Sunday, December 30, 2012

สัมมาสติ

สัมมาสติ

           คำว่า สติ หมายถึงตระหนัก การรู้ตัว การรู้ตื่น ในช่วงขณะนั้น หรือ หมายถึงภาวะของจิตที่รู้สึก และเตรียมพร้อมในทุขณะของเหตุการณ์ตอนนั้น สติ เป็นภาวะของจิตที่ตื่นรับเหตุการณ์ประจำวัน ไม่ใช่สติที่ถูกควบคุมในขณะปฏิบัติสมาธิ ตามที่นักปฏิบัติธรรมบางคนเข้าใจในปัจุบัน แต่เป็นจิตที่อยู่ในภาวะที่ตระหนัก และเตรียมพร้อมในการปฏิบัติภารกิจเพื่อการดำรงชีวิตด้วยความสุขุม รอบคอบ หนักแน่น และไม่ประมาท สามารถบรรลุความสำเร็จได้โดยปราศจากทุกข์

           ในทางอภิธรรม มีคำจำกัดความของคำว่า " สัมมาสติ " ไว้ดังนี้ สัมมา หมายถึง ความถูกต้อง สติ หมายถึง ความใฝ่ใจ ความระลึกได้ จำได้ ความไม่หลงลืม ความไม่เลือนรางจางหายไปดังนั้นตามความหมายรวม สัมมาสติ จึงเป็นตัวควบคุม ตัวตรวจสอบกระแสการทำงานของจิตที่ควบคุมการกระทำทุกด้านที่ร่างกายแสดงออก

           พุทธศาสนาถือว่า สติ เป็นธรรมที่สำคัญยิ่งต่อการประพฤติปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตทั่วไปหรือในระหว่างการปฏิบัติธรรมผู้ที่มีสติถือว่าเป็นผู้ที่ไม่ตกอยู่ในความไม่ประมาท จริยศาสตร์แนวพุทธถือว่า สติกับความไม่ประมาท ( อัปปมาท ) เป็นสิ่งเดียวกัน หรือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้

           พุทธศาสนาจัดให้ อัปปมาท เป็นปัจจัยภายในต่อการเกิดสัมาสติ เช่นเดียวกับ โยนิโสมนสิการ เป็นปัจจัยภายในที่ก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ทั้ง อัปปมาท และ โยนิโสมนสิการ จึงเป็นปัจจัยภายในที่ต้องควบคู่กับกัลยาณมิตร ที่ถือว่าเป็นปัจจัยภายนอกที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้หรือปรโตโฆสะ ในพุทธพจน์หลายแห่งที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมที่เกี่ยวสมัมาทิฏฐิคู่ไปกับสัมมาสติ จะทรงกล่าวถึงอัปปมาท คู่กับ โยนิโสมนสิการ อยู่เสมอๆ ดังนั้นในหลักแห่งไตรสิกขาหาก โยนิโสมนสิการ เป็นหัวใจของการเจริญทางปัญญา อัปปมาท ก็ย่อมถือได้ว่าเป็นหัวใจของการเจริญทางสมาธิเช่นเดียวกัน



           พุทธศาสนาสอนว่า รากฐานที่จะทำให้เกิดสัมมาสติระหว่างการปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนากรรมฐานได้นั้น ต้องประกอบด้วย สติปัฏฐาน 4 คือ

           1. การตั้งสติการกำหนดการพิจารณากายให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่าไม่ใช่ตัวตนของเรา

           2. การตั้งสติควบคุมอามณ์ว่าเป็นเพียงเวทนา

           3. การตั้งสติพิจารณา และ 

           4. การตั้งจิตกำหนดพิจารณารู้และเข้าใจในธรรมทั้งหลาย

          ท่านสยาดอ อู บัณฑิต กล่าวว่า การบำเพ็ญสติปัฏฐานย่อมนำมาซึ่งประโยชน์ให้กับตนเอง 7 ประการ กล่าวคือ ทำให้จิตบริสุทธิ์สามารถเอชนะความทุกข์ อยู่เหนือความโศกเศร้า กำจัดความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ นำเราเข้ามาสู่สัมมาปฏิปทา และสามารถบรรลุนิพพานได้ใที่สุด

           อย่างไรก็ตามความสำคัญของสติปัฏฐานที่ได้อธิบายไว้โดยย่อดังกล่าวนั้น มิได้เป็นหลักการปฏิบัติสำหรับการทำสมาธิภาวนาแะวิปัสสนาภาวนาโดยเฉพาะที่ผู้ปฏิบัติจะต้องปลีกวิเวกแสวงหาที่สงบแยกตัวจากบริบททางสังคมธุรกิจการงาน แต่โดยสาระถือว่าสามารถนำไปใช้ในการประพฤติปฏิบัติต่อชีวิตประจำวันของคนทั่วไปด้วย ซึ่งตามแนวทางพุทธศาสนา หมายถึงการน้อมรับหลักการทางธรรมชาติ เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการภายในจิตใจของมนุษย์ที่มีต่อตนเองและต่อคุณค่าทางสังคม กล่าวคือไม่เพียงแต่มีทัศนคติที่จะหาประโยชน์ให้กับตนเองเพียงอย่างเดียวแต่ต้องมุ่งส่งเสริมและแสวงหาเป้าหมายในการกระทำความดีเพื่อสังคม ดังพุทธพจน์ที่พระบรมศาสดาตรัสแสดงเกี่ยวกับการปฏิบัติสัมมาสติต่อบรรดาสาวกทั้งหลาย ดังนี้

            " ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย การปฏิบัติสัมมาสตินั้น หมายถึงจิตที่มีการเตรียมพร้อมที่จะประพฤติชอบ เพื่อรักษาทั้งตนและผู้อื่น การรักษาตนนั้นเป็นอย่างไร ก็ด้วยการหมั่นเพียรภาวนาเจริญธรรม ด้วยการทำให้มากยิ่งขึ้น ( ใจกว้างไม่เห็นแก่ตัว ) อย่างนี้แล เรียกว่าการรักษาตนเอง อนึ่ง การรักษาผู้อื่นนั้นเป็นอย่างไร ก็ด้วยความถึงพร้อม ด้วย ขันติ ด้วย อวิสิงหา ด้วย ความรัก เมตตา และ ด้วยความกรุณา อย่างนี้แล "

           ในปัจฉิมโอวาท ก่อนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จสู่ปรินิพพาน พระองค์ตรัสแก่พระอานนท์เกี่ยวกับการปฏิบัติสัมมาสติไว้ดังนี้

           " ดูก่อน อานนท์ สังขารทั้งหลายย่อมเสื่อมลงเป็นธรรมดาจงยังประโยชน์ให้กับตนเอง [ ทั้งประโยชน์ปัจจุบันในการดำเนินชีวิต ทิฏฐธัมมิกัตถะ และประโยชน์เบื้องหน้า หรือ ประโยชน์ชั้นสูงทางจิตใจหรือทางคุณธรรม - สัมปรายิกัตถะ ] และให้กับผู้อื่น [ หมายถึง ครอบครัว ญาติมิตร สังคม สิ่งแวดล้อม ] ด้วยความไม่ประมาทเถิด "

            ในการปฏิบัติสมาธิวิปัสสนาเพื่อพัฒนาปัญญาตามหลักไตรสิกขา สัมมาสติเป็นแนวทางที่จำเป็นจะต้องปฏิบัติควบคู่ไปกับสัมมาสติ ภายใต้การนำ สติปัฏฐาน 4 มาเป็๋นตัวกำหนดขั้นพื้นฐานดังนี้

            1. กายานุปัสสนา การเพ่งพินิจจารณาภายในร่างกาย และพฤติกรรม เช่น การกำหนดลมหายใจเข้าออก ( อานาปานสติ ) การตรวจสอบติดตามควบคุมในอิริยาบถ การมีสัมปชัญญะในการทำความเข้าใจในสิ่งที่ร่างกายกำลังทำอยู่ว่า สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ตัวเรา

            2. เวทนานุปัสสนา เฝ้าติดตามดูอารมณ์ที่เป็น สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ อันเกิดึขึ้นจากกิเลสกาม และทำความเข้าใจกับอารมณ์เหล่านั้นอย่างใกล้ชิดทุกทั่วขณะว่า นั่นเป็นเพียงเวทนา

            3. จิตตานุปัสสนา เพ่งสำราจติดตามดูสภาวะของจิตในขณะนั้นว่า ประกอบด้วย กามราคะ หรือ ปฏิฆะ หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อทำความกระจ่างให้กับตนเองว่า นั่นคือปฏิกิริยาของจิตในชั่วขณะนั้น

            4. ธรรมานุปัสสนา เพ่งพินิจในธรรม เช่น ทำความเข้าใจในนิวรณ์ 5 ที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติสมาธิวิปัสสนา ทำความเข้าใจในองค์ประกอบของขันธ์ 5 ว่า เป็นเพียงสังขารที่เกิดจากการปรุงแต่ง และทำความข้าใจในอายตนะทั้งภายนอกและภานในที่เป็นตัวก่อให้เกิดวิญญาณ พร้อมทั้งเข้าใจในโพชฌงค์ ในอริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

            การดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาทในทุกชั่วขณะด้วยสัมมาสติภายใต้หลักแห่งสติปัฏฐาน 4 โดยการเพ่งพิจารณาร่างกายและพฤติกรรม พิจารณาในเวทนาต่ออารมณ์ สุข ทุกข์ พิจารณาสภาพของจิตที่ตกอยู่ในความรัก ความเกลียด และพิจารณาจนเกิดความเข้าใจในธรรมทั้งหลายได้แล้ว ก็จะนำเราไปสู่ความหลุดพ้นจากความทุกข์ เป็นชีวิตที่ปลอดโปร่งงดงาม อันจะเป็นการเพาะบ่มจิตให้พัฒนามองเห็นสัจธรรมแห่งกระแสนิพพานได้ต่อไป

            หลักจริยศาสตร์แนวพุทธถือว่า สติ หรือ อัปปมาท เป็นหัวใจสำคัญยิ่ง ทั้งต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และการปฏิบัติสมาธิภาวนาหรือวิปัสสนาภาวนา ดังที่เราจะสังเกตเห็นได้จากพุทธพจน์ดังต่อไปนี้

            " ดูก่อน ภิกษุ รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายชนิดใดๆ ก็ตามย่อมลงในรอยเท้าช้างได้ทั้งหมด รอยเท้าช้างเรียกได้ว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้นโดยความใหญ่ ฉันใด กุศลธรรมทั้งหลายอย่างใดๆ ก็ตามย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความประมาทได้ทั้งหมด ความไม่ประมาทจึงเป็นยอดของธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น






By แก่นพุทธธรรม

No comments:

Post a Comment