Saturday, November 24, 2012

ไม่รู้ >>> รู้แจ้ง

คนใบ้กินน้ำผึ้ง

           ศิษย์เซนถามอาจารย์ฉือโซ่วว่า " เวลาบรรลุธรรม ผู้บรรลุธรรมสามารถบอกเล่าสภาวะและความรู้สึกขณะบรรลุธรรมได้หรือไม่ "

            ท่านฉือโซ่วตอบว่า " เหมือนคนใบ้กินน้ำผึ้ง "

            ศิษย์เซนถามอีกว่า " คนที่ยังไม่บรรลุธรรม สิ่งที่พูดออกมา จะนับได้หรือไม่ว่าเป็นธรรมะของเซน "

            ท่านฉือโซ่วตอบว่า " ในเมื่อยังไม่บรรลุธรรม สิ่งที่พูดออกมา จะนับเป็นธรรมะของเซนได้อย่างไร "

           ศิษย์เซนถามว่า " แต่สิ่งที่เขาพูดบรรยายมานั้น มีหลักการมีเหตุผล หากไม่นับเป็นธรรมะแห่งเซนได้อย่างไร "

            ศิษย์เซนถามว่า " แต่สิ่งที่เขาพูดบรรยายมานั้น มีหลักการมีเหตุมีผล หากไม่นับเป็นธรรมะแห่งเซน จะเรียกว่าอะไร "

            ท่านฉือโซ่วตอบว่า " ก็เมื่อนกแก้วนกขุนทองหัดพูดนั่นแหล่ะ "



            ศิษย์เซนถามว่า " คนใบ้กินน้ำผึ้งกับนกแก้วนกขุนทองหัดพูดแตกต่างกันอย่างไร "

            ท่านฉือโซ่วอธิบายอย่างใจเย็นว่า " คนใบ้กินน้ำผึ้งคือ รู้ เหมือนคนดื่มน้ำ น้ำชุมคอชื่นใจแค่ไหน เหมือนเด็กน้อยฝึกพูด ไม่เข้าใจความหมายของสิ่งที่พูด "

            ศิษย์เซนถามว่า " ผู้ที่ยังไม่บรรลุธรรม แต่บรรยายธรรมให้คนอื่นหลุดพ้น ทำได้อย่างไร "

            ท่านฉือโซ่วตอบว่า " ก็แค่ทำให้คนอื่นรู้ว่าตัวเองรู้อะไรบ้าง ลึกกว่านั้นทำไม่ได้ "

            ศิษย์เซนถามว่า " แล้วตอนนี้ อาจารย์  ' รู้ ' หรือ ' ไม่รู้ ' ขอรับ " 

            ท่านฉือโซ่วกระอักกระอ่วนอย่างยิ่ง ตอบว่า " ข้าเป็นคนใบ้กินบอระเพ็ด ขมขื่นแต่พูดไม่ออก แต่ก็เหมือนนกแก้วนกขุนทองหัดพูดพูดได้เหมือนมาก แล้วเจ้าว่าข้า ' รู้ ' หรือ ' ไม่รู้ ' ล่ะ "

            ศิษย์เซนรู้สึกว่าได้รับการชี้แนะดีมาก จึงอำลาจากไป

แง่คิด

            จากไม่รู้สู่รู้และรู้แจ้ง

            โลกในยุคข่าวสารข้อมูลเช่นทุกวันนี้ คนจำนวนมากต่างคิดว่าตัวเอง " รู้ " รู้แทบจะทุกเรื่อง เรื่องที่ไม่รู้นั้น มีน้อยมาก เหตุนี้เอง คนจึงเย่อหยิ่งถือดี ไม่รับฟังกัน ทะเลาะกันรุนแรง เพาะต่างคิดว่าตัวเองแน่ ตัวเองรู้ดี มีเหตุผล ถูกต้อง ชอบธรรม

            นิทานเซนเรื่องนี้บอกเราว่า " รู้ " มีหลายระดับ ตั้งแต่รู็ผิวเผิน รู้งูๆ ปลาๆ รู้ครึ่งๆ กลางๆ รู้บ้างไม่รู้บ้าง รู้ผิดๆ ถูกๆ รู้จริง รู้แจ้ง รู้ทะลุปรุโปร่ง ฯลฯ  

            เซนย่องการรู้แจ้ง หรือบรรลุธรรม ปุถุชนก็ยกย่องคนรู้จริงเช่นกัน ใครรู้สึก รู้กว้าง รู้ปึ้ก ก็จะมีคนเคารพนับถือ แต่ความรู้ในความหมายของปุถุชนมักหมายถึงข้อมูลข่าวสาร วิทยาศาสตร์สิ่งประดิษฐ์โลหวัตถุ ฯลฯ ส่วนความรู้ในความหมายของเซนของพุทธ มักหมายถึงการบรรลุธรรมหรือความรู้จริง รู้กฏแห่งธรรมชาติ รู้วิทยาศาสตร์ สากลจักรวาล รู้จักจิตของตัวเอง ฯลฯ

             โลกมีสิ่งที่ต้องศึกษาเรียนรู้มากมาย ในขณะที่ชีวิตของคนเรานั้นมีขีดจำกัด มีเวลาอันแสนสั้น การที่จะรู้จริง รู้แจ้ง ในทุกสิ่งจึงเป็นเรื่องที่ลำบากมาก เราจะต้องเลือกศึกษาเรียนรู้แต่เรื่องหลักๆ เรื่องที่เป็นประโยชน์และจำเป็นสำหรับชีิตของเราเท่านั้น

             แล้วเรื่องอะไรเล่าคือเรื่องหลักๆ มีประโยชน์ จำเป็นสำหรับชีวิตประเด็นนนี้ต้องแล้วแต่เหตุปัจจัยของแต่ละบุคคล เช่นว่า เรามีเป้าหมายชีวิตแบบไหน สนใจทางโลกหรือทางธรรม คิดจะละโลกหรือครอบครองโลห ดังนั้น รายละเอียดในประเด็นนี้ เราจะไม่พูดถึง แต่จะพูดถึงท่าทีการศึกษา ซึ่งไม่ว่าจะเป็นทางโลกหรือทางธรรม หากใฝ่ก้าวหน้าก็ควรยึดหลักเช่นนี้ คือ

           - ต้องอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่หลงตัวเอง รู้ก็บอกว่ารู้ ไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้

           - ไม่ทำตัวเป็นคนมือถือสาก ปากถือศีล รู้แต่ไม่ทำ ทฤษฎีจะต้องประสานกับการปฏิบัติ จึงจะรู้แจ้งรู้จริง

           - ต้องศึกษาอย่างมานะบากบั่น ศึกษาชั่วชีวิต ฝึกฝนตนเองอย่างไม่ย่อท้อเหนื่อยหน่าย วันนี้ ความรู้เราอาจน้อย แต่เมื่อศึกษาฝึกฝนไปเรื่อยๆ สักวันหนึ่ง เราก็จะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญ มีความรู้ระดับปราชญ์ได้





By สุภาพร  ปิยพสุนทรา ( สว่าง อย่าง เซน )

No comments:

Post a Comment