Saturday, August 23, 2014

ไม่ห่างไกลจากพุทธะ


ไม่ห่างไกลจากพุทธะ

       สมัยราชวงศ์ถาง มีนักวรรณคดีคนหนึ่งชื่อ ไป๋จฺวีอี้ ท่านถามฌานาจารย์เหวยควน ว่า " คนเราทุกคนล้วนมีกาย ปาก และใจ ขอเรียน ถามว่าจะแยกบำเพ็ญเพียรอย่างไร ? "

       ฌานาจารย์ตอบว่า " การรู้แจ้งนั้น หากด้วยกายหมายถึงการถือศีล หากด้วยปากหมายถึงการปฏิบัติธรรม หากด้วยใจหมายถึงการปฏิบัติฌาน เรียกต่างกันว่า ศีล ธรรม และฌาน ซึ่งอันที่จริงแล้วก็คือสิ่งเดียวกันเปรียบดังเช่นแม่น้ำฮวงโหและแม่น้ำแยงซีเกียงเป็นชื่อแม่น้ำคนละสาย แต่มันคือแม่น้ำเหมือนกัน ไหลลงสู่ทะเลเหมือนกัน ลักษณะน้ำย่อมไม่ต่างกัน ศีลคือธรรม ธรรมแยกไม่ออกจากฌาน ถึงที่สุดแล้วคือ ทำสมาธิภาวนาทำจิตว่าง เพราะฉะนั้น เราจะไปจำแนกทำไม ? "

      ไป๋จฺวีอี้ยังไม่หายสงสัย " จิตเดิมแท้สมบูรณ์อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องบำเพ็ญ พึงรู้ว่ามันจะบริสุทธิ์หรือสกปรกก็ตาม ที่สำคัญคือตัวเองต้องทำให้จิตนิ่ง ไม่มีความคิดปรุงแต่ง "



      การรู้แจ้งด้วยกาย ปาก และใจ ย่อมมีชื่อเรียกแตกต่างกัน แต่ถ้าพูดในแง่สภาวะจิตเดิมแท้ มันสมบูรณ์และสะอาดบริสุทธิ์อยู่แล้ว ยังต้องบำเพ็ญเพียรอะไรเล่า ? 

      คนเราจะนับถือศาสนาอะไรไม่มีปัญหา ที่สำคัญคือต้องรู้จักควบคุมตัวเองให้ระมัดระวังคำพูดและการกระทำ เมื่อชำระจิตวิญญาณตัวเองบริสุทธิ์แล้ว จึงจะสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ เพราะฉะนั้น ทุกศาสนาโดยเนื้อแท้แล้วไม่แตกต่างกันมากนัก จึงไม่ควรผลักไสผู้อื่นเพียงเพราะนับถือศาสนาต่างกัน พึงรู้ว่าการกีดกันบุคคลต่างศาสนาเป็นพฤติกรรมที่ผิด สวนทางกับหลักธรรมทุกศาสนาอย่างร้ายแรง ถ้าทุกคนรักษาจิตใจให้สะอาดบริสุธิ์ได้ ไม่กระทำเรื่องละอายต่อมโนธรรม ยังจะต้องไปไขว่คว้ายึดถือปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาใดอีกหรือ ? เพราะสภาวะเดิมแท้ที่สมบูรณ์อยู่แล้วดังกล่าวข้างต้น ไม่ห่างไกลจากธรรมชาติแห่งพุทธะเท่าใดนัก




By เซ็น : วิถีแห่งความสุขที่แท้

No comments:

Post a Comment