Tuesday, April 02, 2013

ดูซิว่า คุณจะใช้คนโง่กับกรรไกรอย่างไร ?

ดูซิว่า คุณจะใช้คนโง่กับกรรไกรอย่างไร ?

          ผมชอบพูดเรื่อง " ปรัชญาแห่งเครื่องมือ " เช่น ที่นี่มีมีดเล่มหนึ่งแหลมคมมาก ถ้ามอบมีดเล่มนี้ให้คนเลว ก็จะเป็นเรื่องอันตรายยิ่ง แต่มีดเล่มเดียวกันนี้ ถ้าอยู่ในมือหมอผ่าตัด ก็จะกลายเป็นมีดช่วยชีวิตคน

           เห็นได้ชัดว่า เครื่องมือนั้นขึ้นอยู่กับเราใช้มันอย่างไร ซึ่งผลที่ได้รับจะแตกต่างกันมาก 

           เรื่องเครื่องมือนี้ นำมาใช้เปรียบกับคนได้เช่นกัน เพราะคนเรานั้นสิบคนก็สิบแบบ แต่ละคนนิสัยต่างกัน ยิ่งกว่านั้น คนมิใช่เครื่องมือ คนมีความคิดและความสามารถ อีกทั้งมีอารมณ์ความรู้สึก จึงค่อนข้างบังคับให้ทำตามใจเราลำบาก แต่เรื่องหนึ่งใดนั้น ถ้ามองในอีกแง่มุมหนึ่ง ก็อาจกลายเป็นอีกเรื่องหนึ่งได้

            ถ้าเราต้องการให้ใครทำอะไร ก็บังคับให้เขาทำได้ ดูเหมือนว่า เขาเป็นม้าหรือสุนัข จะเหมาะกว่า



            คนคือคน ถ้าไม่พอใจ จะโกรธเพราะการเอาแต่ใจเป็นเหตุ อีกทั้งถ้าเป็นข้อบกพร่องของคนอื่น เราจะมองเห็นอย่างรวดเร็ว เพราะวิธีคิดที่เชื่ออย่างยโสว่า " กูเท่านั้นถูกต้อง " เป็นเหตุ

           ผมบอกตัวเองมาโดยตลอดว่า " เมื่อพบข้อบกพร่อง ย่อมมีข้อดี " พูดไปแล้วประหลาด ขอเพียงมีความเชื่อเช่นนี้ ก็จะพบข้อดีของคนอื่น เมื่อพบข้อดีแล้ว จะรู้สึกว่าพวกเขาเป็นเพื่อนที่พึ่งพาได้

           คำเปรียบเปรยของชาวญีปุ่นที่ว่า " ดูซิว่า คุณจะใช้คนโง่กับกรรไกรอย่างไร " นี้ เป็นคำเปรียบเปรยที่ตกทอดมาหลายร้อยปีแล้ว ซึ่งผมรู้สึกว่าแฝงสัจธรรมบางอย่างที่น่าคิดจริง แต่ผมก็พบ " ความบิดเบี้ยวของจิตใจมนุษย์ " ในคำเปรียบเปรยนี้ด้วย หมายความว่า มนุษย์ทุกคนมีความรู้สึกสะใจเมื่อพบเห็นคนอื่นด้อยกว่าหรือฉิบหาย ถ้าใช้คำเปรียบเปรยนี้ด้วยความรู้สึกดังกล่าว ก็เป็นเรื่องแย่มาก

           " คนโง่ก็มีประโยชน์ " ขอเพียง " สามารถกุมข้อเด่นของเขา ทำให้เขาสามารถนำออกมาใช้อย่างเต็มที่ "

           ท่านมัตสุชิตะกล่าวว่า " มนุษย์คือนายของสรรพสิ่ง "

           ผมวิจัยพวกนักบริหารชื่อดังจำนวนหนึ่งแล้ว ก็พบความจริงว่า " ทุกคนล้วนเป็นบุคลากร " เพราะเมื่อผ่านการช่วงใช้โดยนักบริหารที่แท้จริงแล้วทุกคนล้วนเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่ กลายเป็นบุคลากรที่มีประโยชน์

           ผมค้นพบ " ทัศนบุคคล " ที่ " สวยสง่า " ในจิตใจของนักบริหารที่แท้จริงว่า " มนุษย์ช่างยิ่งใหญ่โดยแท้ ! "

           ในเมื่อเกิดความรู้สึกต่อมนุษย์และชีวิตเช่นนี้ จึงไม่ควรเปรียบเปรยในลักษณะ " ดูซิว่า คุณจะใช้คนโง่กับกรรไกรอย่างไร ? "

           ความรู้สึกสะใจเมื่อพบเห็นคนอื่นฉิบหายหรือด้อยกว่า ในทำนอง " ดูซิว่า คุณจะใช้คนโง่กับกรรไกรอย่างไร ? " นี้ ย่อมไม่อาจช่วงใช้ผลักดันคนอื่นได้เลย เพราะ " นกกระจอกแม้ตัวเล็กแต่มีอวัยวะครบ " คนสมัยโบราณกล่าวว่า " บุรุษย่อมตายเพื่อผู้รู้ใจ " เห็นได้ชัดว่า ทุกคนต่างต้องการความเคารพและคำประเมินค่าที่ยุติธรรมจากคนอื่น





By อิบูคิ ทาคาชิ และ โทขุดะ โทราโอะ  (คนฉลาดแสร้งโง่)        

No comments:

Post a Comment