Monday, December 31, 2012

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๑๓ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๑๓ )
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช

           พระบาทสมเด็จพรปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ ( พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระรามาธิบดีที่ ๕ ) เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติปกครองประเทศเมื่อพระราชบิดา ( พระมงกุฎ หรือ พระจอมเกล้า ) เสด็จสวรรคต พระองค์เสด็จราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์แรกแห่งสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี และทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๙ แห่งพระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติสืบสันติวงศ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๕ ชันษาโดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยะวงศ์เป็นผู้ทรงสำเร็จราชการแทนพระองค์

            ช่วงระยะเวลาการครองราชย์เป็นเวลา ๔๒ ปี นี้เต็มไปด้วยการปฏิรูปอย่างกว้างขวางและเป็นช่วงที่ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ พระองค์ทรงศึกษาระบอบการปกครองจากประเทศตะวันตกสร้างสัมพันธภาพกับประเทศมหาอำนาจ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา และรัสเซีย และพร้อมกันนี้ก็ได้ทรงส่งพระราชโอรสไปศึกษาในประเทศตะวันตกอีกด้วย ดูหมือนว่าพระองค์จะทรงพร้อมที่จะศึกษาแบบอย่างจากประเทศตะวันตก แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงไม่ยอมที่จะถูกครอบครองโดยประเทศมหาอำนาจเหล่านั้น เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงเสด็จประพาสยังประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศในเอเชียและเสด็จเยือนยุโรป ๒ ครั้ง ที่ใดก็ตามที่พระองค์เสด็จพระองค์ทรงได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นพระราชวงศ์ของประเทศต่างๆ ก็ทรงให้เกียรติพระองค์อย่างมากเช่นกัน

            การปฏิรูปของพระองค์ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้่องกับแทบจะทุกแง่มุมของชีวิตคนไทย ได้แก่การประกาศเลิกทาส การขยายระบบคมนาคม โดยการสร้างทางรไฟ การจัดตั้งการไปรษณีย์โทรเลข และจัดตั้งให้มีการปกครองโดยใช้ระบอบกระทรวงในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงจัดให้มีการบริการด้านสาธารณะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสุขภาพและการศึกษา

Thailand " Land of Smile " ( Part 13 )

Thailand " Land of Smile " ( Part 13 )
King Chulalongkorn the Great

          King Chulalongkorn ( Phra Chulachom Klao Chaoyuhua or Rama V ) Succeeded to the throne at the death of his father, King Mongkut ( or Phra Chom Klao ). He was born on September 20, 1853 the first son of Queen Ramphai Pamarapirom ( Thepsirindra ) and the 9th surviving son of King Mongkut. King Rama V ascended the Throne in 1868 at the age of 15, with Chao Phraya Sri Suriyawongse as Regent.

          King Rama V's long reign of 42 - years was a busy era of full - scale reform and the emergence of Thailand into the modern age. He learned the systems of Western Governments, made friends with major powers such as Britain France, America and Russia and sent the royal children to be educated in the West. It seems he was prepared to learn from the West while at the same time resisting domination by the major powers. Above all, he was the first Thai monarch who traveled widely : to neighbouring countries in Asia and to Europe shown him by the Royally of the various countries.

           The King's reforms, which involved almost every aspect of Thai life include the abolition of slavery , the expansion of the communication system through the construction of railways, the establishment of post and telegraph services and the creation of a ministerial system in 1892. In addition, the King also established a variety of public utilities, particulary in the fields of health and education.

            Unfortunately, world event as that time did not allow him to proceed smoothly with his administrative reform as it coincided with the age of colonialism. The King, therefore, had to adapt his foreign policy to maintain a balance between the contending powers. He fostered friendly relations with all powers and avoided confrontation. Thus, at the time of crisis, even though Thailand had to sacrifice some of her territories, she was able to keep her independence.

Sunday, December 30, 2012

Right Mindfulness

Right Mindfulness

          Mindfulness or Sati is momentary awareness, or a state in which one is aware of what is going on at the present moment. Right Mindfulness also means, " awaken in daily life ". It is not only being mindful during one's practice of meditation as many traditional Buddhists believe at the present time, but is also the lifelong with earnestness. By engaging in gentle, steady mindfulness exercise, can build a personal practice that can lead to a more meaningful working life and way of being not necessary a life free from suffering, but one that is rich and full.

           Right Mindfulness or Summasati, according to the Adhidhamma Text, derives from Summa [ the right ], and Sati [ to bear in mind, to bring to mind, the state of recollection, the state of remembering, non fading, non forgetting ]. Sati is the controller and the inspector of the stream of sense - consciousness, mentality and all one's actions, ensuring that they all lie within desired parameter.

           Buddhadhamma strongly emphasizes the importance of sati at every level of ethical conduct. Conducting one's life or one's Dhamma practice constantly by sati is called heedfulness or appanada. Appamada is of central importance to progress in a system of ethics, and is defined as non - separation from sati.

            Appamada is also classified as an internal factor, as is yoniso - manasikara [ skilful reflection ], and forms a pair with its external counterpart, kalyanamittat. The Buddha's word describing the significance of appamada sometime overlap those describing that of yonisomansikara, for these Dhamma are of equal importance, though differing in application. While yonisomanasikara is a member of Panna Section, appamada, on the other hand, is a member of Samadhi section in the Threefold Training.

สัมมาสติ

สัมมาสติ

           คำว่า สติ หมายถึงตระหนัก การรู้ตัว การรู้ตื่น ในช่วงขณะนั้น หรือ หมายถึงภาวะของจิตที่รู้สึก และเตรียมพร้อมในทุขณะของเหตุการณ์ตอนนั้น สติ เป็นภาวะของจิตที่ตื่นรับเหตุการณ์ประจำวัน ไม่ใช่สติที่ถูกควบคุมในขณะปฏิบัติสมาธิ ตามที่นักปฏิบัติธรรมบางคนเข้าใจในปัจุบัน แต่เป็นจิตที่อยู่ในภาวะที่ตระหนัก และเตรียมพร้อมในการปฏิบัติภารกิจเพื่อการดำรงชีวิตด้วยความสุขุม รอบคอบ หนักแน่น และไม่ประมาท สามารถบรรลุความสำเร็จได้โดยปราศจากทุกข์

           ในทางอภิธรรม มีคำจำกัดความของคำว่า " สัมมาสติ " ไว้ดังนี้ สัมมา หมายถึง ความถูกต้อง สติ หมายถึง ความใฝ่ใจ ความระลึกได้ จำได้ ความไม่หลงลืม ความไม่เลือนรางจางหายไปดังนั้นตามความหมายรวม สัมมาสติ จึงเป็นตัวควบคุม ตัวตรวจสอบกระแสการทำงานของจิตที่ควบคุมการกระทำทุกด้านที่ร่างกายแสดงออก

           พุทธศาสนาถือว่า สติ เป็นธรรมที่สำคัญยิ่งต่อการประพฤติปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตทั่วไปหรือในระหว่างการปฏิบัติธรรมผู้ที่มีสติถือว่าเป็นผู้ที่ไม่ตกอยู่ในความไม่ประมาท จริยศาสตร์แนวพุทธถือว่า สติกับความไม่ประมาท ( อัปปมาท ) เป็นสิ่งเดียวกัน หรือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้

           พุทธศาสนาจัดให้ อัปปมาท เป็นปัจจัยภายในต่อการเกิดสัมาสติ เช่นเดียวกับ โยนิโสมนสิการ เป็นปัจจัยภายในที่ก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ทั้ง อัปปมาท และ โยนิโสมนสิการ จึงเป็นปัจจัยภายในที่ต้องควบคู่กับกัลยาณมิตร ที่ถือว่าเป็นปัจจัยภายนอกที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้หรือปรโตโฆสะ ในพุทธพจน์หลายแห่งที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมที่เกี่ยวสมัมาทิฏฐิคู่ไปกับสัมมาสติ จะทรงกล่าวถึงอัปปมาท คู่กับ โยนิโสมนสิการ อยู่เสมอๆ ดังนั้นในหลักแห่งไตรสิกขาหาก โยนิโสมนสิการ เป็นหัวใจของการเจริญทางปัญญา อัปปมาท ก็ย่อมถือได้ว่าเป็นหัวใจของการเจริญทางสมาธิเช่นเดียวกัน

Saturday, December 29, 2012

โง่อย่างกระตือรือร้น

โง่อย่างกระตือรือร้น

           ในพจนานุกรมสำนวน อธิบายไว้ว่า " โง่อย่างกระตือรือร้นหมายความว่า ถึงจะโง่อย่างไร ถ้าจิตหนึ่งใจเดียวทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างกีะตือรือร้น ไม่ว่างานนั้นยากลำบากแค่ไหน ก็ทำให้สำเร็จลุล่วงได้ "

            ปี ค.ศ. 1962 หลังจากผมคิดว่า ผมต้องรู้ว่า " ช่วยให้สินค้าขายออกหรือไม่ ? ให้ได้แล้ว ผมก็หมกมุ่นกับการวิจัยเรื่องนี้ ครั้งหนึ่ง คุณมัตสุยาม่า ผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัทมิตซูบิชิพูดกับผมว่า

            " 20 ปีที่ผ่านมา คุณหมกมุ่นกับหัวข้อ ' ขายออกหรือไม่ ? ' พูดตามจริงนะ ใครๆ ก็รู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าเอือมระอา "

            ตอนนั้น ผมตอบว่า " ก็ ' โง่อย่างกระตือรือร้น ' ไง !? "

            ท่านผู้อ่านทราบดีอยู่แล้วว่า " โง่ " ในที่นี้มิใช่ " ความโง่เขลา " แต่หมายถึง ท่าทีก้มหน้าก้มตาทำงานอย่างกระตือรือร้น โดยไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น

            การทำใบ้แสร้งโง่ ก้มหน้ก้มตาทำงาน จะเกิดบทบาทรวมศูนย์กำลังและสมาธิ สภาวะเช่นนี้ หากยืนหยัดได้เป็นเวลายาวนาน ก็เปรียบได้กับ " น้ำหยดเจาะหิน " จะเกิดผลอย่างน่าอัศจรรย์

            ถ้าเช่นนั้น เหตุใดจึงเรียกอาการก้มหน้าก้มตาทำงานว่า " โง่อย่างกระตือรือร้น " ? เพราะมีนัยสำคัญนั่นเอง

ขุนช้าง - ขุนแผน " แว่นใหม่ที่ใส่มอง " ( ตอนที่ 9 )

ขุนช้าง - ขุนแผน " แว่นใหม่ที่ใส่มอง " ( ตอนที่ 9 )

          เมื่อ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กระโดดขึ้นหลังอาชาแล้วับปากกาแทนอาวุธครั้งใด มักมีอะไรต่อมิอะไรชวนให้ติดตามสม่ำเสมอ ครั้งเมื่ออ่านเจอขุนช้างขุนแผน ( ฉบับอ่านใหม่ ) ในคอลัมน์ซอยสวนพลูซึ่งอยู่ประจำ นสพ. สยามรัฐรายวันนั้นก็น่าสนใจเป็นอันมาก หากแต่มิได้ปะติดปะต่อ พอมารวมเล่มถึงเสพเต็มๆ และคิดว่าน่าสนใจไม่น้อยทว่าความอร่อยเอร็ดล้วนๆ ถูกส่วนแห่งทัศนคติส่วนตัวของคนแต่งคนเขียนเบียดเบียนเสียส่วนหนึ่ง จึงจำต้องขอลองแสดงความคิดเห็นเป็นเชิงคัดค้านบางด้านบางมุมบ้าง อย่างถูๆ ไถๆ ก็อาจจะได้แตกตุ่มในภูมิปัญญาสำหรับผู้ศึกษาวรรณคดีโดวิเคราะห์

           เพราะว่านี่คือความเป็นสากล จักปะปนเอาอัตตาคติมาถือใช้มิได้เลย

           มรว.คึกฤทธิ์ เผยความในใจไว้ตอนหนึ่งดังนี้

           " ขุนช้างขนแผนได้บอกให้เรารู้ถึงอดีตตอนหนึ่งของคนไทยในรายละเอียดที่ถี่ถ้วนเป็นอย่างยิ่ง เป็นรายละเอียดชีวิตประจำวัน และรายละเอียดในกิจการงานตลอดอาชีพ ความเชื่อถือและประเพณีทั้งปวงของคนไทย ในสมัยตอนปลายกรุงศรีอยุธยาจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์มาสิ้นสุดลงเอาในรัชกาลที่ 5 "

           เรื่อยมากระทั่งเข้าถึงเรื่อง

            " เมืองไทยเราแต่ก่อนมานั้นเป็นสวรรค์ของคอมมิวนิสต์ เพราะไม่มีชนชั้นกลางมีแต่ชนชั้นสูง ซึ่งอาจจับมาฆ่าทิ้งเสียเมื่อไหร่ให้หมดก็ได้เหมือนกับผึ้งตัวผู้ในรังผึ้ง และชนชั้นกรรมาชีพคือคนที่ทำมาหากินเลี้ยงปากเลี้ยงท้องด้วยมือและกำลังของตนเองซึ่งเหมือนกับผึ้งทำงาน

            มีแต่เจ้ากับไพร่ว่างั้นเถอะ แต่เจ้ากับไพร่นั้นถ้ารู้จักให้ดีจริงในสมัยที่ยังมีอยู่ให้เห็นได้ในเมืองไทยนั้นจะเห็นว่า มีความเป็นอยู่แม้แต่อาหารการกินใกล้เคียงกันเป็นที่สุด ไพร่กินน้ำพริก เจ้าเสวยน้ำพริกแกงต้มโคล้ง แกงเลียง แกงส้ม ซึ่งเป็นอาหารไพร่ ก็ใส่ในเครื่องเจ้านาย ขาดมิได้

คนจำพวกไม่มีรอยหยัก

พื้นผิวของชีวิต

           ฟ้าเพิ่งสาง นาย ก. ผู้ถือศีลกินเจถือช่อดอกไม้สดกับผลไม้ถาดหนึ่งกุลีกุจอมาไหว้พระแต่เช้า คิดไม่ถึงเลยว่าเพิ่งย่างเท้าเข้ามาในโบสถ์เท่านั้นก็มีคนคนหนึ่งวิ่งพรวดออกมาจากทางซ้ายมือ ชนปะทะกับนาย ก. จังๆ ทำเอาถาดผลไม้พลิกคว่ำ ผลไม้หกเกลื่อนกระจายไปทั่วพื้น

           นาย ก. โกรธมาก ตวาดว่า " ดูสิ " ทะเล่อทะล่าวิ่งมาชนผลไม้ไหว้เจ้าของข้าหกกระจาย ทีนี้จะว่าอย่างไร

           นาย ข. ผู้วิ่งชนกล่าวอย่างไม่พอใจนักว่า " ก็มันชนเข้าให้นี่ข้าก็พูดได้คำเดียวว่า " ขอโทษ " คนถือศีลกินเจ ทำไมต้องดุขนาดนี้ด้วย "

           นาย ก. โกรธยิ่งกว่าเดิม กล่าวว่า " อะไรกัน ตัวเองทำผิด ยังจะโทษคนอื่นอีก "

           พูดจบ ผู้ถือศีลกินเจทั้งสองทะเลาะกันใหญ่

           ท่านอาจารย์ก่วงหวี่เดินผ่านมาพอดี จึงสอนว่า " เดินทะเล่อทะล่าเป็นเรื่องไม่สมควร แต่ว่าไม่ยอมรับคำขอโทษของผู้อื่นเช่นกันการยอมรับผิดอย่างจริงใจกับการยอมรับคำขอโทษจากผู้อื่นอย่างมีเมตตาจิต เป็นพฤติกรรมของผู้มีปัญญา "

           อาจารย์ยังสอนอีกว่า " การมีชีวิตอยู่ในโลกใบ้นี้ จะต้องรู้จักปรับพื้นผิวชีวิตของตัวเอง อย่างเช่นในทางสังคม เราจะอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างปรองดองได้อย่างไร ในด้านการศึกษา เราจะสื่อสารกับอาจารย์กับญาติผู้ใหญ่ด้วยวิธีไหน ในทางเศรษฐกิจ เราจะใช้จ่ายให้รายรับกับรายจ่ายสมดุลกันได้อย่างไร ในทางครอบครัว เราจะสร้างสัมพันธภาพอันสนิทชิดเชื้อระหว่างสามีภรรยาและลูกๆ ได้อย่างไร ในทางสุขภาพ เราจะฝึกฝนร่างกายให้แข็งแรงได้อย่างไร ในทางจิตวิญญาณเราจะเลือกวิถีชีวิตในกับตัวเองอย่างไรจึงจะไม่ทำให้เรารู้สึกว่าเสียชาติเกิดลองคิดดูนะว่า เป็นเพราะเรื่องเล็กๆ เรื่องหนึ่ง เราก็ทะเลาะกันแต่เช้า เสียอารมณ์ หงุดหงิด จิตใจไม่สงบนิ่ง เสียศรัทธาต่อเพื่อนมนุษย์ เช่นนี้ มันคุ้มค่าหรือไม่ "

ธัมมิกสังคมนิยมของพุทธทาสภิกขุ ( บทที่ ๒ )

ธัมมิกสังคมนิยมของพุทธทาสภิกขุ ( บทที่ ๒ )
สังคมนิยม : ความหมายและรากฐาน

สังคมนิยมตามหลักแห่งพระศาสนา

          " สำหรับคำว่า " สังคมนิยม " คำนี้ ทุกคนได้ยินได้ฟังกันอยู่แล้ว และรู้จักกันในฐานะที่เป็นชื่อของระบบการเมือง หรืออุดมคติทางการเมืองอย่างหนึ่ง และโดยส่วนใหญ่ก็เล็งถึงระบบที่เป็นข้าศึกต่อเสรีประชาธิปไตย พอพูดถึงสังคมนิยมความคิดของคนสมัยนี้ก็แล่นไปถึงคอมมิวนิสต์หรืออะไรทำนองนั้น แต่ที่เราจะพูดกันในวันนี้ไม่ได้เกี่ยวกันกับคำนั้น ในความหมายอย่างนั้น คือเป็นสังคมตามหลักแห่งพระศาสนา

           ก่อนอื่นเราควรทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่า บัดนี้เราจะพูดกันถึงสังคมนิยมตามหลักแห่งพระศาสนา ซึ่งจะเป็นศาสนาไหนก็ได้ หรือที่ยิ่งไปกว่านั้นอีกก็คือ ตามหลักของธรรมชาติ ขอให้ทำความรู้สึกสำหรับจะฟัง ความหมายของคำๆ นี้ ตามหลักแห่งพระศาสนาโดยตรง ความรู้สึกของผู้ฟังขณะนี้ควรจะเกลี้ยงเกลาไปจากความคิดเรื้อรังต่างๆ ที่มีอยู่ก่อนว่า ขึ้นชื่อว่าสังคมนิยมละก็ ต้องเป็นระบบชนกรรมชีพที่ยื้อแย่งนายทุน หรืออะไรทำนองนี้ ซึ่งไม่ควรจะเอามาปนกันเลย

            ทีนี้ขอให้ทบทวนถึงเรื่องที่เราพูดกันในครั้งที่แล้วมา คือ เรื่องศีลธรรม ถ้าเข้าใจเรื่องนั้นแล้วก็จะเข้าใจเรื่องนี้โดยถูกต้องสมบูรณ์ และโดยง่ายเราจะต้องนึกถึงคำว่า " ศีลธรรม " ในแง่ที่ว่าศีลธรรมเป็นเหตุให้เกิดความปรกติ และเป็นภาวะแห่งความปรกติ นี่ก็แล้วแต่ว่าจะเล็งกันในฐานะที่เป็นเหตุ หรือเป็นผล ถ้าศีลธรรมถูกมองไปในลักษณะที่ เป็นเหตุหรือเครื่องมือหรืออะไรก็ตามที่จะทำความปรกติ แต่ถ้า เป็นผล ก็คือแสดงออกมาแล้วก็เป็นภาวะแห่งความปรกติ...

Friday, December 28, 2012

ขอไปที

ก้อนหินในกระเป๋า

          เย็นวันหนึ่ง ในขณะที่พวกเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์กำลังเตรียมกระโจมทำการพักผ่อนนอนหลับนั้นเอง พวกเขาก็เห็นลำแสงหนึ่งเปล่งรัศมีเจิดจ้าขึ้น ประสาทสัมผัสที่หกบอกพวกเขาว่า เทพเจ้ากำลังปรากฏ ณ บัดนี้แล้ว พวกเขารีบคุกเข่าลงพื้น เตรียมต้อนรับเทพเจ้าอย่างนอบน้อม

           และแล้ว เทพเจ้าก็ปรากฏกายขึ้นจริงๆ เทพเจ้าพูดกับเหล่าสาวกผู้ซื่อสัตย์ว่า " พรุ่งนี้ เวลาเดินทาง เจอก้อนหินที่ไหนก็ให้เก็บใส่กระเป๋ามากๆ ตกกลางคืน พวกเจ้าจะมีความสุขสุดๆ แต่ขณะเดียวกัน พวกเจ้าก็จะมีความทุกข์ด้วย "

           พูดจบ เทพเจ้าก็หายตัวไป

           เหล่าสาวกต่างผิดหวังไปตามๆ กัน พวกเขาคิดว่าเทพเจ้าจะนำโชคก้อนใหญ่มาให้พวกเขาเสียอีก แต่ที่ไหนได้ เทพเจ้ากลับสั่งให้พวกเขาทำงานบ้าๆ บอๆ ชิ้นหนึ่ง คือเก็บก้อนหินใส่กระเป๋า

           เช้าวันุร่งขึ้น แม้พวกเขาจะไม่พอใจ แต่พวกเขาก็ไม่กล้าขัดคำสั่งเทพเจ้า พกเขาหลับหูหลับตา เก็บหินก้อนเล็กๆ ใส่กระเป๋าไปตามเรื่อง

Right Effort

Right Effort 

          Right Effort is the first fold for meditation training. In ethical practice, it means the right way to overcome obstacles and dangers that can arise in our own work. The practice of Right Effort is the cultivation  of that which is wholesome and the elimination  of that which is unwholesome in thought and action, including specific cautions against defilement such as greed, gluttony, hatred, anger, delusion, and fantasies. The essence of Right Effort is a focus on the inner obstacles to mindfulness : the urge of the body, the entreaty of emotions and the rationalization and imaging of the mind. We face these obstacles in two different but equally necessary ways. First, by creating an environment conducive to mindfulness practice, and, second, by diligent efforts to recognize what is helpful and what is harmful in our individual lives, and then cultivating the helpful while eliminating the harmful effort.

สัมมาวายามะ

สัมมาวายามะ

           สัมมาวายามะ เป็นมรรคข้อแรกในการปฏิบัติสมาธิภาวนาโดยความหมายทั่วไปทางด้านจริยธรรม หมายถึงความพยายามความเพียร ความตั้งใจที่จะหาวิธี หรือแนวทางในการดำรงและดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง เพื่อเอาชนะอุปสรรคและภยันตรายอันอาจจะเกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงาน การปฏิบัติภารกิจตามแนวสัมมาวายามะ จึงหมายถึงความพยายามในการบ่มเพาะนิสัยเพื่อการคิดและการกระทำที่เป็นอกุศล หรือที่ใหโทษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นความพยายามในการกระทำที่เป็นอกุศล หรือที่ให้โทษโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นความพยายามในการขัดเกลาจิตใจเพื่อลดละกิเลส อันได้แก่ความโลภ ความตะกละ ความเกลียด ความโกรธ ความหลง และความฟุ้งซ่านเพ้อฝัน ข้อสำคัญในการปฏิบัติสัมมาวายามะ คือการเพ่งลงไปค้นหาอุปสรรคภายในจิตใจเพื่อการควบคุมสติอันเป็นผลต่อทางกายกรรม ทางอารมณ์ความรู้สึกอย่างมีเหตุผลแะไม่ฟุ้งซ่านด้วยการสร้างบรรยากาศที่เอื้อำนวยต่อการปฏิบัติสัมมาสติ และใช้ความมานะพยายามเพื่อที่จะค้นหาและยอมรับในสิ่งที่เป็นกุศลและปฏิเสธในสิ่งที่เป็นอกุศลในการดำเนินชีวิต

พรสวรรค์กับความโง่ คือเปลือกนอกกับเนื้อใน

พรสวรรค์กับความโง่ คือเปลือกนอกกับเนื้อใน

          " รักเขาหมดเปลือก เดินร้อยลี้ราวเดินลี้เดียว " เห็นได้ชัดว่าเรื่องที่ชอบทำ จะรู้สึกไม่ลำบาก ยิ่งกว่านั้น " ถ้ามีความรู้สึกรักชอบ ก็ทำได้ถึงขั้นเนี้ยบเฉียบ " จึงก้าวหน้าเร็ว แต่ทุกคนต่างมีสิ่งที่ตัวเองรักชอบ ซึ่งคนอื่นจะไม่เข้าใจ เรื่องที่ทำให้เราเกิดความรู้สึก " แปลกจริง " ที่ " เขาทำเช่นนั้น " จึงเกิดขึ้นบ่อยๆ

           พูดเช่นนี้ออกจะไม่มีน้ำใจต่อการเห่อนักร้องคาชิว่าอยู่บ้าง ผมไม่ได้รู้สึกชอบเขาเลย แถมไม่เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของคนที่ทำเรืองพิเรนทร์แบบนั้นด้วย ผมเห็นการแสดงของเขาทีไร ก็เกิดความรู้สึกว่า " ทำไมเขาต้องทำเรื่องงี่เง่าแบบนั้น " เราใช้คำว่า " งี่เง่า " กันบ่อย แต่ส่วนใหญ่หมายถึง " การทำเรืองงี่เง่า " ซึ่งอันที่จริงมิได้หมายความว่า " โง่เขลา " เลย แสดงว่า คำว่า " งี่เง่า " แฝงความหมายเลชิงจิตวิทยาอยู่มาก

            ต่อไปนี้ความงี่เง่าที่เรามักใช้กันบ่อย

            1. งี่เง่าแบบเสงี่ยมเจียมตัว... เพราะเอ็งโง่

            2. งี่เง่าแบบทรมานตัวเอง... เอ็งโง่จริงๆ

            3. งี่เง่าแบบดูถูกคนอื่น... คนโง่ที่แสนดี คนโง่อย่างเอ็งมีสิทธิ์ว่าเขาด้วยหรือ

            4. งี่เง่าแบบกระตือรือร้น... โง่อย่างจริงจัง จิตหนึ่งใจเดียวโง่ต่อไป โง่จนช่วยอะไรไม่ได้

            5. งี่เง่าแบบหลับหูหลับตา... โง่วงใน โง่บริสุทธิ์

            6. งี่เง่าแบบไร้ความสามารถ... เพราะเป็นหวัด จมูกไม่ได้กลิ่น

            7. งี่เง่าแบบไร้ความสามารถ... โง่อย่างมีพรสวรรค์

            8. งี่เง่าแบบชอบบริภาษคน... ไอ้งั่งเอ๊ย ! ด่าทำไม

            9. งี่เง่าแบบชอบวิจารณ์... อย่าทำเรื่องโง่ ไม่มีประโยชน์ เป็นอันตรายกับตัวเอง ทำให้คนอื่นเกลียด และตัวเองต้องเหนื่อยใจเปล่าๆ

            10. งี่เง่าแบบเจตนา... ทำใบ้แสร้งโง่

            11. งี่เง่าแบบหัวไม่ดี... โง่จนเยียวยาไม่ได้

Thursday, December 27, 2012

คนมั่งมีควรทำทานให้มาก ผู้ฉลาดพึงละการโอ้อวด




ครอบครัวมั่งคั่งควรใจกว้างเมตตา
แต่กลับตระหนี่ถี่เหนียว
นี่คือมั่งมีแต่ประพฤติปฏิบัติยากจน
จะมีความสุขอย่างไร ?
คนฉลาดควรเก็บงำปกปิด
แต่กลับคุยโตโอ้อวด
นี่คือฉลาดแต่พฤติการณ์โฉดเขลา
จะเสี่ยงความล้มเหลวได้ ไฉน ?

นิทัศน์อุทาหรณ์

ตาเฒ่าหมู่บ้านเผิง

           ทางภาคเหนือของจีน มีหมู่บ้านหนึ่งชื่อหมู่บ้านตระกูลเผิง ในหมู่บ้านมีตาเฒ่า เป็นคนมีเงิน ตาเฒ่าคนนี้กลัวว่าคนอื่นจะมาขอยืมเสบียง จึงรัดเข็มขัดตนเองไม่กินไม่ดื่มจนผอมโซเจอใครก็บอกว่าผอมเหลือแต่กระดูกอย่างนี้ ที่ไหนจะมีเสบียงอาหารมาให้เจ้ายืม ? "

           เมื่อลมหนาวโชยมา เหมันต์อันเย็นเยือกได้มาถึงแล้ว ตาเฒ่ากลัวว่าคนอื่นจะมาขอเงิน ก็กัดฟันสวมใส่แต่เสื้อบางๆ ทั้งขาดทั้งเก่า เจอใครก็พูดว่า " ดูสิ ข้าหนาวจนเกือบจะเป็นผีตายซากอยู่แล้ว ที่ไหนจะมีเงินมาให้เจ้ายืม ? "

          แต่ทว่า ฤดูหนาวยังมิทันจะผ่านพ้นไป ตาเฒ่าคนนั้นก็อดตายหนาวตายไปก่อน ทิ้งทองไว้หีบใหญ่ซึ่งยังไม่มีใครเอาไปใช้เลย !

           เราลองมาฟังว่า " ภาษิตรากผัก " พูดไว้ว่าอย่างไรบ้าง

           " คนมีเงินแท้ที่จริงควรจะมีใจคอกว้างขวางเมตตาอรี ทำบุญทำกุศลให้มากแต่นี่กลับไม่ยอมทำความดีปฏิบัติต่อคนอื่นอย่างไร้น้ำใจ ถึงแม้จะมีเงินทองเท่าภูเขาเลากาก็ดี จะแตกต่างอะไรกับคนยากจนซึ่งไร้ทรัพย์ไร้สินเล่า ? "

แค่คิด ก็ชั่วแล้ว

คิดชั่ว ได้ชั่ว

          แต่ก่อน มีชายสองคนเป็นเพื่อนรักกัน พวกเขาชวนกันเดินทางไปตามหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนเขาเซิ่งซันที่อยู่ไกลมาก พวกเขาขึ้นลงห้วยเดินทางอยู่หลายเดือน ในที่สุดก็พบผู้วิเศษผมขาวโพลนคนหนึ่ง

          ผู้วิเศษบอกชายสองคนนี้ว่า " จากตรงนี้ไป ยังต้องเดินทางอีกอย่างน้อย 10 วัน จึงจะถึงเขาเซิ่งซัน แต่ข้ารู้สึกประทับใจในจิตศรัทธาของพวกเจ้ามาก ข้าจะให้พวกเจ้า เจ้าสองคน คนหนึ่งอยากได้อะไรอีกคนหนึ่งก็จะได้เป็นสองเท่าของคนนั้น "

          ชายคนแรกคิดในใจว่า " โชคดีจังเลยที่ผู้วิเศษ ความจริงเรานึกออกแล้วละว่าจะขอพรอะไร แต่ถ้าเราขอก่อน เราก็เสียเปรียบนะสิเพราะนายนั่นจะได้เป็นสองเท่าของเรา "

          ชายคนที่สองก็คิดแบบนี้เหมือนกัน ดังนั้น ชายทั้งสองจึงเกี่ยงกันให้อีกฝ่ายหนึ่งขอพรก่อน เกี่ยงกันจนต่างฝ่ายต่างโมโห

          ชายคนแรกตะโกนเสียงดังลั่นว่า " พูดไม่รู้เรื่องหรือยังไง ถ้าแกไม่ขอก่อนละก็ ข้าจะตีเจ้าให้ขาหัก "

          ชายคนที่สองโกรธหน้าหงิกหน้าดำ ไม่รู้สึกเลยว่าอีกฝ่ายจะเคยเป็นเพื่อนกับตนมาก่อน เขาคิดในใจว่า " ดี... ในเมื่อเจ้าแล้งน้ำใจกับข้าก็อย่าหาว่าข้าโหดเลยนะ "


          คิดเช่นนี้แล้ว ชายคนที่สองก็พูดขึ้นมาว่า " ก็ได้ ข้าขอก่อนขอให้ข้าตาบอดข้างหนึ่ง

          อธิษฐานจบ ชายคนที่สองก็ตาบอดไปข้างหนึ่ง เช่นเดียวกับชายคนที่หนึ่งซึ่งเคยเป็นเพื่อนรักของเขา ก็ตาบอดไปทั้งสองข้าง

ขอเป็น เต่าธรรมดา ดีกว่า

ขอเป็น เต่าธรรมดา ดีกว่า

          สมัยหนึ่ง...

           จวงจื้อ ปรัชญาเมธีจีนผู้รักสันโดษ ไม่มักใหญ่ใฝ่สูงในทางการเมือง กษัตริย์รัฐฌ้อ ปรารถนาจะแต่งตั้งจวงจื้อเป็นนายกรัฐมนตรี จึงส่งราชฑูตไปเชิญจวงจื้อ

           จวงจื้อกล่าวกับราชฑูตว่า

           " ข้าพเจ้าได้ยินว่า ที่นครรัฐฌ้อมีเต่าศักดิสิทธิ์อยู่ตัวหนึ่ง ตายมาแล้วถึงสามพันปี พระเจ้าอยู่หัวทรงถือว่าเป็นของขลังศักดิ์สิทธิ์เก็บมันไว้ในภาชนะห่อด้วยผ้าอย่างดี ตั้งบูชาไว้ในเทวาลัยข้าพเจ้าขอถามหน่อยเถิด ถ้าเป็นท่าน ท่านจักยินดีเป็นเต่าตายซากเหลือกระดองให้คนเขาสักการบูชาหรือว่าเป็นเต่าเป็นๆ ที่เที่ยวคลานหากินตามบึงตามทุ่งดี "

The Training of Concentration

The Training of Concentration
Samadhi or Meditation

          The training of Concentration through meditation is the third fold of triskha. The Pali word for meditation is bhavana, which literally means " development, cultivation or culture." Since the practice has to do directly with the mind, the word bhavana therefore refers specifically to a process of mental culture or mental development. Strictly speaking, the English word " meditation " is a rather poor and inadequate equivalent to the word " Bhavana ".

          Buddhist meditation is essentially an experiential activity. It is a means to mental development through practice, not a scholastic subject to be understand through books. It deals particularly with the training of the mind, which is the most important component of the entire human entity. Because mind is the forerunner and prime source of all actions, be they physical, verbal, or mental, it needs to be properly cultivated and developed. Meditation is the mental development in the real sense of the term bhavana, for it aims not only at temporary calm and tranquillity of mind, but also at purifying the mind of defilements and negative influence, such as sensual desire, lust, hatred, jealousy, envy worry, ignorance, restlessness and indolence. It cultivates and brings to perfection such wholesome and positive qualities of mind as confidence, compassion, wisdom, energy, mindfulness, concentration and penetrative insight.

อธิจิตสิกขา

อธิจิตสิกขา
ความหมายของสมาธิ

         อธิจิตสิกขา คือข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมจิตให้มีคุณภาพมีสมรรถภาพ และมีสุขภาพด้วยการปฏิบัติสมาธิภาวนา ซึ่งจัดเป็นหมวดที่สามในไตรสิกขา ในภาษาบาลี คำว่า ภาวนา หมายถึง การพัฒนาการอบรมบ่มนิสัย การสร้างความดีงาม การเพาะบ่มทางด้านจิตใจ จึงเป็นศัพท์ที่มีความหมายกว้างกว่าคำว่า สมาธิ หรือ meditation ที่เราใช้กันในภาษาอังกฤษ

          สมาธิภาวนาในทางพุทธศาสนา หมายถึงการแสวงหาประสบการณ์ทางจิตวิญญาณด้วยการฝึกปฏิบัติ มิใช่ด้วยการเรียนรู้หรือการทำความเข้าใจจากหนังสือหรือตำรา พุทธศาสนาถือว่า จิตเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของความเป็นมนุษย์ เพราะ จิต เป็นตัวกำหนดการกระทำทั้งทาง กาย วาจา ใจ ดังนั้น จิต จึงควรที่จะต้องได้รับการขัดเกลาและพัฒนา การปฏิบัติสมาธิโดยนัยดังกล่าวนี้จึงจะถือว่าเป็นการ " ภาวนา " ที่แท้จริง เพราะนอกจากจะเป็นการฝึกสมาธิเพื่อแสวงหาความสงบระงับในชั่วขณะแล้ว ยังต้องเป็นไปเพื่อทำจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยการลดละอาสวกิเลสทั้งหลาย เช่น ความอยาก ความใคร่ ความอิจฉา พยาบาท ความวิตก กังวล อวิชชา ความกระวนกระวาย ความเกรียจคร้านเฉื่อยชา และยังเป็นการเพาะบ่ม จิตใจให้มี เมตตา ปัญญา พลัง สติ สมาธิ และมองเห็นสัจธรรม

Wednesday, December 26, 2012

ทำสิ่งใดควรเว้นที่ว่างแค่ห้าส่วนก็จะไม่เสียใจ








อาหารเลิศรส
คือโอสถกัดกร่อนลำไส้ ให้กระดูกผุ
กินห้าส่วนจึงไม่มีโทษ
เรื่องสำราญใจ
คือสื่อแห่งความล้มเหลวเสื่อมศีลธรรม
รับห้าส่วนจึงไม่เสียใจ

นิทัศน์อุทาหรณ์

เป่าสื้อหัวเราะ

            เล่ากันมาว่า ในสมัยราชวงศ์โจวมีสาวสวยบาดใจอยู่คนหนึ่งมีชื่อว่า เป่าสื้อ อิวอ๋องเป็นฮ่องเต้ในสมัยนั้น ได้นำตัวนางเข้าวังมาเป็นพระสนมเพราะรูปโฉมที่งดงาม อิ๋วอ๋องจึงรักหล่อนมาก

          แต่แม้เป๋าสื้อจะสวยสดงดงามหยาดฟ้ามาดิน จนผู้ได้ยลโฉมต้องตกตะลึงไปก็ตาม ทว่ามีนิสัยประหลาดอยู่อย่างหนึ่งคือ ไม่ว่าจะอยู่ในภาวะหรือสถานที่ครึกครื้นสนุกสนานอย่างไรก็ตาม ปากรูปกระจับสีแดงของหล่อน ไม่เคยจะแย้มยิ้มให้เห็นแม้สักครั้งเดียว

          มันเป็นเรื่องที่น่าประหลาดมาก อิวอ๋องก็รู้สึกปวดเศียรเป็นอย่างยิ่งในเรืองนี้ พระองค์พยายามหานางระบำรำฟ้อนมาแสดงให้นางดู หาวิธีการทุกอย่างเพื่อให้สาวสวยคนนี้หัวเราะสักครั้งหนึ่งแต่เป่าสื้อก็ยังไม่ยอมยิ้มหัวเลย จนแล้วจนรอด

          มีอยู่วันหนึ่ง อิวอ๋องเกิดคิดขึ้นมาได้ จึงสั่งให้ทหารไปก่อไฟขึ้นที่หอเพลิงใช้สำหรับส่งข่าวศึกฉุกเฉิน ทำเอาพวกเจ้าครองแคว้นที่เห็นสัญญาณเพลิงต่างก็ยกทัพกันมาอย่างตาลีตาลาน ด้วยเข้าใจว่ามีข้าศึกประชิดติดเมืองหลวงเข้ามาแล้ว แต่เมื่อเจอหน้าอิ๋วอ๋อง อิวอ๋องกลับบอกว่าไม่มีเรื่องอะไร เพียงแต่ก่อไฟเล่นสนุกๆ เท่านั้น พวกเจ้าครองแคว้นซึ่งยกทัพมาอย่างกระหืดกระหอบ คิดว่ามีอันตรายเกิดแก่อิวอ๋อง ครั้นเมื่อทราบว่าอิวอ๋องหลอกเพื่อความสนุกเช่นนั้นก็โกรธ รีบยกทัพกลับไปในทันที

ดาบสองคม

โลภไม่รู้จักจบจักสิ้น

          ชายคนหนึ่งเดินทางไปหาขุมทรัพย์ในทะเลทราย ขุมทรัพย์ยังหาไม่เจอแต่น้ำกับอาหารที่เอาไป กินหมดเสียแล้ว เขาเดินต่อไปไม่ไหว ได้แต่นอนพะงาบๆ อยู่บนทะเลทราย รอคอยมัจจุราชมารับตัวไป วินาทีนั้นเองชายผู้ตามล่าหาขุมทรัพย์ก็คิดถึงพระผู้เป็นเจ้า เขาอธิษฐานว่า " พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดช่วยลูกที่น่าสงสารคนนี้ด้วยเถิด "

           สิ้นคำอธิษฐาน พระเจ้าก็ปรากฏกายขึ้น พระเจ้าถามว่า " ตอนนี้เจ้าอยากได้อะไร "

           ชายผู้ตามหาขุมทรัพย์ตอบว่า " ลูกอยากได้อาหารกับน้ำนิดนึงก็ยังดี "

           พระผู้เป็นเจ้าเสกอาหารกับน้ำให้เขาตามคำขอ

           ชายผู้ตามล่าหาขุมทรัพย์กินอิ่มมีเรี่ยวมีแรงดีแล้ว แทนที่เขาจะไปจากทะเลทราย เขากลับเดินสำรวจขุมทรัพย์ลึกเข้าไปอีก ไม่นานนัก เขาก็พบขุมทรัพย์จริงๆ เขาใช้ถุงใส่เพชรนิลจินดาจนเต็มปรี่ หนักอึ้งแทบเดินไม่ไหว แต่เขายังกัดฟันแบกถุงสมบัติ เดินฝ่าความร้อนระอุของทะเลทรายต่อไปอย่างช้าๆ เขาอ่อนเปลี้ยแทบจะขยับขาไม่ไหวแต่เขาก็ไม่ยอมทิ้งสมบัติแม้แต่ชิ้นเดียว เขาคลานกระดึบๆ อยู่ครู่ใหญ่สุดท้ายก็เป็นลมหมดสติ นอนรอความตายอู่บนทะเลทรายอีกรอบหนึ่ง

ขุนช้าง - ขุนแผน " แว่นใหม่ที่ใส่มอง " ( ตอนที่ 8 )

ขุนช้าง - ขุนแผน " แว่นใหม่ที่ใส่มอง "  ( ตอนที่ 8 )

        อันว่าบทอัศจรรย์ในวรรณคดีเข้าใจว่ามีที่มาอยู่แล้วในบทสังวาสตามนิราศช่วงแรก ซึ่งมักจะแทรกคำและความโลดโผนโจนทะยานผ่านตัวอัษร บางบทก็ซ่อนความเปรียบไว้ให้เห็นภาพพจน์เฉียบคมเฉียบขาด ขอให้ดูจากทวาทศมาสก่อน

          ฤดูไพศาขสร้อง                  ฝนสวรรค์
คิดสุมาลย์มาลัย                            แหล่งน้อง
ฤดูฤดีครรภ์                                   รมเยศ
เจ็บระอุแทบท้อง                           ที่ขวั้นสะดือนาง
        
           คระหึ่มฟ้าร้องคระ               โหยหา สวาทนา
ดลด่วนเจ็บแดกกลาง                    ขาดขว้ำ
แขไขข่าวไถนา                             ถะถั่น มานา
อกระแหงแล้งน้ำ                           เนตรนอง

           หรือดูจากลิลิตพระลอซึ่งพัฒนาการมาอีกขั้นตอน


พักตราใสใหม่หม้า
หน้าแนบหน้าโอ่หน้า
หนุ่มเหน้าสะสม

นมแนบนมนิ่มน้อง
ท้องแทบท้องโอ่ท้อง
อ่อนท้องทรวงสมร

สมเสน่ห์อรใหม่หมั้ว
กลั้วรสกลั้วกลิ่นกลั้ว
เกลศกลั้วสงสาร

บุษบาบานคลี่คล้อย
สร้อยแลสร้อยซ้อนสร้อย
เสียดสร้อยสระศรี

ภุมรีคลึงคู่เคล้า
กลางกมลยันเยา
ยั่วร้องขานขัน

           บทสังวาสขาดไม่ได้ฉันใดในนิราศเชิงกำหนัด บทอัศจรรย์ย่อมขาดไม่ได้เช่นกันในวรรณคดีที่มีบทสังวาสชาติรส

Right Livelihood

Right Livelihood

          Right Livelihood means leading a life without deceit, treachery, trickery and usury. The five condemned occupations are trading in arms, living begins, flesh, intoxicants and poison. Anyone following this path can not work in a munitions factory, a butcher's shop, a pesticide company, or a company whose wastes kill wildlife or is harmful to human beings and the environment. This includes participating in gambling hall, a brothel, hunting and fishing.

         In short, a Buddhist practicing Right Livelihood can not undertake any work that might hurt any living beings or the environment. Instead he should seek the opportunity to engage in and enjoy meaningful work in every day life.

         Please note that, Right Speech, Right Action and Right Livelihood, all come under the basic rule of morality. This includes 3 bodily actions [ abstention from killing, from taking what is not given and from sexual misconduct ], 4 verbal actions [ Abstention from false speech, harsh speech, tale bearing, vain talk or gossip ]. Both of bodily and verbal actions are related to 3 mental actions [ non - covetousness, not ill will and right view ]. All of these basic precepts are called the Tenfold Wholesome Course of Action, " not to do any evil ", which will lead to the higher moral practice of the Three Admonitions to " cultivate good and purity the mind. "

สัมมาอาชีวะ

สัมมาอาชีวะ

          สัมมาอาชีวะ หมายถึงการดำเนินชีวิตด้วยการทำมาหากินเลี้ยงชีพที่สุจริต ปราศจากการหลอกลวง ทรยศ ต้มตุ๋น หน้าเลือด ไม่ประกอบอาชีพที่เป็นภัย เช่น ค้าอาวุธ ค้าเนื้อสัตว์ ค้าสิ่งมีชีวิต ค้าสารเสพย์ติดและสารพิษให้โทษ เป็นต้น ผู้ดำเนินชีวิตตามแนวสัมมาอาชีวะโดยนัยนี้ ย่อมไม่ควรประกอบอาชีพในโรงงานผลิตอาวุธโรงฆ่าสัตว์ หรือ โรงงานสร้างสารพิษอันก่อให้เกิดมลภาวะต่อมนุษย์ สัตว์ สิ่งแวดล้อม รวมถึงการที่ไม่ประกอบอาชีพตามบ่อนการพนัน ซ่องโสเภณี และการยิงนกตกปลาซึ่งถือเป็นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตด้วย เช่นเดียวกัน

           กล่าวโดยสรุป การประกอบสัมมาอาชีวะ หมายถึงการทำมาหาเลี้ยงชีพที่เพียงแต่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสิ่งมีชีวิตและต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้นแต่ต้องเป็นการประกอบอาชีพที่เอื้ออำนวยให้เกิดความสุข ความสำเร็จตามอัตภาพของบุคคลแต่ละคนด้วย

           โปรดสังเกตว่า มรรคทั้งสาม คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และ สัมมาอาชีวะ เป็นข้อกำหนดในทางปฏิบัติที่เกี่ยวกับศีล ซึ่งประกอบด้วยทางกายกรรม 3 ข้อได้แก่ การละเว้นจากการปลงชีวิตการลักขโมย ประพฤติผิดในกาม ทางวจีกรรม 4 ข้อ คือ เว้นจากการกล่าวเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ ที่สัมพันธ์อยู่ภายใต้ใโนกรรม 3 ข้อ คือ อนภิชญา ความไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น อพยาบาท ความไม่คิดร้ายต่อผู้อื่น และ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบถูกต้องตามทำนองคลองธรรมแห่งกุศลกรรมบถทั้ง 10 ข้อ ซึ่งทางพุทธศาสนาถือเป็นการปฏิบัติขั้นพื้นฐานของ " การละเว้นจากการทำชั่ว " เพื่อที่จะนำไปสู่การพัฒนาจริยธรรมขั้นสูงตามหลักคำสอนในโอวาทปาฏิโมกข์ " ทำแต่ความดี " และทำจิตให้ " บริสุทธิ์ " ต่อไป

สะอาดเกิดจากสกปรก สว่างเกิดจากมืดมน






หนอนในอาจมย่อมสกปรก
เมื่อกลายเป็นจักจั่น
ก็ดื่มน้ำค้างกลางลมใบไม้ร่วง
หญ้าเน่าย่อมไร้แสง
เมื่อกลายเป็นหิ่งห้อย
ก็เรืองโรจน์ใต้แสงจันทร์ฤดูร้อน
พึงรู้ดูว่าสะอาดเกิดจากสกปรก
ความสว่างเกิดจากความมืดมน


นิทัศน์อุทาหรณ์
จักจั่นกับหิ่งห้อย

          " ใต้ฟ้าล้วนขุ่นมัว มีแต่เราใสสะอาด คนทั้งหลายล้วนมัวเมา มีแต่เรายังตื่นอยู่ "

          ชิหยวนร่ายโศลกเสียงเบาๆ เดินตรงไปยังริมฝั่งแม่น้ำมี่หลอเจียงพร้อมกับรำพึงด้วยความรันทดว่า " ไหวอ๋องได้ถูกคำประจบสอพลอบั่นเศียรเอาจนมัวเมาไปเสียแล้ว ไม่เชื่อคำของเราอีกน่าวิตกว่าอนาคตของชาติบ้านเมือง จะสิ้นสุดลงเพียงเท่านี้ ช่างน่าสลดใจเสียเหลือเกิน ! " 

          เสียงถอนหายใจเบาๆ แต่ลึกล้ำเช่นนั้น ชาวประมงเฒ่าที่อยู่ริมแม่น้ำบังเอิญได้ยินเข้า จึงกล่าวกับซิหยวนว่า 

Tuesday, December 25, 2012

เรื่องของจิตใจ

น้ำถ้วยหนึ่งกับน้ำสระหนึ่ง

         ศิษย์ขี้บ่นคนหนึ่ง ชอบโทษโน่นโทษนี่ วันหนึ่ง พระอาจารย์จึงบอกให้ศิษย์ขี้บ่นใส่เกลือลงไปในถ้วยที่มีน้ำ แล้วดื่มดู

         " รสชาติเป็นยังไง " อาจารย์ถาม

         " เค็มปี๋ เค็มจนกินไม่ได้เลยอาจารย์ " ศิษย์ขี้บ่นตอบ

         วันต่อมา อาจารย์พาศิษย์ขี้บ่นไปริมสระน้ำ แล้วบอกให้ศิษย์เทเกลือปริมาณเท่าเมื่อวานลงไปในสระน้ำ แล้วตักน้ำในสระขึ้นมาดื่ม

          " รศชาติเป็นยังไง " อาจารย์ถาม

          " ปกติดี ไม่เค็มเหมือนเมื่อวาน " ศิษย์ขี้บ่นตอบ

          อาจารย์พยักหน้าหงึกๆ พูดกับศิษย์ว่า " ความลำบาก ทุกข์ยากหนักเหนื่อยในชีวิต ก็เหมือนกับเกลือ เค็มหรือไม่เค็ม ขึ้นอยู่กับความใหญ่ - เล็กของภาชนะที่เราใส่ลงไป... เจ้าอยากจะเป็นน้ำถ้วยหนึ่งหรือน้ำสระหนึ่ง "

Monday, December 17, 2012

คบเพื่อนควรมีมิตรจิต เป็นคนพึงต้องจริงใจ




คบเพื่อนควรมีมิตรจิต
อุทิศให้กัน
เป็นคนพึงสัตย์ซื่อ
มีน้ำใสใจจริง

นิทัศน์อุทาหรณ์
สร้างสะพานให้ดี

           เมื่อพูดถึงตัวบุคคลใน " สามก๊ก " ก็มักจะทำให้เราคิดถึงเรื่อง " ร่วมสาบานในสวนท้อ " ขึ้นมาทันที

           ย้อนกลับไปคิดถึงตอนแรกเริ่มเดิมที ที่เล่าปี่สามารถครองแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพศาลได้ด้วยสองมือเปล่า เป็นที่แน่นอนว่า ย่อมจะอาศัยสติปัญญาและกลอุบายของขงเบ้งเป็นสำคัญ แต่ถ้าหากปราศจากการสู้รบอย่างเอาชีวิตเข้าแลกของกวนอูเตียวหุยในสนามรบแล้ว จุดมุ่งหมายในการแยกแผ่นดินออกเป็นสาม ก็ไม่มีทางจะสำเร็จได้

          ไกลออกไปอีก ในสมัยชุนชิว เอี๋ยงเจี่ยวอายกับจ่อป้อถาวเป็นเพื่อนสนิทกัน พวกเขาได้ข่าวว่า ฉู๋อ๋องแห่งแคว้นฉู่สันทัดในการใช้ผู้มีสติปัญญา จึงเดินทางไปแคว้นฉู่ด้วยกัน

           ระหว่างทางเกิดหิมะตกหนัก อากาศหนาวจัด คนทั้งสองตกอยู่ท่ามกลางหิมะ เสบียงกรังก็ไม่พอเพียง เสื้อผ้าก็ไม่อาจต้านทานกับหิมะหนาวได้

ธัมมิกสังคมนิยมของท่านพุทธทาส ( บทที่ ๑ )

ธัมมิกสังคมนิยมของท่านพุทธทาส ( บทที่ ๑ )
ว่าด้วยการก่อรูปอุดมคติทางการเมือง

           "... หลักธรรมที่จะใช้เป็นที่พึ่งแก่โลกในทางการเมืองได้นั้น ขอให้ถอดเอามาจากหัวใจของทุกๆ ศาสนา ทุกศาสนามีหัวใจเป็นสังคมนิยม ทุกศาสนาสอนสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ทุกๆ คน ไม่ใช่เพื่อคนดียว หัวใจของศาสนาจึงเป็นลักษณะของสังคมนิยม ไม่ใช่ปัจเจกนิยม...

           ธัมมิกะ แปลว่า " ประกอบอยู่ด้วยธรรมะ " ธรรมะคือความถูกต้อง ถูกต้องอย่างไม่มีทางที่จะผิด สังคมนิยมที่ประกอบอยู่ด้วยธรรมะนี่ เป็นหัวใจของทุกศาสนาอยู่แล้วโดยไม่รู้สึกตัว ทำไมไม่เอาออกมาใช้ เทออกมาให้หมดทุกๆ ศาสนา มารวมกันเป็นระบบธัมมิกสังคมนิยมของโลก ใช้กับคนทั้งโลก...

           ขอให้หัวใจของทุกๆ ศาสนาเทไหลออกมากองรวมกันเป็น ระบบธัมมิกสังคมนิยมสำหรับ จะเป็นที่พึ่งในโลก แล้วในที่สุดจะมองเห็นกันได้เองว่า เราเป็นสหธรรมิกกันได้... "

การเมือง และอุดมคติทางการเมือง

            " ถ้าเราจะถือว่าคำว่า " การเมือง " มาจากคำว่า Politics ก็จะยิ่งเห็นความหมายได้ง่ายเพราะ คำว่า Politics นี้มีความหมาย " เกี่ยวกับคนมาก " หรือเกี่ยวกับเรื่องที่มากๆ นี้จะต้องนึกไปถึงความจริงอันหนึ่งว่า พออะไรมีเพิ่มมากขึ้นและก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทันที จะเป็นคนหรือของอะไรก็ตาม Poli ที่แปลว่า " มากนี้ " หมายถึงอะไรก็ได้บดนี้เอามาใช้ประกอบขึ้นเป็นคำสำหรับอุดมคติอันหนึ่ง ที่จะใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากการที่มีคนหรือมีอะไรมากๆ เรื่องความมีปัญหามากนี้ไม่ต้องสงสัย ย่อมมาจากการที่มีคนมากขึ้นในโลกในสังคมอะไรนี้ ดังนั้นก็ต้องมีระบบอันหนึ่งทางศีลธรรม หรือว่าทางศาสนาก็ตาม เพื่อจะแก้ปัญหาเหล่านี้ ถ้าคำว่า " การเมือง " หมายความอย่างนี้ก็นับว่าดี คือว่าเป็นกลาง วางไว้สำหรับจะแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับคนมากก็แล้วกัน

Right Action

Right Action

          Buddhism classifies actions into three categories: bodily action, verbal action and mental action. In this Fold, we will concentrate on right bodily action.

           For layman and laywomen, the Buddha provided specific guidelines for right bodily action under the rules of morality. When you have right speech, then you have followed the other three basic Precepts which Lord Buddha invited us to practice, refraining from the unwholesome bodily actions of killing, stealing or taking of what is not given and irresponsible or inappropriate sexuality or sexual misconduct.

           Buddhism teaches us not only to refrain from these unwholesome actions but also to practice the right course of behavior without prejudice. These prejudices are : prejudice caused partially by love or desire, delusion or stupidity and prejudice caused by fear. These are known as " Agati 4 " Right action also includes bodily action with earnestness or heedfulness, known as " Appamada " in Buddhist terms.

Sunday, December 16, 2012

สัมมากัมมันตะ

สัมมากัมมันตะ

           พุทธศาสนาแบ่งการกระทำออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม และ มโนกรรม สำหรับมรรคข้อ สัมมากัมมันตะ หมายและเน้นไปในส่วนที่เกี่ยวกับการประพฤติศีลทางกายกรรม พุทธศาสนาแนะนำข้อปฏิบัติให้บุคคลทั่วไปทั้งหญิงและชายอยู่ในกรอบแห่งศีล 3 ข้อที่เกี่ยวกับการกระทำทางกาย คือ งดเว้นจากการกระทำชั่ว ได้แก่ การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การลักขโมย และการประพฤติผิดพรหมจรรย์

            นอกจากการละเว้นการกระทำที่เป็นบาปดังกล่าวแล้ว พุทธศาสนายังสอนให้ละเว้นการกระทำอันเนื่องมาจาก อคติ 4 ได้แก่ ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักเพราะชอบ โทสาคติ ลำเอียงเพราะเกลียดชัง โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลงผิดเพราะเขลา และ ภยาคติ ลำเอียงเพราะความกลัว นอกจากนี้ สัมมามันกัมมันตะที่สมบูรณ์ย่อมต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาทที่ทางศาสนาเรียกว่า อัปปมาทะ อีกด้วย

หนทางแคบควรถอยหนึ่งก้าว อาหารรสดีควรแบ่งสามส่วน




หนทางในตอนแคบ
เหลือที่ให้คนอื่นเดินสักก้าวหนึ่ง
อาหารรสเข้มข้น
แบ่งให้คนอื่นชิมสักสามส่วน
นี้คือวิถีการดำรงชีวิตในโลก
ด้วยความสงบสุขเป็นอย่างยิ่ง


นิทัศน์อุทรหรณ์
ปากสองปาก

          มีหนอนชนิดหนึ่งเรียกันว่า " ไว่ " มันมีอะไรที่ประหลาดกว่าหนอนอื่นๆ อยู่มากทีเดียว

          เจ้า " ไว่ " นี่เป็นหนอนแปลก มีกายอยู่เพียงหนึ่งแต่มีปากอยู่สองปาก ในยามปกติมันก็อยู่ด้วยกันได้อย่างกลมเกลียวกันไม่มีปัญหาอะไร แต่พอมีของกินดีๆ ปากทั้งสองของมันก็กัดกันเองเพื่อแย่งอาหารนั้นอย่างเอาเป็นเอาตาย ต่างไม่ยอมลดราวาศอกให้แก่กันเลย

          ปากนั้นเลือดไหลโทรม ปากนั้นเน่า ปากนั้นไม่ขยับเขยื้อนอีกต่อไปแล้ว เจ้า " ไว่ " ตายแล้ว มันตายโดยทีไม่มีโอกาสได้ลิ้มรสอาหารที่มันอยากกินเลยแม้สักคำ

           เจ้า " ไว่ " ถ้าหากว่ามันไม่แย่งชิงกันเองแล้ว ไม่ปากใดก็ปากหนึ่งคงจะได้ลิ้มรสชาติอันโอชะนั้นไม่มากก็น้อย

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๑๒ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๑๒ )
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

           สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นวีรบุรุษแห่งตะเลงพ่าย หรือผู้ชนะมอญ ชาวไทยให้ความเคารพพระองค์อย่างสูงสุดและยกย่องพระอค์ว่าเป็นกษัตริย์ยอกนักรบ พระองค์ทรงเป็นพระโอรสของพระมหาธรรมาราชา ทรงมีพระภคินีพระานามว่า เจ้าหญิงสุพรรณเทวี ( สุวรรณกัลยาณี ) และพระอนุชาพระนามว่า เอกาทศรถ ผู้ซึ่งต่อสู้ข้าศึกเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระนเรศวรตลอดมา พระนเรศวรเองบางครั้งทรงได้รับขนานนามว่าพระองค์ดำ และขนานนามพระเอกาทศรถว่าพระองค์ขาว

           เมื่อยังทรงพระเยาว์ พระองค์ถูกนำตัวไปยังกรุงหงสาวดีโดยพระเจ้าบุเรงนอง หรือเป็นที่รู้จักกันว่า " ผู้ชนะสิบทิศ " ผู้ซึ่งแต่งตั้งให้พระมาหาธรรมราชาปกครองกรุงศรีอยุทธยาสืบไป พระนเรศวรถูกกักตัวไว้เป็นตัวประกันในพม่าเป็นเวลานาน ๙ ปี ครั้นพระชันษาได้ ๑๖ ปี พระราชบิดาจึงขอตัวกลับมาและส่งให้ไปเป็นมหาอุปราชาเมืองพิษณุโลก

            มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระองค์ว่าเมื่อยังทรงพระเยาว์ในขณะที่พระองค์ถูกกักตัวไว้เป็นตัวประกันในพม่า อยู่มาวันหนึ่งพระองค์ได้เข่าร่วมการแข่งขันตีไก่กับพวกเจ้าชายพม่า ปรากฏว่าไก่ของพระองค์ชนะการแข่งขัน ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับกษัตริย์พม่าจนถึงกลับตรัสออมาว่า " โอ้ ไก่เชลยนี้ตีเก่งนะ " เจ้าชายนเรศวรรีบตอบทันทีว่า " ไก่เชลยนี้ไม่ใช่แค่เพียงตีเพื่อการพนันเท่านั้น แต่ยังสามารถตีเอาบ้านเอาเมืองกันยังได้ " ซึ่งนี่ก็แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงตระหนักอยู่เสมอในความเป็นตัวประกันและประสงค์ที่จะปลดปล่อยให้อยุธยาเป็นอิสระอยู่เสมอ

Saturday, December 15, 2012

Thailand " Land of Smile " ( Part 12 )

Thailand " Land of Smile " ( Part 12 )
King Neressuan the Great

         King Naresuan the Great was know as the hero of Teleng Phai ( or the Defeat of the Mons ). Thai people gave him the utmost respect and praised him as a worrior - king. He was a son of king Maha Dhammaraja. He had an elder sister, Princess Supantevi and a younger brother, Prince Ekatosarote were sometimes known as the Black Prince and the White Prince respectively.

         At the early age, Prince Naresuan was taken away to Pegu respectively. Bayinnuang ( Burengnong ) also known as " the Victorious One " when he put Maha Dhammaraja on the throne of Ayutthaya. He was kept nine years in to be Governor of Pitsanuloke.

          There is a story about him as a young man while being held as a hostage in Burma. One day he took part in cockfighting with some Burmese princes. His cock won, and the Burmese Prince was annoyed and exclaimed, " Oh, how good this captive cock is !". Prince Naresuan replied :" This captive can not only fight for a gamble, but it can also fight for a kingdom ", This shows that the Prince realised himself of being a hostage and yearned for the independence of Ayutthaya.

ส.ส.

ทำไมจะต้องทำ

           ณ หุบเขาแห่งหนึ่ง

           อาจ้างเข้าป่าไปล่าสัตว์กับพรรคพวกจำนวนมาก เขาสั่งให้พรรคพวกจุดไฟเผาป่าเพื่อไล่เนื้อออกจากที่ซ่อน บังเอิญคราวลมแรง ไฟได้ลุกลามออกไปไกลตั้งสิบไมล์

           ขณะที่เปลวไฟกำลังลุกไหม้อยู่นั้นมีชายคนหนึ่งออกมาจากซอกเขาฝ่ากองไฟออกมหยุดยืนพักหนึ่งแล้วก็ล้มลงท่ามกลางกลุ่มควันและเปลวเพลิง

           ใครๆ ก็นึกว่าเขาคงถูกไฟเผา เหลือแต่เถ้าถ่านไปแล้ว แต่ที่ไหนได้พอไฟซาลงเขาก็เดินออกมาอย่างเชื่องช้าคล้ายกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น

           อาจ้างรู้สึกประหลาดใจมาก มันเป็นไปได้อย่างไร ? เขาคิดพลางเพ่งดูชายแปลกหน้าไปตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า ก็เห็นว่าเป็นมนุษย์ธรรมดาๆ นี่เองได้เป็นเทวดามาจากไหน แต่ทำไมจึงทนไฟได้สืบเท้าเข้าไปถามว่า

ขุนช้าง - ขุนแผน " แว่นใหม่ที่ใส่มอง " ( ตอนที่ 7 )

ขุนช้าง - ขุนแผน " แว่นใหม่ที่ใส่มอง " ( ตอนที่ 7 )

          วันทองหรือนางพิมพิลาไลย เมื่อวัยไร้เดียงสาเธอถูกผูกมาให้ด่าเก่งเป็นไฟแล่บ ชอบเหน็บแหนบขุนช้าง ทั้งที่วัยนี้มิมีเด็กคนใดจะใส่ความอัปลักษณ์ของใครมากไปกว่าหาความสนุกสนานตามวารวัน ตัวนิดเท่านั้นกวีก็สรรคำมาให้ด่าขุนช้างเสียเป็นหางว่าว เช่น ด่าเป็นไอ้จัณฑาล, อ้ายนอกคอก, อ้ายหัวถลอก, อ้ายตายโหง, อ้ายล้านขี้ถัง, อ้ายจังไร ฯลฯ ขณะที่ไม่เคยด่าขุนแผนเลย พอล่วงเข้าเป็นสาวนางพิมก็ยิ่งก้าวร้าวต่อขุนช้างดังว่า ชังน้ำหน้ามาแต่สิบชาติปางก่อน บทกลอนให้เธอถุยน้ำลายใส่ขุนช้างแค่เอาผ้ากรองมาวางเคียงข้าง หลายอย่างหลายประการ อันวาจาจัดจ้านเกอนการณ์เช่นนี้หรือมีกิริยามารยาทอุกอาจดังขาดการอบรมบ่มวิสัย ทำให้เห็นเด่นชัดว่าเสภาขุนช้างขุนแผนแก่นของเนื้อหานั้นเอาความมันเมาทางประโลมโลกบวกความสัปโดกเป็นหลักมากกว่าจะให้ใช้เหตุผล

           นี่คือความพิกลพิการข้อหนึ่งของวรรณคดีซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นเลิศบรรเจิดบรรจง

           เมื่อขีดวงให้นางพิมปากคอเราะร้าย ยังคลับคล้ายจะขีดข่วนมิให้รักนวลสงวนร่างดังได้อ้างถึงแล้วในภาคเณรแก้วกระทำลามกสกปรกผ้าเหลือง ( และสังเกตุเรืองให้ดีไม่มีครั้งไหนที่นางพิมไม่ใช้คำหยาบคายใส่ขุนช้าง และไม่มีครั้งไหนเช่นกันที่เธอไม่รำพันตัดพ้อต่อขุนแผน )

ธัมมิกสังคมนิยมของท่านพุทธทาส ( เกริ่นนำ )

ธัมมิกสังคมนิยมของท่านพุทธทาส ( เกริ่นนำ )

          การเกิดขึ้นของลัทธิการเมืองใดๆ ย่อมมีปรัชญาการเมืองเป็นรากฐานทั้งสิ้น และคงมีแต่ ปรัชญาการเมืองที่ไม่ขัดต่อสัจจะของธรรมชาติเท่านั้น ที่จะหนุนให้ลัทธิการเมืองนั้นๆ คงทนถาวรและทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อทำให้มนุษย์สามารถอยู่รวมกันอย่างผาสุกทั้งใน ระดับปัจเจกบุคคลและระดับสังคม ลัทธิทางการเมืองเท่าที่เกิดขึ้นมาแล้วในโลกนี้ ต่างก็พิสูจน์ ตัวเองมาแล้วมากยุคสมัย ทว่าจวบจนปัจจุบันนี้เราก็ยังไม่สามารถจะบอกได้ว่าลัทธิทางการเมือง ชนิดใดที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์ แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ ลัทธิทางการเมืองในยุคหลังมีแนวโน้มเอนเอียง มาทางโลกียวิสัย ( Secularization ) มากยิ่งขึ้นทุกที และนับวันเมื่อประชากรโลกยิ่งมากขึ้น การแย่งชิงทรัพยากรก็เริ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ปัญหาว่าทำอย่างไร จึงจะสามารถหาแนวคิดทางการเมือง ที่เหมาะสม สำหรับมนุษย์และธรรมชาติ จึงยังจำเป็นต้องมีการพูดถึงกันอยู่ทุกยุคทุกสมัย

           แนวคิดด้านสังคมนิยม เศรษฐกิจ และการเมือง ของพุทธทาสภิกขุ ในชื่อ " ธัมมิกสังคมนิยม " นั้น เป็นผลึกความคิดที่ได้จากกระบวนการ " สิกขา " อย่างเป็นระบบในหลักธรรมทั้งในระดับ ปัจเจกและชุมชน และได้นำเสนอภายใต้หลักศาสนาธรรม ซึ่งท่านเน้นย้ำอยู่เสมอว่า การเมืองคือศีลธรรม

           บทความชี้นนี้เป็นการนำ ธรรมบรรยายของท่านพุทธทาสภิกขุ ที่ว่าด้วยเรื่อง " ธัมมิกสังคมนิยม " ซึ่งท่านได้บรรยายไว้ต่างกรรมต่างวาระกัน มาเรียบเรียงใหม่ เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพรวม กว้างๆ ของแนวคิดนี้ โดยวางโครงร่างของการเรียบเรียงออกเป็น ๔ หมวดด้วยกัน คือ

Friday, December 14, 2012

เกลือ จิ้ม เกลือ

ทีแกข้าไม่ว่า ที่ข้าแกอย่าโวย

          ในกาลเวลาช้านานมาแล้ว มีพ่อค้าสองนาย คนหนึ่งอาศัยอยู่ในเมือง อีกคนหนึ่งอยู่ที่ชานเมือง หรือที่คนเมืองมักเรียกว่าบ้านนอก ทั้งสองคบหากันเป็นมิตรสหาย มาช้านานแล้ว

           อยู่มาวันหนึ่ง พ่อค้าบ้านนอกซึ่งมีอาชีพขายเครื่องเหล็ก มีธุระจำเป็นต้องไปต่างเมืองหลายวันจึงนำเครื่องเหล็กมาฝากไว้กับพ่อค้าชาวเมือง

            ต่อหน้าพ่อค้าบ้านนอกนั้นเขาได้รับปากว่าจะดูแลเครื่องเหล็กทั้งหลายที่พ่อค้าบ้านนอกฝากได้เป็นอย่างดี แต่ภายในจิตใจนั้นได้เกิดความละโมบ ครั้นพอเพื่อนเกลอคล้อยหลังไปเขาได้นำเครื่องเหล็กไปขาย ซึ่งได้เงินมามากมาย

            เมื่อพ่อค้าบ้านนอกเดินทางกลับจากต่างเมือง และมารับเคื่องเหล็กที่ฝากไว้ พ่อค้าชาวเมืองได้แจ้งว่าเครื่องเหล็กนั้นถูกหนูวายร้ายกัดกินเสียหมดแล้ว พร้อมกับพาไปดูห้องเก็บของที่เขานำมูลหนูมาโรยไว้เพื่อตบตาพ่อค้าบ้านนอก

             แม้จะเป็นพ่อค้าบ้านนอกแต่เล่ห์กลเช่นนี้หาทำให้เขาหลงเชื่อไม่ เขารู้ว่าเพื่อนเกลอยักยอกบดบังเครื่องเหล็กไว้เสียแล้ว จึงคิดอุบายที่จะสั่งสอนพ่อค้าชาวเมืองขึ้น

จางจืดจึงรู้รสแท้ สามัญจึงเป็นยอดคน




สุราอาหารเปรี้ยวหวานชั้นเลิศ
หาใช่รสแท้ ไม่
รสแท้มีแต่อ่อนบางจางจืด
วิเศษพิสดารเหนือชั้นคนอื่น
หาใช่คนดีไม่
คนดีมีแต่ธรรมดาสามัญ

นิทัศน์อุทาหรณ์
ลิงสวมหมวก

          มีสัตว์ชนิดหนึ่งที่มักจะอวดตัวเองว่าสามารถเลียนแบบคนได้เหมือนที่สุด เมื่อคนสวมหมวก มันก็สวมหมวกบ้าง เมื่อคนมุดเข้าไปในกรง มันก็มุดเข้าไปบ้าง แต่ในขณะที่มันพออกพอใจในตัวเองอยู่นั้นคนก็ปิดประตูกรงเสีย จับมันไว้ได้อย่างสะดวกดาย

           สัตว์ชนิดนี้ ท่านทั้งหลายคงจะทราบกันดี มันก็คือลิง !

           ลิงแม้จะมีความสามารถในการเลียนแบบอย่างสูงก็จริง แต่มันไม่มีความรู้อันพอเพียงและความถ่อมตัวอันพึงมี ที่จะช่วยมันหนีพ้นจากการจับตัวของคนได้

           คนเราก็เหมือนกัน โจโฉผู้มีชื่อเสียงอยู่ในประวัติศาสตร์ เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถกว้างขวางเป็นอย่างยิ่ง เขาเฉลียวฉลาด เขียนหนังสือก็เก่ง เป็นบุคลากรชั้นผู้นำที่หาได้ยาก เขานำทหารหลายร้อยหมื่นรบตะวันออกพิชิตตะวันตก

Thursday, December 13, 2012

Right Speech

Right Speech

          Right speech means good conduct in world or verbal action. Right speech is expressed the right thought or right intention. It is apart of the practice of morality and is made up of honest worlds, which are necessary for living with other human beings. It not only calls for us to avoid lying and deceit, but also to actively cultivate honesty and eliminate tale bearing, gossip, vain talk, backbiting and harsh, rude or insulting language. All verbal expression in interpersonal communication should be said that honest tales of moral behavior are the obvious result of mastery of right speech.





By THE BUDDHA'S Core Teachings

สัมมาวาจา

สัมมาวาจา

           เป็นมรรคข้อแรกที่จัดอยู่ในกลุ่มของศีล ตามหลักไตรสิกขาสัมาวาจา หมายถึง การพูด การเจรจา การติดต่อสื่อสาร ที่แสดงออกทางคำพูดที่เหมาะสมภายใต้ความคิดความตั้งใจที่ถูกต้องสุจริต สัมมาวาจาจัดเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาศีลปฏิบัติธรรมในข้อที่เว้นจากการกล่าวคำเท็จ ซึ่งนอกจากจะถือว่า เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์ในสังคมต่อการแสดงออกทางวาจาโดยปราศจากการโกหกหลอกลวงแล้ว ยังเป็นการเพาะบ่มความซื่อสัตย์ สุจริต ด้วยการไม่พูดจาส่อเสียด ซุบซิบนินทาว่าร้ายลับหลัง พูดจาหยาบคาย หรือใช้ภาษาที่แสดงถึงการดูหมิ่นเหยียดหยามอีกด้วย นอกจากนี้ในความหมายของสัมมาวาจา ยังรวมถึงการแสดงออกทางคำพูดในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล ที่มีลักษณะเป็นการสร้างสรรค์ละเว้นคำพูดเท็จ คำพูดที่ไร้สาระไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ จึงอาจกล่าวได้ว่า การรักษาศีลปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องย่อมเป็นผลอย่างชัดเจนจากการมีสัมมาวาจาเป็นสำคัญ





By แก่นพุทธธรม

ความฝัน

ชีวิตเหมือนฝัน

          พระอาจารย์รังนกใช้ชีวิตเฉกเช่นเดียวกับฉายานามของท่าน คือพักอาศัยอยู่บนต้นสนต้นหนึ่งตามลำพังคนเดียวในป่าลึก

          ไป๋จีอี้ผู้ยิ่งใหญ่เคารพนับถือท่านรังนกมาก จึงเดินทางมาเยี่ยมท่านในป่า และร่ายกวีบทหนึ่งเรียนถามธรรมะจากท่านรังนกว่า

ข้าพเจ้าก้าวสู่แดนธรรม
เพื่อเรียนถามอาจารย์ท่าน
ว่าชีวิตจริงคือความฝัน
หรือความฝันคือความจริง

ท่านรังนกหัวเราะเบาๆ แล้วร่ายกวีตอบกลับมาว่า

ยามมาห้ามไม่ได้ ยามไปฉุดไม่อยู่
เมื่อรู้ถึงความไม่เที่ยงแห่งชีวิต
ย่อมรู้ถึงสมมติของชีวิต
แล้วทุกข์ไปไยกับชีวิตที่เป็นมายา

           ไป๋จีอี้สับสนกับสังคมโลก เขารู้สึกทุกข์ รู้สึกหงุดหงิดกลัดกลุ้ม หาทางออกในชีวิตไม่ได้ จึงเดินทางเข้าป่ามาหาท่านรังนกเพื่อขอคำชี้แนะว่า แท้จริงชีวิตของคนเราคือความฝันหรือความฝันคือความจริงกันแน่ ที่ตั้งคำถามเช่นนี้ก็เพื่อหาหนทางแห่งความทุกข์ หาวิธีบำเพ็ญธรรมนั่นเอง

ยาดีย่อมขมปาก คำเตือนมักขัดหู




โสตสำเหนียกเสียงขัดหูอยู่เป็นนิจ
จิตใจมักมีเรื่องเขื่องข้องขัดเป็นอาจิณ
นี้คือหินฝนทองแห่งการฝึกคุณธรรมความดี
หากทุกถ้อยคำล้วนไพเราะเสนาะหู
ทุกเรื่องล้วนสมใจไม่เคืองขัด
ก็เท่ากับฝังชีวิตนี้ลงไปในปลักแห่งพิษร้ายนั่นเอง

นิทัศน์อุทาหรณ์

เรื่องของผีเสื้อ

          หนอนผีเสื้อแต่ละตัว กว่าจะกลายเป็นผีเสื้อสีสวย เบื้องหลังของมันมีเรื่องราวที่น่าประทับใจอยู่ไม่น้อย

           มีหนอนผีเสื้อตัวหนึ่ง ตัวสั้น เต็มไปด้วยขนตั้งแต่หัวจรดหางดูน่าเกลียดเป็นอย่างยิ่ง แต่ละครั้งที่มันดูตัวเอง ก็รู้สึกขายหน้ายิ่งนักแต่มันเคยได้ยินปู่ของมันบอกว่า หนอนผีเสื้อเมื่อโตแล้ว ก็จะมีปีกสวยคู่หนึ่งงอกออกา ดังนั้นมันจึงรอคอยวันนั้นด้วยความอดทน

           วันหนึ่ง มันพ่นใยออกมาจากปาก หุ้มห่อตัวเองเอาไว้ กลายเป็นดักแด้ ไม่กิน ไม่กระดุกกระดิก มันนึกรู้ว่า เวลาที่มันจะมีปีกใกล้จามาถึงแล้ว

           ไม่นาน มันก็กัดรังไหมที่หุ้มมันอยู่ออกเป็นรูเล็กๆ และขยับตัวดิ้นรนที่จะออกมาจากรูนั้นให้ได้อย่างสุดกำลัง