Sunday, December 02, 2012

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๘ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๘ )
เทศกาลคล้องช้าง

         เทศกาลที่เป็นที่ชื่นชอบกันมากที่สุดของภาคอีสานในหมู่นักท่องเที่ยวก็เห็นจะเป็นงานคล้องช้างที่จังหวัดสุรินทร์ ซึงจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในเดือนพฤศจิกายน ชาวสุรินทร์มีชื่อเสียงเกี่ยวกับความสามารถในการจับช้าง ฝึกช้างป่าและคล้องช้างมาเป็นเวลานาน ในอดีตช้างป่าอาศัยอยู่ในป่าใกล้ประเทศเขมร แต่โชคร้ายที่ปัจจุบันพื้นที่เหล่านี้เข้าไปไม่ได้แล้วเนื่องจากสงครามกลางเมืองในประเทศนั้น และในขะเดียวกันประชากรของช้างก็มีจำนวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทุกวันนี้ควาญช้างจึงต้องอาศัยการดำรงชีพโดยนำช้างไปแสดงการละเล่นต่างๆ เพื่อขอเงินจากคนดูทั่วทั้งประเทศ

          งานคล้องช้างสุรินทร์จัดว่ายิ่งใหญ่ที่สุดก็คือการแสดงที่จัดไว้อย่างสวยงามเพื่อให้เห็นความชาญฉลาดและความสามารถของสัตว์ที่เก่งกาจเหล่านี้ งานคล้องช้างจัดขึ้นรั้งแรกในปี พุทธศักราช 2503 งานคล้องช้างนี้จะเริ่มด้วยขบวนใหญ่โตของช้างจำนวนหลายเชือก ( โดยปริมาณ 120 - 150 เชือก ) ซึ่งจะมีทั้งลูกช้างอายุ 2 - 3 สัปดาห์ ไปจนถึงช้างที่ได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดีและมีประสบการณ์หลายสิบปี

          ในช่วงการแสดงช้างขนาดใหญ่หายร้อยเชือกจะแสดงให้เห็นถึงพละกำลังของมันในการลากซุง เตะฟุตบอลและการแข่งขันชักเย่อกับมนุษย์ การแสดงอื่นๆ ที่นำมาแสดงไม่ใช่เพื่อให้เห็นถึงพละกำลังอันมหาศาลของช้างเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความชาญฉลาด ความสุภาพและความแสนรู้ของมันอีกด้วย การแสดงจบลงด้วยการจำลองการทำสงคราม ซึ่งช้างก็เคยมีส่วนสำคัญในการศึกอีกด้วย



           ในอดีต การคล้องช้างเป็นพระราชพิธีประจำปีซึ่งพระมาหากษัตริย์จะเสด็จลงมาเป็นองค์ประธานในพิธีและจะมีการสวดและร่ายเวทย์มนตร์เพื่อพิธีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็เพื่อให้ช้างที่จับมาได้เชื่องนั่นเอง พิธีนี้ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้งเมื่อไม่นานนี้และได้กลายเป็นจุดสำคัญที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาในประเทศในเวลาต่อมา โดยจัดให้จังหวัดสุรินทร์เป็นศูนย์กลางของงานนี้ งานคล้องช้างก็เริ่มดึงดูดนักท่องเที่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี

            งานนี้เป็นงานที่นักท่องเที่ยวจะมีโอกาสได้สนุกสนานที่สุดงานหนึ่งที่จะเข้าชมได้ และเป็นโอกาสดีที่จะได้เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวอีสานด้วย





By Essays on Thailand

No comments:

Post a Comment