เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๒๙ )
วันจักรี
วันที่ ๖ เมษายน เป็นวันครบรอบการก่อตั้งราชวงศ์จักรี ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ครองราชย์อยู่ในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๙ แห่งราชวงศ์นี้
ราชวงศ์จักรีก่อตั้งโดยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือ พระรามาธิบดีที่ ๑ พระองค์ทรงปะสูตรเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๘๐ มีพระนามเดิมว่า " ทองด้วง " และเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ พระองค์ทรงครองราชย์อยู่เป็นเวลา ๒๘ ปี ในช่วงรัชสมัยของพระองค์ พระองค์ทรงรวบรวมราชอาณาจักรให้เป็นปึกแผ่นอย่างมั่นคง จนกระทั่งไม่ต้องเกรงกลัวการรุกรานจากอริราชศัตรูอีกต่อไป สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงได้รับการสรรเสริญว่าทรงเป็นรัฐบุรุษผู้ปรีชาสามารถ เป็นนักกฏหมาย เป็นกวีและชาวพุทธผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนา ดังนั้น รัชสมัยของพระองค์จึงได้รับการกล่าวขานเป็นยุคของ " การสร้างการฟื้นฟู " แห่งรัฐและวัฒนธรรมไทย พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ก่อตั้งกรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองหลวงของไทย และนี่ก็คืองานสร้างสรรค์ที่คงอยู่ตลอดกาลจนได้รับชื่อเสียงว่าเป็น " เมืองแห่งเทพยดา " พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ เมื่อพระชนมายุได้ ๗๒ พรรษา
พระราชโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ คือสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ได้เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติสืบต่อมา ในช่วงรัชสมัยของพระองค์นี้เองที่ได้มีการฟื้นฟูศิลปะและวัฒนธรรมไทยกันอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวรรณคดี สมเด็จพระรามาธิบดีที ๒ เองก็ทรงพระอัจฉริยะภาพในด้านศิลป์ รัชกาลต่อมาก็คือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงโปรดให้สร้างป้อมปราการในประเทศและเสริมสร้างกำลังกองทัพให้แข็งแกร่ง นอกจากนี้ก็ยังทรงรับสั่งให้สร้างสิ่งปลูกสร้างอีกหลายอย่าง ในช่วงรัชสมัยของพระองค์นี่เองที่ศิลปะก้าวถึงจุดรุ่งเรืองสุดขีดนับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยาเป็นต้นมา กล่าวกันว่าในรัชกาลสมัยของสมเด็จพระรามาธิดีที่ ๒ และที่ ๓ นี้เปรียบได้กับ " ยุคทอง " แห่งวรรณคดีและศิลปะ เปรียบได้กับยุคของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุทธยาก็ว่าได้ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ หรือสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการสืบทอดราชสมบัติโดยพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ( สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๔ หรือ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ) ผู้ซึ่งทรงเป็นผู้นำที่ทรงพระอริยะด้านการศาสนา พระองค์ทรงริเริ่มการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศและทรงริเริ่มให้มีการใช้วิทยาศาสตร์ตะวันตกและนำความทันสมัยมาสู่ประเทศไทย และต่อจากสมัยของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็คือ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระปิยมหาราช ในช่วงแห่งการครองราชย์เป็นเวลา ๔๒ ปี ของสมเด็จพระปิยมหาราชนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงและการปฏิรูปมากมายหลายอย่างในประเทศไทย กล่าวคือ มีการเลิกทาส ได้มีการนำเอาระบบการบริหารแบสมัยใหม่เข้ามาในประเทศ มีการจัดตั้งการศาลที่มีประสิทธิภาพ การศึกษาได้ถูกแพร่ขยายออกไปอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ระบบการเงินก็ยังได้มีการปรับปรุงใหม่อีกด้วย
สมเด็จพระมหาวชิราวุธทรงเสด็จขึ้นเสวยราชย์สืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อจากนั้นพระองค์ก็ทรงสานงานต่อโดยการรวบรวมความเป็นปึกแผ่นและพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไปจากเดิม พระองค์ได้ทรงช่วยจรรโลงภาษาและวัฒนธรรมของชาติอย่างมาก จนกระทั่งบางครั้งมีผู้กล่าวว่าพระองค์ก็คือนักกวีที่เป็นกษัตริย์ ความสำเร็จอันยอดเยี่ยมในรัชสมัยของพระองค์ก็คือ สนธิสัญญาใหม่ๆ หลายฉบับที่ทำขึ้นระหว่างประเทศไทยและประเทศมหาอำนาจอื่นๆ เพราะเท่ากับเป็นการช่วยเสริมศักดิ์ศรีของประเทศไทย พระองค์ยังทรงโปรดให้มีการนำธงไตรรงค์มาใช้แทนธงสีแดงมีช้างเผือกอยู่ตรงกลางซึ่งเป็นแบบเก่าอีกด้วย
สมเด็จพระมหาวชิราวุธเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๘ และได้รับการสืบทอดราชสมบัติโดยพระอนุชาคือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ( พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ซึ่งครองราชย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์องค์สุดท้าย ) เพราะเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ก็ได้เกิดการปฏิวัติขึ้น และพระองค์ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระองค์ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ และทรงเสด็จสวรรคตในเวลาต่อมาในขณะที่ทรงเนรเทศพระองค์เองอยู่ในต่างประเทศ ทรงสละราชบัลลังก์ไว้ให้พระราชนัดดา ( พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ) พระองค์ผู้ซึ่งครองราชย์อยู่เป็นเวลาเพียง ๑๑ ปี ก็ทรงเสด็จสวรรคตอย่างปัจจุบันทันด่วนพระเจ้าน้องยาเธอ ( พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ) ทรงสืบราชบัลลังก์ในเวลาต่อมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
เนื่องในวันจักรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ไปเป็นประธานในพิธีทางศาสนาเพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลให้กับบูรพมหากษัตริย์ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วทรงสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพกษัตริย์ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ต่อจากนั้นทรงเสด็จไปวางพวงมาลา ณ พระบรมราชนุสรณ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่สะพานพุทธยอดฟ้า ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นิสิตนักษึกษา หน่วยงานของรัฐและเอกชนและประชาชนจากทุกสาขาอาชีพต่างพร้อมใจกันเข้าร่วมพิธีวางพวงมาลา และบำเพ็ญกุศลให้กับพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ทรงอุทิศพระองค์เพื่อความสุขของอาณาประชาราษฎร์ของพระองค์อย่างแท้จริง
By Essays on Thailand
No comments:
Post a Comment