Wednesday, November 07, 2012

สร้างลัทธิคอมมิวนิสต์ที่เป็นวิทยาศาสตร์

มาร์กซ - เองเกลส์
สร้างลัทธิคอมมิวนิสต์ที่เป็นวิทยาศาสตร์

          ลัทธิคอมมิวนิสต์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ซึ่งก็คือลัทธิมาร์กซนั้น เป็นข้อสรุปประสบการณ์ของขบวนการกรรมกรสากลและเป็นผลจากการสืบทอดเอาความสำเร็จอันยอดเยี่ยมของความคิดที่นำหน้าของมนุษยชาติอย่างวิพากษ์ แล้วนำมาดัดแปลงและพัฒนาอย่างปฏิวัติ เลนินเคยเน้นว่า " ลัทธิมาร์กซมิใช่เป็นคำสอนหยุดอยู่กับที่และที่ตายด้านไม่เปลี่ยนแปลงที่แยกออกจากเส้นทางใหญ่แห่งการพัฒนาของอารยธรรมแห่งโลกอย่างเด็ดขาด " หากเป็น " ผู้สืบทอดโดยชอบธรรมของความสำเร็จอันยอดเยี่ยมที่มนุษยชาติได้สร้างไว้ ในศตวรรษที่ 19 อันได้แก่ปรัชญาของเยอรมัน เศรษฐศาสตร์การเมืองของอังกฤษและลัทธิสังคมนิยมของฝรั่งเศส

           ในทางทฤษฎี ลัทธิมาร์กซมี 3 แห่งคือ ปรัชญาคลาสสิคของเยอรมัน เศรษฐศาสตร์การเมืองคลาสสิคของอักฤษและลัทธิสังคมนิยมเพ้อฝันของฝรั่งเศส ท่ามกลางการปฏิบัติแห่งการต่อสู้ทางชนชั้น และการทดลองทางวิทยาศาสตร์ มาร์กซและเองเกลส์ได้ใช้โลกทัศน์ของชนชั้นกรรมาชีพ ไปรับเอาทฤษฎีเหล่านี้อย่างวิพากษ์และทำการดัดแปลงอย่างปฏิวัติ มาสร้างส่วนประกอบ 3 ส่วนของลัทธิมาร์กซขึ้นซึ่งก็คือ ปรัชญาแห่งลัทธิาร์กซ ( วัตถุนิยมวิภาษและวัตถุนิยมประวัติศาสตร์) เศรษฐศาสตร์การเมือง และลัทธิคอมมิวนิต์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ ปรัชญาคลาสสิคของเยอรมันหมายถึงวิภาษวิธีของเฮเกลและวัตถุนิยมของฟอยเออร์บัค วิภาษวิธีของเฮเกลส์ได้เผยให้เห็นถึงกฏแห่งการพัฒนาของโลก เขาชี้ให้เห็นว่า : โลกเป็นกระบวนการที่เคลื่อนไหว และเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้งชั่วนิรันดร์กระบวนการหนึ่ง แต่ว่าวิภาษวิธีของเขาเป็นจิตนิยม เขาเห็นว่าโลกนี้สร้างขึ้นโดยอำนาจจิตจักรวาลที่เร้นลับอย่างหนึ่ง ฟอยเออร์บัคได้ทำการวิพากษ์จิตนิยมของเฮเกล เขาเห็นว่าโลกนี้เป็นวัตถุ มันดำรงอยู่โดยภววิสัย หาใช่เป็นผลผลิตแห่งอำนาจจิตจักรวาลเร้นลับอะไรไม่ แต่ว่าวัถุนิยมของฟอยเออร์บัคก็เป็นแบบกลไก เป็นอภิปรัชญาและไม่ถึงที่สุด เขาปฏิเสธความเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของโลก ขณะที่อธิบายโลกธรรมชาตินั้นเขาเป็นวัตถุนิยม แต่เมื่ออธิบายสังคมมนุษยชาติเขากลับเป็นจิตนิยม มาร์กซและเองเกลส์ไดรับเอาวิภาษวิธีของเฮเกลและวัตถุนิยมของฟอยเออร์บัคในส่วนที่ชอบด้วยเหตุผลอย่างวิภาษขึ้นมา และนำเอาวัตถุนิยมวิภาษไปค้นคว้าประวัติศาสตร์ขึ้นมา จากการสร้างวัตถุนิยมวิภาษและวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ขึ้นนี้เองจึงได้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์ขึ้นในประวัติความรู้ของมนุษยชาติ


            บุคคลที่เป็นตัวแทนแห่งเศรษฐศาสตร์การเมืองคลาสสิคของอังกฤษ คือ อาดัม สมิท และ เดวิด ริคาโด พวกเขาได้วางรากฐานให้แก่ทฤษฎีมูลค่าแรงงานไว้แล้วโดยเห็นว่า มูลค่าของสินค้าสร้างขึ้นด้วยแรงงาน แต่พวกเขามองไม่เห็นธาตุแท้ของนายทุนขูดรีดค่าแรงงานส่วนเกินกลับเห็นว่า มูลค่าของสินค้านั้น กรรมกรกัยนายทุนร่วมกันสร้างขึ้น มาร์กซและเองเกลส์ได้รับเอาทฤษฎีมูลค่าแรงงานของเขาอย่างวิพากษ์ ทำการค้นคว้าการผลิตแบบทุนนิยมอย่างลึกซึ้ง โดยเริ่มต้นจากการวิเคราะห์สินค้าแล้วสร้างทฤษฎีมูลค่าส่วนเกินขึ้น มาร์กซชี้ว่า : ค่าแรงงานเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของมูลค่าที่กรรมกรสร้างขึ้นนั่นแหละคือที่มาแห่งกำไรของนายทุน ทฤษฎีนี้ได้เผยความลับในการขูดรีดของนายทุนออกมา

            ผู้เป็นตัวแทนของลัทธิสังคมนิยมเพ้อฝัน คือ แซงซีมองกับฟูริแอร์แห่งฝรั่งเศส และโรเบิร์ตโอเวนแห่งอังกฤษ พวกเขามีชีวิตอยู่ในต้นทศวรรษที่ 19 พวกเขาได้มองเห็นอาชญากรรมของระบบกรรมสิทธิ์เอกชนแบบทุนนิยม ได้เปิดโปงและวิพากษ์สังคมทุนนิยม ชี้ให้เห็นว่าสังคมทุนนิยมเป็น " สวรรค์ของคนรวย " " นรกของคนจน " พวกเขาได้เสนอ " โครงการ " ต่างๆ ในการที่จะช่วยให้กรรมกรหลุดพ้นจากการขูดรีดและในการที่จะช่วยให้พวกเขาไม่เข้าใจกฏการพัฒนาของทุนนิยม ไม่รู้ว่าชนชั้นกรรมกรคือผู้ขุดหลุมฝังศพของสังคมทุนนิยม และเป็นพลังอันแท้จริงในการผลักดันประวัติศาสตร์ให้พัฒนาไป พวกเขาปฏิเสธการต่อสู้ทางชนชั้นปกครอง เพ้อฝันที่จะให้พวกขุนนางและนายทุนยอมรับโครงการปฏิรูปของพวกเขาด้วยความเคารพด้วยความสมัคใจ ดังนั้นลัทธิทุนนิยมของพวกเขาจึงเป็นสิ่งเพ้อฝันและไม่ถูกต้อง มาร์กซและเองเกลส์ด้ดัดแปลงทฤษฎีสังคมนิยมเพ้อฝันนั้นอย่างวิพากษ์ และเผยให้เห็นถึงกฏการพัฒนาของสังคมทุนนิยม ท่านทั้งสองชี้ให้เห็นว่าในสังคมชนชั้น การต่อสู้ทางชนชั้นเป็นพลังดันอันแท้จริงแห่งการพัฒนาสังคม ชนชั้นกรรมาชีพจำต้องดำเนินการต่อสู้ทางชนชั้นกับชนชั้นนายทุน ผ่านการปฏิวัติด้วยความรุนแรงไปโค่นล้มการปกครองของชนชั้นนายทุนสร้างเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ และทำให้สังคมนิยมปรากฏเป็นจริงขึ้น ด้วยประการฉะนี้ มาร์กซและเองเกลส์ก็ได้เปลี่ยนสังคมนิยมแบบเพ้อฝันมาเป็นแบบวิทยาศาสตร์

           เหมาจึงได้กล่าวว่า : " ความคิดที่ถูกต้องของคนเราได้มาจากการปฏิบัติทางสังคมเพียงทางเดียว ได้มาจากการปฏิบัติทางสังคม 3 อย่างคือการต่อสู้ทางการผลิต การต่อสู้ทางชนชั้นและการทดลองวิทยศาสตร์เท่านั้น เหตุที่มาร์กซและเองเกลส์สามารถสร้างทฤษฎีลัทธิคอมมิวนิสต์ ที่เป็นวิทยาศาสตร์ขึ้นได้นั้น ข้อสำคัญคือท่านทั้งสองได้เข้าร่วมการปฏิบัติแห่งการต่อสู้ทางชนชั้นและการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในขณะนั้น

                 " อันลัทธิมาร์กซนั้น พัฒนาท่ามกลางการต่อสู้ทางความคิดที่กระทำต่อชนชั้นนายทุน และชนชั้นนายทุนน้อยและก็มีแต่ท่ามกลางการต่อสู้เท่านั้น " จึงจะสามารถพัฒนาได้ กระบวนการที่ต่อสู้กับความคิดของชนชั้นนายทุนและชนชั้นนายทุนน้อยนั้น พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งท่ามกลางการต่อสู้

            ในทศวรรษที่ 4 แห่งศตวรรษที่ 19 ยุโรปกำลังเผชิญกับมรสุมปฏิวัติครั้งใหญ่ ชนชั้นกรรมาชีพเพิ่งก้าวขึ้นสู่เวทีประวัตศาสตร์ สังคมนิยมเพ้อฝันของเวทลินสังคมนิยมแท้ของเยอรมันและลัทธิปรูดองซึ่งกำลังเป็นที่นิยมกันอยู่ในขณะนั้น ได้ส่งผลสะเทือนแลเป็นอุปสรรคอย่างหนักหน่วงต่อการพัฒนาของขบวนการกรรมกร เพื่อให้ขบวนการกรรมกรก้าวหน้าไปตามทิศทางที่ถูกต้องได้ดียิ่งขึ้น, มาร์กซและเองเกลส์ได้ทำการต่อสู้กับพวกลัทธิฉวยโอกาสเหล่านี้อย่างเด็ดเดี่ยว

               เวทลินเป็นกรรมกรตัดเย็บเสื้อผ้าชาวเยอรมัน เขาเคยวิพากษ์สังคมทุนนิยมอย่างไม่ปราณี เขาเห็นว่า " ระบอบกรรมสิทธิ์เอกชนเป็นต้นตอแห่งอาชญากรรมทั้งปวง " เขามีความคิดเห็นให้ดำเนินการปฏิวัติด้วยความรุนแรง แต่ว่าเขาไม่เข้าใจในวิธีการและวิถีทางปลดแอกประชาชน ผู้ใช้แรงงาน เขาเห็นว่า การที่จะบรรลุซึ่งจุดมุ่งหมายที่ว่า " ระบอบสังคมที่มีด้วยกันใช้ด้วยกัน " นั้นไม่ใช่อาศัยชนชั้นกรรมาชีพไปดำเนินการปฏิวัติ แต่จะต้องอาศัยการก่อการจราจลของคนส่วนน้อยในหมู่คนยากคนจนและพวกชนชั้นกรรมาชีพจรจัด ดังนั้นความคิดของเวทลินจึงเป็นความคิดเพ้อฝัน มาร์กซเห็นว่า ถ้าทำตามทรรศนะเช่นนี้ย่อมจักต้องนำขบวนการกรรมกรไปสู่หนทางหายนะอย่างแน่แท้

                มาร์กซและเองเกลส์เคยช่วยเหลือเขาหลายครั้งเพื่อให้เขาแก้ไขความผิดพลาดเสียและหันมาสู่ลัทธิคอมมิวนิสต์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ แต่ว่าเวทลินยืนกรานในทรรศนะผิดและจุดยืนแบบลัทธิพรรคพวกของตนตลอดเวลา ในที่สุดมาร์กซจึงจำเป็นต้องประกาศแยกทางกับเขาโดยเด็ดขาดอย่างเปิดเผย เพื่อให้การศึกษาแก่ชนชั้นกรรมาชีพ

                ในขณะที่ทำการต่อสู้คัดค้านเวลินั้น, มาร์กซและเองเกลส์ยังได้ทำการต่อสู้กับพวก " สังคมนิยมแท้ " อย่างเด็ดเดี่ยว อัน " สังคมนิยมแท้ " แห่งเยอรมันนั้น ก่อตั้งขึ้นโดยปัญญาชนชั้นนายทุนบางคน ( ซึ่งมีกรูนเป็นตัวแทน ) เมื่อปี 1844 พวกเขาใช้ศัพท์แสงที่เป็นนามธรรมเป็นต้นว่า " ภราดรภาพ " เอย, " มนุษยธรรม " เอยและ " ธรรมะชั่วนิรันดร์ " เอย อะไรเทือกนี้มาคัดค้านการปฏิวัติ หลอกล่อให้ชนชั้นกรรมกรเหินห่างจากการต่อสู้ทางชนชั้น มาร์กซและเองเกลส์ชี้ว่าจุดมุ่งหมายของพวก " สังคมนิยมแท้ " คือคิดจะกลบเกลื่อนความขัดแย้งที่ไม่อาจประนีประนอมกันได้ระหว่างชนชั้นกรรมาชีพกับชนชั้นนายทุน เพื่อที่จะชำระสะสางพิษร้ายของพวก " สังคมนิยมแท้ " ในขบวนการกรรมกร มาร์กซและเองเกลส์ได้เขียน " จดหมายเวียนคัดค้าน กรูน " ทำการเปิดโปงและวิพากษ์อย่างไม่ปราณี

                 ลัทธิปรูดองมีผลสะเทือนต่อขบวนการกรมกรใหญ่หลวงที่สุดและก็แพร่หลายมากในเยอรมัน มันขัดขวางการพัฒนาของขบวนการกรรมกร และการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างหนักหน่วงปรูดองเป็นนักคิดชนชั้นนายทุนฝรั่งเศส และเป็นเจ้าตำรับลัทธิอนาธิปไตย เขาคิดจะขจัดโรคร้ายของสังคม เพื่อประกันให้สังคมชนชั้นนายทุนดำรงอยู่ เขาคัดค้านระบอบกรรมสิทธิ์เอกชนขนาดใหญ่ แต่จะให้ดำรงไว้ซึ่งระบอบกรรมสิทธิ์เอกชนขนาดเล็กอย่างสุดเรี่ยวแรงให้มันดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ เขามีความคิดเห็นที่จะให้ผู้ผลิตขนาดเล็กรวมกันเข้า จัดตั้งเป็นสหกรณ์ ตั้งธนาคารแลกเปลี่ยนเพื่อสนองสินเชื่อปลอดดอกเบี้ยให้แก่ผู้ผลิตขนาดเล็กรวมกันเข้า จัดตั้งเป็นสหกรณ์ ตั้งธนาคารแลกเปลี่ยนเพื่อสนองสินเชื่อปลอดดอกเบี้ยให้แก่ผู้ผลิตขนาดย่อย เพื่อสนองสินเชื่อปลอดดอกเบี้ยให้แก่ผู้ผลิตขนาดย่อย เพื่อหลีกเลี่ยงจากการขูดรีดของพ่อค้าฉวยโอกาส การเคลื่อนไหวทั้งปวงของปรูดองก็อยู่ที่ใช้สังคมนิยมชนชั้นนายทุนมาทำการปฏิรูปสังคมชนชั้นนายทุน ดังนั้นเขาจึงโจมตีลัทธิคอมมิวนิสต์คัดค้านอำนาจรัฐทั้งปวงปฏิเสธการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพและเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ ลัทธิปรูดองเป็นศัตรูที่ร้ายกาจอย่างยิ่งของการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพ มาร์กซได้เขียนหนังสือเรื่อง " ความอับจนแห่งปรัชญา " ทำการวิพากษ์ปรูดองอย่างถึงที่สุด

                  ด้วยประการฉะนี้ มาร์กซและองเกลส์กได้สืบทอดผสำเร็จอันยอดเยี่ยมแห่งความคิดที่นำหน้าของมนุษยชาติอย่างวิพากษ์ บดขยี้กระแสความคิดสังคมนิยมจอมปลอมนานาชนิดให้แหลกราญไป ทำการสรุปความจัดเจนต่างๆ ที่ได้มาจากการต่อสู้อันยาวนานของชนชั้นกรรมาชีพนานาประเทศด้วยวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์และสร้างเป็นทฤษฎีลัทธิมาร์กซขึ้นท่ามกลางการต่อสู้ทฤษฎีนี้มีลักษณะพิเศษที่เด่นชัดอยู่สองประการ ประการแรกคือลักษณะชนชั้นของมัน ทฤษฎีนี้ได้ประกาศอย่างเปิดเผย เป็นทฤษฎีที่ใช้ในชนชั้นกรรมาชีพ ; อีกประการหนึ่งคือลักษณะปฏิบัติของมัน โดยเน้นว่าทฤษฎีนี้ได้เกิดขึ้นท่ามกลางปฏิบัติการปฏิวัติแล้วหันกลับไปชี้นำปฏิบัติการปฏิวัติอีก มาร์กซและเองเกลส์ทั้งสองท่านไ้ดประกาศสงครามกับโลกเก่า โดยชี้ว่าทุนนิยมจักต้องพินาศดับสูญสังคมนิยมจักต้องได้รับชัยชนะอันเป็นการสร้างแบบอย่างอันรุ่งโรจน์ในการกล้าต้านกระแสไว้ให้แก่ชนชั้นกรรมาชีพ






By การกำเนิดของลัทธิมาร์กซ

No comments:

Post a Comment