Saturday, December 29, 2012

โง่อย่างกระตือรือร้น

โง่อย่างกระตือรือร้น

           ในพจนานุกรมสำนวน อธิบายไว้ว่า " โง่อย่างกระตือรือร้นหมายความว่า ถึงจะโง่อย่างไร ถ้าจิตหนึ่งใจเดียวทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างกีะตือรือร้น ไม่ว่างานนั้นยากลำบากแค่ไหน ก็ทำให้สำเร็จลุล่วงได้ "

            ปี ค.ศ. 1962 หลังจากผมคิดว่า ผมต้องรู้ว่า " ช่วยให้สินค้าขายออกหรือไม่ ? ให้ได้แล้ว ผมก็หมกมุ่นกับการวิจัยเรื่องนี้ ครั้งหนึ่ง คุณมัตสุยาม่า ผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัทมิตซูบิชิพูดกับผมว่า

            " 20 ปีที่ผ่านมา คุณหมกมุ่นกับหัวข้อ ' ขายออกหรือไม่ ? ' พูดตามจริงนะ ใครๆ ก็รู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าเอือมระอา "

            ตอนนั้น ผมตอบว่า " ก็ ' โง่อย่างกระตือรือร้น ' ไง !? "

            ท่านผู้อ่านทราบดีอยู่แล้วว่า " โง่ " ในที่นี้มิใช่ " ความโง่เขลา " แต่หมายถึง ท่าทีก้มหน้าก้มตาทำงานอย่างกระตือรือร้น โดยไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น

            การทำใบ้แสร้งโง่ ก้มหน้ก้มตาทำงาน จะเกิดบทบาทรวมศูนย์กำลังและสมาธิ สภาวะเช่นนี้ หากยืนหยัดได้เป็นเวลายาวนาน ก็เปรียบได้กับ " น้ำหยดเจาะหิน " จะเกิดผลอย่างน่าอัศจรรย์

            ถ้าเช่นนั้น เหตุใดจึงเรียกอาการก้มหน้าก้มตาทำงานว่า " โง่อย่างกระตือรือร้น " ? เพราะมีนัยสำคัญนั่นเอง



             ผมต้องการรู้ว่า " ช่วยให้สินค้าขายออกหรือไม่ ? " ก็เพราะผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัทแห่งหนึ่งหยามผมว่า

             " โฆษณาที่คุณทำ ช่วยให้สินค้าของเราขายออกหรือไม่ ? "

             " คุณตอบไม่ได้ แสดงว่าช่วยไม่ได้ กลับไปทำมาใหม่ "

             ระหว่างทางกลับบริษัท ผมคิดว่า

             " ทำอย่างไร จึงจะรู้ว่า ช่วยให้สินค้าขายออกหรือไม่ ? "

             ผมต้องรู้ให้ได้ มิเช่นนั้น ก็ยังถูกหยามเช่นวันนี้

             ผมยังคิดอีกว่า ทุกคนต่างปวดศรีษะกับเรื่อง " สินค้าขายออกหรือไม่ ? " ถ้ารู้คำตอบ คงจะเป็นเรื่องอัศจรรย์มาก ผมก็จะกลายเป็นเทพแห่งนักขาย ผมอยากเป็นเทพ

             ช่วงก่อนหน้านั้น ประจวบกับเป็นช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เกิดบรรยากาศแบบจะขายอะไรก็ไม่เป็นปัญหา เพราะฉะนั้นการรั้นกับเรื่อง " ขายออกหรือไม่ ?" ของผม จึงทำให้ใครต่อใครมองผมด้วยสายตาเอือมระอา

             ทุกวันนี้ หวนคิดขึ้นมา แม้สิ่งที่ผมทำลงไปจะดูงี่เง่ามาก แต่ผมก็ยินดีทำเรื่องงี่เง่าแบบนั้น ที่สำคัญเพราะผมรักหัวข้อดังกล่าว จึง " เห็นคนรักเป็นไซซี "

             " รัก " มิใช่เรืองที่ความมีสติจะกระทำได้ เพราะ " รัก " คือสิ่งที่เกิดจากการผสมผสานทางอารมณ์ระหว่างความรู้สึกอดสู ไม่พอใจ ท้าทาย ใฝ่ฝัน และโรแมนติก เป็นอะไรที่เข้าใจยาก ด้วยเหตุนี้ เมื่อรักใครแล้ว จะจิตหนึ่งใจเดียวักต่อไป ทำให้คนรอบข้างเกิดความรู้สึกว่า เรากำลัง " โง่อย่างกระตือรือร้น "





by อิบูคิ ทาคาชิ, โทขุระ โทราโอะ ( คนฉลาดแสร้งโง่ )

No comments:

Post a Comment