐบาลปรัสเซียของมาร์กซได้ทำให้ทางการปฏิกิริยาหวาดกลัวมาก พวกมันได้ใช้วิธีการต่างๆ มาบีบมาร์กซและหนังสือพิมพ์ " ไรน์ " เดือนมีนาคม ปี 1943 มาร์กซได้ลาออกจากตำแหน่งบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ " ไรน์ " ต่อมาเดือนเมษายน หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นก็ได้ถูกสั่งปิดไป

            จากการปฏิบัติในการต่อสู้ ทำให้มาร์กซได้เรียนรู้ว่าปรัชญาจิตนิยมของเฮเกลที่ท่านได้ร่ำเรียนมาจากมหวิทยาลัยนั้นผิดโดยมูลฐาน ปรัชญาดังกล่าวนี้ถือว่ารัฐและกฏหมายเป็นสิ่งแสดงออกของ " ความมีเหตุผล " ที่อยู่เหนือชนชั้น แต่ความเป็นจริงในการต่อสู้ทางชนชั้นได้พิสูจน์ว่าหาเป็นเช่นนั้นไม่ รัฐและกฏหมายของชนชั้นปกครองปฏิกิริยานั้นล้วนเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปกปักษ์รักษาการปกครองที่ปฏิกิริยาของพวกเขาทั้งสิ้น เหตุนี้เองที่กระตุ้นให้มาร์กซได้ทำการวิพากษ์ปรัชญาเฮเกล

           ในปี 1843 - 1844 เนื่องจากการคุกคามของรัฐบาลปรัสเซีย มาร์กซจึงต้องย้ายไปพำนักอยู่ในกรุงปารีส ขณะนั้นกรุงปารีสเป็นนครที่ขบวนการกรรมกร มีการขยายตัวอย่างครึกโครม มาร์กซได้เข้าร่วมขบวนการกรรมกรฝรั่งเศสอย่างเอาการเอางาน ทั้งยังติดต่อสัมพันธ์กับองค์กรการปฏิวัติของกรรมกรเยอรมันที่ลี้ภัยอยู่ในฝรั่งเศสเป็นประจำ มาร์กซได้ดำเนินงานค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์อย่างขนานใหญ่ตามความเรียกร้องต้องการแห่งการต่อสู้ปฏิวัติของชนชั้นกรรมกร ในช่วงระยะนี้มาร์กซได้เปลี่ยนจากนักประชาธิปไตยปฏิวัติ มาเป็นนักลัทธิคอมมิวนิสต์โดยสมบูรณ์แล้ว มาร์กซได้เขียนนิพนธ์เรื่อง " วิพากษ์ปรัชญานิติธรรมของเฮเกล " ตีพิมพ์ในหนังสือ " วารสารรายปีเยอรมันฝรั่งเศส " วิพากษ์ปรัชญาเฮเกลอย่างเป็นระบบในขั้นต้น อรรถาธิบายถึงความหมายอันยิ่งใหญ่ของทฤษฎีวิทยาศาสตร์ ในการเคลื่อนไหวปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ ทั้งได้ชี้ให้เห็นว่า ชนชั้นกรรมาชีพและมวลชนผู้ใช้แรงงานอันไพศาลนั่นแหละ เป็นพลังดันอันแท้จริงในการพัฒนาของประวัติศาสตร์ มาร์กซ " มีข้อคิดเห็นให้ดำเนินการวิพากษ์สรรพสิ่งทั้งปวง ที่ดำรงอยู่อย่างไม่ปราณี โดยเฉพาะคือการวิพากษ์ด้วยอาวุธ ท่านบอกล่าวแก่มวลชน บอกกล่าวแก่ชนชั้นกรรมาชีพ

           เองเกลส์ใช้ชีวิตอยู่ในเขตทีอุตสาหกรรมเจริญที่สุดของเยอรมันมาตั้งแต่เยาว์วัยได้ประสบพบเห็นชีวิตอันทุกข์ระทมขมขื่นของกรรมกรด้วยตาตนเอง ในจำนวนเด็ก 2,500 คนที่บ้านเดิมของท่าน ส่วนใหญ่ที่สุดต้องไปทำงานในโรงงาน ไม่มีโอกาสได้เข้าโรงเรียน เองเกลส์ชิงชังระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชและชนชั้นขูดรีดอย่างเข้ากระดูกดำ ในปี 1839 ก็ได้มีความคิดที่จะโค่นล้มระบอบการเมืองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชในปรัสเซียแล้ว เองเกลส์ได้ข้อสรุปที่สำคัญยิ่งว่า จะต้องใช้วิธีการปฏิวัติเท่านั้นมวลประชาชนจึงจึงจะได้รับการปลดแอก เองเกลส์ได้เป็นนักประชาธิไตยปฏิวัติคนหนึ่งไปท่ามกลางการต่อสู้คัดค้านระบอบศักดินาที่เสื่อมโทรมและการกดขี่ของทุนนิยมที่ชั่วร้าย

            ในปี 1842 เองเกลส์ถูกบิดาส่งไปทำงานที่สำนักงานในเมืองเมนเชสเตอร์ประเทศอังกฤษ เมนเชสเตอร์เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของอังกฤษและก็เป็นเมืองศูนย์กลางการเคลื่อนไหวเรียกร้องธรรมนูญ ด้วยประสบการณ์ของเองเกลส์ที่ได้จากที่นี่กลายเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญในชีวิต ณ ที่นี้เองเกลส์ได้ติดต่อสัมพันธ์กัน ชนชั้นกรรมาชีพยุคปัจจุบันอย่างกว้างขวาง และได้โถมเข้าร่วมการเคลื่อนไหวกรรมกรอย่างเอาการเอางาน ได้เขียนบทนิพนธ์ไปลงในหนังสือพิมพ์ " ดาวเหนือ " ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ของกลุ่มเรียกร้องธรรมนูญเป็นประจำ และก็ได้ทำการค้นคว้าปัญหาสังคมอย่างลึกซึ้งโดยเฉพาะเศรษฐศาสตร์ การเมืองของอังกฤษ ในปี 1854 เองเกลส์ได้เขียนเรื่อง " เค้าโครงวิพากษ์เศรษฐศาสตร์การเมือง " โดยเริ่มต้นจากทรรศนะสังคมนิยมเผยให้เห็นว่าระบอบกรรมสิทธิ์เอกชน เป็นต้นตอของความขัดแย้งทั้งปวงในทางการเมือง และทางเศรษฐกิจของสังคมทุนนิยม จากนี้ก็ได้ขวางรากฐานให้แก่การวิพากษ์ สังคมทุนนิยมจากจุดยืนของชนชั้นที่ถูกกดขี่เองเกลส์ยังได้คลุกคลีในหมู่กรรมกรเป็นเนืองนิจ สังเกตความยากจนข้นแค้นของกรรมกรด้วยตนเอง ได้อ่านข้อเขียนจำนวนมากที่เกี่ยวกับสภาพของชนชั้นกรรมกรและทำการค้นคว้าเอกสารของทางการทุกชิ้นที่ท่านได้มาและแล้วในปี 1845 ท่านก็ได้ ตีพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งชื่อ " สภาวการณ์ของชนชั้นกรรกร อังกฤษ " ในนิพนธ์อันรุ่งโรจน์เรื่องนี้ ไม่เพียงแต่ได้บรรยาย ถึงสภาพความทุกข์ยากลำเค็ญของกรรมกรอังกฤษ และความเคียดแค้นชิงชังของมวลกรรมกร ที่มีต่อระบอบสังคมทุนนิยมอันแสนชั่วร้ายได้อย่างสมจริงและเร้าใจเท่านั้น ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ หนังสือเล่มนี้ต่างกับหนังสือที่บรรยายถึงสภาพของชนชั้นกรรมกรเล่มอื่นๆ ในอดีตกล่าวคือ ในหนังสือเล่มนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า ชนชั้นกรรมาชีพเป็นพลังอันแท้จริงในการโค่นล้มชนชั้นนายทุน ปลดปล่อย ตนเองและผู้ถูกกดขี่ทั้งมวล เองเกลส์ยังได้สรุปบทเรียนความจัดเจนของขบวนการเรียกร้องธรรมนูญ แล้วเสนอหลักทฤษฎีที่สำคัญยิ่งข้อหนึ่งออกมาคือ " การเคลื่อนไหวของกรรมกรจักต้องประสานเข้ากับลัทธิสังคมนิยม " ในระหว่างที่เองเกลส์พำนักอยู่ในประเทศอังกฤษนั้น ท่านได้เปลี่ยนจากนักประชาธิปไตยปฏิวัติมาเป็นนักลัทธิคอมมิวนิสต์







By การกำเนิดของลัทธิมาร์กซ

No comments:

Post a Comment