โชค ทู่ และ ราก
" โชค ทู่ และ ราก " ได้รับการยอมรับว่า คือ คุณสมบัติพื้นฐานที่ผู้บริหารพึงมี
โชค หมายถึง สิ่งที่ฟ้ามอบให้ ราก หมายถึง มีรากฐาน มีมานะ อดทน จะมีก็แต่ " ทู่ " เท่านั้นที่เข้าใจยาก ใน พจนานุกรมจีน - ญี่ปุ่น ให้ความหมายคำว่า " ทู่ " ไว้ดังนี้
๑. ไม่รุนแรง, อ้วนท้วน, ไม่มีมุมเหลี่ยม ( มีด ) ไม่แหลมคม แทงหรือหั่นไม่ได้ หมดอาลัยตายอยาก
๒. ชักช้า, บวมพอง, กิริยาเชื่องช้า โง่เขลา
คำที่ตรงข้ามกับ " ทู่ " คือ " แหลม " ซึ่งใช้กับของแหลมคมหรืออาวุธที่แหลมคม แฝงนัยต้านทานไม่ได้ หรือจิตใจที่ฮึกเหิม
แม้จะค้นที่มาของสำนวน " โชค ทู่ และ ราก " ไม่ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วเราต่างยอมรับกันว่า " โชค ทู่ และ ราก " คือคุสมบัติที่สำคัญมากของผู้นำ
ขอย้อนกลับมาที่คำว่า " ทู่ " อีกครั้ง เมื่อเร็วๆ นี้ ผู็อำนวยการบริษัทแห่งหนึ่งปลดเกษียณ หลังจากเขาใช้ชีวิตแบบว่างๆ สบายๆ แล้ว มีข่าวทำนองว่า " ตอนเป็นกรรมการผู้จัดการ ยังไม่เกษียณ ผมแสร้งโง่ลูกเดียว " พ่อของเขา ตั้งบริษัทกว่า ๓๐ แห่งมากับมือ สมัยหนุ่มเคยไปเยี่ยมเยือนท่าน โอฮายาชิ คาซูมิ ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะก่อตั้งบริษัทรางรถไฟแห่งหนึ่งเพื่อขอคำแนะนำจากท่านว่า จะบริหารบริษัทสักแห่งให้ดีได้อย่างไร เล่ากันว่า สิ่งที่พ่อของเขาเรียนรู้จากท่านคือ " ทำใบ้แสร้งโง่ " ส่วนเขาก็โตขึ้นมาเคียงข้างพ่อ ได้รู้ได้เห็นพ่อทำใบ้แสร้งโง่อย่างไรตลอดมา เขาเห็นว่านักบริหารต้องทำเช่นนี้ จึงพยายามแสดงตัวไร้ความสามารถที่สุดประเภท " หนึ่งถาม สามไม่รู้ อะไรก็ไม่รู้ อะไรก็ทำไม่เป็น "
" อย่างนั้นหรือ ! ที่แท้ท่านเล่นละคร "
บริวารของเขาถามด้วยอาการตกตะลึงจนปากอ้าตาค้าง
เขายิ้มตอบว่า " ผมยังไม่ถึงกับโง่อย่างแท้จริงหรอก "
" อ้อ ? ผมถูกตบตามาโดยตลอด " บริวารของเขาพูด
" ถ้าตบตาไม่ได้ ก็ไม่มีประโยชน์ " พูดจบ เขาก็หัวเราะอีก
ที่แท้คนฉลาดที่แสร้งโง่ก็คือ " ทู่ " ใน " โชค ทู่ และ ราก " นี่เอง
By อิบูคิ ทาคาชิ และ โทขุดะ โทราโอะ (คนฉลาดแสร้งโง่)
No comments:
Post a Comment