เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๒๘ )
วันขึ้นปีใหม่
ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการจัดฉลองเทศกาลตลอดทั้งปี เทศกาลเหล่านี้ได้รับอิทธิพลมาจากทั้งศานาพุทธและศาสนาพราหมณ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อกาลเวลาผ่านไป เทศกาลต่างๆ เหล่านี้ก็ถูกดัดแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับสากลนิยมบ้าง
ที่จริงแล้ว วันนี้ปีใหม่ของไทยอย่างเป็นทางการนี้ได้รับการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้งหลายคราว ครั้งหนึ่งเคยถือเอาปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( พ.ศ. ๒๔๑๑ ถึง ๒๔๕๓ ) วันปีใหม่ได้กำหนดให้อยู่ในช่วงเดือนเมษายนจนกระทั่งเปลี่ยนมาถือวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ การถือเอาวันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามหลักสากลนิยมนั้นเพิ่งจะได้นำมาประยุกต์ใช้ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ เพือให้สอดคล้องกับปฏิทินตะวันตกและนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งในหลายๆ สิ่งที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ประเทศก้าวไปสู่สมัยใหม่
ถึงแม้ว่า วันที่ ๑ มกราคม จะถือเป็นวันขึ้นปีใหม่อย่างเป็นทางการแล้วก็ตาม แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังคงถือเอากลางเดือนเมษายน ( วันสงกรานต์ ) เป็นวันขึ้นปีใหม่และในโอกาสอันเป็นมงคลนี้นั้นการเฉลิมฉลองเป็นเวลานานนับสัปดาห์ก็จะจัดให้มีขึ้นทั่วราชอาณาจักร ส่วนใหญ่กิจกรรมในวันสงกรานต์นี้จะเกี่ยวกับการสาดน้ำใส่กัน สร้างเจดีย์ทราย และรดน้ำหอมให้กับผู้สูงอายุเพื่อความเป็นศิริมงคล ความจริงแล้ว การฉลองวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ ๑ มกราคมนั้น จะได้รับความนิยมน้อยกว่าสงกรานต์มาก โดยปกติก่อนวันที่ ๑ มกราคม ผู้คนก็จะแลกบัตรอวยพรและของขวัญแก่กันและกัน เนื่องจากในวันนี้การเฉลิมฉลองอย่างมโหฬารจะจัดให้มีเพียงไม่กี่แห่ง ผู้คนก็เลยถือโอกาสนี้ไปเที่ยวต่างจังหวัดเพื่อเยี่ยมญาติๆ หรือไม่ก็ไปใช้วันหยุดในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในขณะที่ผู้อยู่ที่บ้านก็จะเตรียมอาหารและเครื่องไทยธรรมอื่นๆ เพื่อทำบุญตักบาตรในเช้าตรู่ของวันที่ ๑ มกราคม และยังเข้าร่วมกิจกรรมการกุศลต่างๆ ที่จัดให้มีขึ้นตามสถานที่ต่างๆ
ในขณะเดียวกัน หลายบริษัทก็จะถือเอาโอกาสนี้แจกเงินโบนัสและประกาศเลื่อนขั้นพนักงานผู้ซึ่งหลังจากนี้ก็จะรีบถอนเงินซื้อของขวัญเพื่อแจกญาติๆ และเพื่อนฝูงก่อนที่จะบ่ายหน้าไปยังบ้านเกิดเพื่อใช้วันหยุดอันยาวนาน
จะเห็นได้ว่า คนไทยจะฉลองวันขึ้นปีใหม่ ๓ ครั้งต่อปีเลยก็ว่าได้ กล่าวคือ วันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีหรือวันสงกรานต์ วันที่ ๑ มกราคม และวันตรุษจีน ใน ๓ วันนี้ วันสงกรานต์เป็นโอกาสที่สนุกสนานที่สุด เพราะว่าประชาชนจากทุกสาขาอาชีพต่างพร้อมใจกันเข้าร่วมฉลองเป็นเวลานับสัปดาห์ในขณะที่วัตรุษจีนกมีความสำคัญเท่าๆ กัน โดยเฉพะอย่างยิ่งสำหรับคนไทยเชื้อสายจีน ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่วันหยุดทางราชการ บริษัทเอกชนส่วนใหญ่ก็จะหยุดดำเนินธุรกิจเป็นเวลาหลายวัน เพื่อให้ทั้งนายจ้างและพนักงานได้เข้าร่วมฉลองในโอกาสอันเป็นมงคลนี้ร่วมกับญาติๆ ที่บ้านหรือไม่ก็ใช้วันหยุดตามสถานที่ที่ตนพอใจ
By Essays on Thailand
No comments:
Post a Comment