Monday, November 05, 2012

คนฉลาดกลับสิ้นไร้ไม้ตอก


คนฉลาดกลับสิ้นไร้ไม้ตอก

          สำนวน " คนฉลาดกลับสิ้นไร้ไม้ตอก " ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นสำนวนที่ใช้กันบ่อย เปรียบได้กับนักกีฬาได้ทุกประเภท

           คนที่สนใจหลายสิ่งหลายอย่างนับได้ว่าเป็น " คนฉลาด " อยู่เพื่อนคนหนึ่งชื่อ N เขาชอบไต่เขา ท่องเที่ยว เขียนบทกวี เรียนภาษาเยอรมัน... พูดได้ว่าสนใจความรู้ต่างๆ อย่างกว้างขวาง

           สมัยเป็นนักเรียน ผมเข้าชมรมศิลปวัฒนธรรม ชมรมละคร ชมรมวิจัยความคิดทางสังคม ชมรมไต่เขา ฯลฯ จะทำอะไรกันแน่ ไม่เคยมีจุดหนัก แต่หลังจากเข้าสังคมแล้ว เห็นว่าขืนเป็นอย่างนี้ คงไปไม่รอด จึงพูดกับคุณ N ว่า

            " คนอย่างผมไม่มีความสามารถอะไร ทำนี่ลองนั่น ผลสุดท้ายไม่ประสบความสำเร็จสักอย่าง ผมต้องการเข้าบริษัทโฆษณาชิ้นหนึ่ง ไม่รู้ว่าตัดสินใจถูกหรือเปล่า แต่นี้ไป ผมคงทิ้งทุกสิ่งนอกจากงานโฆษณา ผมต้องทุ่มเทให้กับมัน คุณเองก็ทำทุกอย่าง โลภมากหรือเปล่า ! "


           " ผมทำอย่างคุณไม่ได้ ! "

           คุณ N ยังคงทำสิ่งที่ชอบต่อไป ผมจึงค่อยๆ ทำตัวเหินห่างจากเขาผ่านมา 30 ปี พูดไปแล้วน่าเศร้า คุณ N ไม่ประสบความสำเร็จอะไรเลย ได้ข่าวว่าเขาไต่ขึ้นยอดเขาหิมะ เดินทางท่องเที่ยวทั่วโลก เขียนบทกวีไว้ไม่น้อยแต่ทั้งหมดล้วนทำไปเพราะรักสนุก ถ้าตัวเขาพอใจกับสภาพดังกล่าว คงไม่มีปัญหา แต่ในทางเป็นจริงไม่เลย คุณ N สูญเสียความมั่นใจตนเอง ท้อแท้ ทอดอาลัย ดูแล้วน่าวิตก

            เมื่อเร็วๆ นี้ ผมพบสำนวนโบราณ " คนโง่กลับประสบความสำเร็จ " ซึ่งตรงข้ามกับ " คนฉลาดกลับสิ้นไร้ไม้ตอก "

            ในพจนานุกรมสำนวนอธิบายไว้ว่า " คนโง่กลับประสบความสำเร็จ เป็นการเสียดสีสังคมที่ให้ความสำคัญกับมันสมองและความรู้มากไป "

            สำนวนบทนี้ค่อนข้างจะเข้าใจได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับสำนวน " คนฉลาดมักตกเป็นเครื่องมือของคนโง่ " และสำนวน " ผู้เชี่ยวชาญการโง่ "

            " คนโง่ " ในที่นี้หมายถึง " คนฉลาดที่รู้จักโง่ " คนฉลาดที่แสร้งโง่ " ส่วน " คนฉลาด " ในที่นี้หมายถึง " คนโง่ที่อวดฉลาด " คิดแบบนี้จะเข้าใจได้ง่ายกว่า

           ในสังคมมีคนประเภทหนึ่ง รู้จักใช้ " คนโง่เหล่านี้ " อย่างยิ่ง พวกเขามีพลังความสามารถไร้รูปที่ " สันทัดในการใช้คนตามสภาพความเป็นจริง " พลังคววามสามารถที่ว่านี้ ดูจากภายนอก จะมองไม่เห็น จึงรู้สึกกันว่าพวกเขาชั่งโง่นัก

           พูดให้เข้าใจง่ายคือ ต้องสนใจคนอื่นมากกว่าสนใจความรู้ จึงจะพัฒนาพลังความสามารถดังกล่าวขึ้นมาได้ ในทางตรงข้าม ถ้าจมปลักความรู้ จะไม่มีทางเข้าใจ

           พูดในอีกแง่หนึ่ง ขณะที่เราเห็นสุนัขนอนหลับอย่างมีความสุขสบายบนพื้นอาจเกิดความรู้สึกว่า " มันไม่วิตกทุกข์ร้อนเลย ช่างมีความสุขยิ่งนัก " " โง่ กลับได้ผลตอบแทนที่ดี " นี่ก็แฝงนัยธรรมดาเข้าใจได้ง่ายดังกล่าวแล้วข้างต้นแม้จะธรรมดาจนออกสามานย์ก็ตาม





by อิบูคิ ทาคาชิ, โทขุระ โทราโอะ ( คนฉลาดแสร้งโง่ )

No comments:

Post a Comment