Sunday, December 16, 2012

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๑๒ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๑๒ )
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

           สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นวีรบุรุษแห่งตะเลงพ่าย หรือผู้ชนะมอญ ชาวไทยให้ความเคารพพระองค์อย่างสูงสุดและยกย่องพระอค์ว่าเป็นกษัตริย์ยอกนักรบ พระองค์ทรงเป็นพระโอรสของพระมหาธรรมาราชา ทรงมีพระภคินีพระานามว่า เจ้าหญิงสุพรรณเทวี ( สุวรรณกัลยาณี ) และพระอนุชาพระนามว่า เอกาทศรถ ผู้ซึ่งต่อสู้ข้าศึกเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระนเรศวรตลอดมา พระนเรศวรเองบางครั้งทรงได้รับขนานนามว่าพระองค์ดำ และขนานนามพระเอกาทศรถว่าพระองค์ขาว

           เมื่อยังทรงพระเยาว์ พระองค์ถูกนำตัวไปยังกรุงหงสาวดีโดยพระเจ้าบุเรงนอง หรือเป็นที่รู้จักกันว่า " ผู้ชนะสิบทิศ " ผู้ซึ่งแต่งตั้งให้พระมาหาธรรมราชาปกครองกรุงศรีอยุทธยาสืบไป พระนเรศวรถูกกักตัวไว้เป็นตัวประกันในพม่าเป็นเวลานาน ๙ ปี ครั้นพระชันษาได้ ๑๖ ปี พระราชบิดาจึงขอตัวกลับมาและส่งให้ไปเป็นมหาอุปราชาเมืองพิษณุโลก

            มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระองค์ว่าเมื่อยังทรงพระเยาว์ในขณะที่พระองค์ถูกกักตัวไว้เป็นตัวประกันในพม่า อยู่มาวันหนึ่งพระองค์ได้เข่าร่วมการแข่งขันตีไก่กับพวกเจ้าชายพม่า ปรากฏว่าไก่ของพระองค์ชนะการแข่งขัน ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับกษัตริย์พม่าจนถึงกลับตรัสออมาว่า " โอ้ ไก่เชลยนี้ตีเก่งนะ " เจ้าชายนเรศวรรีบตอบทันทีว่า " ไก่เชลยนี้ไม่ใช่แค่เพียงตีเพื่อการพนันเท่านั้น แต่ยังสามารถตีเอาบ้านเอาเมืองกันยังได้ " ซึ่งนี่ก็แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงตระหนักอยู่เสมอในความเป็นตัวประกันและประสงค์ที่จะปลดปล่อยให้อยุธยาเป็นอิสระอยู่เสมอ


            โชคดีที่ว่า พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเสด็จสวรรณคตในปี พ.ศ. ๒๑๒๔ ผู้สืบทอดบัลลังก์แทนพระองค์คือ พระเจ้านันทะบุเรง ผู้ซึ่งไม่เข้มแข็งพอจนเมืองขึ้นหลายเมืองก่อการกบฎ รวมทั้งเมืองมอญที่ตั้งอยู่บนเนินเขาชื่อว่า เมืองคัง เจ้าชายทั้งสามพระองค์ผลัดกันโจมตี ถึงแม้จะได้รับมอบหมายจากกษัตริย์พม่าให้เป็นผู้โจมตีองค์สุดท้าย แต่เจ้าชายนเรศวรก็สามารถเข้ายึดเมืองนี้ไว้ได้ ผลปรากฏว่าจากการรบครั้งนี้กษัตริย์พม่าให้เป็นผู้โจมตีองค์สุดท้าย แต่เจ้าชายนเรศวรก็สามารถเข้ายึดเมืองนี้ไว้ได้ผลปรากฏว่าจากการรบครั้งนี้กษัตริย์พม่าเกิดความหวาดระแวงในความกล้าหาญและความชาญฉลาดของพระองค์และเตรียมแผนที่จะปลงพระชนน์พระองค์ เมื่อพระนเรศวรทรงทราบแผนการนี้จากพระยามอญทั้งสองพระนเรศวรจึงประกาศอิสรภาพและเตรียมต้านทานการบุกของพม่าอย่างเต็มที่

             พระนเรศวรขึ้นครองราชเมื่อพระราชบิดาสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๑๓๓ อย่างไรก็ตามในช่วงการปกครองของพระเจ้านันทะบุเรงนี้กรุงศรีอยุธยาถูกรุกราน ๕ ครั้งด้วยกัน กล่าวคือการเริ่มรุกรานครั้งที่หนึ่งและสองภายใต้การนำของพระโอรสของพระองค์ พระนามว่าพระมหาอุปราช ครั้งที่ ๓ พระเจ้านันทะบุเรงทรงนำทัพมาด้วยพรองค์เอง ส่วนครั้งที่ ๔ และ ๕ นั้นพระมหาอุปราชทรงนำทัพมาอีกเช่นกันและในการรุกรานครั้งที่ ๕ นี่เองที่เป็นการรุกรานครั้งสุดท้ายซึ่งทำให้พระมหาอุปราชถูกปลงพระชนม์ โดยสมเด็จพระนเรศวร ในสงครามยุทธหัตถี ในปี พ.ศ. ๒๓๑๕ ที่หนองสาหร่ายจังหวัดสุพรรณบุรี การรบครั้งนี้ทำให้พระองค์ได้รับชือเสียงเป็นทีรู้จักอย่างกว้างขวาง

             ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรไม่เคยทรงเลิกล้มที่จะเอาชนะพม่าให้ได้ถ้าหากว่าพระองค์ทรงมีพระชนมายุยืนยาวกว่านี้พระองค์อาจจะนำเอาดินแดนทั้งหมดมาอยู่ภายใต้การปกครองของพระองค์ได้และพม่าก็อาจจะเอาชนะอยุธยาไม่ได้ ในปี ๒๓๑๐ ในขณะที่ทรงนำทัพไปสู่เมืองตองอู พระองค์ก็ทรงพระประชวรอย่างกระทันหันที่เมืองลำปาง และประชวรหนักจนสวรรคต เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๑๔๘ พระเอกาทศรถพระอนุชาได้นำพระบรมศพพระเชษฐากลับเพื่อประกอบพระราชพิทีและเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเชษฐาสืบมา

             สำหรับประเทศไทยแล้ว สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นวีรบุรุษที่ทุกคนในชาติให้ความเคารพเหนือสิ่งอื่นใด ดังนั้นทุกๆ ปีในช่วงวันที่ ๒๕ มกราคม ที่จังหวัดสุพรรณบุรีจะมีงานอนุสรณ์ดอนเจดีย์เป็นเวลาหลายวัน เพื่อเป็นการรำลึกถึงชัยชนะของพระองค์ต่อเจ้าชายพม่า

             * การเฉลิมฉลองชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่มีต่อเจ้าชายพม่าในสงครามยุทธหัตถีได้เลื่อนขึ้นมาหนึ่งสัปดาห์คือจากเดิม ๒๕ มกราคม เป็น ๑๘ มกราคมเพื่อใหมีความแม่นยำทางประวัติศาสตร์มากยิ่งขึ้น





By Essays on Thailand

No comments:

Post a Comment