เป็นครูคน
ลูกศิษย์ ก. ถามฌานาจารย์ฝ่าเยี่ยนว่า " อาจารย์ พระจันทร์ คือ อะไร ? " ฌานาจารย์ฝ่าเยี่ยนชี้นิ้วไปที่ฟ้า
ลูกศิษย์ ก. ถามอีกว่า " ศิษย์ไม่ได้หมายถึงที่อาจารย์ชี้ แต่ต้องการถามว่าพระจันทร์คืออะไรกันแน่ ? "
ฌานาจารย์ฝ่าเยี่ยนถามกลับว่า " ไอ้ที่เจ้าไม่ได้ถามน่ะ ที่อาตมาชี้น่ะมันคืออะไร ? "
ถึงตอนนี้ ลูกศิษย์ ข. เข้ามาร่วมสนทนาอีกคน ลูกศิษย์ ข. ถามว่า " ฉันไม่คิดถามถึงพระจันทร์ ที่ถามคือที่นิ้วชี้ ? "
ฌานาจารย์ฝ่าเยี่ยนตอบว่า " พระจันทร์ "
ลูกศิษย์ ข. ไม่เข้าใจ ถามอีกว่า " ที่ฉันถามคือที่นิ้วชี้ เหตุใดอาจารย์จึงตอบว่าพระจันทร์ ? "
ฌานาจารย์ฝ่าเยี่ยนตอบว่า " ก็เพราะที่เจ้าถาม คือ ที่นิ้วชี้ ! "
นิทานฌานเรื่อง " ชี้พระจันทร์ " นี้มีจุดหมายต้องการบอกเราว่า การชี้นำให้ผู้อื่นแสวงมรรคศึกษาธรรม มีเป้าหมายอยู่ที่ช่วยให้ผู้อื่นเกิดสำนึกและบรรลุธรรม มิใช่อยู่ที่การชี้นำ
สภาพเช่นนี้ เปรียบได้กับอาจารย์สอนลูกศิษย์ ต้องการกระตุ้นให้ลูกศิษย์เกิดไหวพริบปฏิภาณ เปิดประตูแห่งปัญญาแก่พวกเขา มิใช่ถ่ายทอดความรู้ในตำราอย่างตายตัว วิธีการสอนแบบล้าหลังเพียงช่วยให้ลูกศิษย์เข้าใจตัวอักษรและความหมายของคัมภีร์เท่านั้น แต่ไม่ได้ช่วยให้ลูกศิษย์เข้าใจความหมายและคุณค่าของชีวิต ไม่ได้ช่วยให้ลูกศิษย์เกิดปัญญาที่จะขบคิดไตร่ตรองแก้ปัญหาด้วยตนเอง นี่เป็นวิธีสอนแบบถอยหลังลงคลอง ผู้เป็นครูพึงสังวร !
By เซน : วิถีแห่งความสุขที่แท้
No comments:
Post a Comment