Thursday, January 31, 2013

เลี้ยงลูกให้เป็นปราชญ์

เลี้ยงลูกให้เป็นปราชญ์

          กาลครั้งหนึ่ง...

          มีนักปราชญ์ชาวจีนคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้สืบต่อคำสอนลัทธิปรัชญาของขงจื้อเฉกเช่นพลโต ได้สืบต่อแนวคิดของโสกราติส ฉะนั้นท่านผู้นี้ชื่อเม่งจื้อ เป็นชาวรัฐลู่เฉกเช่นขงจื้อ เกิดในพุทธศตวรรษที่สอง

           ในวัยเด็กเม่งจื้อเกียจคร้าน ไม่ชอบเรียนหนังสือมักหนีโรงเรียนเมื่อมีโอกาส

           มารดาเม่งจื้อชื่อเจียงสี เป็นคนฉลาด มิได้ด่าทุบตีลูกเหมือนชาวบ้านทั่วไปมักจะทำเพื่อระบายโทสะ นางคิดว่าสภาพแวดล้อมมีอิทพลต่อเด็กมาก การจะให้การศึกษาที่ดีแก่เด็ก สิ่งหนึ่งที่ควรทำคือ จัดสิ่งแวดล้อมให้ดี เดิมบ้านนางอยู่ตลาดสด จอแจไปด้วยเสียงผู้คนแต่ละวันจะได้ยินเสียงแม่ค้าถุ้มเถียงด่าทอกันด้วยคำหยาบคายเป็นประจำ เม่งจื้อมักจะเลียนคำของแม่ค้าปากตลาดพวกนั้นเสมอ

          นางเจียงสีจึงย้ายภูมิลำเนาใหม่ สถานที่ใหม่นี้อยู่ใกล้โรงเรียน นางจะชี้ชวนให้ลูกดูเด็กนักเรียนที่มาเรียนหนังสือแล้วบอกว่า โตมาลูกจงขยันเรียนหนังสือเหมือนเด็กพวกนั้นนะ ลูกจะได้มีวิชาติดตัวไปในภายหน้า

           เมื่อเม้งจื้อมีวัยสมควรศึกษาเล่าเรียน นางจึงนำลูกไปฝากเรียนในโรงเรียนดังกล่าว



           เม่งจื้อเป็นเด็กสติปัญญาอยู่ในขั้นฉลาด แต่ค่อนข้างขี้เกียจเรียน วันหนึ่งแอบหนีกลับบ้านก่อนโรงเรียนเลิก

           นางเจีงเสียง ผู้เป็นแม่กำลังทอผ้าอยู่ รู้ว่าลูกชายกลับก่อนกำหนดแทนที่จะดุด่าลูก กลับหยิบกรรไกรตัดด้ายออกทั้งที่เพิ่งทอเป็นผืนผ้าเพียงครึ่งเดียว เม่งจื้อแปลกใจ ถามแม่ว่า

           " แม่จ๋า ผ้ายังทอไม่เสร็จเลย ทำไมตัดด้ายทอเสียล่ะ "

           นางตอบว่า

           " ก็เหมือนกับเจ้าที่หนีโรงเรียนนั่นแหละ โรงเรียนยังไม่ทันเลิกเลยเจ้าก็หลบมาเสียก่อน แล้วอย่างนี้จะมีวิชาความรู้ที่ไหนไว้เลี้ยงตัวเมื่อเติบโตเล่า "

" แม่ต้องทนนั่งทอผ้าหลังขดหลังแข็ง
เพื่อหาเงินมาเป็นค่าเล่าเรียนของเจ้า
แต่เจ้ากลับไม่รักดี
มันจะต่างอะไร
กับการทอผ้าเพียงครึ่งแล้วตัดทิ้งไปเล่า "

           เม่งจื้อได้คิด เข้าไปกอดแม่พูดว่า
       
           " แม่จ๋า ยกโทษให้ลูกเถิด ต่อไปนี้ลูกจะตั้งใจเรียนไม่ทำให้แม่เสียใจเป็นอันขาด "

           เขาปฏิบัติได้ตามที่พูดจริงๆ ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนต่อมาได้เป็นศิษย์ของจืื้อซือ ( ซึ่งเป็นศิษย์ผู้สืบลัทธิขงจื้อชั้นสาม ) จนกลายเป็นปรัชญาเมธีที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของจีน





By คิดแบบ " เต๋า " นิทานปรัชญา ( ตีลังกาคิด )          




No comments:

Post a Comment