ลมปาก
มีพระธุดงค์รูปหนึ่งชื่อ เหวินเต้า เลื่อมใสในกิตติศัพท์ของฌานาจารย์ฮุ่ยซฺวินมานาน จึงบุกป่าฝ่าดงลุยน้ำข้ามเขาไม่กลัวทางไกลพันลี้มาถึงหน้าถ้ำที่พำนักของฌานาจารย์ฮุ่ยซฺวิน คุกเข่าลงกล่าวว่า " อาตมาเลื่อมใสกิตติศัพท์ของฌานาจารย์มานาน เดินทางมาครั้งนี้หวังได้ปรนนิบัติรับใช้ท่าน ขอโปรดเมตตาชี้ทางสว่างด้วยเถิด ! "
ฌานาจารย์ตอบว่า " อาตมาอาศัยอยู่ในถ้ำ ไม่ได้ทำอะไรเลยทว่าทุกสิ่งล้วนอยู่ในใจอาตมา ท่านต้องการติดตามปรนนิบัติอาตมา แต่อาตมาเกรงว่าท่านจะใช้ชีวิตอย่างอาตมาไม่ได้ "
เมื่อไม่อาจปฏิเสธคำวิงวอนซ้ำสามได้ ฌานาจารย์จึงจำยอมให้เหวินเต้าพักอาศัย เช้าวันรุ่งขึ้น ขณะที่เหวินเต้าเพิ่งตื่นขึ้นมา ฌานาจารย์ทำวัตรเช้าเสร็จแล้ว อีกทั้งได้ต้มข้าวเละๆ ไว้ เนื่องจากไม่เคยมีผู้ใดมาเยี่ยมเยือน เลยไม่ได้หาชามข้าวเผื่อใคร ฌานาจารย์จึงออกไปข้างนอก ฉวยได้หัวกะโหลกคนตายใบหนึ่ง ก็นำมาใส่ข้าวเละๆ ให้เหวินเต้าฉัน
Tuesday, December 24, 2013
Monday, December 23, 2013
มังกรพยัคฆ์สู้กัน
มังกรพยัคฆ์สู้กัน
วันหนึ่ง ในอารามหลงหู่ซื่อ ( อารามมังกรพยัคฆ์ ) มีพระเณรอายุน้อยชุมนุมกันที่ข้างวิหารมากมาย เพื่อช่วยกันร่างภาพผนังมังกรพยัคฆ์สู้กัน
ในภาพ มังกรขดตัวในปุยเมฆทีท่าคล้ายจะพุ่งตัวลงมา ส่วนพยัคฆ์ยึดเนินภูทีท่าคล้ายจะกระโดดขึ้นไป ถึงผ่านการแก้ไขต่อเติมนับครั้งไม่ถ้วนแล้ว หลวงจีนเหล่านั้นยังรู้สึกว่า ท่วงทีไม่สมจริง
ประจวบเหมาะกับฌานาจารย์อู๋เต๋อเดินผ่านมา พระเฌรเหล่านั้นจึงเชิญชวนอาจารย์ช่วยวิพากษ์วิจารณ์ให้คำแนะนำ
ฌานาจารย์พินิจพิจารณาโดยละเอียดแล้ว จึงพูดว่า " วาดได้ไม่เลว ! แต่ถ่ายทอดลักษณะเฉพาะของมังกรและพยัคฆ์ได้ดีไม่เท่าที่ควรมังกรจะหดรั้งหัวก่อนพุ่งตัวบุกโจมตี พยัคฆ์จะหมอบลงก่อนกระโจนขณะที่มังกรรั้งหัว หากส่วนคอยิ่งโหนกนูน จะพุ่งลงได้ยิ่งเร็ว ขณะที่พยัคฆ์หมอบลง ถ้าหัวยิ่งต่ำ จะกระโจนได้ยิ่งสูง "
Saturday, December 21, 2013
Practical objective of the Law of Kamma
Practical objective of the Law of Kamma
As kamma directly concerns what we do and how to do it, belief in the doctrine of kamma can be of great help in the way we conduct ourselves and interact with othero, as well as in our spiritual endeavor. The teachings enable us to establish a clear moral understanding based on reason and the principle of cause and effect. With confidence in the law of kamma, one develops a more realistic and rational attitude toward life and its experiences and is inspired to rely on one's ability to fulfil one's own aspirations rather than resort to prayer for extraneous assistance and support.
The law of kamma helps us to b more convinced of our own potential and responsibilities, both personal and social. It encourages us to do what is good and to cultivate responsibility toward oneself by giving up bad habits and actions and responsibility toward others by showing them kindness and compassion. Kamma demonstrates that each and every one of us is endowed with potential for greater development. It is within our reach to create a better world, full of love and joy, or to destroy it with hatred and war. We have the choice before us. Understanding kamma helps us to make the right choice.
Kamma truly puts us in control of our life. We can deal with our aspirations and plans and direct future course of action for our own good as well as for the good for others. This means that we are our own masters and therefore under obligation to act with utmost care and responsibility.
Friday, December 20, 2013
เป้าหมายในการปฏิบัติตามกฎแห่งกรรม
เป้าหมายในการปฏิบัติตามกฎแห่งกรรม
กรรมเป็นเรื่องของการกระทำ ว่าเราควรจะทำอะไร และ ควรจะทำอย่างไร ความเข้าใจในเรื่องของกฎแห่งกรรมจะช่วยเป็นหลักในการดำเนินชีวิตให้กับตนเองและสังคม พร้อมกันนั้น กฎแหง่กรรมดำเนินชีวิตให้กับตนเองและแก่สังคม พร้อมกันนั้น กฎแห่งกรรมยังสอนให้เราเข้าใจเหตุผลและหลักการอันเนื่องมาจากเหตุปัจจัย เป็นเครื่องฝึกอบรมจิตใจให้เกิดความมุ่งมานะ เพื่อทำความดีงาม มีเหตุผล และมองเห็นโลกชีวิตตามความเป็นจริงสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเองโดยไม่คาดหวังจากการพึ่งพาด้วยการสวดอ้อนวอนขอพรจากปัจจัยภายนอก
กฎแห่งกรรมช่วยให้เราเชื่อมั่นในศักยภาพและความรับผิดชอบที่มีต่อตนเองและต่อสังคม สอนให้เรามีความรับผิดชอบต่อหน้าที่สอนให้ทำกรรมดี ละเว้นในการทำความชั่ว มีความเมตตากรุณาเพราะกฎแห่งกรรม สอนให้เราเชื่อและมั่นใจในศักยภาพที่มีติดตัวมากับมนุษย์ทุกคนในหารพัฒนตนเองเพื่อสร้างความดีงามให้กับโลกขจัดความเกลียดชัง ความอาฆาตพยาบาท อันนำไปสู่สงครามแห่งความขัดแย้ง ด้วยความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม ทางที่มีไว้ให้เราเลือก เพื่อเป้าหมายดังกล่าวนี้
กรรม เป็นตัวกำหนดทิศทางในการดำเนินชีวิต เป็นตัวสร้างความมุ่งหวัง เป็นตัวกำหนดแบบแผนชีวิต และเป็นตัวชี้นำการกระทำความดีงามทั้งต่อตนเองและผู้อื่น กฎแห่งกรรมสอนให้เชื่อว่าตัวเราคือนายของเราในการกำหนดความรับผิดชอบต่อการกระทำและต่อหน้าที่ความรับผิดชอบที่ตนเองมี
ยามเราประสานกับผู้อื่นเป็นหนึ่งเดียว เมฆจะหยุดลอยนกจะลงมาเป็นเพื่อน
ยามสบายอารมณ์
ถอดรองเท้าย่ำไปบนพื้นหญ้า
นกป่าลืมตัวโฉบมาอย่ใกล้
ทิวทัศน์ประสานใจ
คลุมเสื้อนั่งนิ่งใต้ดอกไม้ร่วง
เมฆขาวอาลัยไม่ยอมเคลื่อนลอย
นิทัศน์อุทาหรณ์
ซูตงพอเปลือยเท้า
มีความสุขชนิดหนึ่งซึ่งแสนจะวิเศษ ท่านอาจจะไม่มีประสบการณ์ด้วยตนเอง จะขอเล่าให้ฟัง
เมื่อเราเกิดความเบิกบานสำราญใจ รู้สึกสนุก ก็จงลองถอดรองเท้าออก แล้วย่ำไปบนพื้นหญ้าเขียวขจีด้วยเท้าเปล่าเปลือยปล่อยให้ฝ่าเท้าอันเปลือยนั้น สัมผัสหญ้าเขียวซึ่งอ่อนละมุนละไม นกน้อยในทุ่งนาไม่กลัวคนที่มีจิตใจการุณย์เช่นนี้ ดูสิ พวกมันพากันบินลงมาจับอยู่บนพื้นดินข้างเท้าเปลือยของท่านแทบทั้งสิ้น
นักการเมือง
นักการเมือง
บุคคลเหล่านี้ ประเดี๋ยวแตกแยกรบพุ่งฆ่าฟันกัน แต่อีกประเดี๋ยวก็เข้ารวมกลุ่มกันติด แล้วก็แตกออกไปอีก... ต่างคนต่างได้ทำไว้ต่อกันทั้งคุณและโทษ แต่คุณนั้นก็มิได้ก่อให้เกิดกตัญญูและโทษก็มิได้ให้กำเนิดแก่การพยาบาท ทุกคนพร้อมที่จะลืมทั้งคุณและโทษของทุกคนได้เสมอ บุคคลต่างๆ นี้เป็นนักการเมืองโดยแท้
อนึ่ง อำนาจนั้นเหมือนยาเสพติด ถ้าได้มาแล้วก็ย่อมวางไม่ลงและย่อมจะต้องการอยู่เสมอไม่มีวันพอได้ ฉะนั้นเราจะเห็นว่านักการเมืองโดยทั่วไป บำเพ็ญกรณีเพื่อแสวงหาอำนาจ เมื่อได้มาแล้วก็อยากได้ต่อไปอีกในที่สุดอำนาจนั้นเองก็ทำลายตนลงไป เช่นยาเสพติด ย่อมทำลายผู้เสพฉันใดก็ฉันนั้น
By ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
กินหน้าแข้งบิดามารดา
กินหน้าแข้งบิดามารดา
คนที่ไม่สามารถเอาตัวรอดหรือหาเลี้ยงชีวิตด้วยตัวเองได้ ต้องคอยเบียดเบียนพ่อแม่อยู่ตลอดเวลา
By ปรัชญา ซามูไร
Wednesday, December 18, 2013
ชาวนาทิ้งหยก
ชาวนาทิ้งหยก
ในรัฐเว่ย มีชาวนาผู้หนึ่งขณะที่กำลังไถนาอยู่นั้นได้ไถไปถูกก้อนหินก้อนหนึ่งมีขนาดเท่ากับโม่ ชาวนาพิจารณาดูหินสีขาวก้อนนั้นอยู่เป็นเวลานานก็ดูไม่รู้ว่าเป็นหินชนิดไหน เขาจึงเรียกเพื่อนบ้านมาช่วยดู พอเพื่อนบ้านมาเห็นเข้าก็ดีใจ เพราะมันไม่ใช่หินธรรมดา แต่เป็นหยกที่มีค่ามาก เขามองไปรอบๆ แล้วกล่าวกับชาวนาว่า " นี่เป็นก้อนหินประหลาด ถ้าเอาไปไว้ในบ้านก็จะเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ควรรีบเอามันฝังลงดินเสีย "
ชาวนาผู้นั้นฟังแล้วยังสงสัยอยู่ ไม่เชื่อสนิทนัก เขาจึงนำเอาหินก้อนนั้นกลับมาวางไว้ในบ้าน พอตกกลางคืน ก้อนหินที่นำมาส่องแสงเรืองๆ ไปทั้งบ้าน ชาวนาและคนในบ้านเกิดตกใจกลัวจึงรีบไปบอกเพื่อนบ้านคนนั้นอีก เพื่อบ้านแสร้งทำท่าทางน่าตกใจพูดว่า " แย่ละแก ภูตผีปีศาจกำลังจะมาแล้ว รีบเอามันไปทิ้ง
เสียเถอะ "
ชาวนาจึงรีบกลับมาบ้านยกหินก้อนนั้นไปทิ้งในที่เปลี่ยวไกลออกไปจากบ้านมาก ส่วนเพื่อนบ้านที่คอยสังเกตอยู่แล้วก็สะกดรอยตามไปเอาหินก้อนนั้นพอวันรุ่งขึ้นเขาก็นำไปถวายกษัตริย์ของรัฐเว่ย พอกษัตริย์เว่ยเห็นหยกที่มีค่าก้อนใหญ่เช่นนั้นก็ทรงประหลาดพระทัยนัก รีบรับสั่งให้หาช่างหยกมาดู ช่างหยกเห็นแล้วทูลว่า " นับว่าเป็นบุญบารมีอันสูงส่งของพระองค์จึงได้หยกก้อนนี้มา "
กษัตริย์รัฐเว่ยตรัสถามว่า " หยกนี้มีราคาประมาณเท่าไร ? "
ช่างหยกกราบทูลว่า " ขายเมืองห้าเมืองก็จะดูได้ไม่ถึงอึดใจ " กษัตริย์เว่ยทรงพอพระทัยมากตรัสสั่งให้ปูนบำเหน็จรางวัลเป็นจำนวนมากแก่คนที่นำหยกมาถวายในทันที
บันทึกใน " อิ่นเหวินจื่อ "
Tuesday, December 17, 2013
พักบ้างยามไม่ว่าง
พักบ้างยามไม่ว่าง
ฌานาจาร่ย์ต้าอานช่วยเหลือฌานาจารย์เหว่ยซานหลงอิ้ว ถางป่าสร้างอาราม ปฏิบัติธรรมแบบฌานตั้งแต่ยังหนุ่มแน่น จนกระทั่งฌานาจารย์เหว่ยซานนั่งสมาธิดับขันธ์ในฌานสมาบัติไป พระเณรในวัดทั้งหมดจึงขอร้องให้ท่านรับตำแหน่งเจ้าอาวาสแทน เมื่อถึงบั้นปลายชีวิต ท่านเดินทางกลับบ้านเกิดที่ฮกเกี้ยน พำนักในอารามอี๋ซานย๋วน นอกจากนั่งสมาธิแล้ว ท่านไม่พูดไม่จาไม่ทำอะไรทั้งสิ้น จึงได้อีกฉายาหนึ่งว่า ฌานาจารย์หลั่นอาน ( ฌานาจารย์เกียจคร้าน )
มาวันหนึ่ง ลูกศิษย์ท่านรูปหนึ่งทนไม่ได้ ถามท่านว่า " ทั้งวันไม่พูดไม่จา เฉกเช่นก้อนหินและต้นไม้ หรือว่านี่คือจิตแบบฌาน ? " ฌานาจารย์จึงเรียกประชุมพระเณรทั้งหมด แล้วพูดว่า " ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ให้ทุกคนนั่งสมาธิไม่พูดไม่จาแบบอาตมา ไม่เกินสามวันทุกคนจะรู้จักตัวตนของตัวเอง "
พระเณรทุกรูปจึงนั่งสามาธิไม่พูดไม่จาอย่างฌานาจารย์ วันแรกผ่านไปยังไม่มีอะไร วันที่สอง ต่างบ่นปวดหลังปวดเอวตามๆ กัน จึงร้องขออาจารย์ว่า พวกตนเต็มใจทำงานมากกว่านั่งสมาธิ ฌานาจารย์ต้าอานจึงกล่าวแก่พระเณรทุกรูปว่า " หลวงจีนเฒ่านั่งสมาธิหนึ่งวัน ยังเหนือกว่ายุ่งงานพันปี "
Thursday, November 28, 2013
Kamma and not - self
Kamma and not - self
The law of kamma does not necessary presuppose the existence of a permanent self. On the contrary, it indicates the negation of self.
The idea of a permanent self is conceived on a psychologically deep - rooted fear of death and annihilation. To maintain a sense of security and ensure self - preservation, the false concept of an immoral soul, believed to be unchanging and eternal, is created. But according to the law of causal dependence, this concept is untenable and unwarranted because all things, animate or inanimate, are relative and must depend on certain condition for their arising that they are also liable to change and disintegrate according to the conditions on which they depend.
Instead of the soul theory, the Buddha taught the doctrine of no soul or non - self or anatta. According to this doctrine, such a thing as soul or self is illogical and impossible. It is a false concept, which bears on relation to reality and is a prolific breeding ground for defilement such as selfishness, conceit, attachment, hatred and desire. The Buddha 's philosophical position is unique in the history of human thought for he unequivocally rejects the concept of soul, which has previously been unquestioningly accepted. The Buddhist doctrine of non - self stands firm on the ground of sound logic and good reasons and is completely compatible with the law of kamma.
Wednesday, November 27, 2013
กรรม กับ อนัตตา
กรรม กับ อนัตตา
กฎแห่งกรรมในทางพุทธศาสนาไม่มีความจำเป็นตามที่มีผู้พยายามดึงเข้าหาสมมติฐานการมีอยู่ของพระเจ้า เพราะว่ากฎแห่งกรรมเป็นแนวคิดเกี่ยวกับหลักอนัตตาโดยตรง
อัตตา หรือ พระเจ้า เกิดจากความคิดปรุงแต่งของมนุษย์ที่กลัวความตาย ความสูญสิ้น ความดับสลาย ดังนั้น เพื่อสนองความอยากอยู่อยากคงไว้จึงหาทางสร้างความคิดผิดๆ เพื่อสนองความอยากอยู่อยากคงไว้จึงหาทางสร้างความคิดผิดๆ เพื่อสนองกุศโลบายในทางศีลธรรม จนกลายเป็นการสร้างกรอบความคิดเกี่ยวกับเรื่องวิญญาณว่าเป็นของเที่ยง เป็นนิจจัง ยั่งยืนไม่มีการสูญสิ้น คงอยู่ตลอดไปนับว่าเป็นความคิดที่มีหลักฐานอ่อนและขาดเหตุขาดผล เมื่อนำมาพิจารณาตามหลักปฏิจจสมุปบาท ที่สอนว่าสรรพสิ่งทั้งหลายไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต เกิดขึ้นจากการปรุงแต่ง เป็นสังขตธรรมมีการเกิด การดับ การเปลี่ยนแปลง เป็นอนิจจังและสูญสลายได้จากเหตุปัจจัยนั้นๆ
แทนที่จะเป็นไปตามหลักความเชื่อว่าวิญญาณเป็นอัตตาพระพุทธเจ้าทรงกลับเน้นในเรื่อง อนัตตา มาโดยตลอด ดังนั้น การอ้างว่ามีอัตตา ยึดอัตตา หรือดวงวิญญาณ ว่าเป็นสิ่งไม่ตาย คงอยู่ตลอดไปนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในทางพุทธธรรม ถือว่าคำสอนเช่นนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิค้านกับความเป็นจริง เป็นบ่อเกิดแห่งกองกิเลสอันได้แก่ ความอยากเห็นแก่ตัว ความเย่อหยิ่งถือตัว ความอาฆาตพยาบาทและความอยากได้ใคร่มีทั้งหลาย พุทธศาสนามีเอกลักษณ์พิเศษแตกต่างจากความเชื่ออื่นๆ มาโดยตลอดในประวัติศาตร์ทางความคิดของมุนษยชาติ นั่นก็คือ เรื่องของอนัตตา โดยที่พระองค์ทรงปฏิเสธทฤษฎีอัตตามาตั้งแต่เริ่มต้น ( อ่านรายละเอียดในปรัชญาเปรียบเทียบระหว่างพุทธกับอุปนิษัท ว่าด้วยเรื่อง อัตตา อนัตตา ) การอธิบายโดยยึดทฤษฎีอนัตตานั้นจึงจะเป็นเหตุเป็นผลเข้ากันได้กับเรื่องกฎแห่งกรรมในทางพุทธศาสนา
กฎแห่งกรรมในทางพุทธศาสนาไม่มีความจำเป็นตามที่มีผู้พยายามดึงเข้าหาสมมติฐานการมีอยู่ของพระเจ้า เพราะว่ากฎแห่งกรรมเป็นแนวคิดเกี่ยวกับหลักอนัตตาโดยตรง
อัตตา หรือ พระเจ้า เกิดจากความคิดปรุงแต่งของมนุษย์ที่กลัวความตาย ความสูญสิ้น ความดับสลาย ดังนั้น เพื่อสนองความอยากอยู่อยากคงไว้จึงหาทางสร้างความคิดผิดๆ เพื่อสนองความอยากอยู่อยากคงไว้จึงหาทางสร้างความคิดผิดๆ เพื่อสนองกุศโลบายในทางศีลธรรม จนกลายเป็นการสร้างกรอบความคิดเกี่ยวกับเรื่องวิญญาณว่าเป็นของเที่ยง เป็นนิจจัง ยั่งยืนไม่มีการสูญสิ้น คงอยู่ตลอดไปนับว่าเป็นความคิดที่มีหลักฐานอ่อนและขาดเหตุขาดผล เมื่อนำมาพิจารณาตามหลักปฏิจจสมุปบาท ที่สอนว่าสรรพสิ่งทั้งหลายไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต เกิดขึ้นจากการปรุงแต่ง เป็นสังขตธรรมมีการเกิด การดับ การเปลี่ยนแปลง เป็นอนิจจังและสูญสลายได้จากเหตุปัจจัยนั้นๆ
แทนที่จะเป็นไปตามหลักความเชื่อว่าวิญญาณเป็นอัตตาพระพุทธเจ้าทรงกลับเน้นในเรื่อง อนัตตา มาโดยตลอด ดังนั้น การอ้างว่ามีอัตตา ยึดอัตตา หรือดวงวิญญาณ ว่าเป็นสิ่งไม่ตาย คงอยู่ตลอดไปนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในทางพุทธธรรม ถือว่าคำสอนเช่นนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิค้านกับความเป็นจริง เป็นบ่อเกิดแห่งกองกิเลสอันได้แก่ ความอยากเห็นแก่ตัว ความเย่อหยิ่งถือตัว ความอาฆาตพยาบาทและความอยากได้ใคร่มีทั้งหลาย พุทธศาสนามีเอกลักษณ์พิเศษแตกต่างจากความเชื่ออื่นๆ มาโดยตลอดในประวัติศาตร์ทางความคิดของมุนษยชาติ นั่นก็คือ เรื่องของอนัตตา โดยที่พระองค์ทรงปฏิเสธทฤษฎีอัตตามาตั้งแต่เริ่มต้น ( อ่านรายละเอียดในปรัชญาเปรียบเทียบระหว่างพุทธกับอุปนิษัท ว่าด้วยเรื่อง อัตตา อนัตตา ) การอธิบายโดยยึดทฤษฎีอนัตตานั้นจึงจะเป็นเหตุเป็นผลเข้ากันได้กับเรื่องกฎแห่งกรรมในทางพุทธศาสนา
Tuesday, November 26, 2013
ธรรมชาติย่อมปรารถนาแต่ความเรียบง่าย แม้จะธรรมดาสามัญก็ดังหนึ่งผู้วิเศษ
พ่อเฒ่าบ้านนา
พูดถึงไก่ต้มเหล้าขาวก็ปรีดา
ถามถึงอาหารพวกผู้ดีก็ไม่รู้จัก
พูดถึงผ้าดิบเสื้อกั๊กก็พออกอใจ
ถามถึงผ้าแพรเสื้อมังกรก็ไม่รู้จัก
บริสุทธิ์ตามธรรมชาติ
กิเลสจึงไม่หนาแน่น
นี้คือบรมบทแห่งชีวิตมนุษย์
นิทัศน์อุทาหรณ์
เต่าเทวดาสามพันปี
วันหนึ่ง จวงจื้อนักคิดผู้ยิ่งใหญ่ นั่งตกปลาอยู่ริมแม่น้ำผูสุ่ยอย่างสบายอกสบายใจ ปากก็ฮัมเพลงที่ตัวชอบ ทันใดนั้นมีคนสวมเสื้อผ้าขุนนาง ๒ คน เดินเข้ามาใกล้พร้อมทั้งโค้งคำนับอย่างนอบน้อม
จวงจื้อไม่รู้จักคนทั้งสอง จึงรู้สึกประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง ถามพวกเขาว่า " พวกท่านเป็นใคร มีธุระอะไรกับข้าพเจ้าหรือ ? "
ขุนนางทั้งสองปั้นหน้ายิ้มพลางตอบว่า
" ขอแสดงความยินดีกับท่าน ประมุขของแคว้นฉู่เรา เล็งเห็นอัจฉริยะอันยิ่งใหญ่ของท่าน จะมอบกิจการบ้านเมืองให้ท่านดูแล "
Monday, November 25, 2013
สุขภาพที่ดี เหนือกว่าการกินยา
คำคำนี้น่าจะเป็นที่ถูกใจแพทย์และคนสมัยใหม่หลายคน เพราะการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอเป็นสิ่งสำคัญที่ดีกว่าปล่อยให้เจ็บป่วยแล้วจึงค่อยกินยารักษา
ซึ่งคนสมัยใหม่นี้มักจะมีความคิดแบบแปลกๆ เพราะแทนที่จะไปมองไปเฝ้าระวังและป้องกันในเรื่องของเหตุ แต่ทว่าคนส่วนใหญ่มักจะปล่อยปละละเลยจนสุดท้ายผลของมันออกมาจนยากที่จะแก้ไขได้ทัน
ในปีปีหนึ่งคนทั่วโลกใช้ยากันเป็นมูลค่ามหาศาล เป็นล้านๆ บาทต่อปีส่งผลให้บริษัทยายิ่งรวยแบบไม่รู้เรื่อง ยาเม็ดเล็กๆ ต้นทุนไม่กี่สตางค์ เมื่อมาสู่ตลาดกลับกลายเป็นราคาที่น่าตกใจและถีบสูงไปหลายเท่าตัวนัก เพราะเขาบวกค่าทำโฆษณา ค่าขนส่ง ค่าลิขสิทธิ์ ค่าอะไรตามรายทางกว่าจะไปถึงผู้บริโภคอันนี้ยิ่งไม่รวมเงินใต้โต๊ะที่แอบส่งมอบให้กับผู้ที่มีหน้าที่ในบ้านเมืองและลิ่วล้อที่จะช่วยดีดราคายาให้แสนแพงอย่างที่เราเห็นกันในทุกวันนี้
และในเวลานี้ทั่วโลกและเมืองไทยกำลังรณรงค์ในเรื่องการรักษาสุขภาพแบบโภชนาการบำบัดและการใช้ภูมิปัญญาสมุนไพรไทย มากกว่าการที่จะต้องใช้ยาในทุกเรื่องร่ำไป โดยเฉพาะเรื่องสมุนไพรไทยนั้นอยากให้คนไทยหันมาใช้กันเยอะๆ เรารู้หรือไม่ว่า สมุนไพรนั้นอุดมไปด้วยของวิเศษ มีคุณค่าต่อร่างกายเรามากมาย ทั้งอยู่ในรูปของผักผลไม้ต่างๆ
Sunday, November 24, 2013
ทวนก็ยอด โล่ก็เยี่ยม
ทวนก็ยอด โล่ก็เยี่ยม
ศัพท์คำว่า " ขัดแย้ง " ( เหมาตุ้น ) ในภาษาจีนนั้น มาจากคำว่า " เหมา " ( ทวน ) และ " ตุ้น " ( โล่ ) ซึ่งมีเรื่องความเป็นมาดังนี้
ทวนและโล่เป็นอาวุธสมัยโบราณชนิดหนึ่ง ทวนใช้สำหรับแทง โล่ใช้สำหรับกันทวน ซึ่งมีประโยชน์ในการใช้ต่างกัน
ในรัฐฉู่ มีชายคหนึ่งมีอาชีพทำทวนและโล่ขาย วันหนึ่งเขานำสินค้าของเขาเข้าไปขายที่ในเมือง เพื่อให้คนสนใจ เขาจึงชูโล่ขึ้นมาโฆษณาคุณภาพว่า
" โล่ของข้าพเจ้านี้มีความทนทานอย่างไม่มีอะไรจะเปรียบได้ ไม่ว่าทวนจะแหลมคมปานไหนก็แทงไม่ทะลุ "
พอผ่านไปสักครู่ เขาก็ชูทวนของเขาขึ้่นแล้วคุยอวดว่า
" ทวนของข้าพเจ้านี้ แหลมคมที่สุดไม่มีอะไรจะมาเปรียบได้ ไม่ว่าโล่จะดีและแข็งแรงทนทานขนาดไหน ทวนของข้าพเจ้าสามารถแทงทะลุได้ทั้งสิ้น "
คนที่ยืนอยู่ใกล้ๆ ได้ฟังเขาโอ้อวดคุณภาพสินค้าของเขาเช่นนั้น ก็หัวเราะถามเขาว่า
เมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้าใช้ทวนของท่านแทงโล่ของท่าน ผลจะเป็นอย่างไร ? "
ชายผู้นั้นนิ่งเงียบไม่รู้จะตอบอย่างไรดี
บันทึกใน " หานเฟยจื่อ "
Wednesday, November 20, 2013
ปัญจขันต์บรรพต
ปัญจขันต์บรรพต
ฌานาจารย์ต้งซานเหลียงเจี้ยถามหยุนจฺวีว่า "เจ้าไม่ทำสมาธิภาวนาในห้อง จะไปไหน ? "
หยุนจฺวีตอบว่า " อาตมาจะไปปียเขา "
ฌานาจารย์ต้งซานถามว่า " ถึงยอดเขาหรือเปล่า ? "
หยุนจฺวีตอบว่า " ถึง ! "
ฌานาจารย์ต้งซานถามอีกว่า " บนยอดเขามีคนหรือไม่ ? "
หยุนจฺวีตอบว่า " ไม่มี ! "
ฌานาจารย์ต้งซานจึงพูดด้วยน้ำเสียงยิ้มเยาะว่า " แสดงว่าเจ้าไม่ได้ปีนเขาไปถึงยอดเขา "
Tuesday, November 19, 2013
Kamma from the previous life
Kamma from the previous life
The mind stream flows from moment to moment through life. It continues rising and falling, temperament, likes and dislikes including all mental constructions and impressions. Although these potentialities exist in a state of constant flux and are subject to the law of change and conditionality, each successive moment of consciousness, with all is mental corollaries, is conditioned by its proceeding moment. This process continues throughout the present life and passes on to the next in an unbroken stream. What we are now is therefore, to large extents, inherited from what we were in the past. certain inclinations and attitudes and why in sometimes have an inexplicably strong like or dislikes for certain individuals we encounter for the first time.
Monday, November 18, 2013
กรรมแต่ปางก่อน
กรรมแต่ปางก่อน
จิตของมนุษย์มีการเกิดดับและเลื่อนไหลอยู่ตลอดเวลาในขณะเดียวกันก็สร้างความคิดปรุงแต่ง จนมีศักยภาพที่กลายมาเป็นบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลต่อการรับรู้ในอารมณ์ความรู้สึก รัก เกลียด และปรุงแต่งอารมณ์ต่างๆ จนในที่สุดเกิดความประทับใจทั้งในทางบวกและทางลบขึ้นภายในจิตใจต่อวัตถุอันเป็นสิ่งรับรู้ทั้งหลาย แม้ว่าศักยภาพในภาวะดังกล่าวจะหลบซ่อนอยู่ภายใน เป็นกระแสจิตที่เกิดดับ คิดปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา ในรูปของวิญญาณความรู้สึก ก่อให้เกิดผลลัพธ์ติดตามต่อไปยังอนาคตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นพฤติกรรมที่ " เราเป็น เราอยู่ " ในภพปัจจุบันถูกกำหนดไว้โดยกรรมที่กระทำไว้ในอดีตเสมอ ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถนำเอาหลักของกรรมเก่าหรือจากผลของกรรมแต่ปางก่อน มาใช้อธิบายการเกิด อารมณ์ความรู้สึก รัก เกลียด ชอบ ไม่ชอบ ถูกใจ ต้องตา ต่อพฤติกรรมบุคลิกภาพ กิริยาท่าทางของบุคคลหรือสิ่งต่างๆ ที่เราพบปะแม้จะเป็นครั้งแรกได้เป็นอย่างดี
จิตของมนุษย์มีการเกิดดับและเลื่อนไหลอยู่ตลอดเวลาในขณะเดียวกันก็สร้างความคิดปรุงแต่ง จนมีศักยภาพที่กลายมาเป็นบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลต่อการรับรู้ในอารมณ์ความรู้สึก รัก เกลียด และปรุงแต่งอารมณ์ต่างๆ จนในที่สุดเกิดความประทับใจทั้งในทางบวกและทางลบขึ้นภายในจิตใจต่อวัตถุอันเป็นสิ่งรับรู้ทั้งหลาย แม้ว่าศักยภาพในภาวะดังกล่าวจะหลบซ่อนอยู่ภายใน เป็นกระแสจิตที่เกิดดับ คิดปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา ในรูปของวิญญาณความรู้สึก ก่อให้เกิดผลลัพธ์ติดตามต่อไปยังอนาคตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นพฤติกรรมที่ " เราเป็น เราอยู่ " ในภพปัจจุบันถูกกำหนดไว้โดยกรรมที่กระทำไว้ในอดีตเสมอ ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถนำเอาหลักของกรรมเก่าหรือจากผลของกรรมแต่ปางก่อน มาใช้อธิบายการเกิด อารมณ์ความรู้สึก รัก เกลียด ชอบ ไม่ชอบ ถูกใจ ต้องตา ต่อพฤติกรรมบุคลิกภาพ กิริยาท่าทางของบุคคลหรือสิ่งต่างๆ ที่เราพบปะแม้จะเป็นครั้งแรกได้เป็นอย่างดี
Sunday, November 17, 2013
ฝนเข็มเล็กให้เป็นกระบอง
ฝนเข็มเล็กให้เป็นกระบอง
การคิดและทำเรื่องเล็กให้ใหญ่โตจนเกินเหตนั้นทำให้เกิดผลเสียเสมอ และไม่ค่อยก่อให้เกิดผลดีเลยกับชีวิต
By ปรัชญา " ซามูไร "
Saturday, November 16, 2013
อย่าหมิ่นตนเองอย่างเบาปัญญา อย่าโอ้อวดเย่อหยิ่งทะนงตน
คนโบราณกล่าวว่า
" ทิ้งทรัพย์สมบัติเหลือคณา กลับถือกะลาไปขอทาน "
... และว่า
" คนจนรวยแล้วอย่าอวด เตาไฟบ้านใครไม่มีควัน "
คำต้นเตือนอย่ามองข้ามสิ่งที่ตนมี
คำหลังเตือนอย่าโอ้อวดสิ่งที่ตนมี
ควรที่ผู้รู้พึงระวัง
นิทัศน์อุทาหรณ์
คุณชายบ้านลู่กับขอทานวันหนึ่ง ภายในบ้านทางประตูตะวันออกของเมืองเติงานในมณฑลซานตง ดวงตะวันกำลังทอแสงแรงกล้าอยู่บนท้องฟ้า ชาวบ้านหลายครอบครัวสวมเสื้อบางกางเกงขาสั้น นั่งตากลมกันอยู่ที่ใต้ร่มไม้
ทันใดนั้น ก็ได้ยินเสียงเอะอะอึกทึกขึ้นข้างนอก ทุกคนจึงรีบวิ่งออกไปดูยังนอกถนน อ้าว ! นั่นคุณชายของบ้านเศรษฐีลู่ครอบครัวใหญ่ในเมืองนี่ ทำไมจึงมาหัดเป็นขอทาน สวมเสื้อปอขาดๆ ถือชามกะละมังเที่ยวขอข้าวชาวบ้านกิน ?
คนทั้งหลายจึงพากันวิพากษ์วิจารณ์กันว่า
" คุณชายบ้านลู่คนนี้เป็นคนเกียจคร้านเอาแต่กินแล้วก็นอน ไม่ยอมทำอะไรเลย กลัวว่าวันข้างหน้าจะอดตาย ก็เลยออกมาหัดเป็นขอทานหาความรู้ไว้ก่อน "
ชนะ แพ้ สวยงาม อัปลักษณ์ คือภาพลวงชั่วเวลาหนึ่ง
ศิลปินต่างผัดหน้าทาแป้ง
ประชันโฉมไม่ลดราวาศอก
เมื่อปิดฉากลง สวยไม่สวยอยู่หนใด ?
เล่นหมากรุกหน้าดำคร่ำเครียด
เอาเป็นเอาตายกันที่ตัวหมาก
เมื่อจบกระดาน แพ้ชนะอยู่แห่งไหน ?
นิทัศน์อุทาหรณ์
บนเวทีและนอกเวที
ในนวนิยายมีชื่อเสียงเรื่อง " ความฝันในหอแดง " ของจีน มีอยู่ตอนหนึ่งชื่อว่า " ไต้อี้ฝังดอกไม้ " ได้เขียนถึงเรื่องราวของหลินไต้อี้นางเอกของเรื่องทนเห็นกลีบดอกไม้ซึ่งร่วงหล่นอยู่กับพื้นดิน ถูกเหยียบย่ำแหลกลาญไปไม่ไหวจึงขุดหลุม โกยกีบดอกไม้ร่วงเหล่านั้นอย่างทะนุถนอม ใส่ลงหลุมแล้วกลบเสีย
เรื่องราวในตอนนี้ มีการดัดแปลงเป็นละคร รูปร่างอ้อนแอ้นอรชรหน้าตาอ่อนโยนชวนสงสาร เมื่อแสดงเป็นตัวหลินไต้อี้ ก็ถึงบทเหมือนหลินไต้อี้มาเกิด
ก่อนหน้าที่หล่อนจะขึ้นเวทีแสดง หล่อนต้องใช้เวลาแต่งหน้าถึงค่อนวัน ส่องกระจกครั้งแล้วครั้งอีก ตรงนั้นแป้งบางไปหรือเปล่าตรงนี้หนาไปหรือเปล่า หล่อนต้องเพ่งพินิจ จนรู้สึกพอใจจึงจะหยุด เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างตรงตามความต้องการแล้ว หล่อนจึงจะออกแสดง
Thursday, November 14, 2013
คู่มือมนุษย์ ( ๙ )
คู่มือมนุษย์ ( ๙ )
ลำดับแห่งการหลุดพ้นจากโลก
เมื่อปฏิบัติวิปัสสนา จนเกิดความรู้แจ้งว่า ไม่มีอะไรน่ายึดถือ และสิ่งต่างๆ ไม่อาจครอบงำจิตได้จิตย่อมถึงสถานะอันใหม่เหนือวิสัยโลก เรียกว่า โลกุตตรภูมิ ตรงกันข้ามกับ โลกิยภูมิ คือ ภูมิของจิตอันต่ำที่สิ่งต่างๆ ครอบงำได้
โลกิยภูมิ แบ่งออกเป็น ๓ พวก คือ :-
๑.กามาวจรภูมิ หมายถึงภูมิของจิตที่ยังพอใจในกามทั้งปวง
๒. รูปาวจรภูมิ หมายถึงภูมิของจิตที่พอใจในความสุขที่เกิดแต่สมาบัติ อันมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ที่ไม่เกี่ยวกับกาม
๓. อรูปาวจรภูมิ หมายถึงภูมิของจิตที่ยังไม่พอใจในความสุข หรือความสงบที่เกิดแต่สมาบัติอันไม่มีรูปเป็นอารมณ์
ภูมิคู่กับภพ เพราะภูมิหมายถึงสถานะหรือระดับของจิตใจสัตว์ และภพหมายถึงโลกเป็นที่อยู่อันเหมาะสมของสัตว์ตามภูมิจิต คือกามวจรภูมิ คู่กับ กามาวจรภพ รูปาวจรภูมิ คู่กับ รูปาวจรภพ และ อรูปาวจรภูมิ คู่กับ อรูปาวจรภพ ตามปกติจิตใจมนุษย์มักตกอยู่ในลักษณะที่เป็นรูปาวจรภูมิ หรืออรูปวจรได้ เมื่อจิตตั้งอยู่ในภูมิใด โลกที่อาศัยก็จะกลายเป็นภพชื่อนั้นไปด้วยสัตว์ที่อยู่ในภูมิทั้ง ๓ ยังมีอัสมิมานะเต็มที่ ยังเต็มอยู่ด้วยความยึดถือตัวตน จิตยังประกอบด้วยตัณหาอันเป็นเหตุให้ท่องเที่ยวไปในภพต่างๆ จึงเรียกว่ายังอยู่ในวิสัยโลก จัดเป็นโลกิยภูมิ
ส่วนโลกุตตรภูมิ หมายถึงภูมิจิตที่อยู่สูงเหนือวิสัยโลก มองเห็นโลกด้วยความเป็นของไม่มีตัวตน แบ่งออกเป็นมรรคผล ๔ ชั้น คือ ชั้นพระโสดาบัน ชั้นสกิคาทามี ชั้นพระอนาคามี และชั้นพระอรหันต์ การอยู่เหนือโลกนี้หมายถึงจิตใจ มิได้หมายถึงร่างกาย ส่วนร่างกายจะอยู่ภพไหนก็ได้ ที่สมควรกัน
Tuesday, November 12, 2013
ปล่อยนกเขาเอาหน้า
ปล่อยนกเขาเอาหน้า
ตอนใกล้จะขึ้นปีใหม่แต่ละปี ชาวบ้านแถบหานตานต้องพากันขึ้นเขาไปเป็นกลุ่มๆ เพื่อจับนกเขาเอามาให้ขุนนางแซ่เจ้า ขุนนางผู้นี้เมื่อเห็นนกเขากระโดดไปกระโดดมาดิ้นรนออกจากกรงก็พอใจมาก เรียกให้คนนำเงินมาให้รางวัลแก่ผู้จับนกเขามาให้ทั่วทุกคน
แขกคนหนึ่งที่มาเยี่ยมขุนนางแซ่เจ้าเห็นเช่นนี้ก็รู้สึกประหลาดใจมาก จึงถามเขาว่าจะเอานกเหล่านี้ไปทำอะไร
ขุนนางแซ่เจ้าตอบว่า " ท่านไม่ทราบหรือว่าถึงแม้มันจะเป็นชีวิตเล็กๆ แต่มันก็มีค่า ! ฉะนั้นในวันขึ้นปีใหม่ ข้าพเจ้าจะต้องปล่อยสัตว์ที่มีชีวิตเหล่านี้เพื่อแสดงความรักและความเมตตาต่อสัตว์ "
ผู้เป็นแขกได้ฟังเช่นนั้นก็หัวเราะกล่าวว่า " วิธีรักและเมตตาสัตว์แบนี้ของท่าน กลับจะทำให้ชาวบ้านที่รู้ว่าท่านชอบปล่อยสัตว์เอาบุญ และถ้าใครจับนกเขาเอามาให้ท่านปล่อย จะได้รับค่าตอบแทน ชาวบ้านก็จะพากันไล่จับนกเขามีทั้งใช้แร้วดัก ใช้หน้าไม้ยิง นกที่ถูกจับมาได้จำนวนมากแต่ที่ตายไปก็คงไม่น้อย ถ้าท่านเมตตาสงสารสัตว์มีชีวิตเล็กๆ เหล่านี้จริงๆ แล้ว ควรประกาศห้ามคนจับนกเขาเพราะได้ผลกว่า การที่ให้คนจับมาแล้วท่านปล่อยไปเช่นนี้ บาปที่ท่านทำย่อมจะต้องมากกว่าบุญที่ท่านต้องการจะทำไม่รู้ว่ากี่เท่า "
ขุนนางแซ่เจ้าฟังแล้วหน้าชา ยอมรับว่าเป็นความจริง
บันทึกใน " เลี่ยจื่อ "
กล้าหรือไม่กล้า
กล้าหรือไม่กล้า
ฌานาจารย์เต้าซิ่น ( พระตูนุนมหาครูบา พระสังฆปรินายกที่ ๔ ของจีน ) เดินทางไกลไปเยี่ยมคารวะฌานาจารย์ฝ่าหยง
ขณะที่พวกเขาทั้งสองเดินด้วยกันบนภูเขา เห็นนกบินอยู่บนท้องฟ้าอย่างอิสรเสรี ก็ไม่มีปฏิกริยาใด ครั้นพบเสือและสุนัขจิ้งจอกเดินป้วนเปี้ยนไปมา เต้าซิ่นเริ่มรู้สึกหวาดกลัว สาวเท้าไม่ออก ฝ่าหยงเห็นเช่นนั้น ก็กล่าวว่า " อ้อ ! ที่แท้ท่านยังมีสิ่งนี้อยู่ ? "
ความหมายของท่านคือ เต้าซิ่นยังมีวิภังคจิตอยู่ กับนกไม่รู้สึกกล้ว กับเสือและสุนัขจิ้งจอกมันก็แค่ตัวใหญ่กว่า
นิสัยดุร้ายกว่า ก็เกิดความรู้สึกกลัวทันที เมื่อเป็นเช่นนี้ มิเท่ากับเต้าซิ่นปฏิบัติต่อสรรพชีวิตไม่เท่าเทียมกันดอกหรือ ?
Sunday, November 10, 2013
The impulse of Kamma
The impulse of Kamma
When an action is performed through body, speech, or mind, there is always some energy involved. This energy is capable of being fortified, developed or transformed. If a given action is repeatedly committed, the energy to commit the same deed will be strengthened and consequently, a tendency and habit will be formed. It is this tendency to habituation that makes it possible to train and develop both positive and negative tendencies. These practices become more and more natural and gradually cultivate the tendency and habit to mediate with greater ease. People who repeatedly practices generosity, develop the energy of giving and is therefore better prepared to give even more. The first act of lying contains within itself the potential for lying the second time, and the third, so on until one becomes a behavior of compulsive liar, for example.
Saturday, November 09, 2013
แรงกระตุ้นที่ก่อให้เกิดกรรม
แรงกระตุ้นที่ก่อให้เกิดกรรม
ในการประกอบกรรม ผ่านทาง กายทวาร วจีทวาร และทางมโนทวาร จะมีพลังกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ พลังดังกล่าวสามารถพัฒนาเพิ่มความรุนแรงหรือปรับเปลี่ยนไปในลักษณะที่ส่งเสริมให้เกิดการประกอบกรรมซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกลายเป็นนิสัยของผู้ทำกรรมทั้งในด้านบวกและลบ เมื่อมีการทำกรรมเกิดบ่อยขึ้นเท่าใดก็เป็นการเพาะบ่มสร้างนิสัยในการที่จะกระทำหรือไม่กระทำได้โดยง่าย ผู้ที่ทำบุญอยู่เป็นประจำบ่อมสะสมแรงจูงใจในการให้ทานได้มากขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน ผู้ที่พูดปดอยู่เป็นประจำก็ย่อมจะมีแรงจูงใจให้โกหกเป็นครั้งที่สองและที่สามเรื่อยไปจนติดเป็นนิสัย
ผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ย่อมรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า
ป่วยจึงรู้ความแข็งแรงว่าวิเศษ
วุ่นวายจึงรู้ความสงบเป็นความสุข
นี้เพราะขาดการเล็งเห็นก่อน
ได้ดีเพราะโชคช่วย แต่รู้ว่าคือรากเหง้าแห่งความวิบัติ
รักชีวิตกลัวตาย แต่รู้สาเหตุแห่งความตาย
นี้จึงเป็นความเฉียบแหลม
นิทัศน์อุทาหรณ์
วาจาของก่วนจง
ก่อนที่ก่วนจงอัครมหาเสนาบดีแห่งแคว้นฉีถึงจะถึงแก่กรรม ได้ฝากวาจาไว้แก่ฉีหวนกงเจ้านายของตนว่า ขอให้ตีตัวออกห่างจากคน ๔ คนคือ อี้เหยา ซู่เตียว ฉางจืออู และกงจื่อฉี่ฟาง เพื่อหลีกเลี่ยงภันพิบัติที่จะเกิดแก่หวนฉีกงในภายหน้า
แต่ฉีหวนกงไม่เชื่อว่า คนทั้ง ๔ จะทรยศทำร้ายตนได้ แย้งวาจาของก่วนจ้ง
" ท่านก่วนจ้ง อี้เหยาเคยฆ่าลูกชายของเขาเอาเหนื้อมาทำอาหารให้เรากินในตอนที่เราอยากจะกินเนื้อ ซู่เตียวถึงกับยอมเจ็บตัวเพื่อรับใช้เรา ฉางจืออูก็ช่วยขับไล่พวกภูติผีปีศาจรักษาโรคให้กับเรา จะไม่ไว้วางใจเขาได้อย่างไร ? ส่วนกงจื่อฉีฟางก็ติดตามเรามานานถึง ๑๕ ปี แม้บิดาถึงแก่กรรมก็ยังไม่กล้ากลับไปทำศพ คนเหล่านี้ เราเห็นว่าไม่มีอะไรที่น่าสงสัยว่าจะไม่ซื่อเลย "
Friday, November 08, 2013
คู่มือมนุษย์ ( ๘ )
คู่มือมนุษย์ ( ๘ )
การทำให้รู้แจ้งตามหลักวิชา
วิธีที่จะทำความเห็นแจ้งให้เกิดขึ้นตามหลักวิชานั้น แม้ไม่อยู่ในรูปพระพุทธภาษิต เพราะเป็นสิ่งที่โบราณาจารย์จัดขึ้นในยุคหลังก็เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติที่มีอุปนิสัยอ่อน ยังไม่อาจมองเห็นทุกข์ตามธรรมชาติด้วยตนเอง แต่มิได้หมายความว่า วิธีนี้จะวิเศษไปกว่าวิธีเป็นไปตามธรรมชาติ เพราะตามพระไตรปิฎกมีกล่าวถึงวิธีที่เป็นไปตามธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมีบางสิ่งชวนให้เห็นว่า นั่นเป็นเรื่องสำคัญสำหรับบุคคลที่มีบุญบารมีหรืออุปนิสัยสร้างมาพอสมควรแล้ว โดยเหตุนี้ท่านจึงได้วางระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีอุปนิสัยอ่อน เพื่อให้เป็นการเร่งรัดกันอย่างรัดกุมเป็นระเบียบไปตั้งแต่ต้น
ระเบียบปฏิบัติที่ตั้งขึ้นใหม่นี้เรียกว่า " วิปัสสนาธุระ " เพื่อให้ป็นคู่กับ " คันถธุระ " วิปัสสนาธุระเป็นการเรียนจากภายใน คืออบรมจิตโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับตำรา ส่วนคันถธุระ เป็นการเรียนตามตำราหรือคัมภีร์โดยตรง คำ ๒ คำนี้ไม่มีในพระไตรปิฎก เพิ่งปรากฏในหนังสือชั้นหลังๆ ยุคอรรถกถา
คำว่า วิปัสสนาธุระ กินความรวบทั้งหมดทั้งสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา คือหมายถึงทั้งการทำสมาธิและการทำปัญญา ยิ่งกว่านั้นยังได้รวบเอาบทฐานของสมาธิ คือ ศีลเข้าไว้ด้วย
หัวข้อแห่งการศึกษา เพื่อให้เข้าใจการปฏิบัติวิปัสสนา คือ
(๑) อะไรเป็นบทฐานที่ตั้ง ที่อาศัยของวิปัสสนา
(๒) อะไรเป็นเครื่องกำหนดสำหรับวิปัสสนา
(๓) อะไรเป็นลักษณะเครื่องสังเกตว่าเป็นตัววิปัสสนา
(๔) อะไรเป็นกิจหรือตัวการกระทำที่เรียกว่าวิปัสสนา
(๕) อะไรเป็นผลสุดท้ายของวิปัสสนา
Sunday, November 03, 2013
โชคดีและโชคร้าย สลับกันดั่งเกลียวเชือก
โชคดีและโชคร้าย สลับกันดั่งเกลียวเชือก
ในสุภาษิตไทยนั้นมีอยู่บทหนึ่งที่ว่า " อันชีวิตของคนเรานั้น ชั่วเจ็ดที ดีเจ็ดหน " ท่านกล่าวไว้เป็นเครื่องเตือนใจและให้กำลังใจคนให้ต่อสู้กับทุกเรื่องเพราะเขาเชื่อว่าในโลกนี้มีเรื่องร้ายและดีพอๆ กันและในปรัชญาญี่ปุ่นบทนี้นั้นเขาบอกว่า " มันจะเวียนมาหาคนเราสลับกันมาเหมือนดั่งกับเกลียวเชือก "
เครือเมเจอร์ของวิชา พูลวรลักษณ์ กว่าจะยิ่งใหญ่ในวันนี้นั้นผ่านมาทั้งโชคดีและโชคร้ายที่เข้ามาในชีวิตการทำงาน
เริ่มจากห้างเวลโก ปิ่นเกล้า ที่เป็นกิจการกงสีของตระกูลนั้นเกิดไฟไหม้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ในความโชคร้ายนั้นแฝงมาด้วยความโชคดีด้วย เพราะทำให้วิชามีโอกาสเริ่มพิสูจน์ความคิดของเขา โดยเข้าไปทุบห้างเวลโก้ทิ้งและสร้างโรงหนังในรูปแบบใหม่เป็นโรงหนังขนาดใหญ่ เติมแต่งโรงหนังหลายโรงให้เหมือนระบบมัลติเพล็กซ์ มีบริการร้านค้า ร้านอาหารเหมือนมินิเธียเตอร์ ด้วยทำเลที่ตั้งของห้างเวลโกเดิม
Thursday, October 24, 2013
ปลาในร่องทางเกวียน
ปลาในร่องทางเกวียน
จวงโจ เป็นคนยากจน วันหนึ่งเขาไปที่บ้านขุนนางเพื่อขอยืมข้าว ขุนนางผู้นั้นตอบว่า " ข้าให้ขอยืมได้ แต่ต้องรอให้ข้าเก็บค่าเช่าจากชาวบ้านเสียก่อนแล้วข้าจะให้ยืมเงินสามร้อยตำลึง พอใจไหม ? "
จวงโจฟังแล้วไม่พอใจอย่างมาก กล่าวว่า " วานนี้ขณะที่ข้าพเจ้าเดินทางมาที่นี่ระหว่างทางได้ยินเสียงอะไรร้องอยู่ ข้าพเจ้าจึงมองไปรอบๆ ก็เห็นในร่องทางเกวียนที่แห้งผากมีปลาตะเพียนน้ำเค็มตัวหนึ่งอยู่ในนั้น ข้าพเจ้าถามว่า ' เจ้าปลาตัวน้อยเอ๋ย เหตไฉนเจ้าจึงมาอยู่ที่นี่ ? ' ปลาตอบว่า ' ข้าพเจ้ามาจากทะเลด้านตะวันออก ' ตอนนี้กำลังจะตายอยู่แล้วขอท่าได้โปรดช่วยชีวิตข้าพเจ้าด้วยการนำน้ำมาให้สักครุหนึ่งเถิด ! ข้าพเจ้าตอบว่า ' ได้ ข้าพเจ้าจะไปขอร้องกษัตริย์ของรัฐหวูและรัฐเยียะให้ชักน้ำในแม่น้ำด้านตะวันตกมาให้เจ้าดีไหม ? ' ปลาตอบอย่างไม่พอใจว่า ' เนื่องจากข้าพเจ้าขาดน้ำที่จะดำรงชีวิตตามสภาพปกติต้องมานอนรอความตายอยู่ที่นี่ ถ้าท่านให้น้ำข้าพเจ้าเพียงสักครุครึ่งครุ ข้าพเจ้าก็จะรอดชีวิต ที่ท่านว่าจะชักน้ำในแม่น้ำด้านตะวันตกมาให้ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าก็จะรอดชีวิต ที่ท่านว่าจะชักน้ำในแม่น้ำด้านตะวันตกมาให้ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอขอบใจเจตนาดีของท่าน ทางที่ดีท่านไปหาข้าพเจ้าที่ร้านขายปลาเค็มก็แล้วกัน ! "
จวงโจ เป็นคนยากจน วันหนึ่งเขาไปที่บ้านขุนนางเพื่อขอยืมข้าว ขุนนางผู้นั้นตอบว่า " ข้าให้ขอยืมได้ แต่ต้องรอให้ข้าเก็บค่าเช่าจากชาวบ้านเสียก่อนแล้วข้าจะให้ยืมเงินสามร้อยตำลึง พอใจไหม ? "
จวงโจฟังแล้วไม่พอใจอย่างมาก กล่าวว่า " วานนี้ขณะที่ข้าพเจ้าเดินทางมาที่นี่ระหว่างทางได้ยินเสียงอะไรร้องอยู่ ข้าพเจ้าจึงมองไปรอบๆ ก็เห็นในร่องทางเกวียนที่แห้งผากมีปลาตะเพียนน้ำเค็มตัวหนึ่งอยู่ในนั้น ข้าพเจ้าถามว่า ' เจ้าปลาตัวน้อยเอ๋ย เหตไฉนเจ้าจึงมาอยู่ที่นี่ ? ' ปลาตอบว่า ' ข้าพเจ้ามาจากทะเลด้านตะวันออก ' ตอนนี้กำลังจะตายอยู่แล้วขอท่าได้โปรดช่วยชีวิตข้าพเจ้าด้วยการนำน้ำมาให้สักครุหนึ่งเถิด ! ข้าพเจ้าตอบว่า ' ได้ ข้าพเจ้าจะไปขอร้องกษัตริย์ของรัฐหวูและรัฐเยียะให้ชักน้ำในแม่น้ำด้านตะวันตกมาให้เจ้าดีไหม ? ' ปลาตอบอย่างไม่พอใจว่า ' เนื่องจากข้าพเจ้าขาดน้ำที่จะดำรงชีวิตตามสภาพปกติต้องมานอนรอความตายอยู่ที่นี่ ถ้าท่านให้น้ำข้าพเจ้าเพียงสักครุครึ่งครุ ข้าพเจ้าก็จะรอดชีวิต ที่ท่านว่าจะชักน้ำในแม่น้ำด้านตะวันตกมาให้ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าก็จะรอดชีวิต ที่ท่านว่าจะชักน้ำในแม่น้ำด้านตะวันตกมาให้ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอขอบใจเจตนาดีของท่าน ทางที่ดีท่านไปหาข้าพเจ้าที่ร้านขายปลาเค็มก็แล้วกัน ! "
บันทึกใน " จวงจื่อ "
Tuesday, October 22, 2013
ความหมายของการกราบไหว้บูชา
ความหมายของการกราบไหว้บูชา
หยุนจฺวีเต้าอิง ( ต่อมาได้เป็นฌานาจารย์ที่มีชื่อ ) เดินทางไปคารวะฌานาจารย์ต้งซานเหลียงเจี้ย ขอสมัครเป็นศิษย์ท่าน ฌานาจารย์ต้งซานถามว่า " เจ้ามาจากที่ใด ? "
หยุนจฺวีตอบว่า " อาตมามาจากอารามของฌานจารย์ชุ่ยเหวย ! "
ฌานาจารย์ต้งซานถามอีกว่า " ฌานาจารย์ชุ่ยเหวยสอนอะไรเกี่ยวกับฌานแก่เจ้าบ้าง ? "
หยุนจฺวีตอบว่า " ที่นั่นช่วงเดือนอ้ายทุกปี จะทำพิธีเซ่นสรวงสิบหกอรหันต์และห้าร้อยอรหันต์ อีกทั้งพิธีถูกจัดอย่างเอิกเกริก อาตมาเคยถามฌานาจารย์ชุ่นเหวยว่า พีธีบวงสรวงใหญ่โตเช่นนี้ อรหันต์ท่านมารับเซ่นสรวงจริงหรือไม่ ? ฌานาจารย์ชุ่ยเหวยจึงถามว่า ' ถ้าอย่างนั้น เจ้ากินอะไรทุกวันหรือ ? ' อาตมาคิดว่าคำๆ นี้แหละคือคำที่ท่านสั่งสอนอาตมา "
หยุนจฺวีเต้าอิง ( ต่อมาได้เป็นฌานาจารย์ที่มีชื่อ ) เดินทางไปคารวะฌานาจารย์ต้งซานเหลียงเจี้ย ขอสมัครเป็นศิษย์ท่าน ฌานาจารย์ต้งซานถามว่า " เจ้ามาจากที่ใด ? "
หยุนจฺวีตอบว่า " อาตมามาจากอารามของฌานจารย์ชุ่ยเหวย ! "
ฌานาจารย์ต้งซานถามอีกว่า " ฌานาจารย์ชุ่ยเหวยสอนอะไรเกี่ยวกับฌานแก่เจ้าบ้าง ? "
หยุนจฺวีตอบว่า " ที่นั่นช่วงเดือนอ้ายทุกปี จะทำพิธีเซ่นสรวงสิบหกอรหันต์และห้าร้อยอรหันต์ อีกทั้งพิธีถูกจัดอย่างเอิกเกริก อาตมาเคยถามฌานาจารย์ชุ่นเหวยว่า พีธีบวงสรวงใหญ่โตเช่นนี้ อรหันต์ท่านมารับเซ่นสรวงจริงหรือไม่ ? ฌานาจารย์ชุ่ยเหวยจึงถามว่า ' ถ้าอย่างนั้น เจ้ากินอะไรทุกวันหรือ ? ' อาตมาคิดว่าคำๆ นี้แหละคือคำที่ท่านสั่งสอนอาตมา "
Monday, October 21, 2013
The result of Kamma
The result of Kamma
According to the Buddhist teaching, kamma can be committed through the three doors of action ; actions done through the body, they are called kayakamma, those performed through speech called verbal action or vacikamma ; those performed through the mind, called mental action or manokamma.
Most people do not see through as a kind of action and fail to realize how they can be anything more than mere subjective phenomena. But it is interesting to note that Buddhism not only lists the function of the mind as constituting a kind of action but gives it prime significance. According to Buddhism, it is through mental action that man can be elevated to the highest stage of spiritual development and it is again mental action that one will be tempted to commit the most heinous crime. The cultivation of mind occupies the most important place in the Buddhist scheme of spiritual training.
According to the Buddhist teaching, kamma can be committed through the three doors of action ; actions done through the body, they are called kayakamma, those performed through speech called verbal action or vacikamma ; those performed through the mind, called mental action or manokamma.
Most people do not see through as a kind of action and fail to realize how they can be anything more than mere subjective phenomena. But it is interesting to note that Buddhism not only lists the function of the mind as constituting a kind of action but gives it prime significance. According to Buddhism, it is through mental action that man can be elevated to the highest stage of spiritual development and it is again mental action that one will be tempted to commit the most heinous crime. The cultivation of mind occupies the most important place in the Buddhist scheme of spiritual training.
Saturday, October 19, 2013
วิบากกรรม
วิบากกรรม
พุทธศาสนาสอนว่า การประกอบกรรม ทำได้สามทาง คือ ทางกาย เรียกว่า กายกรรม ทางวาจา เรียกว่า วจีกรรม ทางใจ เรียกว่า มโนกรรม
โดยทั่วไป คนเรามักมองข้ามไปว่า การคิดก็เป็นการทำกรรมชนิดหนึ่งเรียกว่า มโนกรรม จิตหรือความคิดมิใช่เป็นเพียงสิ่งที่มีไว้สำหรับการรับรู้ต่อวัตถุหรือต่อปรากฎการณ์เท่านั้น แต่พุทธศาสนาถือว่า จิตเป็นตัวกำหนดในการทำหน้าที่ที่สำคัญที่สุดในการประกอบกรรม พุทธศาสนาเชื่อว่ามนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ถึงระดับสูงสุดทางปัญญา ก็ด้วยผลของมโนกรรม และมโนกรรมนี้เองที่เป็นตัวกำหนดให้เกิดการประกอบอาชญากรรม ดังนั้นการเพาะบ่มพัฒนาจิตใจจึงเป็นเรื่องสำคัญในการควบคุมฝึกอบรมทางจิตวิญญาณ
เจตนาในการทำกรรมดี กรรมชั่ว หรือที่เรียกว่า กุศลกรรม อกุศลกรรม ก่อให้เกิดวิบากกรรมตามแรงเจตนานั้นๆ ซึ่งบางครั้งผลของกรรมจะปรากฎให้เห็นทันทีในปัจจุบัน แต่ในบางกรณีผลของกรรมอาจจะยังไม่ปรากฎ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยร่วมอื่นๆ เช่น สถานที่ เวลา และ บุคลิกภาพของผู้ทำกรรมดังที่เคยกล่าวมาแล้ว วิบากกรรมบางอย่าง ปรากฎในเวลาปัจจุบัน ในขณะที่กรรมบางอย่างอาจส่งผลในอนาคตตามเหตุปัจจัย ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
" สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ มีกรรมเป็นแดนเกิด ทุกอย่างเกี่ยวกับกรรมและสนับสนุนโดยกรรมทั้งที่หยาบและปราณีต " ดังนี้
By แก่นพุทธธรรม
พุทธศาสนาสอนว่า การประกอบกรรม ทำได้สามทาง คือ ทางกาย เรียกว่า กายกรรม ทางวาจา เรียกว่า วจีกรรม ทางใจ เรียกว่า มโนกรรม
โดยทั่วไป คนเรามักมองข้ามไปว่า การคิดก็เป็นการทำกรรมชนิดหนึ่งเรียกว่า มโนกรรม จิตหรือความคิดมิใช่เป็นเพียงสิ่งที่มีไว้สำหรับการรับรู้ต่อวัตถุหรือต่อปรากฎการณ์เท่านั้น แต่พุทธศาสนาถือว่า จิตเป็นตัวกำหนดในการทำหน้าที่ที่สำคัญที่สุดในการประกอบกรรม พุทธศาสนาเชื่อว่ามนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ถึงระดับสูงสุดทางปัญญา ก็ด้วยผลของมโนกรรม และมโนกรรมนี้เองที่เป็นตัวกำหนดให้เกิดการประกอบอาชญากรรม ดังนั้นการเพาะบ่มพัฒนาจิตใจจึงเป็นเรื่องสำคัญในการควบคุมฝึกอบรมทางจิตวิญญาณ
เจตนาในการทำกรรมดี กรรมชั่ว หรือที่เรียกว่า กุศลกรรม อกุศลกรรม ก่อให้เกิดวิบากกรรมตามแรงเจตนานั้นๆ ซึ่งบางครั้งผลของกรรมจะปรากฎให้เห็นทันทีในปัจจุบัน แต่ในบางกรณีผลของกรรมอาจจะยังไม่ปรากฎ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยร่วมอื่นๆ เช่น สถานที่ เวลา และ บุคลิกภาพของผู้ทำกรรมดังที่เคยกล่าวมาแล้ว วิบากกรรมบางอย่าง ปรากฎในเวลาปัจจุบัน ในขณะที่กรรมบางอย่างอาจส่งผลในอนาคตตามเหตุปัจจัย ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
" สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ มีกรรมเป็นแดนเกิด ทุกอย่างเกี่ยวกับกรรมและสนับสนุนโดยกรรมทั้งที่หยาบและปราณีต " ดังนี้
By แก่นพุทธธรรม
ไม่อวดฝีมือ ถือความเรียบง่าย
เขียนหนังสือควรเรียบง่ายถึงจะก้าวหน้า
การฝึกตนควรเรียบง่ายจึงจะสำเร็จ
คำว่าเรียบง่ายมีความหมายสุดหยั่ง
ดั่งสุนัขเห่าในดงดอกท้อ ไก่ขันในดงหม่อน
นับเป็นทัศนียภาพแสนบริสุทธิ์
ส่วนวงเดือนบนหนองน้ำหนาวยะเยือก
นกกาเกาะบนต้นไม้โบราณ
แม้ภาพวาดฝีมือจะเลิศ
แต่กลับให้ความรู้สึกว่า
บรรยากาศช่างเงียบเหงาอ้างว้างยิ่งนัก
นิทัศน์อุทาหรณ์
ฝักถั่วใต้แสงอาทิตย์
จิตรกรมีชื่อเสียงคนหนึ่งรับอาสาวาดฝักถั่วให้กับฮ่องเต้ ฮ่องเต้จ่ายเบี้ยหวัดแก่เขาอย่างงดงาม และฝากความหวังไว้แก่เขาเป็นอย่างสูง หวังว่าเขาคงสามารถวาดงานที่เป็นหนึ่งไม่มีสองในโลกให้แก่พระองค์
คู่มือมนุษย์ ( ๗ )
คู่มือมนุษย์ ( ๗ )
การทำให้รู้แจ้ง ตามวิธีธรรมชาติ
สมาธิอาจจะมีโดยทางตามธรรมชาติอย่างหนึ่งและจากการบำเพ็ญตามหลักวิชาโดยเฉพาะอีกอย่างหนึ่งข้อที่ควรสังเกตมีอยู่ว่า สมาธิที่เป็นไปตามธรรมชาติมักจะพอเหมาะพอสมควรแก่กำลังของปัญญาที่จะทำการพิจารณา ส่วนสมาธิที่เกิดตามหลักธรรมวิชามักจะเป็นสมาธิที่มากเกินไป คือ เหลือใช้ และยังเป็นเหตุให้หลงติดได้ง่ายเพราะความสุขที่เกิดจากสมาธิที่เต็มที่นั้น อาจทำให้หลงติดหรือหลงเป็นมรรค ผล นิพพานไปก็ได้
ในพระไตรปิฎกมีเล่าถึงแต่การบรรลุมรรคผลทุกชั้นตามวิธีธรรมชาติ ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเอง หรือต่อหน้าผู้สั่งสอนคนอื่นๆ ก็มี โดยไม่ได้ไปเข้าป่า นั่งตั้งความเพียรอย่างมีพิธีรีตอง กำหนดอะไรต่างๆ ตามวิธีเทคนิค อย่างในคัมภีร์ที่แต่งใหม่ๆ ชั้นหลังเล่านั้นเลย โดยเฉพาะในกรณีแห่งการบรรลุอรหัตตผล ของภิกษุปัญจวัคคีย์ หรือชฎิล ๑,๐๐๐ รูป ด้วยการฟังอนัตตลักขณสูตร และอาทิตตปริยายสูตรด้วยแล้ว จะยิ่งเห็นว่าไม่มีการพยายามตามทางเทคนิคใดๆ เลย เป็นการเห็นแจ้งแทงตลอดตามวิธีของธรรมชาติแท้ๆ นี้เป็นตัวอย่างที่ทำให้เราเข้าใจได้ดีว่า สมาธิตามธรรมชาตินั้น ย่อมรวมอยู่ในความพยายามเพื่อจะเข้าใจแจ่มแจ้งและต้องมีอยู่ในขณะที่มีความเห็นอันแจ่มแจ้งติดแนบแน่นอยู่ในตัว อย่างไม่แยกจากกันได้ และเป็นไปเองตามธรรมชาติ
ในทำนองเดียวกันกับอย่างที่ว่า พอเราตั้งใจคิดเลขลงไปเท่านั้นจิตมันก็เป็นสมาธิไปเอง หรือว่าพอเราจะยิงปืน จิตก็เป็นสมาธิที่จะบังคับให้แน่วแน่ขึ้นมาเองในเวลาเล็ง นี่แหละเป็นลักษณะของสมาธิเป็นไปเองตามธรรมชาติ ซึ่งตามปกติถูกมองข้ามเสีย เพราะไม่ขลัง ไม่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่น่าอัศจรรย์ แต่คนเรารอดตัวมาได้เป็นส่วนใหญ่ ก็โดยอำนาจสมาธิตามธรรมชาตินี้เอง แม้การบรรลุมรรคผล ก็โดยอำนาจสมาธิตามธรรมชาตินี้เอง แม้การบรรลุมรรคผล เป็นพระอรหันต์ต่างๆ ก็ด้วยอาศัยสมาธิตามธรรมชาติทำนองนี้ ฉะนั้น ขออย่าได้ประมาทในเรื่องนี้ ควรประคับประคองมันให้เป็นไปด้วยดีถึงที่สุด ก็จะเป็นผลเท่ากัน เหมือนกับผู้ที่บรรลุพระอรหันต์ส่วนมากซึ่งไม่รู้จักการทำสมาธิเลย
Tuesday, October 08, 2013
หิวน้ำเพียงใด ก็ไม่มีวันดื่มน้ำจากบ่อน้ำพุขโมย
หิวน้ำเพียงใด ก็ไม่มีวันดื่มน้ำจากบ่อน้ำพุขโมย
ชีวิตของคนเรานั้นแม้ต้องยากลำบาก หรือหิวโหยเพียงใด ก็ไม่ควรยอมข้องแวะกับสิ่งชั่วร้ายเป็นอันขาด
ชาวญี่ปุ่นนั้นนับถือขงจื้อ มีเรื่องเล่าว่า เมื่อขงจื้อเดินทางมาถึงบ่อน้ำที่ชื่อ " ขโมย " แม้ท่านจะกระหายน้ำเพียงใดก็ไม่ยอมดื่มกิน
By ปรัชญา " ซามูไร "
Monday, October 07, 2013
ดื่มเดียวดายใต้เงาจันทร์
ดื่มเดียวดายใต้เงาจันทร์
ไหสุราประหนึ่งดั่ง ดอกไม้
ไร้เพื่อนดื่มเคียงกาย ผู้เดียว
ยกจอกขึ้นเชื้อเชิญจันทร์ กระจ่างใส
ทอแสงรวมเงาข้า เป็นสาม
จันทร์เจ้าลอยเลื่อน ไม่อาจ ดื่มได้
เงาเจ้าคล้อยเคลื่อนตาม ติดไหว
มีทั้งจันทร์และเงาอยู่เป็นเพื่อน
เริงรื่น ก่อนฤดูไม้พรรณพฤกษ ผลิใบ
เมื่อข้าร้องเพลง จันทร์ทอแสง
เมื่อข้าเริงระบำ เงาสั่นไหว
เมื่อยังตื่น ร่วมสรวลเสเฮฮา
เมื่อเมาแล้ว ต่างต้องแยกจากกัน
มิตรภาพของเรายังคงอยู่ตลอดไป
แล้วพบกันใหม่ในธารดารา
ธารดารา หมายถึงทางช้างเผือก
By หลี่ไป๋ กวีสมัยราชวงศ์ถัง
รู้ได้ว่าปลามีความสุข
รู้ได้ว่าปลามีความสุข
วันหนึ่งจวงจื่อกับฮุ่ยซือออกมาเดินเล่น ขณะเดินอยู่บนสะพานข้ามคลอง จวงจื่อเห็นปลากำลังแหวกว่ายไปมาอย่างเพลิดเพลินอยู่ในน้ำจึงกล่าวว่า " ดูซิปลาพวกนี้ช่างมีความสุขจริงๆ "
ฮุ่ยซือว่า " ท่านไม่ใช่ปลา ทำไมท่านจึงรู้ว่าปลามีความสุข ? "
จวงจื่อย้อนกลับว่า " ท่านก็ไม่ใช่ตัวข้าพเจ้า ทำไมท่านจึงรู้ว่าข้าพเจ้าไม่รู้ว่าปลามีความสุข ?"
ฮุ่ยซือว่า " ข้าพเจ้าไม่ใช่ท่าน จึงย่อมจะไม่รู้ว่าท่านมีความรู้สึกอย่างไร แต่ท่านก็ไม่ใช่ปลา ทำไมท่านจึงรู้ว่าปลามีความสุขหรือไม่มีความสุข "
จวงจื่ออธิบายว่า " ขอให้เรามาลำดับเหตุผลกันให้ละเอียดสักหน่อยก็จะเข้าใจได้ เมื่อกี้นี้ท่านถามข้าพเจ้าว่ารู้ว่าปลามีความสุขได้อย่างไร นั่นแสดงว่าท่านรู้ว่าข้าพเจ้ารู้ถึงความสุขของปลา ส่วนที่ว่าข้าพเจ้ารู้ได้อย่างไรนั่นก็คือข้าพเจ้ามาอยู่บนสะพานข้ามคลองเห็นปลาว่ายไปว่ายมาในน้ำอย่างสบาย ฉะนั้นจึงรู้สึกว่าปลามีความสุขมาก "
บันทึกใน " จวงจื่อ "
ชีวิตสมดุล
ชีวิตสมดุล
ศิษย์คนหนึ่งถามฌานาจารย์มู่โจว ว่า " คนเราต้องกินข้าวนุ่งผ้า อีกทั้งต้องทำซ้ำซากทุกวัน นี่เป็นเรื่องยุ่งยากโดยแท้ ขอถามอาจารย์ว่า ทำอย่างไรจึงจะขจัดความยุ่งยากเหล่านี้ได้ ? "
ฌานาจารย์ตอบอย่างแยบคายว่า " จะขจัดความยุ่งยากเหล่านี้อย่างไรหรือ ? เราต้องกินข้าวนุ่งผ้าทุกวัน "
ศิษย์คนนั้นพูดอย่างงุนงงว่า " ฉันไม่เข้าใจ " ฌานาจารย์จึงพูดอย่างหนักแน่นว่า " ถ้าไม่เข้าใจ งั้นก็กินข้าวนุ่งผ้าทุกวัน "
คนปกติต้องกินข้าวนุ่งผ้าทุกวัน บรรลุธรรมสำเร็จอรหันต์แล้ว ก็ต้องกินข้าวนุ่งผ้าเช่นเดิม ที่ต่างกันคือในนั้นมีความหมายต่างกัน เพราะก่อนบรรลุธรรม จะรู้สึกว่า กินข้าวนุ่งผ้าเป็นเรื่องยุ่งยาก หลังบรรลุธรรมแล้ว จะรู้สึกว่ากินข้าวนุ่งผ้าเป็นการปลดเปลื้องชนิดหนึ่ง
ศิษย์คนหนึ่งถามฌานาจารย์มู่โจว ว่า " คนเราต้องกินข้าวนุ่งผ้า อีกทั้งต้องทำซ้ำซากทุกวัน นี่เป็นเรื่องยุ่งยากโดยแท้ ขอถามอาจารย์ว่า ทำอย่างไรจึงจะขจัดความยุ่งยากเหล่านี้ได้ ? "
ฌานาจารย์ตอบอย่างแยบคายว่า " จะขจัดความยุ่งยากเหล่านี้อย่างไรหรือ ? เราต้องกินข้าวนุ่งผ้าทุกวัน "
ศิษย์คนนั้นพูดอย่างงุนงงว่า " ฉันไม่เข้าใจ " ฌานาจารย์จึงพูดอย่างหนักแน่นว่า " ถ้าไม่เข้าใจ งั้นก็กินข้าวนุ่งผ้าทุกวัน "
คนปกติต้องกินข้าวนุ่งผ้าทุกวัน บรรลุธรรมสำเร็จอรหันต์แล้ว ก็ต้องกินข้าวนุ่งผ้าเช่นเดิม ที่ต่างกันคือในนั้นมีความหมายต่างกัน เพราะก่อนบรรลุธรรม จะรู้สึกว่า กินข้าวนุ่งผ้าเป็นเรื่องยุ่งยาก หลังบรรลุธรรมแล้ว จะรู้สึกว่ากินข้าวนุ่งผ้าเป็นการปลดเปลื้องชนิดหนึ่ง
Sunday, October 06, 2013
Good and bad Kamma
Good and bad Kamma
Kamma is directly concerned with the antithetic terms such as good and bad, merit and evil, kusala and akusala, The words good and bad particular " Good " have very broad meaning in between the conventional language and Dhamma language. Somthing, which is good for one person or for one society might not be good to many others. Looked at from different angle and different social tradition, a certain thing may be good but not from another. Bahavior, which is considered good in one community or society, might be considered bad in another. The reason for disparity is a matter of values.\
When we define " good " and " bad " from the perspective of the Law of Kamma in Buddhism, these two words are known as kusala - skilful and akusala - unskilful. Kusala can be rendered generally as - intelligence, contented, beneficial, good while akusala or unskilful is defined in the opposite way.
According to Buddhism, kusala and akusala are conditions that arise in the mind, producing results initially in the mind, and from there, to external actions and physical features. Therefore the meaning of kusala kamma stresses all of intentional actions whatever bodily, verbal or mental deeds which characterizes the state of mind in the following conditions :
Kamma is directly concerned with the antithetic terms such as good and bad, merit and evil, kusala and akusala, The words good and bad particular " Good " have very broad meaning in between the conventional language and Dhamma language. Somthing, which is good for one person or for one society might not be good to many others. Looked at from different angle and different social tradition, a certain thing may be good but not from another. Bahavior, which is considered good in one community or society, might be considered bad in another. The reason for disparity is a matter of values.\
When we define " good " and " bad " from the perspective of the Law of Kamma in Buddhism, these two words are known as kusala - skilful and akusala - unskilful. Kusala can be rendered generally as - intelligence, contented, beneficial, good while akusala or unskilful is defined in the opposite way.
According to Buddhism, kusala and akusala are conditions that arise in the mind, producing results initially in the mind, and from there, to external actions and physical features. Therefore the meaning of kusala kamma stresses all of intentional actions whatever bodily, verbal or mental deeds which characterizes the state of mind in the following conditions :
Friday, October 04, 2013
กรรมดี กรรมชั่ว
กรรมดี กรรมชั่ว
เนื่องจากความหมายของคำว่า กรรม นั้นมักจะต้องเกี่ยวกับการกระทำที่มีลักษณะตรงข้าม ๒ ประการอยู่เสมอ นั่นคือ ดี กับ ชั่ว บุญ กับ บาป หรือ กุศล กับ อกุศล คำว่า ดี กับ ชั่ว โดยเฉพาะคำว่า ดี นั้น มีความหมายค่อนข้างกว้างระหว่างภาษาคนกับภาษาธรรม สิ่งที่เราพากันเข้าใจความหมายของคำว่า ดี ในภาษาคนหรือในสังคมหนึ่งอาจเป็นของที่ไม่ดี หรือ ชั่ว ในอีกสังคมหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่มุมมองของแต่ละคนหรือแต่ละสังคมที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน พฤติกรรมอย่างหนึ่งที่ถือว่าดีในสังคมหนึ่ง อาจไม่เป็นที่ยอมรับในอีกสังคมแล้วแต่ค่านิยมที่ยึดถือกันมา แต่อย่างไรก็ตาม หากเรามาพิจารณาความหมายของคำว่า ดี ชั่ว ตามกฏแห่งกรรมในทางพุทธศาสนาแล้วส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า กุศล และ อกุศล คำว่า กุศล โดยทั่วไป แปลว่า ฉลาด พอใจ เป็นประโยชน์ ดี ส่วน อกุศล มีความหมายในทางตรงข้าม
ในทางพุทธศาสนา กุศล และ อกุศล คือปัจจัยปรุงแต่งสภาพและคุณภาพของจิตที่นำไปสู่พฤติกรรมและบุคลิกภาพ ดังนั้นคำว่า กุศลกรรมจึงหมายถึงการกระทำโดยเจตนาไม่ว่าจะเป็นทางกาย วาจา ใจ ที่ก่อให้เกิดกุศลจิต ๔ ประการ คือ
ทะเลทุกข์เวิ้งว้าง หันหลังกลับคือฝั่ง
ใต้ฟ้าแจ่มใสเดือนกระจ่าง เหินหาวได้ ไร้ขอบเขต
แต่แมลงเท่ากลับบินเข้าหาเปลวเทียน
ลำธารใสหญ้าเขียวขจี ดืมกินได้ตามใจชอบ
แต่นกเค้าแมวกลับชอบรสหนูเน่า
เออหนอ
คนที่ไม่เป็นแมงเม่าและนกเค้าแมวในโลก
จะมีสักกี่คน ?
นิทัศน์อุทาหรณ์
แมงเม่าโฉบไฟ
ฟ้าสีครามสดใสสุดสายตา ฝูงห่านป่าบินผ่านมา ท่ามกลางแสงแดดอันอบอุ่น ไปด้วยอิสระเสรี
Thursday, October 03, 2013
ความเลวร้ายวิ่งเร็วพันลี้
ความเลวร้ายวิ่งเร็วพันลี้
ความหมายของสุภาษิตบทนี้ก็คือ การกระทำและคำเล่าลือที่ไม่ดีมักจะแพร่กระจายไปได้ไกลๆ ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งก็น่าจะจริง ยิ่งเป็นในสมัยปัจจุบันที่เป็นสังคมของสุดยอดเทคโนโลยีแล้ว ที่เพียงคลิกนิ้วข่าวพวกนี้ก็จะยิ่งเร็วกว่าพันลี้หลายพันหลายหมื่นเท่านัก
โดยเฉพาะข่าวที่ค่อนข้างที่จะเป็นเรื่องอยากรู้อยากเห็นของคนทั่วไปนั้นจะยิ่งไวปานติดจรวด อย่างหลายๆ กรณีของเหล่าดารา ซุปเปอร์สตาร์ นักการเมือง นักการมั่วทั้งของเมืองไทยและต่างประเทศ ทำอะไรที่ไหนมีแต่คนอยากรู้ และมีศัพท์นักการเมืองไทยเขาเคยพูดกันเล่นๆ ว่า " หมากัดคนไม่เป็นข่าว แต่คนกัดหมานั้นคือข่าวใหญ่ " ซึ่งนัยของมันก็คือ เรื่องธรรมดาหรือของคนธรรมดานั้นไม่ค่อยเป็นที่น่าสนใจ แต่เรื่องของคนดังทำอะไรหรือเรื่องแปลกๆ ย่อมเป็นข่าวที่น่าสนใจมากๆ และสามารถแพร่กระจายไปได้เร็วด้วย
เมื่อเร็วๆ นี้ ข่าวของดาราฮ่องกงยอดนิยมที่เป็นขวัญใจแฟนๆ มากมายอนาคตทางการแสดงที่รุ่งโรจน์ของเขาต้องดับโดยฉับพลัน เมื่อมีภาพสุดอื้อฉาวของเขากับดารานักร้องหญิงที่กำลังมีเพศสัมพันธ์ถูกแอบเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตไปทั่วโลก ซึ่งใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที
ความหมายของสุภาษิตบทนี้ก็คือ การกระทำและคำเล่าลือที่ไม่ดีมักจะแพร่กระจายไปได้ไกลๆ ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งก็น่าจะจริง ยิ่งเป็นในสมัยปัจจุบันที่เป็นสังคมของสุดยอดเทคโนโลยีแล้ว ที่เพียงคลิกนิ้วข่าวพวกนี้ก็จะยิ่งเร็วกว่าพันลี้หลายพันหลายหมื่นเท่านัก
โดยเฉพาะข่าวที่ค่อนข้างที่จะเป็นเรื่องอยากรู้อยากเห็นของคนทั่วไปนั้นจะยิ่งไวปานติดจรวด อย่างหลายๆ กรณีของเหล่าดารา ซุปเปอร์สตาร์ นักการเมือง นักการมั่วทั้งของเมืองไทยและต่างประเทศ ทำอะไรที่ไหนมีแต่คนอยากรู้ และมีศัพท์นักการเมืองไทยเขาเคยพูดกันเล่นๆ ว่า " หมากัดคนไม่เป็นข่าว แต่คนกัดหมานั้นคือข่าวใหญ่ " ซึ่งนัยของมันก็คือ เรื่องธรรมดาหรือของคนธรรมดานั้นไม่ค่อยเป็นที่น่าสนใจ แต่เรื่องของคนดังทำอะไรหรือเรื่องแปลกๆ ย่อมเป็นข่าวที่น่าสนใจมากๆ และสามารถแพร่กระจายไปได้เร็วด้วย
เมื่อเร็วๆ นี้ ข่าวของดาราฮ่องกงยอดนิยมที่เป็นขวัญใจแฟนๆ มากมายอนาคตทางการแสดงที่รุ่งโรจน์ของเขาต้องดับโดยฉับพลัน เมื่อมีภาพสุดอื้อฉาวของเขากับดารานักร้องหญิงที่กำลังมีเพศสัมพันธ์ถูกแอบเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตไปทั่วโลก ซึ่งใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที
Sunday, September 29, 2013
เลียริดสีดวงได้รถ
เลียริดสีดวงได้รถ
ในรัฐซ่งมีชายผู้หนึ่งชื่อเฉาซาง กษัตริย์รัฐซ่งได้ส่งให้เขาเป็นฑูตไปที่รัฐฉินเวลาขาออกเดินทาง กษัตริย์ของรัฐซ่งทรงประทานรถให้เขาไปเพียงไม่กี่คัน เมื่อเขาไปถึงรัฐฉิน กษัตริย์ของรัฐฉินทรงพอพระทัยในตัวเขามากจึงประทานรถม้าจำนวนร้อยคันให้แก่เขา
เมื่อเขาพบจวงจื่อหลังจากกลับมารัฐซ่งแล้วเขาก็กล่าวอย่างภาคภูมิใจว่า " ถ้าพูดเรื่องการอยู่ในตรอกที่โกโรโกโส ยากจนถึงกับต้องถักรองเท้าหญ้ามาใช้อดโซจนคอยาว หน้าตาซูบซีดแล้ว ข้าพเจ้าสู้ท่านไม่ได้แน่ แต่เมื่อได้เข้าเฝ้าพระจักรพรรดิแห่งมหารัฐฉินแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้รับพระราชทานรถม้าเป็นจำนวนมากถึงร้อยคัน นี่คือความสามารถของข้าพเจ้า "
จวงจื่อกล่าวกับเขาว่า " ข้าพเจ้าได้ฟังมาว่ากษัตริย์ฉินทรงเป็นโรคริดสีดวงที่เวจมรรค พระองค์ทรงแสวงหาคนไปถวายการรักษาพยาบาลอยู่มิได้ขาด ถ้าผู้ใดสามารถทำให้ริดสีดวงแตกก็จะได้รับพระราชทานรถคันหนึ่ง ใครเลียริดสีดวงของพระองค์ก็จะได้รับพระราชทานรถสองคัน ถวายการรักษาพยาบาลยิ่งอุจาดเท่าไร รถที่ได้รับพระราชทานก็จะยิ่งมาก ข้าพเจ้าอยากจะทราบว่าท่านถวายการรักษาพยาบาลริดสีดวงของพระองค์ด้วยวิธีใด เหตุไฉนท่านจึงได้รับพระราชทานรถม้ามามากมายเช่นนี้ ? ทุเรศ ! "
ในรัฐซ่งมีชายผู้หนึ่งชื่อเฉาซาง กษัตริย์รัฐซ่งได้ส่งให้เขาเป็นฑูตไปที่รัฐฉินเวลาขาออกเดินทาง กษัตริย์ของรัฐซ่งทรงประทานรถให้เขาไปเพียงไม่กี่คัน เมื่อเขาไปถึงรัฐฉิน กษัตริย์ของรัฐฉินทรงพอพระทัยในตัวเขามากจึงประทานรถม้าจำนวนร้อยคันให้แก่เขา
เมื่อเขาพบจวงจื่อหลังจากกลับมารัฐซ่งแล้วเขาก็กล่าวอย่างภาคภูมิใจว่า " ถ้าพูดเรื่องการอยู่ในตรอกที่โกโรโกโส ยากจนถึงกับต้องถักรองเท้าหญ้ามาใช้อดโซจนคอยาว หน้าตาซูบซีดแล้ว ข้าพเจ้าสู้ท่านไม่ได้แน่ แต่เมื่อได้เข้าเฝ้าพระจักรพรรดิแห่งมหารัฐฉินแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้รับพระราชทานรถม้าเป็นจำนวนมากถึงร้อยคัน นี่คือความสามารถของข้าพเจ้า "
จวงจื่อกล่าวกับเขาว่า " ข้าพเจ้าได้ฟังมาว่ากษัตริย์ฉินทรงเป็นโรคริดสีดวงที่เวจมรรค พระองค์ทรงแสวงหาคนไปถวายการรักษาพยาบาลอยู่มิได้ขาด ถ้าผู้ใดสามารถทำให้ริดสีดวงแตกก็จะได้รับพระราชทานรถคันหนึ่ง ใครเลียริดสีดวงของพระองค์ก็จะได้รับพระราชทานรถสองคัน ถวายการรักษาพยาบาลยิ่งอุจาดเท่าไร รถที่ได้รับพระราชทานก็จะยิ่งมาก ข้าพเจ้าอยากจะทราบว่าท่านถวายการรักษาพยาบาลริดสีดวงของพระองค์ด้วยวิธีใด เหตุไฉนท่านจึงได้รับพระราชทานรถม้ามามากมายเช่นนี้ ? ทุเรศ ! "
บันทึกใน " จวงจื่อ "
คู่มือมนุษย์ ( ๖ )
คู่มือมนุษย์ ( ๖ )
คนเรายึดถืออะไร ( เบญจขันธ์ )
ที่ตั้งแห่งความยึดถือของอุปาทานคือโลก คำว่า " โลก " ในทางธรรมหมายถึง สิ่งทุกสิ่งที่มีอยู่ นับตั้งแต่พรหมจนถึงเปรตอสุรกาย พุทธศาสนาสอนวิธีดูโลกไว้หลายชั้น เช่นให้ดูด้วยการจำแนกโลกออกเป็นฝ่ายวัตถุเรียกว่า " รูปธรรม " กับฝ่ายจิตใจ เรียกว่า " นามธรรม " ส่วนที่เป็นนามธรรมยังแยกออกได้เป็น ๔ ส่วน รวมนามธรรม ๔ ส่วน กับรูปธรรม ๑ ส่วน รวมกันได้เป็น ๕ ส่วน เรียกว่า " เบญจขันธ์หรือขันธ์ห้า " แปลว่า ส่วนที่ประกอบกันขึ้นเป็นโลก คือเป็นสัตว์หรือเป็นคน การดูโลกหมายถึงดูคนโดยเฉพาะ
นามธรรม ๔ ส่วน จำแนกออกได้ดังนี้
ส่วนที่ ๑ เรียกว่า " เวทนา " หมายถึงความรู้สึก ๓ ประการ คือ สุข ทุกข์ และ ไม่สุขไม่ทุกข์ อันมีประจำอยู่ในคนเป็นปกติจึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ประกอบขึ้นเป็นคน
ส่วนที่ ๒ เรียกว่า " สัญญา " แปลว่า รู้พร้อมเป็นความรู้สึกตัวเหมือนกำลังตื่นอยู่คือไม่หลับ ไม่สลบ ไม่ตาย หรือที่เรียกว่าสติสมปฤดี แต่โดยทั่วๆ ไปมักอธิบายกันว่า เป็นความจำเป็นได้หมายรู้ก็ถูกเหมือนกันเพราะหมายความว่ายังไม่เมา ไม่สลบ ไม่หลับ ไม่ตาย ดังกล่าวมาแล้ว
ส่วนที่ ๓ เรียกว่า " สังขาร " มีหลายความหมาย สังขารที่เป็นส่วนหนึ่งของนามธรรมนี้แปลว่า " ปรุง " ได้แก่กิริยาแห่งการคิดหรือความคิด คำว่าสังขารในที่อื่นหมายถึงบุญกุศลที่ปรุงแต่งคนให้เกิดก็มี หมายถึงร่างกายหรือโครงร่างที่มีใจครองก็มี แต่มีความหมายตรงกันอยู่ว่า เป็นเครื่องปรุงแต่ง
ส่วนที่ ๔ เรียกว่า " วิญญาณ " หมายถึงตัวจิตที่ทำหน้าที่รู้สึกที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
โลกในพุทธศาสนา ท่านจำแนกกันอย่างนี้ ผู้ต้องการเข้าใจโลกสมควรสนใจเรื่องขันธ์ห้าให้มากตามสมควร
ขันธ์ห้า เป็นการยึดเกาะของอุปาทานสี่
คนเรายึดถืออะไร ( เบญจขันธ์ )
ที่ตั้งแห่งความยึดถือของอุปาทานคือโลก คำว่า " โลก " ในทางธรรมหมายถึง สิ่งทุกสิ่งที่มีอยู่ นับตั้งแต่พรหมจนถึงเปรตอสุรกาย พุทธศาสนาสอนวิธีดูโลกไว้หลายชั้น เช่นให้ดูด้วยการจำแนกโลกออกเป็นฝ่ายวัตถุเรียกว่า " รูปธรรม " กับฝ่ายจิตใจ เรียกว่า " นามธรรม " ส่วนที่เป็นนามธรรมยังแยกออกได้เป็น ๔ ส่วน รวมนามธรรม ๔ ส่วน กับรูปธรรม ๑ ส่วน รวมกันได้เป็น ๕ ส่วน เรียกว่า " เบญจขันธ์หรือขันธ์ห้า " แปลว่า ส่วนที่ประกอบกันขึ้นเป็นโลก คือเป็นสัตว์หรือเป็นคน การดูโลกหมายถึงดูคนโดยเฉพาะ
นามธรรม ๔ ส่วน จำแนกออกได้ดังนี้
ส่วนที่ ๑ เรียกว่า " เวทนา " หมายถึงความรู้สึก ๓ ประการ คือ สุข ทุกข์ และ ไม่สุขไม่ทุกข์ อันมีประจำอยู่ในคนเป็นปกติจึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ประกอบขึ้นเป็นคน
ส่วนที่ ๒ เรียกว่า " สัญญา " แปลว่า รู้พร้อมเป็นความรู้สึกตัวเหมือนกำลังตื่นอยู่คือไม่หลับ ไม่สลบ ไม่ตาย หรือที่เรียกว่าสติสมปฤดี แต่โดยทั่วๆ ไปมักอธิบายกันว่า เป็นความจำเป็นได้หมายรู้ก็ถูกเหมือนกันเพราะหมายความว่ายังไม่เมา ไม่สลบ ไม่หลับ ไม่ตาย ดังกล่าวมาแล้ว
ส่วนที่ ๓ เรียกว่า " สังขาร " มีหลายความหมาย สังขารที่เป็นส่วนหนึ่งของนามธรรมนี้แปลว่า " ปรุง " ได้แก่กิริยาแห่งการคิดหรือความคิด คำว่าสังขารในที่อื่นหมายถึงบุญกุศลที่ปรุงแต่งคนให้เกิดก็มี หมายถึงร่างกายหรือโครงร่างที่มีใจครองก็มี แต่มีความหมายตรงกันอยู่ว่า เป็นเครื่องปรุงแต่ง
ส่วนที่ ๔ เรียกว่า " วิญญาณ " หมายถึงตัวจิตที่ทำหน้าที่รู้สึกที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
โลกในพุทธศาสนา ท่านจำแนกกันอย่างนี้ ผู้ต้องการเข้าใจโลกสมควรสนใจเรื่องขันธ์ห้าให้มากตามสมควร
ขันธ์ห้า เป็นการยึดเกาะของอุปาทานสี่
Saturday, September 28, 2013
เป็นครูคน
เป็นครูคน
ลูกศิษย์ ก. ถามฌานาจารย์ฝ่าเยี่ยนว่า " อาจารย์ พระจันทร์ คือ อะไร ? " ฌานาจารย์ฝ่าเยี่ยนชี้นิ้วไปที่ฟ้า
ลูกศิษย์ ก. ถามอีกว่า " ศิษย์ไม่ได้หมายถึงที่อาจารย์ชี้ แต่ต้องการถามว่าพระจันทร์คืออะไรกันแน่ ? "
ฌานาจารย์ฝ่าเยี่ยนถามกลับว่า " ไอ้ที่เจ้าไม่ได้ถามน่ะ ที่อาตมาชี้น่ะมันคืออะไร ? "
ถึงตอนนี้ ลูกศิษย์ ข. เข้ามาร่วมสนทนาอีกคน ลูกศิษย์ ข. ถามว่า " ฉันไม่คิดถามถึงพระจันทร์ ที่ถามคือที่นิ้วชี้ ? "
ฌานาจารย์ฝ่าเยี่ยนตอบว่า " พระจันทร์ "
ลูกศิษย์ ข. ไม่เข้าใจ ถามอีกว่า " ที่ฉันถามคือที่นิ้วชี้ เหตุใดอาจารย์จึงตอบว่าพระจันทร์ ? "
ฌานาจารย์ฝ่าเยี่ยนตอบว่า " ก็เพราะที่เจ้าถาม คือ ที่นิ้วชี้ ! "
ลูกศิษย์ ก. ถามฌานาจารย์ฝ่าเยี่ยนว่า " อาจารย์ พระจันทร์ คือ อะไร ? " ฌานาจารย์ฝ่าเยี่ยนชี้นิ้วไปที่ฟ้า
ลูกศิษย์ ก. ถามอีกว่า " ศิษย์ไม่ได้หมายถึงที่อาจารย์ชี้ แต่ต้องการถามว่าพระจันทร์คืออะไรกันแน่ ? "
ฌานาจารย์ฝ่าเยี่ยนถามกลับว่า " ไอ้ที่เจ้าไม่ได้ถามน่ะ ที่อาตมาชี้น่ะมันคืออะไร ? "
ถึงตอนนี้ ลูกศิษย์ ข. เข้ามาร่วมสนทนาอีกคน ลูกศิษย์ ข. ถามว่า " ฉันไม่คิดถามถึงพระจันทร์ ที่ถามคือที่นิ้วชี้ ? "
ฌานาจารย์ฝ่าเยี่ยนตอบว่า " พระจันทร์ "
ลูกศิษย์ ข. ไม่เข้าใจ ถามอีกว่า " ที่ฉันถามคือที่นิ้วชี้ เหตุใดอาจารย์จึงตอบว่าพระจันทร์ ? "
ฌานาจารย์ฝ่าเยี่ยนตอบว่า " ก็เพราะที่เจ้าถาม คือ ที่นิ้วชี้ ! "
The Law of Kamma and the moral justice
The Law of Kamma and the moral justice
The Law of Kamma has nothing to do with the idea of moral justice religious. Although some scholars try to claim their common origin or confuse them through analogy, there is no justification for such effort.
To begin with, the theory of moral justice is grounded on the assumption of a Supreme Being or a so - called Creator God, the lawgiver who sits in judgement over all actions. It is he who is believed to mete out justice, giving punishment to sinner and rewards to believers as the case may be. But the meaning of expression " moral justice " in theistic religious is ambiguous. History has shown that much injustice has been made in the name of moral justice.
The Law of Kamma, on the other hand is a natural law. It is the natural law of cause and effect, of action and reaction. The law of kamma operates on its own, requiring no assumption of God. It has nothing to do with the idea of reward or punishment. The Law of Kamma operates with full and perfect justice.
The Law of Kamma has nothing to do with the idea of moral justice religious. Although some scholars try to claim their common origin or confuse them through analogy, there is no justification for such effort.
To begin with, the theory of moral justice is grounded on the assumption of a Supreme Being or a so - called Creator God, the lawgiver who sits in judgement over all actions. It is he who is believed to mete out justice, giving punishment to sinner and rewards to believers as the case may be. But the meaning of expression " moral justice " in theistic religious is ambiguous. History has shown that much injustice has been made in the name of moral justice.
The Law of Kamma, on the other hand is a natural law. It is the natural law of cause and effect, of action and reaction. The law of kamma operates on its own, requiring no assumption of God. It has nothing to do with the idea of reward or punishment. The Law of Kamma operates with full and perfect justice.
Subscribe to:
Posts (Atom)