Sunday, March 31, 2013

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๒๖ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๒๖ )
อาหารไทย

          อาหารไทยมีชื่อเป็นที่แพร่หลายว่าค่อนข้างจะมีรสเผ็ดและแก่เครื่องเทศ เพราะว่าอาหารไทยเกือบทั้งหมดจะปรุงโดยการใส่เครื่องปรุงหลักๆ เช่น กระเทียม พริก น้ำมะนาว ตะใคร้ และใบผักชีสด พร้อมทั้งน้ำปลาหรือกระปิเพื่อให้มีรสเค็ม

          เนื่องจากข้าวเป็นอาหารหลักในประเทศไทย ดังนั้นอาหารทุกๆ มื้อก็จะมีข้าวรับประทานไปพร้อมๆ กับซุป แกง ผักต้ม และน้ำพริก น้ำพริกก็คือเครื่อปรุงที่มีรสเผ็ดมีการทำที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละภาค กล่าวคือ น้ำพริกปลาป่น ทำจากปลาแห้งบดและพริก น้ำพริกปลาร้า ทำจากปลาร้าและพริก น้ำพริกกะปิ ทำจากกะปิและพริก น้ำพริกอ่อง ทำจากหมูบด มะเขือเทศและพริกโดยทั่วไปเครื่องปรุงหลักๆ ของน้ำพริกก็มี กะปิ กระเทียม พริก น้ำปลา และน้ำมะนาว

          เครื่องปรุงโดยทั่วๆ ไป ของอาหารไทยก็มี ข่า พริกไทย ถั่วลิสง น้ำส้มมะขาม ขิง และ กะทิ ดังนั้นในการปรุงจึงต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงเพื่อการปรุงอาหารไทยอย่างถูกต้องแบบดั้งเดิม เพราะว่าการปรุงอาหารไทยแบบดั้งเดิมต้องใช้เวลามากในการปอก สับ และบด ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาเตรียมล่วงหน้า

          ความจริงแล้ว อาหารไทยมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาค ตัวอย่างเช่น ข้าวเหนียวนิยมรับประทานกันมากในทางภาคเหนือ และภาคอีสานมากกว่าข้าวเจ้า ยิ่งไปกว่านั้นในชนบทบางแห่งก็ยังมีการบริโภคแมลงบางชนิด อย่างเช่น จิ้งหรีด ตัวอ่อนไหม และตัวอ่อนมดแดง เป็นต้น ในขณะเดียวกันขนมหวานของไทยโดยปกติก็นิยมทำจากข้าวเหนียวหรือไม่ก็กะทิ แป้ง ไข่ และน้ำตาล มะพร้าว ( น้ำตาลปีบ ) ในขณะที่ผลไม้ก็มีให้รับประทานกันตลอดทั้งปี



          ในขณะเดียว อาหารไทยก็ยังมีรสชาติที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละภาค ซึ่งสามารถแยกแยะออกได้ดังนี้ ภาคกลาง อาหารจะมีรสเผ็ด เค็ม หวาน และเปรี้ยว ข้าวจะรับประทานกับน้ำพริกชนิดต่างๆ และ ซุป เช่น ต้มยำกุ้ง โดยปกติอาหารจะประกอบด้วยเครื่องปรุงและเครื่องเทศ ผักต้ม น้ำพริกอ่อง และซุปหรือแกง ภาคเหนือนี้ยังมีชื่อเสียงด้านการทำไส้กรอก ที่เรียกว่า " แหนม " ซึ่งประกอบด้วยสับหมูหมัก จะมีรสเปรี้ยวและจะขายโดยการห่อในกระดาษแก้วและใบตอง

          อาหารทางภาคอีสาน จะมีรสเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว อาหารที่โปรดปรานกันมากในภาคนี้ก็คือ ส้มตำ ก้อย และลาบ ชาวอีสานจะใช้เครื่องปรุงมากแต่ไม่ใส่เครืองเทศมาก อาหารหลักส่วนใหญ่ก็จะประกอบด้วยข้าวเหนียวและน้ำพริกปลาร้า พร้อมกับทานผักหลายชนิดรวมทั้งผักที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติด้วย

           ตรงกันข้ามกับภาคใต้ ซึ่งขึ้นชื่อว่าทานอาหารรสเผ็ดมาก เค็ม และรสเปรี้ยว นิยมทานแกงซึ่งปรุงด้วยเครื่องเทศและใส่เครื่องปรุงรสมาก ข้าวแยมและน้ำบูดูเป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันเป็นประจำ โดยปกติชาวใต้ทานอาหารประเภทเนื้อน้อย และไม่ค่อยนิยมทานน้ำพริกชนิดต่างๆ เท่าใดนักที่มีทานกันมากหน่อยก็คงจะเป็นน้ำพริกกะปิ

          ถึงแม้ว่าอาหารไทยส่วนใหญ่จะได้รับการกล่าวขานว่าใส่เครื่องเทศมากและมีรสเผ็ดมากแต่ปัจจุบันอาหารไทยก็มีชื่อเสียงไปทั่วโลกโดยฉพาะอย่างยิ่งต้มยำกุ้งอันเลิศรส ที่มีชื่อเสียงด้านการปรุงแบบง่ายๆ สร้างสรรค์ มีศิลปะ และรสอร่อย เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ รสอาหารไทยสามารถดัดแปลงให้เหมาะกับรสนิยมของแต่ละคนได้ เช่น ใส่พริกน้อยๆ ถ้าไม่ต้องการให้อาหารมีรสเผ็ดเกินไป หรือไม่ก็เพิ่มน้ำมะนาวลงไปถ้าต้องการเพิ่มรสเปรี้ยว นักท่องเที่ยวผู้ทีเคยทดลองทานอาหารไทยแล้วก็จะไม่ลืมที่จะสั่งมาทานอีกเมื่อใดก็ตามที่มีโอกาส





By Essays on Thailand 

No comments:

Post a Comment