Friday, December 20, 2013
เป้าหมายในการปฏิบัติตามกฎแห่งกรรม
เป้าหมายในการปฏิบัติตามกฎแห่งกรรม
กรรมเป็นเรื่องของการกระทำ ว่าเราควรจะทำอะไร และ ควรจะทำอย่างไร ความเข้าใจในเรื่องของกฎแห่งกรรมจะช่วยเป็นหลักในการดำเนินชีวิตให้กับตนเองและสังคม พร้อมกันนั้น กฎแหง่กรรมดำเนินชีวิตให้กับตนเองและแก่สังคม พร้อมกันนั้น กฎแห่งกรรมยังสอนให้เราเข้าใจเหตุผลและหลักการอันเนื่องมาจากเหตุปัจจัย เป็นเครื่องฝึกอบรมจิตใจให้เกิดความมุ่งมานะ เพื่อทำความดีงาม มีเหตุผล และมองเห็นโลกชีวิตตามความเป็นจริงสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเองโดยไม่คาดหวังจากการพึ่งพาด้วยการสวดอ้อนวอนขอพรจากปัจจัยภายนอก
กฎแห่งกรรมช่วยให้เราเชื่อมั่นในศักยภาพและความรับผิดชอบที่มีต่อตนเองและต่อสังคม สอนให้เรามีความรับผิดชอบต่อหน้าที่สอนให้ทำกรรมดี ละเว้นในการทำความชั่ว มีความเมตตากรุณาเพราะกฎแห่งกรรม สอนให้เราเชื่อและมั่นใจในศักยภาพที่มีติดตัวมากับมนุษย์ทุกคนในหารพัฒนตนเองเพื่อสร้างความดีงามให้กับโลกขจัดความเกลียดชัง ความอาฆาตพยาบาท อันนำไปสู่สงครามแห่งความขัดแย้ง ด้วยความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม ทางที่มีไว้ให้เราเลือก เพื่อเป้าหมายดังกล่าวนี้
กรรม เป็นตัวกำหนดทิศทางในการดำเนินชีวิต เป็นตัวสร้างความมุ่งหวัง เป็นตัวกำหนดแบบแผนชีวิต และเป็นตัวชี้นำการกระทำความดีงามทั้งต่อตนเองและผู้อื่น กฎแห่งกรรมสอนให้เชื่อว่าตัวเราคือนายของเราในการกำหนดความรับผิดชอบต่อการกระทำและต่อหน้าที่ความรับผิดชอบที่ตนเองมี
กฎแห่งกรรมสอนว่า กรรมหรือการกระทำ คือเกณฑ์ตัดสินความเป็นมนุษย์ ความเป็นมนุษย์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับฐานะทางสังคม วรรณะ หรือ ความเชื่อทางศาสนา กรรมเป็นตัวช่วยในการส่งเสริมศีลธรรมจริยธรรมอันเป็นบรรทัดฐานสากลในการวัดคุณค่าของความเป็นมนุษย์ กรรมมีทั้งหยาบและละเอียดประณีต ดังพุทธพจน์ที่ว่า
" มนุษย์ทุกคนที่เกิดมา มิได้ถูกตัดสินว่า ดี ชั่ว ด้วยฐานะ ด้วยชาติกำเนิด ( ดังเช่นพราหมณ์ ) แต่ด้วยการกระทำ
ความเชื่อในเรื่องของกฎแห่งกรรมตามทางพุทธศาสนานอกจากจะส่งผลดังกล่าวแล้ว ยังเป็นเครื่องนำสู่กระแสนิพพานหากเราเชื่อในศักยภาพและความเป็นไปได้ต่อการพัฒนาตนเองแม้ว่ากรรมนั้นจะยังอยู่ห่างไกลจากนิพพาน แต่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย หากเราหมั่นฝึกอบรมจิตใจในการกระทำ และ ความเชื่อในเรื่องของกฎแห่งกรรมในลักษณะที่ถูกต้องเท่านั้นที่เป็นเครื่องพาจิตวิญญาณไปสู่เป้าหมายที่ถูกต้องตามคติธรรมแห่งพุทธศาสนา
พระธรรมปิฎก ( ป.อ. ปยุตฺโต ) กล่าวไว้ว่า " ในทางพุทธศาสนากรกระทำทั้งหลายควรเกิดจากกุศลเจตนา ปราศจากอกุศลมูลทั้งหลาย เช่น โทสาคิ หรือ ภยาคติ อีกประการหนึ่ง ควรประกอบกุศลกรรมเพื่อประโยชน์ให้กับตนเองและเพื่อสังคมจึงจะเป็นการถูกต้อง โดยในระดับแรก ได้แก่การประกอบกุศลกรรมเพือสร้างกุศลจิตให้กับตนเองด้ยพรหมวิหาร ๔ ประการ เมตตา กรุณา มุฒิตา อุเบกขา กับในระดับที่สอง นำกุศลจิตที่มีอยู่ไปประพฤติปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ทางสังคมโดยอาศัยหลักธรรมแห่งสังคหวัตถุ ๔ คือ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตา คุณธรรมทั้งสองรดับนี้ พุทธศาสนาถือว่ามีความสัมพันธ์ต่อกันในฐานะที่มนุษย์จะต้องอยู่ร่วมกันเพื่อสังคมอันดีงาม "
By แก่นพุทธธรรม
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment