ที่รัฐซ่งมีชายชราคนหนึ่งชอบเลี้ยงลิงมาก ที่บ้านของชายชราผู้นี้เลี้ยงลิงไว้ฝูงใหญ่ เมื่อเลี้ยงนานเข้า ชายชราก็เข้าใจลักษณะนิสัยของลิงเป็นอย่างดี ลิงเองก็พอจะเรียนรู้จิตใจของผู้เป็นเจ้าของ ชายชราผู้นี้ยิ่งเลี้ยงยิ่งชอบลิงเหล่านั้น แม้ตัวเองและคนในครอบครัวจะอดอยากอย่างไรขอแต่ให้ลิงได้กินอิ่มก็รู้สึกพอใจ
ต่อมาไม่นาน ของกินในบ้านค่อยๆ หมดไปจนเกือบจะไม่มีอะไรให้ลิงกินชายชราผู้นี้ไม่รู้จะทำอย่างไรดี จึงคิดว่าควรจะลดอัตราอาหารของลิงลง แต่ก็กลัวว่าพวกลิงจะไม่ยอม ด้วยเหตุนี้จึงพูดกับลิงว่า " นับแต่วันนี้เป็นต้นไป ลูกก่อให้เจ้ากินนั้น เช้าจะให้สามทะนานเย็นจะให้สี่ทะนานพอไหม ? " พวกลิงได้ฟังเช่นนั้น ก็กระโดดไปกระโดดมาและขบเขี้ยวเคี้ยวฟันแสดงความไม่พอใจ
" ถ้าเช่นนั้นก็เอาแบบนี้ " ชายชรากล่าว " เพิ่มให้อีกหน่อย คือเช้าสี่เย็นสามพวกเจ้าคงจะพอใจใช่ไหม ? "
พอลิงได้ฟังเช่นนั้นก็พากันแสดงความดีอกดีใจ
บันทึกใน " เลี่ยจื่อ "
มุมมองปรัชญา
ชายชราผู้นี้กล่าวได้ว่าเข้าใจจิตใจของลิงได้ดี จำนวนลูกก่อไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเป็นแต่เปลี่ยนจากเช้าสามเย็นสี่มาเป็นเช้าสี่เย็นสาม แต่ท่าทีของลิงที่มีต่อสิ่งแรกกับสิ่งหลังได้เปลี่ยนไป
การเปลี่ยนแปลงทางปริมาณของลิงนั้น จะต้องถึงระดับที่แน่นอนระดับหนึ่งจึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพมักจะต้องผ่านรูปแบบสองชนิด ชนิดหนึ่งคือการเพิ่มหรือลดของปริมาณ อีกชนิดหนึ่งคือการเปลี่ยนอันดับ คนเรามักไม่ค่อยสนใจรูปแบบประการหลัง ชายชราในเรื่องนี้ได้ใช้รูปแบบดังกล่าวมาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างขึ้นจนลิงเกิดความพอใจทั้งๆ ที่ปริมาณมิได้แตกต่างกันเลย
คำคำนี้ใช้กันมากในสำนวนภาษาจีน เดิมมีความหมายว่า คนฉลาด สามารถพลิกแพลงวิธีการได้อย่างคล่องแคล่ว ต่อมาความได้เปลี่ยนไปเป็น หมายถึง ความสับปลับ โลเล เอาแน่อะไรไม่ได้
By ปรัชญาชีวิตในสุภาษิตจีน
No comments:
Post a Comment