Monday, December 17, 2012

ธัมมิกสังคมนิยมของท่านพุทธทาส ( บทที่ ๑ )

ธัมมิกสังคมนิยมของท่านพุทธทาส ( บทที่ ๑ )
ว่าด้วยการก่อรูปอุดมคติทางการเมือง

           "... หลักธรรมที่จะใช้เป็นที่พึ่งแก่โลกในทางการเมืองได้นั้น ขอให้ถอดเอามาจากหัวใจของทุกๆ ศาสนา ทุกศาสนามีหัวใจเป็นสังคมนิยม ทุกศาสนาสอนสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ทุกๆ คน ไม่ใช่เพื่อคนดียว หัวใจของศาสนาจึงเป็นลักษณะของสังคมนิยม ไม่ใช่ปัจเจกนิยม...

           ธัมมิกะ แปลว่า " ประกอบอยู่ด้วยธรรมะ " ธรรมะคือความถูกต้อง ถูกต้องอย่างไม่มีทางที่จะผิด สังคมนิยมที่ประกอบอยู่ด้วยธรรมะนี่ เป็นหัวใจของทุกศาสนาอยู่แล้วโดยไม่รู้สึกตัว ทำไมไม่เอาออกมาใช้ เทออกมาให้หมดทุกๆ ศาสนา มารวมกันเป็นระบบธัมมิกสังคมนิยมของโลก ใช้กับคนทั้งโลก...

           ขอให้หัวใจของทุกๆ ศาสนาเทไหลออกมากองรวมกันเป็น ระบบธัมมิกสังคมนิยมสำหรับ จะเป็นที่พึ่งในโลก แล้วในที่สุดจะมองเห็นกันได้เองว่า เราเป็นสหธรรมิกกันได้... "

การเมือง และอุดมคติทางการเมือง

            " ถ้าเราจะถือว่าคำว่า " การเมือง " มาจากคำว่า Politics ก็จะยิ่งเห็นความหมายได้ง่ายเพราะ คำว่า Politics นี้มีความหมาย " เกี่ยวกับคนมาก " หรือเกี่ยวกับเรื่องที่มากๆ นี้จะต้องนึกไปถึงความจริงอันหนึ่งว่า พออะไรมีเพิ่มมากขึ้นและก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทันที จะเป็นคนหรือของอะไรก็ตาม Poli ที่แปลว่า " มากนี้ " หมายถึงอะไรก็ได้บดนี้เอามาใช้ประกอบขึ้นเป็นคำสำหรับอุดมคติอันหนึ่ง ที่จะใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากการที่มีคนหรือมีอะไรมากๆ เรื่องความมีปัญหามากนี้ไม่ต้องสงสัย ย่อมมาจากการที่มีคนมากขึ้นในโลกในสังคมอะไรนี้ ดังนั้นก็ต้องมีระบบอันหนึ่งทางศีลธรรม หรือว่าทางศาสนาก็ตาม เพื่อจะแก้ปัญหาเหล่านี้ ถ้าคำว่า " การเมือง " หมายความอย่างนี้ก็นับว่าดี คือว่าเป็นกลาง วางไว้สำหรับจะแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับคนมากก็แล้วกัน


           ทีนี้มีคำที่เนื่องจากคำนี้ เช่น คำว่า " อุดมคติทางการเมือง " ก็เลยมองเห็นได้ทันทีว่า อุดมคติก็กำลังมีมาก คนนั้นเขาก็ว่าอย่างนี้ คนนี้ก็ว่าอย่างโน้น จนเกิดขึ้นหลายๆ ระบบเป็นอุดมคติทางการเมืองที่แข่งขันกันขึ้นมาเสนอตัวเป็นผู้จัดันติภาพโลก จนกระทั่งเราไม่รู้จะเอาระบบแบบไหนดี จึงมีปัญหา ถ้าเราไม่รู้ก็ย่อมจะเป็นอันตรายหรือไม่สำเร็จประโยชน์อย่างน้อย

            ถ้ารู้จักอุดมคติทางการเมืองว่ามันคืออะไรแล้วจะง่ายนิดเดียว ในเมื่อเราย้อนกลับไปถึงคำพูดที่ได้พูดไว้แล้วว่า ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ศีลธรรม ไม่มีอะไรที่ไม่เกี่ยวกับศีลธรรม ระบบการเมืองที่แท้ก็คือ ศีลธรรม ถ้าระบบการเมืองนั้นถูกต้อง นั่นก็คือศีลธรรมที่มีแล้วอย่างถูกต้อง ถ้าผิดแล้วก็ใช้ไม่ได้ เพราะเป็นศีลธรรมที่ผิดหรือไม่ประกอบอยู่ด้วยศีลธรรม นี่ก็เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องไปดูเอาเองว่า ระบบทางการเมืองระบบไหนประกอบไปด้วยศีลธรรม ซึ่งบัดนี้เราก็พูดไว้ล่วงหน้าเสียเลยว่า ระบบ สังคมนิยมนี้ คือ ระบบที่ประกอบด้วยศีลธรรมยิ่งกว่าระบบใด "

บทนิยาม " การเมือง " ตามแนวทางพุทธศาสนา

            " สิ่งที่เรียกว่า การเมือง เรามีความสามารถหรือบทนิยมโดยเฉพาะตามแนวทางของศาสนา แต่ก็คงจะมีใจความที่ตรงกันโดยหลักทั่วๆ ไปว่า การเมือง นั้นคือ การจัดอย่างถูกต้องตามกฏธรรมชาติ เพื่อคนมากจะอยู่ร่วมกันอย่างผาสุข มันจะไม่ตรงกันบ้างก็คือว่า นักกรเมืองทั้งหลาย จะไม่ยอมรับว่า " จะต้องมีการจัดอย่างถูกต้องตามกฏของธรรมชาติ " เพราะดูเหมือนเขาจะไม่พูดถึง กฏธรรมชาติกันเสียเลย ; เขาพูดถึงปรัชญาบ้าง อุดมคติบ้าง ตามลัทธินั้นๆ แล้วก็ตามความคิดเห็น ของเขาเอง

             สิ่งที่เรียกว่าการเมือง คือ ระบบศีลธรรมอันเร้นลับ การดูอย่างนี้มีประโยชน์และเป็นสิ่งที่ จำเป็นโดยแน่นอน ถ้าเราเอามาทำให้ถูกต้องก็จะมีประโยชน์ ถึงอย่างนั้นก็ยังจะต้องแยกออกให้ง่าย ให้เห็นได้ง่าย ให้ง่ายแก่การที่จะศึกษาหรือปฏิบัติศีลธรรมในรูปแห่งการเมือง

            ถ้าการเมืองมาอยู่ในรูปศีลธรรม ต้องขอใช้คำพูดโสกโดกที่ว่า " มันวิเศษเลย " ถ้าว่าการเมือง มาอยู่ในรูปศีลธรรมก็หมายความว่า ละเสียจากความเป็นปรัชญา นี้จะช่วยโลกได้ ข้อที่ว่าเป็น ศีลธรรมอย่างไรนั้นก็พูดกันแล้ว

            ถ้าให้ดีกว่านั้นอีกก็ให้การเมืองมาอยู่ในรูปของศาสนาเสียเลย เพราะว่าคำว่า " ศาสนา " ก็คือ ภาวะสมบูรณ์ของสิ่งที่เรียกว่าศีลธรรม ความเต็มรูปของสิ่งที่เรียกว่าศีลธรรมคือ ศาสนา "

การเมืองต้องเป็นไปตามกฏของธรรมชาติ

            " เรื่องการเมืองนี้ต้องเป็นเรื่องเพื่อคนมาก ถ้าคนน้อยก็ไม่จำเป็น ; เมื่อคนมันมากขึ้น จะอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกได้อย่างไร ? มันก็ต้องจัดไปด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของ ตัวผู้จัดเอง ; ดังนั้น เรื่องการเมืองที่บริสุทธิ์ ก็เป็นเรื่องของศีลธรรม ; แต่นักการเมืองสมัยนี้ก็ไม่ยอมรับ ลักษณะอย่างนี้ ; ไปถือว่าเป็นเรื่องอื่นไม่ใช่เรื่องศีลธรรม

            แต่เรายืนยันว่า เป็นเรื่องที่มีหัวใจเป็นศีลธรรมโดยตรง ; ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วมันจะถูกต้องไม่ได้ คือ มันจะไปตามความต้องการของคนบางหมู่บางคณะเท่านั้นเอง มันก็เลยเป็นการเมืองที่ทุจริต หรือเป็นการเมืองที่ปลอมเทียม สร้างความยุ่งยากขึ้นในหมู่มนุษย์ แทนที่จะสร้างสันติภาพ ; ฉะนั้น เมื่อจะเอาความถูกต้องกันก็ต้องเล็งถึงการถูกต้องจริงๆ คือ ถูกต้องตามกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ...


            ฉะนั้น สิ่งที่เรียกว่า ศีลธรรมนั้นมีความสำคัญมาก คือเป็นสิ่งที่ทำให้อุดมการณ์ของมนุษย์ทุกชนิด ไม่เป็นปัญหา หรือถ้าจะเผอิญเกิดปัญหาขึ้นมา มันก็แก้ได้ด้วยความมีอยู่แห่งศีลธรรมนั้นเอง นี้เป็น ธรรมสัจจะที่ตายตัวได้พูดกันอย่างละเอียดในครั้งที่แล้วมาแล้ว ; ถ้าธรรมสัจจะในส่วนนี้มันผิดไป อุดมคติทั้งหลายมันก็ผิดไป อุดมการณ์ทางการเมืองโดยตรงนี้ ก็จะเสียไป ;  เราจึงต้องย้อนไปหา สิ่งที่เรียกว่าศีลธรรม ในฐานะที่เป็นรากฐานของอุดมคติทั้งหลาย

ความหมายของศีลธรรม

            " ความหมายทางภาษา... คำว่า สี - ละ หรือ ศีลนี้ ตัวหนังสือแท้ๆ ก็แปลว่า ปรกติ, อะไรที่คงอยู่ตามปรกติก็เรียกว่า สี - ละ หรื่อ ทำอยู่เป็นปกติ ไม่ผิดแปลกออกไป ; นี้เรียกว่า สี - ละ ถ้าผิดปกติก็เรียกว่าไม่ใช่ สี - ละ ที่เอามาใช้เป็นชื่อของการปฏิบัติที่เรียกว่า " ศีล " นี้ ก็คือ การทำให้ปรกตินั่นเอง การฆ่ากันไม่ใช่ปรกติ ; ต่อเมื่อไม่ฆ่ากันจึงเรียกว่าปรกติ... ทีนี้ ก็มาถึงความหมายของคำว่า " ธรรม " คำว่า ธรรม นี้มีความหมายหลายอย่าง : ความหมายทั่วไป ก็หมายความว่า " ทรงตัวอยู่ " คำว่า ธรรม นี้แปลว่า ทรงตัวอยู่ ; ฉะนั้น " ศีลธรรม " ก็แปลว่า " การทรงตัวอยู่อย่างปกติ " มันก็เท่านั้นเอง ทางภาษาจึงเห็นภาพพจน์ขึ้มาว่า มีความปกติทางปรากฏการณ์ที่แสดงให้่เห็นทั้งทางรูปธรรม และนามธรรมของทุกๆ สิ่ง...

            ความหมายทางอาการตามธรรมชาติ ก็เอาปรากฏการณ์ของธรรมชาติแท้เป็นหลัก เมื่อพูดถึงธรรมชาติ ในที่นี้ก็เล็งถึงธรรมชาติตามธรรมดา ที่แวดล้อมอยู่ทั่วๆ ไปนี้ ของสิ่งที่ไม่มีชีวิตด้วย, และของ สิ่งที่มีชีวิตด้วย ถ้าเป็นไปตามธรรมชาติแล้วจะปรกติ ; เพราะมัน มีกฏของธรรมชาติอยู่อย่างหนึ่ง คือ ถ้าไม่ถึงสภาพปรกติ หรือที่ควรจะอยู่ตามปรกติแล้ว มันจะไม่หยุด มันจะต้องถูกผลักไสไปกลิ้งไป จนกว่าจะไปอยู่ในสภาพที่เรียกว่าปรกติที่สุด ที่มันจะอยู่ได้ แม้สิ่งที่ไม่มีชีวิต... ศีลธรรม คือ สิ่งที่ทรงตัวอยู่โดยปรกติ ที่เป็นตามธรรมชาติ

            ความหมายตามบทบัญญัติทางศาสนา... ตัวการบัญญัตินั้นจะบัญญัติกันในรูปวัฒนธรรม ศีลธรรมระเบียบประเพณี หรืออะไรก็ตาม, มันก็เป็นเรื่องของการบัญญัติ ; ซึ่งมีหลายระดับ หลายยุค หลายสมัย ศีลธรรมจีงเปลี่ยนรูป เปลี่ยนแบบ หรือเปลียนระดับ แต่อย่าลืมว่า ศีลธรรมมุ่งหมาย ความสงบ ; เหตุที่ทำให้ต้องบัญญัติก็เพราะว่ามันไม่สงบ เกิดการกระทบกระทั่งวุ่นวายกันขึ้นมานี้ทำให้ ต้องบัญญัติ, การบัญญัติก็เพื่อทำให้เกิดความสงบ... ศีลธรรมตามความหมายของการบัญญัติทางศาสนา... ล้วนแต่มุ่งหมายความสงบทุกระดับของความหมาย..."

วิพากษ์สภาพการเมืองในปัจจุบัน

            " ...เราจะมองดูระบบการเมืองในโลกปัจจุบันกันสักสามแง่ คือ ดูที่ต้นเหตุของมัน ดูที่ต้นเหตุของมัน ดูที่ความเจริญของมันแล้วก็ดูที่มันพัวพันกันอย่างสับสน แง่อย่างแรก ที่ว่าต้นเหตุของปัญหาการเมืองทั้งโลกนี้มันมีอยู่ที่ไหน ? อาตมาอยากจะระบุลงไปว่า โดยเฉพาะปัจจุบันนี้ ไปหลับหูหลับตาหลงใหลในเรื่องความเจริญทางวัตถุเกินไป ไม่มีไครรู้สึกตัว ไม่มีไครละอายในการในการที่จะกอบโกยวัตถุ เมื่อตกเป็นทาสของกิเลสหรือตกเป็นทาสของวัตถุเสียแล้ว จิตใจก็ไม่อาจรู้สึกละอายได้ ก็ไม่รู้สึกกลัวด้วย... เป็นทาสของเนื้อหนังมันก็ละทิ้งพระเจ้า ; พวกฝรั่ง เขาเคยมีพระเจ้าเขาก็ละทิ้งพระเจ้า เขาจัดให้พระเจ้าตายแล้ว ไม่มีอยู่แล้ว

             ฝ่ายตะวันออกนี้ก็ละทิ้งพระธรรม ซึ่งมีฐานะอย่างเดียวกับพระเจ้า ละทิ้งศาสนา ละทิ้งพระธรรม แม้แต่วัฒนธรรมของบรรพบุรุษฝ่ายตะวันออก อย่างจีน อย่างไทยนี้ มันก็ถูกละทิ้งไป ไปเป็๋นทาส ของเนื้อหนัง...

             ทีนี้ ในแง่ที่ ๓ ดูอาการที่มันพัวพันกัน ผูกพันกันในระหว่างมนุษย์ หรือระหว่างระบบการเมืองทั้งหลาย ความพัวพันนี้มันเป็นความพัวพันหลายอย่างหลายทาง ; เช่นประโยชน์มันเกี่ยวเนื่องกัน หรือมันเป็นปัจจัยให้แก่กันและกัน, ต่างฝ่ายต่างต้องอาศัยกัน ; มันก็เป็นเหตุให้ระบบการเมืองในโลก มันเกี่ยวข้องกัน จนกระทั่งว่า แม้เป็นข้าศึกแก่กันมันก็ยังต้องพัวพันเกี่ยวข้องกัน

            อย่างระบบเสรีประชาธิปไตย กับระบอบคอมมูนิสต์โดยตรงนี้ มันด่าก็ด่ากันไป ; อีกทางหนึ่ง ก็ติดต่อกันสัมพันธ์กัน จะล่อหลอกเอาประโยชน์จากกันและกันนี้ มันพัวพันกันอย่างคดโกงและทั้งอย่างซื่อตรง ทั้งอย่างต่อหน้า ทั้งอย่างลับหลัง

             แล้วแต่ละพวกก็ต้องการขยายตัว ขยายตัว ขยายตัวเรื่อยไป มันก็เกิดการพัวพันกันยุ่ง : ความรู้ก็แลกเปลี่ยนกัน, การปฏิบัติงานค้นคว้าก็แลกเปลี่ยนกัน ผลที่ได้มาก็ต้องแลกเปลี่ยนกัน ; เพราะมิฉะนั้น แล้วมันไม่รู้จะเอาไปไหน นี่มันก็มีทั้งทางสนับสนุนกัน แล้วก็มีทั้งที่จะทำลายล้างกันพร้อมกันไปในตัวอย่างหน้าไหว้หลังหลอก นี่ก็ยิ่งเห็นว่าเป็นการพัวพันที่น่าสังเวช ความจำเป็นบังคับให้ต้องทำอย่างนั้น ธรรมะก็ไม่มีในโลก, ธรรมะก็ไม่มีสำหรับที่จะครองโลก

            นี่เป็นอันว่า เราได้มองดูพอเข้าใจว่า โลกในสภาพปัจจุบันนี้มันเป็นอย่างไร ถ้าจะดูว่า ทำไมยิ่งเจริญ ยิ่งไม่มีสันติภาพ ? ก็ขอให้ดูให้เป็น เพราะคำว่า " เจริญๆ " นี้ มันหมายแต่เพียงว่า มันมากเข้าเท่านั้น มันมากเข้ามันหรูหราขึ้น ; แต่มันไม่ได้หมายความว่า ถูกต้องยิ่งขึ้น "





By พุทธทาสศึกษา

             

No comments:

Post a Comment