Monday, September 01, 2014

เก็บเรื่องเก่า เดินทางไปสู่เรื่องใหม่


เก็บเรื่องเก่า เดินทางไปสู่เรื่องใหม่

       " เก็บเรื่องเก่า เดินทางไปสู่เรื่องใหม่ " คำคำนี้เป็นคำที่มีความหมายที่หลายคนรู้จักกันดีในหลายชาติ หลายภาษา ถ้าเป็นสำนวนไทยก็คือ " การเก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน " ที่ในพจนานุกรมนั้นท่านให้ความหมายไว้ว่าเป็นการเก็บเล็กผสมน้อย ทำอะไรที่ประกอบด้วยส่วนเล็กส่วนน้อย โน่นบ้างนี่บ้างจนสำเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา

      หรือใน " เก็บเรื่องเก่า เดินทางไปสู่เรื่องใหม่ " ของญี่ปุ่นนี้ อาจจะมองอีกมุมมองได้ว่า เป็นการใช้ของเก่าที่มีอยู่เล็กๆ น้อยๆ ก่อร่างให้เป็นประโยชน์ ให้ใหญ่โตขึ้นหรือกลายเป็นสิ่งใหม่ก็ได้ หรือการนำความรู้จากเรื่องเก่าๆ หรือนำสิ่งที่ได้ร่ำเรียนมาปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้เกิดเป็นความรู้ใหม่

      เมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ค่ายรถญี่ปุ่นมีการนำเสนอรถยนต์ที่ครบถ้วนใน ๓ ส่วนที่เรียกว่าเป็นสุดยอดของยนตกรรมแบบพร้อมๆ กัน ได้แก่ รถผลิตเพื่อขายจริงสมรรถนะสูงระดับ ๔๐๐ แรงม้า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระดับค่าไอเสียเป็นศูนย์ และไสตล์แปลกประหลาดล้ำยุค ซึ่งเราพบทั้งหมดนี้ได้ในโตเกียวมอเตอร์โชว์ครั้งที่ ๔๐

      เริ่มจากค่ายนิสสัน ที่ผู้สื่อข่าวจากทั่วโลกให้ความสนใจจนแน่นบูธ ด้วยการเปิดตัวรถยนต์ซุปเปอร์คาร์ระดับตำนาน " นิสสัน จีที-อาร์ใหม่ " และมีนักธุรกิจระดับแม่เหล็กอย่างคาลอส กอห์น เรโนลต์ ซีอีโอนิสสัน เป็นผู้เปิดผ้าคลุมของ จีที-อาร์ใหม่ ที่พัฒนาเครื่องยนต์ ๓.๘ ลิตร มาแบบทำลายทุกสถิติในเรื่องสมรรถนะเกือบ ๔๘๐ แรงม้า และความเร็วสูงสุด ๓๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง



      นอกจากนี้ยังมียานยนต์อัจฉริยะ " นิสสันพิโว ๒ " ซึ่งเป็นรถยนต์ต้นแบบพลังงานไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออน ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ ดีไซน์รูปไข่ ห้องโดยสารให้มุมมอง ๓๖๐ องศา พร้อมหุ่นยนต์ขนาดเล็กเป็นผู้ช่วย

       การต่อยอดของค่ายรถในงานมีมาอย่างต่อเนื่องจากหลายปีก่อนกระทั่งทำให้ " กรีนคาร์ " สามารถขับขี่ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งเมื่อ ๑๐ ปี โตโยต้าเปิดตัว " พรีอุส " รถไฮบริด ที่โตเกียว ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นของโลกรถสีเขียวเชิงพาณิชย์อย่างจริงจัง ถึงวันนี้ไฮบริดมียอดขายไปแล้วมากกว่า ๑ ล้านคัน

      ในขณะที่อิทธิพลของการพัฒนารถเพื่อสิ่งแวดล้อมได้มีบทบาทอย่างมากหลังจากที่ค่ายโตโยต้าเดินหน้าขายพรีอุส ค่ายรถเยอรมันนีก็มุ่งมั่นลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีดีเซลแบบสะอาดที่ประหยัดน้ำมันได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับเครื่องยนต์เบนซิน

       แต่อย่างไรก็ตาม ทิศทางในขณะนี้ดูเหมือนเจเนอเรชั่นใหม่ของเบนซินที่ใช้ระบบฉีดตรง ( ไดเรคอินเจคชั่น ) กำลังจะกลับมาได้รับการต่อยอดเพิ่มขึ้นเพราะประหยัดได้เท่ากับเครื่องยนต์ดีเซล

       นิสสันยังได้พัฒนารถนิสสัน " คลีนดีเซล " ซึ่งประกาศว่าจะนำเครื่องยนต์ดีเซลที่มีปริมาณไอเสียต่ำลงในตลาดญี่ปุ่น อเมริกาเหนือ และจีนในปี พ.ศ.๒๕๓๓ ซึ่งเครื่องยนต์จะเป็นไปตามกฎข้อบังคับของประเทศนั้นๆ โดยในญี่ปุ่นนิสสันจะวางเครื่องยนต์ดีเซลที่มีปริมาณไปเสียต่ำในรุ่นเอ็กซ์เทรล ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ และในอเมริกาเครื่องยนต์ดีเซลแบบใหม่จะเป็นไปตามหลักการ Tier ๒ Bin ๕ ซึ่งใช้ในอเมริกาปี พ.ศ. ๒๕๕๓

       หากเราศึกษาดู จะเห็นว่าการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ใหม่ค่ายนิสสันและค่ายรถต่างๆ ในญี่ปุ่น ล้วนแต่เป็นการต่อยอดจากสิ่งเดิมหรือความรู้เก่าที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาปรับปรุงให้ดียิ่งๆ ขึ้น ที่เราเห็นได้อย่างเด่นชัดและตรงกับปรัชญาข้อนี้เป็นอย่างยิ่ง




By ปรัชญา " ซามูไร " 

No comments:

Post a Comment