Monday, December 31, 2012

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๑๓ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๑๓ )
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช

           พระบาทสมเด็จพรปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ ( พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระรามาธิบดีที่ ๕ ) เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติปกครองประเทศเมื่อพระราชบิดา ( พระมงกุฎ หรือ พระจอมเกล้า ) เสด็จสวรรคต พระองค์เสด็จราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์แรกแห่งสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี และทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๙ แห่งพระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติสืบสันติวงศ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๕ ชันษาโดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยะวงศ์เป็นผู้ทรงสำเร็จราชการแทนพระองค์

            ช่วงระยะเวลาการครองราชย์เป็นเวลา ๔๒ ปี นี้เต็มไปด้วยการปฏิรูปอย่างกว้างขวางและเป็นช่วงที่ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ พระองค์ทรงศึกษาระบอบการปกครองจากประเทศตะวันตกสร้างสัมพันธภาพกับประเทศมหาอำนาจ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา และรัสเซีย และพร้อมกันนี้ก็ได้ทรงส่งพระราชโอรสไปศึกษาในประเทศตะวันตกอีกด้วย ดูหมือนว่าพระองค์จะทรงพร้อมที่จะศึกษาแบบอย่างจากประเทศตะวันตก แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงไม่ยอมที่จะถูกครอบครองโดยประเทศมหาอำนาจเหล่านั้น เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงเสด็จประพาสยังประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศในเอเชียและเสด็จเยือนยุโรป ๒ ครั้ง ที่ใดก็ตามที่พระองค์เสด็จพระองค์ทรงได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นพระราชวงศ์ของประเทศต่างๆ ก็ทรงให้เกียรติพระองค์อย่างมากเช่นกัน

            การปฏิรูปของพระองค์ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้่องกับแทบจะทุกแง่มุมของชีวิตคนไทย ได้แก่การประกาศเลิกทาส การขยายระบบคมนาคม โดยการสร้างทางรไฟ การจัดตั้งการไปรษณีย์โทรเลข และจัดตั้งให้มีการปกครองโดยใช้ระบอบกระทรวงในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงจัดให้มีการบริการด้านสาธารณะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสุขภาพและการศึกษา



             แต่โชคร้ายที่ว่าเหตุการณ์ของโลกในขณะนั้นไม่เอื้ออำนวยที่จะให้พระองค์ดำเนินการปฏิรูปการปกครองไปข้างหน้าได้อย่างราบรื่น เพราะเป็นช่วงระยะเวลาแห่งการล่าอาณานิคม ดังนั้นพระองค์จึงต้องปรับนโยบายต่างประเทศของพระองค์โดยยึดเอาการดำรงไว้ซึ่งความสมดุลระหว่างประเทศที่กำลังแข่งขันล่าอาณานิคม พระองค์รักษาไว้ซึ่งมิตรภาพระหว่างประเทศมหาอำนาจ และหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า ดังนั้น ในช่วงเวลาวิกฤติเช่นนี้ ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะต้องเสียสละดินแดนในบางส่วนแต่ก็ยังสามารถรักษาความเป็นเอกราชไว้ได้

             เป็นที่แจ่มชัดแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประสงค์ที่จะให้กษัตริย์ใกล้ชิดประชาชน ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ หลังจากที่ทรงเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว พระองค์ทรงมีพะบรมราชโองการให้ยกเลิกการหมอบกราบในขณะเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ ก็ทรงประกาศเลิกทาส พระองค์ทรงเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรทั่วทั้งประเทศเพื่อไต่ถามและศึกษาสภาพความเป็นอยู่และสุขทุกข์ของอาณาประชาราษฎร์ของพระองค์ โดมากการเสด็จของพระองค์นี้เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า " ประพาสต้น " นับเป็นการยากที่จะกล่าวถึงพระราชกรณียกิจในการปฏิรูปของพระองค์ได้ทั้งหมด กระทรวงและกรมที่มีอยู่ทุกวันนี้เกือบทั้งหมดถือกำเนิดมาจากพระราชดำริอันก้าวไกลของพระองค์นั่นเอง

             การสวรรคจของพระองค์เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ นับเป็นการสูญเสียครังยิ่งใหญ่ของพสกนิกรทั่วประเทศ เพราะว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่พสกนิกรให้ความเคารพและมีความจงรักภักดีมากที่สุดพระองค์หนึ่ง จนพสกนิกรทั่วประเทศขนานพระนามพระองค์ว่า " สมเด็จพระปิยะมหาราช " ยิ่งกว่านั้นชาวไทยทั่วไปโดยมากเชื่อว่า พระองค์ทรงมีอำนาจมหัศจรรย์ในอันที่จะนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคลและความเจริญรุ่งเรืองสำหรับผู้ที่กราบไหว้เคารพบูชาพระองค์ ดังนั้นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์จึงมีให้พบเห็นในเกือบทุกๆ บ้าน ชาวไทยทุกสาขาอาชีพพร้อมใจกันวางพวงมาลาที่พระบรมรูปทรงม้าของพระองค์ที่ลานพระบรมรูปในกรุงเทพมหานครและพระบรมรูปของพระองค์ในจังหวัดต่างๆ





By Essays on Thailand

No comments:

Post a Comment