Thursday, November 28, 2013

Kamma and not - self


Kamma and not - self

         The law of kamma does not necessary presuppose the existence of a permanent self. On the contrary, it indicates the negation of self.

          The idea of a permanent self is conceived on a psychologically deep - rooted fear of death and annihilation. To maintain a sense of security and ensure self - preservation, the false concept of an immoral soul, believed to be unchanging and eternal, is created. But according to the law of causal dependence, this concept is untenable and unwarranted because all things, animate or inanimate, are relative and must depend on certain condition for their arising that they are also liable to change and disintegrate according to the conditions on which they depend.

          Instead of the soul theory, the Buddha taught the doctrine of no soul or non - self or anatta. According to this doctrine, such a thing as soul or self is illogical and impossible. It is a false concept, which bears on relation to reality and is a prolific breeding ground for defilement such as selfishness, conceit, attachment, hatred and desire. The Buddha 's philosophical position is unique in the history of human thought for he unequivocally rejects the concept of soul, which has previously been unquestioningly accepted. The Buddhist doctrine of non - self stands firm on the ground of sound logic and good reasons and is completely compatible with the law of kamma.

Wednesday, November 27, 2013

กรรม กับ อนัตตา

กรรม กับ อนัตตา

          กฎแห่งกรรมในทางพุทธศาสนาไม่มีความจำเป็นตามที่มีผู้พยายามดึงเข้าหาสมมติฐานการมีอยู่ของพระเจ้า เพราะว่ากฎแห่งกรรมเป็นแนวคิดเกี่ยวกับหลักอนัตตาโดยตรง

          อัตตา หรือ พระเจ้า เกิดจากความคิดปรุงแต่งของมนุษย์ที่กลัวความตาย ความสูญสิ้น ความดับสลาย ดังนั้น เพื่อสนองความอยากอยู่อยากคงไว้จึงหาทางสร้างความคิดผิดๆ เพื่อสนองความอยากอยู่อยากคงไว้จึงหาทางสร้างความคิดผิดๆ เพื่อสนองกุศโลบายในทางศีลธรรม จนกลายเป็นการสร้างกรอบความคิดเกี่ยวกับเรื่องวิญญาณว่าเป็นของเที่ยง เป็นนิจจัง ยั่งยืนไม่มีการสูญสิ้น คงอยู่ตลอดไปนับว่าเป็นความคิดที่มีหลักฐานอ่อนและขาดเหตุขาดผล เมื่อนำมาพิจารณาตามหลักปฏิจจสมุปบาท ที่สอนว่าสรรพสิ่งทั้งหลายไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต เกิดขึ้นจากการปรุงแต่ง เป็นสังขตธรรมมีการเกิด การดับ การเปลี่ยนแปลง เป็นอนิจจังและสูญสลายได้จากเหตุปัจจัยนั้นๆ

           แทนที่จะเป็นไปตามหลักความเชื่อว่าวิญญาณเป็นอัตตาพระพุทธเจ้าทรงกลับเน้นในเรื่อง อนัตตา มาโดยตลอด ดังนั้น การอ้างว่ามีอัตตา ยึดอัตตา หรือดวงวิญญาณ ว่าเป็นสิ่งไม่ตาย คงอยู่ตลอดไปนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในทางพุทธธรรม ถือว่าคำสอนเช่นนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิค้านกับความเป็นจริง เป็นบ่อเกิดแห่งกองกิเลสอันได้แก่ ความอยากเห็นแก่ตัว ความเย่อหยิ่งถือตัว ความอาฆาตพยาบาทและความอยากได้ใคร่มีทั้งหลาย พุทธศาสนามีเอกลักษณ์พิเศษแตกต่างจากความเชื่ออื่นๆ มาโดยตลอดในประวัติศาตร์ทางความคิดของมุนษยชาติ นั่นก็คือ เรื่องของอนัตตา โดยที่พระองค์ทรงปฏิเสธทฤษฎีอัตตามาตั้งแต่เริ่มต้น ( อ่านรายละเอียดในปรัชญาเปรียบเทียบระหว่างพุทธกับอุปนิษัท ว่าด้วยเรื่อง อัตตา อนัตตา ) การอธิบายโดยยึดทฤษฎีอนัตตานั้นจึงจะเป็นเหตุเป็นผลเข้ากันได้กับเรื่องกฎแห่งกรรมในทางพุทธศาสนา

Tuesday, November 26, 2013

ธรรมชาติย่อมปรารถนาแต่ความเรียบง่าย แม้จะธรรมดาสามัญก็ดังหนึ่งผู้วิเศษ




พ่อเฒ่าบ้านนา
พูดถึงไก่ต้มเหล้าขาวก็ปรีดา
ถามถึงอาหารพวกผู้ดีก็ไม่รู้จัก
พูดถึงผ้าดิบเสื้อกั๊กก็พออกอใจ
ถามถึงผ้าแพรเสื้อมังกรก็ไม่รู้จัก
บริสุทธิ์ตามธรรมชาติ
กิเลสจึงไม่หนาแน่น
นี้คือบรมบทแห่งชีวิตมนุษย์

นิทัศน์อุทาหรณ์

เต่าเทวดาสามพันปี

          วันหนึ่ง จวงจื้อนักคิดผู้ยิ่งใหญ่ นั่งตกปลาอยู่ริมแม่น้ำผูสุ่ยอย่างสบายอกสบายใจ ปากก็ฮัมเพลงที่ตัวชอบ ทันใดนั้นมีคนสวมเสื้อผ้าขุนนาง ๒ คน เดินเข้ามาใกล้พร้อมทั้งโค้งคำนับอย่างนอบน้อม

           จวงจื้อไม่รู้จักคนทั้งสอง จึงรู้สึกประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง ถามพวกเขาว่า " พวกท่านเป็นใคร มีธุระอะไรกับข้าพเจ้าหรือ ? "

          ขุนนางทั้งสองปั้นหน้ายิ้มพลางตอบว่า

          " ขอแสดงความยินดีกับท่าน ประมุขของแคว้นฉู่เรา เล็งเห็นอัจฉริยะอันยิ่งใหญ่ของท่าน จะมอบกิจการบ้านเมืองให้ท่านดูแล "

Monday, November 25, 2013

สุขภาพที่ดี เหนือกว่าการกินยา


สุขภาพที่ดี เหนือกว่าการกินยา

          คำคำนี้น่าจะเป็นที่ถูกใจแพทย์และคนสมัยใหม่หลายคน เพราะการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอเป็นสิ่งสำคัญที่ดีกว่าปล่อยให้เจ็บป่วยแล้วจึงค่อยกินยารักษา

           ซึ่งคนสมัยใหม่นี้มักจะมีความคิดแบบแปลกๆ เพราะแทนที่จะไปมองไปเฝ้าระวังและป้องกันในเรื่องของเหตุ แต่ทว่าคนส่วนใหญ่มักจะปล่อยปละละเลยจนสุดท้ายผลของมันออกมาจนยากที่จะแก้ไขได้ทัน

           ในปีปีหนึ่งคนทั่วโลกใช้ยากันเป็นมูลค่ามหาศาล เป็นล้านๆ บาทต่อปีส่งผลให้บริษัทยายิ่งรวยแบบไม่รู้เรื่อง ยาเม็ดเล็กๆ ต้นทุนไม่กี่สตางค์ เมื่อมาสู่ตลาดกลับกลายเป็นราคาที่น่าตกใจและถีบสูงไปหลายเท่าตัวนัก เพราะเขาบวกค่าทำโฆษณา ค่าขนส่ง ค่าลิขสิทธิ์ ค่าอะไรตามรายทางกว่าจะไปถึงผู้บริโภคอันนี้ยิ่งไม่รวมเงินใต้โต๊ะที่แอบส่งมอบให้กับผู้ที่มีหน้าที่ในบ้านเมืองและลิ่วล้อที่จะช่วยดีดราคายาให้แสนแพงอย่างที่เราเห็นกันในทุกวันนี้

           และในเวลานี้ทั่วโลกและเมืองไทยกำลังรณรงค์ในเรื่องการรักษาสุขภาพแบบโภชนาการบำบัดและการใช้ภูมิปัญญาสมุนไพรไทย มากกว่าการที่จะต้องใช้ยาในทุกเรื่องร่ำไป โดยเฉพาะเรื่องสมุนไพรไทยนั้นอยากให้คนไทยหันมาใช้กันเยอะๆ เรารู้หรือไม่ว่า สมุนไพรนั้นอุดมไปด้วยของวิเศษ มีคุณค่าต่อร่างกายเรามากมาย ทั้งอยู่ในรูปของผักผลไม้ต่างๆ

Sunday, November 24, 2013

ทวนก็ยอด โล่ก็เยี่ยม


ทวนก็ยอด โล่ก็เยี่ยม

          ศัพท์คำว่า " ขัดแย้ง " ( เหมาตุ้น ) ในภาษาจีนนั้น มาจากคำว่า " เหมา " ( ทวน ) และ " ตุ้น " ( โล่ ) ซึ่งมีเรื่องความเป็นมาดังนี้

           ทวนและโล่เป็นอาวุธสมัยโบราณชนิดหนึ่ง ทวนใช้สำหรับแทง โล่ใช้สำหรับกันทวน ซึ่งมีประโยชน์ในการใช้ต่างกัน

           ในรัฐฉู่ มีชายคหนึ่งมีอาชีพทำทวนและโล่ขาย วันหนึ่งเขานำสินค้าของเขาเข้าไปขายที่ในเมือง เพื่อให้คนสนใจ เขาจึงชูโล่ขึ้นมาโฆษณาคุณภาพว่า

           " โล่ของข้าพเจ้านี้มีความทนทานอย่างไม่มีอะไรจะเปรียบได้ ไม่ว่าทวนจะแหลมคมปานไหนก็แทงไม่ทะลุ "

           พอผ่านไปสักครู่ เขาก็ชูทวนของเขาขึ้่นแล้วคุยอวดว่า

           " ทวนของข้าพเจ้านี้ แหลมคมที่สุดไม่มีอะไรจะมาเปรียบได้ ไม่ว่าโล่จะดีและแข็งแรงทนทานขนาดไหน ทวนของข้าพเจ้าสามารถแทงทะลุได้ทั้งสิ้น "

           คนที่ยืนอยู่ใกล้ๆ ได้ฟังเขาโอ้อวดคุณภาพสินค้าของเขาเช่นนั้น ก็หัวเราะถามเขาว่า

           เมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้าใช้ทวนของท่านแทงโล่ของท่าน ผลจะเป็นอย่างไร ? "

           ชายผู้นั้นนิ่งเงียบไม่รู้จะตอบอย่างไรดี

บันทึกใน " หานเฟยจื่อ "

Wednesday, November 20, 2013

ปัญจขันต์บรรพต


ปัญจขันต์บรรพต

          ฌานาจารย์ต้งซานเหลียงเจี้ยถามหยุนจฺวีว่า "เจ้าไม่ทำสมาธิภาวนาในห้อง จะไปไหน ? "

          หยุนจฺวีตอบว่า " อาตมาจะไปปียเขา "

          ฌานาจารย์ต้งซานถามว่า " ถึงยอดเขาหรือเปล่า ? "

          หยุนจฺวีตอบว่า " ถึง ! "

          ฌานาจารย์ต้งซานถามอีกว่า " บนยอดเขามีคนหรือไม่ ? "

          หยุนจฺวีตอบว่า " ไม่มี ! "

          ฌานาจารย์ต้งซานจึงพูดด้วยน้ำเสียงยิ้มเยาะว่า " แสดงว่าเจ้าไม่ได้ปีนเขาไปถึงยอดเขา "

Tuesday, November 19, 2013

Kamma from the previous life


Kamma from the previous life

         The mind stream flows from moment to moment through life. It continues rising and falling, temperament, likes and dislikes including all mental constructions and impressions. Although these potentialities exist in a state of constant flux and are subject to the law of change and conditionality, each successive moment of consciousness, with all is mental corollaries, is conditioned by its proceeding moment. This process continues throughout the present life and passes on to the next in an unbroken stream. What we are now is therefore, to large extents, inherited from what we were in the past. certain inclinations and attitudes and why in sometimes have an inexplicably strong like or dislikes for certain individuals we encounter for the first time.

Monday, November 18, 2013

กรรมแต่ปางก่อน

กรรมแต่ปางก่อน

          จิตของมนุษย์มีการเกิดดับและเลื่อนไหลอยู่ตลอดเวลาในขณะเดียวกันก็สร้างความคิดปรุงแต่ง จนมีศักยภาพที่กลายมาเป็นบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลต่อการรับรู้ในอารมณ์ความรู้สึก รัก เกลียด และปรุงแต่งอารมณ์ต่างๆ จนในที่สุดเกิดความประทับใจทั้งในทางบวกและทางลบขึ้นภายในจิตใจต่อวัตถุอันเป็นสิ่งรับรู้ทั้งหลาย แม้ว่าศักยภาพในภาวะดังกล่าวจะหลบซ่อนอยู่ภายใน เป็นกระแสจิตที่เกิดดับ คิดปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา ในรูปของวิญญาณความรู้สึก ก่อให้เกิดผลลัพธ์ติดตามต่อไปยังอนาคตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นพฤติกรรมที่ " เราเป็น เราอยู่ " ในภพปัจจุบันถูกกำหนดไว้โดยกรรมที่กระทำไว้ในอดีตเสมอ ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถนำเอาหลักของกรรมเก่าหรือจากผลของกรรมแต่ปางก่อน มาใช้อธิบายการเกิด อารมณ์ความรู้สึก รัก เกลียด ชอบ ไม่ชอบ ถูกใจ ต้องตา ต่อพฤติกรรมบุคลิกภาพ กิริยาท่าทางของบุคคลหรือสิ่งต่างๆ ที่เราพบปะแม้จะเป็นครั้งแรกได้เป็นอย่างดี

Sunday, November 17, 2013

ฝนเข็มเล็กให้เป็นกระบอง


ฝนเข็มเล็กให้เป็นกระบอง

         การคิดและทำเรื่องเล็กให้ใหญ่โตจนเกินเหตนั้นทำให้เกิดผลเสียเสมอ และไม่ค่อยก่อให้เกิดผลดีเลยกับชีวิต




 By ปรัชญา " ซามูไร "

Saturday, November 16, 2013

อย่าหมิ่นตนเองอย่างเบาปัญญา อย่าโอ้อวดเย่อหยิ่งทะนงตน




คนโบราณกล่าวว่า
" ทิ้งทรัพย์สมบัติเหลือคณา กลับถือกะลาไปขอทาน "
... และว่า 
" คนจนรวยแล้วอย่าอวด เตาไฟบ้านใครไม่มีควัน "
คำต้นเตือนอย่ามองข้ามสิ่งที่ตนมี
คำหลังเตือนอย่าโอ้อวดสิ่งที่ตนมี
ควรที่ผู้รู้พึงระวัง

นิทัศน์อุทาหรณ์
คุณชายบ้านลู่กับขอทาน

          วันหนึ่ง ภายในบ้านทางประตูตะวันออกของเมืองเติงานในมณฑลซานตง ดวงตะวันกำลังทอแสงแรงกล้าอยู่บนท้องฟ้า ชาวบ้านหลายครอบครัวสวมเสื้อบางกางเกงขาสั้น นั่งตากลมกันอยู่ที่ใต้ร่มไม้

          ทันใดนั้น ก็ได้ยินเสียงเอะอะอึกทึกขึ้นข้างนอก ทุกคนจึงรีบวิ่งออกไปดูยังนอกถนน อ้าว ! นั่นคุณชายของบ้านเศรษฐีลู่ครอบครัวใหญ่ในเมืองนี่ ทำไมจึงมาหัดเป็นขอทาน สวมเสื้อปอขาดๆ ถือชามกะละมังเที่ยวขอข้าวชาวบ้านกิน ?

          คนทั้งหลายจึงพากันวิพากษ์วิจารณ์กันว่า

          " คุณชายบ้านลู่คนนี้เป็นคนเกียจคร้านเอาแต่กินแล้วก็นอน ไม่ยอมทำอะไรเลย กลัวว่าวันข้างหน้าจะอดตาย ก็เลยออกมาหัดเป็นขอทานหาความรู้ไว้ก่อน "

ชนะ แพ้ สวยงาม อัปลักษณ์ คือภาพลวงชั่วเวลาหนึ่ง




ศิลปินต่างผัดหน้าทาแป้ง
ประชันโฉมไม่ลดราวาศอก
เมื่อปิดฉากลง สวยไม่สวยอยู่หนใด ?
เล่นหมากรุกหน้าดำคร่ำเครียด
เอาเป็นเอาตายกันที่ตัวหมาก
เมื่อจบกระดาน แพ้ชนะอยู่แห่งไหน ?

นิทัศน์อุทาหรณ์

บนเวทีและนอกเวที

          ในนวนิยายมีชื่อเสียงเรื่อง " ความฝันในหอแดง " ของจีน มีอยู่ตอนหนึ่งชื่อว่า " ไต้อี้ฝังดอกไม้ " ได้เขียนถึงเรื่องราวของหลินไต้อี้นางเอกของเรื่องทนเห็นกลีบดอกไม้ซึ่งร่วงหล่นอยู่กับพื้นดิน ถูกเหยียบย่ำแหลกลาญไปไม่ไหวจึงขุดหลุม โกยกีบดอกไม้ร่วงเหล่านั้นอย่างทะนุถนอม ใส่ลงหลุมแล้วกลบเสีย

          เรื่องราวในตอนนี้ มีการดัดแปลงเป็นละคร รูปร่างอ้อนแอ้นอรชรหน้าตาอ่อนโยนชวนสงสาร เมื่อแสดงเป็นตัวหลินไต้อี้ ก็ถึงบทเหมือนหลินไต้อี้มาเกิด

           ก่อนหน้าที่หล่อนจะขึ้นเวทีแสดง หล่อนต้องใช้เวลาแต่งหน้าถึงค่อนวัน ส่องกระจกครั้งแล้วครั้งอีก ตรงนั้นแป้งบางไปหรือเปล่าตรงนี้หนาไปหรือเปล่า หล่อนต้องเพ่งพินิจ จนรู้สึกพอใจจึงจะหยุด เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างตรงตามความต้องการแล้ว หล่อนจึงจะออกแสดง

Thursday, November 14, 2013

คู่มือมนุษย์ ( ๙ )


คู่มือมนุษย์ ( ๙ )
ลำดับแห่งการหลุดพ้นจากโลก

         เมื่อปฏิบัติวิปัสสนา จนเกิดความรู้แจ้งว่า ไม่มีอะไรน่ายึดถือ และสิ่งต่างๆ ไม่อาจครอบงำจิตได้จิตย่อมถึงสถานะอันใหม่เหนือวิสัยโลก เรียกว่า โลกุตตรภูมิ ตรงกันข้ามกับ โลกิยภูมิ คือ ภูมิของจิตอันต่ำที่สิ่งต่างๆ ครอบงำได้

         โลกิยภูมิ แบ่งออกเป็น ๓ พวก คือ :-

         ๑.กามาวจรภูมิ หมายถึงภูมิของจิตที่ยังพอใจในกามทั้งปวง

         ๒. รูปาวจรภูมิ หมายถึงภูมิของจิตที่พอใจในความสุขที่เกิดแต่สมาบัติ อันมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ที่ไม่เกี่ยวกับกาม

         ๓. อรูปาวจรภูมิ หมายถึงภูมิของจิตที่ยังไม่พอใจในความสุข หรือความสงบที่เกิดแต่สมาบัติอันไม่มีรูปเป็นอารมณ์

         ภูมิคู่กับภพ เพราะภูมิหมายถึงสถานะหรือระดับของจิตใจสัตว์ และภพหมายถึงโลกเป็นที่อยู่อันเหมาะสมของสัตว์ตามภูมิจิต คือกามวจรภูมิ คู่กับ กามาวจรภพ รูปาวจรภูมิ คู่กับ รูปาวจรภพ และ อรูปาวจรภูมิ คู่กับ อรูปาวจรภพ ตามปกติจิตใจมนุษย์มักตกอยู่ในลักษณะที่เป็นรูปาวจรภูมิ หรืออรูปวจรได้ เมื่อจิตตั้งอยู่ในภูมิใด โลกที่อาศัยก็จะกลายเป็นภพชื่อนั้นไปด้วยสัตว์ที่อยู่ในภูมิทั้ง ๓ ยังมีอัสมิมานะเต็มที่ ยังเต็มอยู่ด้วยความยึดถือตัวตน จิตยังประกอบด้วยตัณหาอันเป็นเหตุให้ท่องเที่ยวไปในภพต่างๆ จึงเรียกว่ายังอยู่ในวิสัยโลก จัดเป็นโลกิยภูมิ

         ส่วนโลกุตตรภูมิ หมายถึงภูมิจิตที่อยู่สูงเหนือวิสัยโลก มองเห็นโลกด้วยความเป็นของไม่มีตัวตน แบ่งออกเป็นมรรคผล ๔ ชั้น คือ ชั้นพระโสดาบัน ชั้นสกิคาทามี ชั้นพระอนาคามี และชั้นพระอรหันต์ การอยู่เหนือโลกนี้หมายถึงจิตใจ มิได้หมายถึงร่างกาย ส่วนร่างกายจะอยู่ภพไหนก็ได้ ที่สมควรกัน

Tuesday, November 12, 2013

ปล่อยนกเขาเอาหน้า


ปล่อยนกเขาเอาหน้า

          ตอนใกล้จะขึ้นปีใหม่แต่ละปี ชาวบ้านแถบหานตานต้องพากันขึ้นเขาไปเป็นกลุ่มๆ เพื่อจับนกเขาเอามาให้ขุนนางแซ่เจ้า ขุนนางผู้นี้เมื่อเห็นนกเขากระโดดไปกระโดดมาดิ้นรนออกจากกรงก็พอใจมาก เรียกให้คนนำเงินมาให้รางวัลแก่ผู้จับนกเขามาให้ทั่วทุกคน

          แขกคนหนึ่งที่มาเยี่ยมขุนนางแซ่เจ้าเห็นเช่นนี้ก็รู้สึกประหลาดใจมาก จึงถามเขาว่าจะเอานกเหล่านี้ไปทำอะไร

          ขุนนางแซ่เจ้าตอบว่า " ท่านไม่ทราบหรือว่าถึงแม้มันจะเป็นชีวิตเล็กๆ แต่มันก็มีค่า ! ฉะนั้นในวันขึ้นปีใหม่ ข้าพเจ้าจะต้องปล่อยสัตว์ที่มีชีวิตเหล่านี้เพื่อแสดงความรักและความเมตตาต่อสัตว์ " 

          ผู้เป็นแขกได้ฟังเช่นนั้นก็หัวเราะกล่าวว่า " วิธีรักและเมตตาสัตว์แบนี้ของท่าน กลับจะทำให้ชาวบ้านที่รู้ว่าท่านชอบปล่อยสัตว์เอาบุญ และถ้าใครจับนกเขาเอามาให้ท่านปล่อย จะได้รับค่าตอบแทน ชาวบ้านก็จะพากันไล่จับนกเขามีทั้งใช้แร้วดัก ใช้หน้าไม้ยิง นกที่ถูกจับมาได้จำนวนมากแต่ที่ตายไปก็คงไม่น้อย ถ้าท่านเมตตาสงสารสัตว์มีชีวิตเล็กๆ เหล่านี้จริงๆ แล้ว ควรประกาศห้ามคนจับนกเขาเพราะได้ผลกว่า การที่ให้คนจับมาแล้วท่านปล่อยไปเช่นนี้ บาปที่ท่านทำย่อมจะต้องมากกว่าบุญที่ท่านต้องการจะทำไม่รู้ว่ากี่เท่า "

          ขุนนางแซ่เจ้าฟังแล้วหน้าชา ยอมรับว่าเป็นความจริง


บันทึกใน " เลี่ยจื่อ "

กล้าหรือไม่กล้า


กล้าหรือไม่กล้า

          ฌานาจารย์เต้าซิ่น ( พระตูนุนมหาครูบา พระสังฆปรินายกที่ ๔ ของจีน ) เดินทางไกลไปเยี่ยมคารวะฌานาจารย์ฝ่าหยง

          ขณะที่พวกเขาทั้งสองเดินด้วยกันบนภูเขา เห็นนกบินอยู่บนท้องฟ้าอย่างอิสรเสรี ก็ไม่มีปฏิกริยาใด ครั้นพบเสือและสุนัขจิ้งจอกเดินป้วนเปี้ยนไปมา เต้าซิ่นเริ่มรู้สึกหวาดกลัว สาวเท้าไม่ออก ฝ่าหยงเห็นเช่นนั้น ก็กล่าวว่า " อ้อ ! ที่แท้ท่านยังมีสิ่งนี้อยู่ ? "

           ความหมายของท่านคือ เต้าซิ่นยังมีวิภังคจิตอยู่ กับนกไม่รู้สึกกล้ว กับเสือและสุนัขจิ้งจอกมันก็แค่ตัวใหญ่กว่า 
นิสัยดุร้ายกว่า ก็เกิดความรู้สึกกลัวทันที เมื่อเป็นเช่นนี้ มิเท่ากับเต้าซิ่นปฏิบัติต่อสรรพชีวิตไม่เท่าเทียมกันดอกหรือ ?

Sunday, November 10, 2013

The impulse of Kamma


The impulse of Kamma

          When an action is performed through body, speech, or mind, there is always some energy involved. This energy is capable of being fortified, developed or transformed. If a given action  is repeatedly committed, the energy to commit the same deed will be strengthened and consequently, a tendency and habit will be formed. It is this tendency to habituation that makes it possible to train and develop both positive and negative tendencies. These practices become more and more natural and gradually cultivate the tendency and habit to mediate with greater ease. People who repeatedly practices generosity, develop the energy of giving and is therefore better prepared to give even more. The first act of lying contains within itself the potential for lying the second time, and the third, so on until one becomes a behavior of compulsive liar, for example.

Saturday, November 09, 2013

แรงกระตุ้นที่ก่อให้เกิดกรรม


แรงกระตุ้นที่ก่อให้เกิดกรรม

         ในการประกอบกรรม ผ่านทาง กายทวาร วจีทวาร และทางมโนทวาร จะมีพลังกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ พลังดังกล่าวสามารถพัฒนาเพิ่มความรุนแรงหรือปรับเปลี่ยนไปในลักษณะที่ส่งเสริมให้เกิดการประกอบกรรมซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกลายเป็นนิสัยของผู้ทำกรรมทั้งในด้านบวกและลบ เมื่อมีการทำกรรมเกิดบ่อยขึ้นเท่าใดก็เป็นการเพาะบ่มสร้างนิสัยในการที่จะกระทำหรือไม่กระทำได้โดยง่าย ผู้ที่ทำบุญอยู่เป็นประจำบ่อมสะสมแรงจูงใจในการให้ทานได้มากขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน ผู้ที่พูดปดอยู่เป็นประจำก็ย่อมจะมีแรงจูงใจให้โกหกเป็นครั้งที่สองและที่สามเรื่อยไปจนติดเป็นนิสัย

ผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ย่อมรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า




ป่วยจึงรู้ความแข็งแรงว่าวิเศษ
วุ่นวายจึงรู้ความสงบเป็นความสุข
นี้เพราะขาดการเล็งเห็นก่อน
ได้ดีเพราะโชคช่วย แต่รู้ว่าคือรากเหง้าแห่งความวิบัติ
รักชีวิตกลัวตาย แต่รู้สาเหตุแห่งความตาย
นี้จึงเป็นความเฉียบแหลม


นิทัศน์อุทาหรณ์



วาจาของก่วนจง

         ก่อนที่ก่วนจงอัครมหาเสนาบดีแห่งแคว้นฉีถึงจะถึงแก่กรรม ได้ฝากวาจาไว้แก่ฉีหวนกงเจ้านายของตนว่า ขอให้ตีตัวออกห่างจากคน ๔ คนคือ อี้เหยา ซู่เตียว ฉางจืออู และกงจื่อฉี่ฟาง เพื่อหลีกเลี่ยงภันพิบัติที่จะเกิดแก่หวนฉีกงในภายหน้า

          แต่ฉีหวนกงไม่เชื่อว่า คนทั้ง ๔ จะทรยศทำร้ายตนได้ แย้งวาจาของก่วนจ้ง

          " ท่านก่วนจ้ง อี้เหยาเคยฆ่าลูกชายของเขาเอาเหนื้อมาทำอาหารให้เรากินในตอนที่เราอยากจะกินเนื้อ ซู่เตียวถึงกับยอมเจ็บตัวเพื่อรับใช้เรา ฉางจืออูก็ช่วยขับไล่พวกภูติผีปีศาจรักษาโรคให้กับเรา จะไม่ไว้วางใจเขาได้อย่างไร ? ส่วนกงจื่อฉีฟางก็ติดตามเรามานานถึง ๑๕ ปี แม้บิดาถึงแก่กรรมก็ยังไม่กล้ากลับไปทำศพ คนเหล่านี้ เราเห็นว่าไม่มีอะไรที่น่าสงสัยว่าจะไม่ซื่อเลย "

Friday, November 08, 2013

คู่มือมนุษย์ ( ๘ )


คู่มือมนุษย์ ( ๘ )
การทำให้รู้แจ้งตามหลักวิชา

            วิธีที่จะทำความเห็นแจ้งให้เกิดขึ้นตามหลักวิชานั้น แม้ไม่อยู่ในรูปพระพุทธภาษิต เพราะเป็นสิ่งที่โบราณาจารย์จัดขึ้นในยุคหลังก็เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติที่มีอุปนิสัยอ่อน ยังไม่อาจมองเห็นทุกข์ตามธรรมชาติด้วยตนเอง แต่มิได้หมายความว่า วิธีนี้จะวิเศษไปกว่าวิธีเป็นไปตามธรรมชาติ เพราะตามพระไตรปิฎกมีกล่าวถึงวิธีที่เป็นไปตามธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมีบางสิ่งชวนให้เห็นว่า นั่นเป็นเรื่องสำคัญสำหรับบุคคลที่มีบุญบารมีหรืออุปนิสัยสร้างมาพอสมควรแล้ว โดยเหตุนี้ท่านจึงได้วางระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีอุปนิสัยอ่อน เพื่อให้เป็นการเร่งรัดกันอย่างรัดกุมเป็นระเบียบไปตั้งแต่ต้น

            ระเบียบปฏิบัติที่ตั้งขึ้นใหม่นี้เรียกว่า " วิปัสสนาธุระ " เพื่อให้ป็นคู่กับ " คันถธุระ " วิปัสสนาธุระเป็นการเรียนจากภายใน คืออบรมจิตโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับตำรา ส่วนคันถธุระ เป็นการเรียนตามตำราหรือคัมภีร์โดยตรง คำ ๒ คำนี้ไม่มีในพระไตรปิฎก เพิ่งปรากฏในหนังสือชั้นหลังๆ ยุคอรรถกถา

           คำว่า วิปัสสนาธุระ กินความรวบทั้งหมดทั้งสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา คือหมายถึงทั้งการทำสมาธิและการทำปัญญา ยิ่งกว่านั้นยังได้รวบเอาบทฐานของสมาธิ คือ ศีลเข้าไว้ด้วย

            หัวข้อแห่งการศึกษา เพื่อให้เข้าใจการปฏิบัติวิปัสสนา คือ

           (๑) อะไรเป็นบทฐานที่ตั้ง ที่อาศัยของวิปัสสนา

           (๒) อะไรเป็นเครื่องกำหนดสำหรับวิปัสสนา

           (๓) อะไรเป็นลักษณะเครื่องสังเกตว่าเป็นตัววิปัสสนา

           (๔) อะไรเป็นกิจหรือตัวการกระทำที่เรียกว่าวิปัสสนา

           (๕) อะไรเป็นผลสุดท้ายของวิปัสสนา

Sunday, November 03, 2013

โชคดีและโชคร้าย สลับกันดั่งเกลียวเชือก


โชคดีและโชคร้าย สลับกันดั่งเกลียวเชือก

         ในสุภาษิตไทยนั้นมีอยู่บทหนึ่งที่ว่า " อันชีวิตของคนเรานั้น ชั่วเจ็ดที ดีเจ็ดหน " ท่านกล่าวไว้เป็นเครื่องเตือนใจและให้กำลังใจคนให้ต่อสู้กับทุกเรื่องเพราะเขาเชื่อว่าในโลกนี้มีเรื่องร้ายและดีพอๆ กันและในปรัชญาญี่ปุ่นบทนี้นั้นเขาบอกว่า " มันจะเวียนมาหาคนเราสลับกันมาเหมือนดั่งกับเกลียวเชือก "

          เครือเมเจอร์ของวิชา พูลวรลักษณ์ กว่าจะยิ่งใหญ่ในวันนี้นั้นผ่านมาทั้งโชคดีและโชคร้ายที่เข้ามาในชีวิตการทำงาน

          เริ่มจากห้างเวลโก ปิ่นเกล้า ที่เป็นกิจการกงสีของตระกูลนั้นเกิดไฟไหม้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ในความโชคร้ายนั้นแฝงมาด้วยความโชคดีด้วย เพราะทำให้วิชามีโอกาสเริ่มพิสูจน์ความคิดของเขา โดยเข้าไปทุบห้างเวลโก้ทิ้งและสร้างโรงหนังในรูปแบบใหม่เป็นโรงหนังขนาดใหญ่ เติมแต่งโรงหนังหลายโรงให้เหมือนระบบมัลติเพล็กซ์ มีบริการร้านค้า ร้านอาหารเหมือนมินิเธียเตอร์ ด้วยทำเลที่ตั้งของห้างเวลโกเดิม