Sunday, March 31, 2013

Comment on the theory of Anatta

Comment on the theory of Anatta

          According to the theory of anatta, the Buddha claims to have avoided the two extreme views, namely eternalism and annihiationism. On this standpoint, the Buddha's teaching of Dhamma is considered to be the " middle path " concept. He rejects not only the Uppanisadic view of the existence of the permanent self, but also the nihilists , according to Ajita Kesakampala.

          However, the Buddha himself, accepts the doctrine of karma and rebirth. His " middle position ", however constitutes some major problem. How can reconcile the anatta doctrine, which denies the permanent self, with the doctrine of karma and rebirth, which seems to presuppose the identity and continuity of the person ? Is it possible to talk of personal identity and unity of consciousness without having recourse to the notion of the permanent self ? The solution of these problems will found after the theory of consciousness in Buddhism has been presented.

วิจารณ์ทฤษฎี อนัตตา

วิจารณ์ทฤษฎี อนัตตา

         ตามความเชื่อของชาวพุทธเกี่ยวกับหลักอนัตตาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงมัชเฌนธรรมเทศนา ไม่ให้เชื่อมิจฉาทิฏฐิที่สุดโต่งอยู่ ๒ อย่าง คือ สัสสตทิฏฐิ ความเห็นในปรัชญาอุปนิษัทที่เชื่อว่า อัตตาและโลกเที่ยงแท้ยั่งยืนอยู่ชั่วนิรันดร์กับ อุจเฉททิฏฐิ โดยนักปราชญาสสารนิยมเช่น อชิตเกสกัมพล มีความเห็นว่าชีวิตขาดสูญหลังความตาย อัตตาและโลกมีความพินาศขาดสูญหมดสิ้นไม่เป็นนิรันดร์

          อย่างไรก็ตาม หากเราได้ติดตามคำสอนในพุทธศาสนาเกี่ยวกับเรืองกฏแห่งกรรม และการเกิดใหม่ดังจะได้นำมากล่าวในบทต่อไปทำให้มัชเฌนธรรมเทศนาเกิดปัญหาใหญ่ขึ้นมาว่าจะเอาอย่างไรกันแน่ ? ถ้าเป็นดังนี้การสอนหลักอนัตตาที่ปฏิเสธความมีตัวตนที่ยั่งยืนแต่เชื่อในเรื่องกฏแห่งกรรมกับการเกิดใหม่จะมิดูเป็นการยอมรับความต่อเนื่องแห่งหน่วยชีวิตหรือตัวบุคคลไปละหรือ ? หากเป็นเช่นนั้นการที่จะบรรยายเกี่ยวกับบุคลิกลักษณะและหน่วยของวิญญาณโดยปราศจากการอ้างอิงถึงความเชื่อในเรื่องอนัตตาถาวรจะเป็นไปได้อย่างไร ? ปัญหาดังกล่าวนี้ท่านจะพบคำตอบภายหลังจากได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องวิญญาณในทางพุทธศาสนาดังปรากฏอยู่ในทฤษฎีว่าด้วยเรื่องวิญญาณที่จะกล่าวต่อไป

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๒๖ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๒๖ )
อาหารไทย

          อาหารไทยมีชื่อเป็นที่แพร่หลายว่าค่อนข้างจะมีรสเผ็ดและแก่เครื่องเทศ เพราะว่าอาหารไทยเกือบทั้งหมดจะปรุงโดยการใส่เครื่องปรุงหลักๆ เช่น กระเทียม พริก น้ำมะนาว ตะใคร้ และใบผักชีสด พร้อมทั้งน้ำปลาหรือกระปิเพื่อให้มีรสเค็ม

          เนื่องจากข้าวเป็นอาหารหลักในประเทศไทย ดังนั้นอาหารทุกๆ มื้อก็จะมีข้าวรับประทานไปพร้อมๆ กับซุป แกง ผักต้ม และน้ำพริก น้ำพริกก็คือเครื่อปรุงที่มีรสเผ็ดมีการทำที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละภาค กล่าวคือ น้ำพริกปลาป่น ทำจากปลาแห้งบดและพริก น้ำพริกปลาร้า ทำจากปลาร้าและพริก น้ำพริกกะปิ ทำจากกะปิและพริก น้ำพริกอ่อง ทำจากหมูบด มะเขือเทศและพริกโดยทั่วไปเครื่องปรุงหลักๆ ของน้ำพริกก็มี กะปิ กระเทียม พริก น้ำปลา และน้ำมะนาว

          เครื่องปรุงโดยทั่วๆ ไป ของอาหารไทยก็มี ข่า พริกไทย ถั่วลิสง น้ำส้มมะขาม ขิง และ กะทิ ดังนั้นในการปรุงจึงต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงเพื่อการปรุงอาหารไทยอย่างถูกต้องแบบดั้งเดิม เพราะว่าการปรุงอาหารไทยแบบดั้งเดิมต้องใช้เวลามากในการปอก สับ และบด ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาเตรียมล่วงหน้า

          ความจริงแล้ว อาหารไทยมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาค ตัวอย่างเช่น ข้าวเหนียวนิยมรับประทานกันมากในทางภาคเหนือ และภาคอีสานมากกว่าข้าวเจ้า ยิ่งไปกว่านั้นในชนบทบางแห่งก็ยังมีการบริโภคแมลงบางชนิด อย่างเช่น จิ้งหรีด ตัวอ่อนไหม และตัวอ่อนมดแดง เป็นต้น ในขณะเดียวกันขนมหวานของไทยโดยปกติก็นิยมทำจากข้าวเหนียวหรือไม่ก็กะทิ แป้ง ไข่ และน้ำตาล มะพร้าว ( น้ำตาลปีบ ) ในขณะที่ผลไม้ก็มีให้รับประทานกันตลอดทั้งปี

Saturday, March 30, 2013

Thailand " Land of Smile " ( Part 26 )

Thailand " Land of Smile " ( Part 26 )
Thai Food

         Thai food is widely known for being hot and spicy since almost all Thai food is cooked with basic ingredients such as garlic, chilies, lime, juice, lemon grass and fresh coriander leaf and fermented fish sauce ( nampla ) or shrimp paste ( kapi ) to make it salty.

          Since rice is the staple food in  Thailand, it is usually eaten at every meal with soups, curries, fired vegetable and nam phrik. Nam phrik is a hot sauce prepared in variety of way and differs from region to region is a fermented fish and chilli sauce, nam phrik kapi is a shrimp paste and chilli sauce oong is a minced pork, tomato and chilli sauce chilli, fermented fish sauce and lemon juice.

          Other common seasoning in Thai food include galingale ( khaa ), black pepper, ground peanut, tamarind juice, ginger and coconut milk. As a result, it takes hours to prepare a proper Thai meal in the traditional way was it involves so much peeling and chopping and pounding so it needs time to prepare in advance.

           In fact, Thai food varies from region to region, for example, glutinous or sticky rice is more popular in the North and Northeast than steamed rice. Moreover, in some rural areas, certain insects are also eaten e.g. crickets, silk worm larvae, red ant larvae. At the same time, Thai desserts are often made from  sticky rice or coconut milk, flour, egg and coconut sugar while a variety of fruit is available all the year round.

Friday, March 29, 2013

โง่วงใน

โง่วงใน

          คำว่า " โง่วงใน " น่าจะเป็นภาษาพูด แม้ใน พจนานุกรมสำนวน ก็ค้นไม่พบ

          คำว่า " โง่นักแสดง " ก็ค้นไม่พบเช่นกัน " โง่วงใน " กับ " โง่นักแสดง " มีนัยเดียวกัน หมายถึง จิตหนึ่งใจเดียวทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างถึงที่สุด โดยไม่รับรู้และไม่สนใจอะไรทั้งนั้น

          สมัยเป็นนักเรียน ผมเคยได้ยินเรื่องของท่านยูเมโมโต้ ทัตสุซาบูโตะ นักเขียนภาพแบบญี่ปุ่นนามอุโฆษ ในทำนองว่า เพื่อนคนหนึ่งทักเขาในงานราตรีสโมสรว่า " คุณยูเมโมโต้ เราไม่ได้พบกันนานแล้ว "

          เขาตอบว่า " ขอโทษนะครับ ไม่ทราบว่าคุณคือใคร ? "

โลกจักกว้างหรือแคบ ล้วนอุปโลกน์ขึ้นเอง




วันเวลานั้นยาวนาน
แต่คนวุ่นอยู่กับงานเห็นว่าสั้น
ฟ้าดินนั้นกว้างใหญ่
แต่คนใจคอคับแคบเห็นว่าเล็ก
บุปผามาลี
แสงจันทร์วันเพ็ญ
เป็นสิ่งจรุงจรรโลงใจ
แต่คนชอบความอึกทึกจอแจกลับเห็นว่าไร้สาระ


นิทัศน์อุทาหรณ์


สามีภรรยาผู้แปลกหน้า

           ดอกไม้ป่าซึ่งบานสะพรั่งอยู่ในพงไพรไม่มีใครไปคอยให้ปุ๋ยไม่มีใครไปคอยจับหนอนฆ่าแมลงให้ ก็สามารถที่จะเติบโตสวยงามบานเองโรยเองเป็นอยู่เช่นนั้นทุกเดือนปี ทุกวันเวลา

           ธรรมชาติผันเปลี่ยนเวียนวนมิได้หยุดชั่วนาตาปี ฤดูใบไม้ผลิผ่านไปก็เป็นฤดูร้อน ฤดูหนาวผ่านไปฤดูใบไม้ผลิก็กลับมาอีก ไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปเป็นอื่น และไม่เคยแต่งแต้มพื้นพสุธาให้มากมายไปกว่านี้

Wednesday, March 27, 2013

หนึ่งหยุดหมื่นเรื่องหยุด

หนึ่งหยุดหมื่นเรื่องหยุด

         มีอยู่วันหนึ่ง ศิษย์ฆราวาสคนหนึ่งถามฌานาจารย์อี้ซิว ( หนึ่งหยุด ) ว่า " ฌานาจารย์จะตั้งฉายาให้ตัวเองอย่างไรก็ได้ เหตุใดท่านจึงเลือกตั้งฉายาให้ตัวเองว่า ' หนึ่งหยุด ' เล่า ? "

         ฌานาจารย์อี้ซิวตอบว่า " หนึ่งหยุดหมื่นเรื่องหยุด มีอะไรไม่ดีหรือ ? " ศิษย์ฆราวาสคนนั้นรีบตอบว่า " ที่แท้ ' หนึ่งหยุดหมื่นเรื่องหยุด ' เป็นชื่อที่ดีจริง ๆ ! "

         ฌานาจารย์อี้ซิวกล่าวว่า " อันที่จริงหนึ่งหยุดยังไม่ดี สองหยุดจึงจะดี เกิดต้องหยุด ตายต้องหยุด หยุดทั้งกายและตายพร้อมกัน จึงจะหลุดพ้นการเกิดดับ " ศิษย์ฆราวาสรีบพูดว่า " มิผิด มิผิด สองหยุดดีกว่าหนึ่งหยุด "

Tuesday, March 26, 2013

คิดก่อนทำ ไม่ต้องเสียใจภายหลัง

คิดก่อนทำ ไม่ต้องเสียใจภายหลัง

          ปรัชญาซามูไรในข้อนี้นั้นพยายามชี้เข้าไปถึงแก่นสำคัญในเรื่องการดำเนินชีวิตและการทำงานทุกครั้ง ว่าเป็นการสมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้เวลาทั้งหมดในการคิดให้รอบด้านถึงผลดีผลเสียในเรื่องนั้นๆ ก่อนที่จะตัดสินใจทำลงไป

           เพราะว่าหากเราได้ทำสิ่งใดพลาดพลั้งไปแล้ว แม้จะเสียใจเพียงไรไม่อาจแก้ไขให้เหมือนเดิม ดังนั้นก่อนจะลงมือทำสิ่งใดต้องคิดให้รอบคอบเสียก่อน

            ในเครือซีพีที่เป็นองค์กรทางธุรกิจที่ยิ่งใหญ่อีกองค์กรหนึ่งของเมืองไทยนั้น มีหลักในการทำงานที่ถือว่าเป็นกฏเหล็กข้อหนึ่งก่อนที่จะขยายการลงทุน ธนินทร์ เจียรวนนท์ เจ้าสัวผู้ได้สมญานามว่า " จอมยุทธ์ ไร้เทียมทาน " นั้่นกล่าวอยู่เสมอว่า

Monday, March 25, 2013

โชค ทู่ และ ราก

โชค ทู่ และ ราก

          " โชค ทู่ และ ราก " ได้รับการยอมรับว่า คือ คุณสมบัติพื้นฐานที่ผู้บริหารพึงมี

          โชค หมายถึง สิ่งที่ฟ้ามอบให้ ราก หมายถึง มีรากฐาน มีมานะ อดทน จะมีก็แต่ " ทู่ " เท่านั้นที่เข้าใจยาก ใน พจนานุกรมจีน - ญี่ปุ่น ให้ความหมายคำว่า " ทู่ " ไว้ดังนี้

           ๑. ไม่รุนแรง, อ้วนท้วน, ไม่มีมุมเหลี่ยม ( มีด ) ไม่แหลมคม แทงหรือหั่นไม่ได้ หมดอาลัยตายอยาก

           ๒. ชักช้า, บวมพอง, กิริยาเชื่องช้า โง่เขลา

           คำที่ตรงข้ามกับ " ทู่ " คือ " แหลม " ซึ่งใช้กับของแหลมคมหรืออาวุธที่แหลมคม แฝงนัยต้านทานไม่ได้ หรือจิตใจที่ฮึกเหิม

วิธีคบสหาย

วิธีคบสหาย

          ช่วงที่ฌานาจารย์หวงหลงฮุ่ยหนานพำนักในอารามจิ้งเจี้ยนั้น มีอยู่วันหนึ่ง ท่านได้พบฌานาจารย์ต้งซานเหลียงเจี้ย ทั้งสองต่างปิดปากเงียบไม่พูดจา เพียงจุดธูปนั่งหันหน้าเข้าหากันตั้งแต่บ่ายถึงดึกดื่นค่อนคืนไม่สนทนา และไม่ขยับเขยื้อนกายเลย

          วิกาลเงียบสงัด ฌานาจารย์ต้งซานลุกขึ้นก่อนพร้อมกับพูดว่า " ดึกมากแล้ว รบกวนท่านพักผ่อน " พูดจบไม่คอยปฏิกิริยาตอบจากฌานาจารย์หวงหลง ก็เดินออกจากห้องไป

          วันรุ่งขึ้น ทั้งสองต่างแยกย้ายกันกลับ อาจารย์หวงหลงเรียกมรรคนายกคนหนึ่งถามว่า " ตอนที่ท่านอยู่บนภูเขาหลูซาน รู้จักฌานาจารย์ต้งซานหรือยัง ? "

           ฌานาจารย์หวงหลงตอบทันทีว่า " เป็นพระที่แปลกมาก ! " 

Saturday, March 23, 2013

Anatta and Desire

Anatta and Desire

         While Descarte shares the Uppanisadic  theory of self as " I think, therefore I am. " Sartre maintain that the self is constituted by impure reflection. In this respect, his position is similar to the Buddha's idea. The Buddha, like Sartre, think that the self is constituted by unwise attention and become one of fifty mental formation of the fourth aggregate. Thus the Sartrean impure reflection and the Buddhist unwise attention appear to be more or less alike. The difference between them, however lies in the fact that whereas impure reflection is reflection in bad faith and creates the self in order to hide from his freedom , unwise attention is attention influenced by desire [ tanha ] and creates the self in order to satisfy the desire. Buddhism recognizes the impact of desire on man's view. Therefore, it is said, " conditioned by desire is grasping. "

อนัตตา กับ ตัณหา

อนัตตา กับ ตัณหา

          ในขณะที่นักปรัชญาเหตุผลนิยมมีความเห็นคล้ายๆ กับทฤษฎีอัตตาของปรัชญาอุปนิษัท ดังเช่น เดส์การ์ต กล่าวว่า " ฉันคิด เพราะฉะนั้น ฉันจึงมีอยู่ " นั้น ยัง พอล สาร์ต นักปรัชญาเอกซิสเตนท์เชียลิสม กลับมีความเห็นคล้ายๆ กับปรัชญาทางพุทธที่ว่า ความเชื่อในเรื่องอัตตาเกิดจาก ความนึกคิดที่ไม่แจ่มแจ้ง ดังเช่นพระพุทธเจ้าตรัสว่า ความเชื่อว่ามีตัวตนเป็นผลมาจากความคิดแบบอโยนิสมสิการอันเกิดจากการปรุงแต่งของจิตข้อหนึ่งจากห้าสิบข้อที่มีต่อสังขารขันธ์ด้วยเหตุนี้ จึงพอจะกล่าวได้ว่า แนวความคิดของสาร์ตมีความคล้ายคลึงกับทฤษฎีอนัตตาของพระพุทธเจ้า จะแตกต่างกันก็ตรงคำว่า ความนึกคิดที่ยังมืดบอด ตามความหมายของสาร์ต เกิดจากศรัทธาที่ผิดก่อให้เกิดตัวอัตตาขึ้นมาบดบังความเป็นอิสระเสรี ส่วนคำว่า อโยนิโสมนสิการ ในความหมายทางพุทธศาสนา เป็นผลมาจากตัณหาหรือความอยากได้ไคร่มี เป็นตัวก่อให้เกิดอัตตาตามความต้องการของตัณหายนั้นๆ ผลกระทบจากตัณหาก่อให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นขึ้นในตัวมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ( อัตตวาทุปาทาน ) เกิดจากการปรุงแต่งของตัณหา ดังที่พระพทุธเจ้าตรัสว่า อุปาทานขันธ์ ๕ คือรากเหง้าของความอยากทั้งหลาย ซึ่งในทางพุทธศาสนาแบ่งตัณหา หรือ ความอยากออกเป็น ๓ อย่างได้แก่ กามตัณหา ความอยากในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ภวตัณหา ความอยากเป็นอยากอยู่ในสภาพนั้นๆ และ วิภวตัณหา ความไม่อยากเป็น ไม่อยากอยู่ หรืออยากพ้นจากสภาพหรือภาวะนั้นๆ

ใบไม้ใบเดียว... ไม่ใช่ป่า

ใบไม้ใบเดียว... ไม่ใช่ป่า

          มีคนมากมายที่ช่างเป็นคนที่คิดมาก คิดละเอียดทุกเรื่อง ซึ่งถ้ามานั่งคิดวิตกกังวลจนมากเกินไป บางครั้งนั้นอาจทำให้งานใหญ่ที่กำลังทำอยู่ไม่สำเร็จ เพราะสนใจแค่เพียงจุดเล็กๆ จนทำให้มองภาพใหญ่ของงานทั้งหมดไม่ออก

           คนญีปุ่นเขาเปรียบเทียบว่าใบไม้ใบเดียว หรือแค่ต้นไม้ที่เราเห็นนั้นไม่อาจสรุปความเป็นไปหรือความยิ่งใหญ่ของป่าได้เลย




By ปรัชญา ซามูไร

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๒๕ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๒๕ )
ประเทศเพื่อนบ้านของเรา

          ประเทศไทยตั้งอยู่ตรงใจกลางผืนแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุมพื้นที่ ๕๑๓,๑๑๕ ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่า ( สหภาพเมียนมาร์ ) และลาวทางทิศเหนือติดต่อประทเศพม่าทางทิศตะวันตก ส่วนทางทิศใต้ติดต่อกับมาเซีย และทางทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศเขมร

           ความจริงแล้วประเทศเพื่อนบ้านของเราเป็นประเทศ ที่มีความเป็นมิตรมากและรักสันติภาพเพราะว่าทุกประเทศปฏิบัติตามกฏแห่งความร่วมมือ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ถึงแม้ว่าบางครั้งจะมีความขัดแย้งเรื่องพรมแดนบ้าง แต่ในที่สุดก็แก้ไขได้โดยวิถีทางการฑูต แน่นอนที่สุดการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านของเราคึกคักมาก ประมาณว่าเงินจำนวนหลายร้อยล้านบาทเปลี่ยนมือกันที่นี่ในแต่ละปี เรานำเข้าไม้ซุงและอัญมณีจากพม่า ในขณะที่พม่าก็นำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค และชิ้นส่วนรถยนต์จากเราเช่นกัน ในขณะที่ประเทศลาวเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดของเรา เพราะว่าเราพูดภาษาคล้ายกัน นับถือศาสนาเดียวกันและยังมีความเกี่ยวโยงทางด้านวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันอีกด้วยดังนั้น เราถือว่าเราทั้งสองเป็นประเทศบ้านพี่เมืองน้อง

Thailand " Land of Smile " ( Part 25 )

Thailand " Land of Smile " ( Part 25 )
Our neighbouring countries

         Thailand is situated in the heart of the Southeast Asian mainland and covers an area of 513,115 square kilometers. It is bounded by Burma ( The Union of Myanmar ) and Laos in the North, Burma in the West and Malaysia in the South and Cambodia lies to the East of the country.

           To be frank, our neighbouring countries are very friendly and peace - loving nations as they follow the principles of mutual cooperation and peacefully co - existence. Though we sometime experience a border conflict, it is peacefully solved trough diplomatic channels. Indeed border trade with our neighbours are very active. It is estimated that several hundred millions of bath changes hands annually. We import timber and gemstones from Burma while it in turn imports consumer goods and gemstone from us. Meanwhile, Laos is our close neighbour as we speak a similar language, share the same religious beliefs and have identical cultural links. Thus, we consider each other as brothers.

Thursday, March 21, 2013

เข้มข้นทนนานมิเท่าอ่อนจาง ความสำเร็จจักบังเกิดในบั้นปลาย




ดอกถาวดอกหลี่แม้จะสวยงาม
ที่ไหนจะแข็งแกร่งบริสุทธิ์เฉกเช่น ต้นสนเขียวขจี ?
ลูกหลีลูกซิ่งแม้จะชุ่มคอ
ที่ไหนจะหอมหวานชวนลิ้มเฉกเช่นผลส้มเหลืองอร่าม ?
ถูกแล้ว เข้มข้นย่อมจะอยู่นานมิเท่าอ่อนจาง
สมหวังแต่ยังเยาว์ ย่อมมิสู้ความสำเร็จในบั้นปลาย

นิทัศน์อุทาหรณ์
ของเล่นของเสี่ยวจู้จื่อ

          เมื่อพูดถึงของเล่นของเสี่ยวจู้จื่อ ก็มีมากมายจนนับกันไม่ถ้วน ลูกหิน ลูกข่าง กลอง ม้านั่ง  มีรถคันเล็กๆ มีตุ๊กตา รวมแล้วก็เป็นเข่งเต็มๆ

          เสี่ยวจู้จื่อมีนิสัยชอบระบายสีฉูดฉาดให้กับของเล่นเหล่านั้นจนลายพร้อย แต่ละครั้งที่หวางมาพี่เลี้ยงเก็บของเล่นที่กระจายอยู่ทั่วบ้านเป็นต้องบ่นไม่ได้หยุดว่า สีพวกนั้นทำให้แกตาลายไปหมด ต่อไปไม่ให้เสี่ยวจู้จื่อระบายสีของเล่นอีก

          แต่มันก็เป็นเรื่องแปลก พวกผู้ใหญ่ทั้งหลายกลับรู้สึกตรงกันข้ามเมื่อหาบสินค้าเบ็ดเตล็ดตั้งลงที่หน้าบ้าน ท่านแม่เอย ท่านน้าเอย หวางมาเอย ก็เฮโลกันเข้าไปดูสินค้าที่พ่อค้าหาบเร่มาขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกผ้าเช็ดหน้า ซึ่งพวกผู้ใหญ่มักจะเลือกแล้วเลือกอีกปากก็ว่า

          " เอาที่สีอ่อนหน่อยดีกว่า ! "

Wednesday, March 20, 2013

ก้าวแรกสำคัญ ก่อนถึงพันลี้


ก้าวแรกสำคัญ ก่อนถึงพันลี้

          การเดินทางที่ยากลำบากเป็น " พันลี " นั้นเป็นการเปรียบเทียบที่แสนสาหัสสากรรจ์มากๆ เมื่อจะเดินทางไกลเป็นระยะทางถึงพันลี้ เราก็ต้องเริ่มต้นจากก้าวแรกก่อนถึงจะมีก้าวที่สอง ที่สาม... ต่อไป เป็นการสอนให้คนเราอดทนและให้กำลังใจที่ดีกว่า " เมื่อจะทำอะไรก็ตามจะมีจุดเริ่มต้นจากสิ่งที่เล็กน้อยค่อยๆ ขยับขยายไปในสิ่งที่ใหญ่ขึ้น " ไปทีละขั้นทีละตอนไม่มีทางลัดเด็ดขาด

          และการทำงานในชีวิตนั้น ไม่ว่าจะเป็นแผนงานที่ใหญ่โตเพียงใดก็ตามต้องเริ่มต้นจากเรื่องใกล้ตัว จากสิ่งเล็กน้อยที่ทำได้ง่ายหรือชำนาญอยู่แล้วก่อน

          เชื่อว่าหลายคนคงได้ยินชื่อเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อดังของโลกที่ชื่อ " พานาโซนิค " " เนชั่นแนล " และอีกหลายยี่ห้อ ซึ่งชื่อยี่ห้อพวกนี้อาจฟังดูเป็นภาษาฝรั่ง แต่จริงๆ แล้วผู้ก่อตั้งนั้นเป็นชาวญี่ปุ่นธรรมดาคนหนึ่งที่มีความมุ่งมั่นในสิ่งที่เขาคิดและทำอย่างหาตัวจับยาก

          เขามีชือว่า โคโนสุเกะ มัตซึชิตะ ผู้ได้รับสมญานามว่า " เทพเจ้าแห่งธุรกิจญี่ปุ่น " จากประสบการณ์ในการต่อสู้ชีวิต ซึ่งถือได้ว่าเป็นความสำเร็จที่น่ายกย่องจากเด็กที่เรียนไม่จบประถมศึกษาปีที่ ๔

คิดว่าตัวเองถูก

คิดว่าตัวเองถูก

         สมัยราชวงศ์ซ่ง มีพระอาจารย์รูปหนึ่งชื่อ เหลียนฉือ ต้องการสร้างบรรทัดฐานบางอย่างให้ชาวบ้านยึดถือปฏิบัติ จึงบัญญัติความดี ๑๐ ข้อไว้ ดังนี้ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ไม่ผิดประเวณี ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่หยาบคาย ไม่เล่นลิ้น ไม่ใส่ร้าย ไม่ละโมบ ไม่โกรธเคือง ไม่มีอคติ

          ต่อมา มีหลวงจีนรูปหนึ่งธุดงค์เดินผ่านมา เห็นความดี ๑๐ ข้อข้างต้นก็ถามพระอาจารย์เหลียนฉือว่า " ฌานไม่ยกย่องสิ่งใด ไม่ลดค่าสิ่งใด ท่านบัญญัติข้อห้ามต่างๆ เหล่านี้ขึ้นมา มีประโยชน์อะไรหรือ ? "

          พระอาจารย์เหลียนฉือตอบว่า " ขันธ์ห้าพัวพันไม่สิ้นสุด สี่มหาภูตก็คะนองไร้ใดเปรียบ ท่านจะบอกว่าไม่มีดีชั่วได้หรือ ? "

          พระธุดงค์แย้งว่า " สี่มหาภูติเดิมว่าง ขันธ์ห้าก็หามีไม่ อันศีลธรรมนั้นไม่ใช่ฌาน "

Tuesday, March 19, 2013

ความล้มเหลวที่แท้จริง

ความล้มเหลวที่แท้จริง

          หลีจื้อเดินทางไปยังรัฐชี้ ไปได้ครึ่งทางก็กลับสวนทางกับโปหุน โปหุนถามว่า ทำไมจึงกลับเสียกลางคัน

          " ข้าพเจ้ากลัว "

          " กลัวอะไร "

          " ระหว่างทาง ข้าพเจ้าแวะพักรับประทานอาหารที่โรงเตี้ยมสิบแห่ง เจ้าของโรงเตี้ยมห้าแห่งพอเห็นข้าพเจ้าก็รีบกุลีกุจอเสริ์ฟอาหารข้าพเจ้าก่อนผู้อื่น "

          " เรื่องแค่นั้นเองหรือ ไม่เห็นมีอะไรน่ากลัว "

          " ใครว่าแค่นั้น ท่านไม่รู้หรือว่า เวลาคนเราขาดความมั่นคงภายในความถือตัวก็จะฉายออกมาข้างนอก ไปสะดุดตาสะดุดใจคนอื่นทำให้คนอื่นเขาแสดงอาการพินอบพิเทา นั่นแสดงว่าเขากำลังตกอยู่ในสภาวะลำบาก จริงอยู่เจ้าของโรงเตี้ยมย่อมเอาใจลูกค้าทุกคน เพราะผลประโยชน์ของเขาสำคัญกว่าอื่นใด แต่สำหรับแขกเช่นข้าพเจ้า มิได้ทำรายได้แก่เขามากมายอะไร เขายังพินอบพิเทาถึงขนาดนี้ กษัตริย์แห่งรัฐชี้ซึ่งจะแต่งตั้งข้าพเจ้าในตำแหน่งใหญ่โต ซึ่งจะอำนวยประโยชน์แก่รัฐมากมาย จะให้เกียรติแก่ข้าพเจ้าขนาดไหน คิดได้ดังนั้นข้าพเจ้ากลัวใจ กลัวจะเสียคนเพราะเกียรติยศ "

Sunday, March 17, 2013

Anatta and Nirvana

Anatta and Nirvana

         Just as the Uppanisadic conception of moksa can not be justicfied without assuming the existence oa atman, so also the Buddhist concept of Nirvana can not be accounted for without admitting the anatta doctrine. According to the Buddha, the idea of the self is a wrong view because it has not corresponding reality. What is worse is that the idea itself generates suffering.The Buddha says :

          " I do not see, monks, that grasping of the theory of self, from the grasping of which there would not arise grief, suffering, anguish, lamentation, despair. "

         Also in brief, the five aggregates are also suffering. That is the crux of Buddhist attitude towards the theory of self. The grasping called attavadupadana. This grasping to the self is the main origin of suffering. It is similar to " self love " which Freud believes to be the center of all desires and actions. This self - love, according to William James, is the cause of selfishness. " A man in whom self seeking or any sort is largely developed is said to be selfish. "

Saturday, March 16, 2013

อนัตตา กับ นิพพาน

อนัตตา กับ นิพพาน

           เช่นเดียวกับแนวคิดเกี่ยวกับ " โมกษะ " ในปรัชญาอุปนิษัทที่จะต้องมีคู่กันกับ " อาตมัน " พุทธศาสนาก็มีแนวคิดในเรื่อง " นิพพาน " คู่กับ " อนัตตา " เช่นเดียวกัน พุทธศาสนาถือว่าแนวคิดเกียวกับเรื่องอาตมันเป็นมิจฉาทิฏฐิ เนื่องจากไม่สอดคล้องกับสัจธรรม และยิ่งกว่านั้น ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องอนัตตาเป็นทางนำไปสู่ความทุกข์ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้

          " ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตยังมองไม่เห็นเลยว่า ผู้ที่ยึดมั่นอยู่ในอนัตตาจะไม่เกิดความทุกข์ โศก คร่ำครวญ โทมนัส คับแค้นใจได้อย่างไร "

          นี่คือสิ่งที่พุทธศาสนาค้านความเชื่อเรื่อง อัตตา การมีตัวตนและยึดมั่นในตัวตน ซึ่งชาวพุทธถือว่า แม้แต่ขันธ์ ๕ ที่เกิดจากปรุงแต่งกันขึ้นนั้นก็ย่อมเป็นทุกข์เช่นเดียวกัน ดังนั้น ผู้ที่เชื่อในอัตตาจึงถือว่าเป็นการยึดมั่นถือมั่นในระดับประณีตอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า อัตตาวาทุปาทาน ถือว่าเป็นอุปาทานอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดทุกข์เปรียบได้กับ " ความรักตัวเอง " ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ ฟรอยด์ ที่เชื่อว่าเป็นตัวการที่กระตุ้นความอยากและก่อให้เกิดกรรม ความรักตัวเองที่กล่าวนี้เองที่ วิลเลียม เจมส์ ถือว่าเป็นสาเหตุของ " ความเห็นแก่ตัว " ดังคำกล่าวที่ว่า " ผู้ที่แสวงหาอัตตาหรืออย่างหนึ่งอย่างใด ( ในอัตตา ) ย่อมก่อให้เกิดความเห็นแก่ตัว "

Friday, March 15, 2013

คำพูดที่คมกว่าดาบ

คำพูดที่คมกว่าดาบ

          ถ้าท่านใดมีโอกาสได้อ่านหนังสือเรื่องสามก็ก ซึ่งเป็นสุดยอดของหนังสือประเภทพงศาวดารของจีนที่ได้รับการแปลมาแล้วมากมายหลายภาษารวมถึงภาษาไทย

          จะรู้ดีว่าในหนังสือเล่มนี้นั้นตัวละครในแต่ละตัวจะมีกลยุทธ์สำคัญที่เหนือกว่าการใช้กำลังทางทหาร นั่นก็คือวาจาทีแสนจะเชือดเฉือนน้ำใจคนเป็นอย่างยิ่ง ขงเบ้งตัวเอกของเรื่องคนหนึ่งกล่าวไว้ว่า " ลิ้นยาวไม่กี่นิ้วของคนนั้น คมเสียยิ่งกว่าคมดาบหลายเท่านัก "

           ในตอนหนึ่งของสามก๊กนั้น ขงเบ้งที่อยู่ฝ่ายเดียวกับเล่าปี่อาสาไปเกลี้ยกล้อมให้จิวยี่ซึ่งเป็นแม่ทัพของอีกก๊กหนึ่งมาช่วยรับนั้น หากจะพูดขอร้องแบบธรรมดาขงเบ้งเชื่อว่าคงไม่สามารถจะทำให้จิวยี่เชื่อและมาช่วยได้ง่ายๆ ดังนั้นวาจาขงเบ้งใช้พูดในแต่ละคำนั้นช่างสร้างความโกรธให้จิวยี่จนแทบกระอักเลือด กระทั่งยอมมารบด้วยโดยไม่คิดอะไรอีกแล้วในชาตินี้

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๒๔ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๒๔ )
ชาวเขาในประเทศไทย

          คำว่า " ชาวเขา " หมายถึง ชนกลุ่มน้อยซึ่งอาศัยอยู่ในแถบภูเขาทางตอนเหนือของประเทศไทย ชาวเขาแต่ละเผ่าต่างก็มีภาษา วัฒนธรรม การแต่งกายและลัทธิความเชื่อของตนเองห่างจากเผ่าอื่นๆ ชาวเขาเหล่านี้อพยพมยังประเทศไทย จากธิเบต พม่า จีน และประเทศลาวในช่วง ๒๐๐ กว่าปีที่ผ่านมานี้

          ประมาณว่า ในประเทศไทยมีชาวเขาอยู่ถึง ๒๐ เผ่าซึ่งมีประชากรทั้งหมดประมาณ ๕๕๐,๐๐๐ คน ในจำนวนนี้ มี ๖ เผ่าใหญ่ ด้วยกันคือ เย้า กะเหรี่ยง อาข่า ( อีก้อ ) ละฮู ( มูซอ ) ม้ง ( แม้ว ) และลีซอ โดยปกติชาวเขาเหล่านี้จะปลูกข้าว ข้าวโพดและพืชผลการเกษตรอื่นๆ บนเนินเขา ถึงแม้ว่าในอดีต ชาวเขาบางเผ่าเช่น เย้า ลีซอและแม้วจะเคยปลูกฝิ่นมาก่อน แต่ตอนนี้โดยการสนับสนุนของโครงการในพระราชดำริ พวกเขาก็หันไปเลียงชีพ โดยการปลูกผลไม้เมืองหนาวแทน เช่น แอปเปิ้ล สตรอเบอรี่ และพืชเศรษฐกิจอื่นๆ อย่างเช่น ถั่วคิดนีย์ กาแฟ ผัก และไม้ดอก ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้ชาวเขาเลิกทำลายป่าไม้ โดยการแผ้วถางเพื่อทำการเพาะปลูกแบบเลื่อนลอย

Thailand " Land of Smile " ( Part 24 )

Thailand " Land of Smile " ( Part 24 )
Hill tribes in Thailand

         The word " hill tribes " refers to ethic minorities living in the mountainous regions of the northern part of Thailand. Each hill tribe has its own language, customs, mode of dress and spiritual beliefs. Most of them migrated to Thailand from Tibet, Burma, China and Laos during the past 200 years or so.

          It is estimated that in Thailand there may be up to 20 different hill tribes whose total population is about 550,000. Out of these, the six dominent hill tribes  include Yoa, Karen ( Kariang ), Akha ( I - Kaw ), Lahu ( Masoe ), Hmong ( Meo ) and Lisu ( Lisaw ). The hill tribes usually grow rice, corn and other agricultural products on the mountainsides. Though in the past some tribal groups such as Yao, Lahu Hmong and Lisu used to grow opium now with the encouragement of the royal - initiated project, they turn to earn a livelihood through the cultivation of temperate fruit crops like apples, strawberries and other cash crops such as kidney beans, coffee, vegetables and flowers. At the same time, the hill tribes are also encouraged to stop destroying forest through slash - and - burn cultivation.

Tuesday, March 12, 2013

เลียนแบบ

เลียนแบบ

         หลวงจีน ๒ รูปอาศัยอยู่ในอารามเดียวกัน มีอยู่ครั้งหนึ่งเนื่องด้วยกิจธุระบางประการ ทั้งสองไม่ได้พบกันเป็นเวลานาน พอได้พบหน้ากันอีกครั้ง หลวงจีน ก. ก็ถามหลวงจีน ข.ว่า " ไม่พบหน้าตั้งหลายวัน ช่วงนี้ทำอะไรอยู่หรือ ? "

          หลวงจีน ข.ตอบว่า " อาตมาเร่งสร้างเจดีย์ไร้รอยต่ออยู่น่ะ "

          หลวงจีน ก. ได้ยินเช่นนั้น จึงพูดด้วยความยินดีว่า " อาตมาคิดจะสร้างเจดีย์ไร้รอยต่อเช่นกัน ขอยืมแบบดูหน่อยจะได้ไหม? "

          หลวงจีน ข. ตอบว่า " น่าเสียดาย แบบเจดีย์ไร้รอยต่อของอาตมาให้คนอื่นยืมไปแล้ว "

          หลวงจีนกลับพูดอย่างมั่นใจว่า " ไม่เป็นไร เอาเจดีย์ไร้รอยต่อซึ่งมองเห็นได้แต่ไร้ลักษณ์ ตามที่ท่านมีในขณะนี้ ให้อาตมาดูหน่อยจะได้หรือไม่ ? "

อ่านหนังสือควรอ่านจนดื่มด่ำ สังเกตสรรพสิ่งควรทำจนซึมซับ




คนอ่านหนังสือเป็น
ควรอ่านจนสะกดกลั้นความพึงพอใจไว้ ไม่อยู่
จึงจะเข้าใจเนื้อหาได้อย่างถ่องแท้
ผู้สันทัดการสังเกตสรรพสิ่ง
ควรสังเกตจนซึมซาบเข้าไปในจิตใจ
จึงจะมองเห็นธาตุแท้ได้ทะลุปรุโปร่ง

นิทัศน์อุทาหรณ์
ลูกเขยโง่ซื้อห่าน

         คนเรียนหนังสือในสมัยโบราณเห็นว่า การศึกษาหาความรู้จะต้องเริ่มต้นจากการพิเคราะห์สรรพสิ่งก่อนอื่น

         เมฆขาวที่ลอยละลิ่วมาตามลม น้ำค้างที่หยดลงมาจากกิ่งไม้ มดเป็นกลุ่มๆ บนกำแพง ล้วนแต่เป็นเป้าหมายของการพิเคราะห์ทั้งสิ้น

         ผู้มีอัจฉริยะทางวรรณกรรมเมื่อได้เห็นการผันแปรร้อยแปดพันเก้าของเมฆขาว ก็อาจจะชวนให้คิดไปถึงซันตาคลอส หรือไม่ก็ลูกสุนัข ส่วนคนที่ชอบสัตว์ ก็มักจะให้ความสนใจต่อมดซึ่งไม่เคยหลงทาง ทำไมมันจึงสามารถแบกเศษขนมปังที่หนักกว่าตัวมันได้ ? พวกมันทักทายปราศัยกันอย่างไร ?

Monday, March 11, 2013

ไม่แน่ เสมอไป


ไม่แน่ เสมอไป 

          ครั้งหนึ่ง...

          หยางจูเข้าเฝ้าพระเจ้าเหลียง กราบทูลแนะนำว่า การปกครองอาณาจักรนั้น ง่ายเหมือนกลิ้งมันเล่นบนฝ่ามือ

          พระเจ้าเหลียงตรัสว่า

          " เจ้ามีภริยาเพียงสองคน ก็ปกครองให้ปรองดองกันมิได้ มีสวนแค่สิบไร่ยังทำไม่หมด ยังมีหน้ามาพูดว่าปกครองประเทศทั้งประเทศนั้นง่ายดาย "

          หยางจูกราบทูลว่า

          " พระองค์เคยเห็นหรือไม่ เด็กเลี้ยงแกะตัวเล็กๆ สูงแค่สี่ฟุต ถือไม้พลองอันหนึ่ง สามารถไล่ต้อนแกะเป็นร้อยๆ ตัวไปในทิศทางตะวันออกหรือตะวันตก ก็ได้ตามปราถนา ลองให้พระเจ้าเย้ากับพระเจ้าซุ่นทั้งสองพระองค์ องค์หนึ่งนำหน้าแกะเพียงตัวเดียวอีกองค์ถือไม้พลองตามหลังก็ไม่สามารถให้แกะมันขยับเขยื้อนได้ "

ทานูกิยังจับไม่ได้ อย่าตีราคา

ทานูกิยังจับไม่ได้ อย่าตีราคา

          ในญี่ปุ่นนั้นตัวทานูกิถือเป็นสัตว์ที่รู้จักกันดีมากอีกประเภทหนึ่ง มันเป็นสัตว์ตระกูลเดียวกับสุนัข มีลักษณะคล้ายสุนัขป่า ปากแหลม หางมีขนาดใหญ่ อาศัยในหลุมตามทุ่งหญ้า ภูเขาเป็นสัตว์อีกตัวหนึ่งที่โลดแล่นอยู่ในตำนานและนิทานญี่ปุ่น มีหลายเรื่องที่สนุกสนานและควบคู่ไปกับอภินิหาร คนญี่ปุ่นนั้นรู้จักมันดีพอๆ กับที่คนไทยรู้จักราชสีห์หรือพญานาค แต่ตัวทานูกินั้นมีจริง

           ว่ากันว่ามันสามารถแปลงกายเป็นคนได้และชอบหลอกคน เช่น แกล้งปลอมตัวเป็นสาวชาวบ้านแล้วเชิญให้คนหลงทางเข้าไปพักในบ้าน เลี้ยงข้าวปลาอาหารให้ที่พัก แต่พอตอนเช้าตื่นขึ้นมากลับปรากฏว่าเมื่อคืนยังนอนอยู่กลางป่าเขาและกินใบไม้เข้าไปจนพุงกาง เป็นต้น

Sunday, March 10, 2013

มันเป็นไปเอง

 มันเป็นไปเอง

          กาลครั้งหนึ่ง...

          ชายคนหนึ่งชื่อชีเหลียง ล้มป่วยเป็นเวลา ๗ วัน ลูกๆ จะตามหมอมารักษา เขาก็ห้ามไว้ เมื่ออาการลูกๆ ของเขาไม่ทราบจะทำอย่างไร จึงร้องให้คร่ำครวญรอบตัวเขา

          หยางจู เพื่อนสนิทของชีเหลียงไปเยี่ยม ชีเหลียงกล่าวกับหยางจูว่า 

          " ลูกของข้ามันโง่ แก่ช่วยร้องเพลงให้พวกมันฟังหน่อยซิ "

          หยางจู ร้องเพลงว่า


สวรรค์ยังไม่รู้ มนุษย์จะรู้อย่างไร
พรมิได้มาจากฟากฟ้าสุราลัย
ทุกข์ก็มิใช่ผลของความชั่วที่โง่เง่า
แกกับฉันมิใช่หรือที่โง่เง่า
หมอทั้งหลายเล่าเขาจะรู้อะไร

Saturday, March 09, 2013

ถูก ผิด ธรรม อธรรม

ถูก ผิด ธรรม อธรรม

         ครั้งหนึ่ง ขณะที่ฌานาจารย์เจี้ยนหยวนจ้งซิงรินน้ำชาให้ฌานาจารย์เต้าอู๋อยู่นั้น ฌานาจารย์เต้าอู๋ยกถ้วยน้ำชาขึ้น แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งชี้ไปที่ถ้วยน้ำชาถามว่า " ถูกหรือผิด ? ธรรมหรืออธรรม ? "

          ฌานาจารย์จ้งซิงจ้องมองไปที่ฌานาจารย์เต้าอู๋ แต่นิ่งเฉยไม่ตอบกระไร ฌานาจารย์เต้าอู๋จึงพูดว่า " ท่านคิดเห็นอย่างไรหรือ ? "

          ฌานาจารย์จ้งซิงส่ายศรีษะพูดว่า " อาตมาไม่คิดว่าเป็นเช่นนั้น " ฌานาจารย์เต้าอู๋จึงถามว่า " ท่านคิดเห็นอย่างไรหรือ ? "

Anatta and Dependent Origination

Anatta and Dependent Origination

          The doctrine of no - self denies not only the self within the personality but also the substance of the phenomenal world. It is opposed to the Uppanisadic view that atman is the substance of the person and Brahman is the substance of the universe. Buddhism rejects the substance view of the world. For the Buddhist, everything is empty of self - reality. Nothing exists i n itself, for each existence is conditioned by the cause outside itself. Since all phenomena have nothing substantial or perdurable in them, they are in the condition not of static being but of perpetual becoming [ bhava ]. According to Buddhist philosophy, there is no Being, there is only Becoming. The phenomenal world, therefore, is in a state of continuous flux or flow. All things, without exception, are nothing but chain of momentary [ khanika ]. In the Buddhist view, not only are eternal entities such as God, or matter, denied reality, but even the simple stability of empirical objects is regarded as imaginary. We can easily see that the Uppanisadic notion of being [ sat ] and the Sartrean conception of being - in - itself are not acceptable to the Buddhist. A belief either in absolute being or in absolute nothingness is considered to be an extreme view.

          The doctrine of the middle teachings is generally known as Dependent Origination [ Paticcasamuppada ] in Buddhism. It clearly shows the laws of causation. There is nothing haphazard or predetermined. Every element, though appearing only for a single moment, is a dependently originating element because it depends for it rising on what has gone before it, That is the meaning of Dependent Origination, which is described by a series of twelve conditioned factors  without the beginning , the end or the first cause as follow;

Friday, March 08, 2013

อนัตตา กับ ปฏิจจสมุปบาท

อนัตตา กับ ปฏิจจสมุปบาท

         ทฤษฎีว่าด้วยอนัตตาปฏิเสธความมีตัวตนหรืออัตตา ทั้งในตัวบุคคลและในสรรพสิ่งที่ปรากฏอยู่ในโลกแห่งสภาวธรรมทั้งหลายเป็นทฤษฎีที่มีความเห็นค้านกับปรัชญาอุปนิษัทที่เชื่อว่า อัตตา หรือ อาตมัน เป็นสิ่งที่สถิตอยู่ในตัวมนุษย์ เช่นเดียวกับความเชื่อที่ว่าพรหมมัน เป็นวิญญาณสากลที่สถิตอยู่ในจักรวาล พุทธศาสนาปฏิเสธในเรื่องนี้โดยเชื่อว่า สรรพสิ่งทั้งหลายว่างจากตัวตน ไม่มีตัวตน ทุกสิ่งเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยประกอบกันขึ้นเป็นภพที่ต่อเนื่องกันไป

          ตามปรัชญาความเชื่อของพุทธศาสนา ไม่มี สัตตะ มีเพียง ภวะ ที่เกิดจากกระแสการปรุงแต่งที่เลื่อนไหลติดต่อกัน เป็นสภวธรรม ที่มีการเกิดดับอยู่ทุกชั่วขณะ ที่เรียกว่า ขณิกะ พุทธศาสนาไม่เชื่อว่ามีพระเจ้าหรือมีสิ่งที่เป็นนิรันดร์ใดๆ สรรพสิ่งที่เรารู้ได้จากประสาทสัมผัสล้วนแต่เป็นมายาจากจิตนาการ มิใช่ความจริงดังความเชื่อในเรื่อง  สัตตะ ของชาวอุปนิษัทหรือ " ความมีตัวตน " ในปรัชญาเอกซิสต์ของสาร์ต ทฤษฎีใน " องค์สัมบูรณ์ " ดังกล่าวนี้ถือเป็นความเชื่อสุดโต่งที่พุทธศาสนาไม่ยอมรับ

          คำสอนตามทางสายกลางทางพุทธศาสนา ( มัชเฌนธรรมเทศนา ) เป็นเรื่องของกฏแห่งเหตุปัจจัยที่อธิบายไว้ในวงจรปฏิจจสมุปบาทโดยกล่วว่า ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นเองลอยๆ หรือถูกกำหนดไว้ก่อน ธรรมธาตุทั้งหลายเกิดขึ้นต่อเนื่องกันอยู่ตลอดเวลาทุกชั่วขณะจิต เป็นวงจรเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท โดยความต่อเนืองอาศัยกันระหว่างปัจจัย ๑๒ อย่างดังนี้

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๒๓ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๒๓ )
มวยไทย

         ศิลปะการป้องกันตัวอันเก่าแก่ของไทยก็คือ มวยไทยที่มีชื่อเสียงนั่นเอง มวยไทยเป็นศิลปะป้องกันตัว ที่เริ่มพัฒนาขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุทธยา ความจริงแล้วมวยไทยจัดว่าเป็นทั้งกีฬาอาวุธป้องกันตัวด้วย นักมวยได้รับอนุญาตให้ใช้อวัยวะ เกือบทุกส่วนของร่างกาย อย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อห้ามอื่นๆ เป็นต้นว่า ห้ามกัด ห้ามถ่มน้ำลายใส่กัน หรือกอดปล้ำก็ห้าม นักมวยอาจจะต่อสู้กันโดย ต่อย เตะ ผลัก และใช้เท้าเปล่า ขา หัวเข่า ข้อศอก ไหล่และหมัดเพื่อเอาชนะฝ่ายตรงข้ามได้ การเตะอย่างแรงที่ก้านคอ ศอกอัดไปที่ตา หรือตีเข่าทีท้องน้อยก็อาจจะส่งคู่ต่อสู้ลงไปนอนกองอยู่กับพื้นได้ทันที

          แต่น่าอนาถที่ว่ามีอัตราการเสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บทางร่างกายสูง จึงได้มีการออกกฏใหม่ขึ้น โดยยึดเอากฏระเบียบสากลเป็นหลักเพื่อให้มวยไทยได้ปฏิบัติตามนั่นก็คือ การแข่งขันในแต่ละคู่กำหนดให้มีแค่ ๕ ยก แต่ละยกให้ใช้เวลาเพียง ๓ นาที และในระหว่างยกให้มีการพักได้ ๒ นาทีการปฏิบัติตามประเพณีเรียกว่า " การไหว้ครู " พิธีนี้จะทำโดยการแสดงท่าร่ายรำและการเคลื่อนไหวของร่างกายไปพร้อมกับเสียงดนตรีข้างเวที ได้แก่ปี่และฉิ่งเป็นองค์ประกอบ

Thailand " Land of Smile " ( Part 23 )

Thailand " Land of Smile " ( Part 23 )
Thai Boxing

         The unique martial art of Thailand is the well - known Thai boxing or Muay Thai. It is an art of self - defence developed during the Ayutthaya period. In fact, Thai boxing is considered as a sport and a means of self - defence. The contestants are allowed to use almost any part of their body. However, Thai boxing forids biting, spitting or wrestling. They punch kick and shove and use bare feet, legs, knees, elbows, shoulders and fists to overcome their opponents. A vicious lick in the throat, an elbow smash to the eyes or a knee into the stomach can immediately floor the toughest.

          Unfortunately, with high incidence of death and physical injury, new regulations based on the international rules have been set for the Thai boxing to follow ; i.e. each bout is limited to five rounds of three minutes daration with a two - minute break in between. Moreover, the contestants have to wear international - style  gloves and trunks and their feet are taped but no shoes are allowed. Traditionally before getting into the ring, the boxers will spend about 5 minute paying homage to their teachers. This traditional practice is called " wai khru " in Thai. The ceremony is done through a series of gestures and body movements performed in rhythm to the ringside musical accompaniment of Thai oboe and percussion. 

Thursday, March 07, 2013

เคร่งครัดจักเสียคนดี หย่อนยานจักได้เพื่อนชั่ว




ใช้คนไม่ควรโหดนัก
โหดเกินไป
คนใคร่รับใช้จะพากันปลีกตัวหนี
คบเพื่อนไม่ควรสุ่มสี่สุ่มห้า
สุ่มสี่สุ่มห้า
จะชักนำคนประจบสอพลอมาใกล้ตัว


นิทัศน์อุทาหรณ์
คนอย่างเฝิงฮวน

         เราได้แนะนำคนที่ชื่อเฝิงฮวนมาก่อนแล้ว เรื่องราวต่อไปนี้ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเขาอีกเรื่องหนึ่ง

         ครั้งแรกที่เฝิงฮวนมาเคาะประตูบ้านตระกูลเถียนของเมิ่งฉางจุนเขาไม่มีชื่อเสียงอะไรเลย ซ้ำเสื้อผ้าก็ปุปะไม่ต่างอะไรกับขอทานคนหนึ่ง ใช่แต่เท่านั้น เมื่อถามว่า เขามีความรู้ความสามารถ ชอบอะไร รักอะไร เขาก็เอาแต่สั่นหัว คล้ายกับจะบอกว่า " ข้าพเจ้าทำอะไรไม่เป็นสักอย่าง "

          ทุกๆ คนจึงต่างพากันดูถูกเขา เห็นว่าเขาเป็นคนปัญญาอ่อน แต่เมิ่งฉางจุนมิได้ใส่ใจในเรื่องเหล่านี้ รับเขาไว้เลี้ยงดูในบ้านเช่นเดียวกับคนอื่นๆ 

          ไม่นาน เฝิงฮวนก็เริ่มไม่เจียมตัว ถึงกับประท้วงว่า จะกินปลาก็ไม่มีปลา จะออกนอกบ้านก็ไม่มีรถให้ ซ้ำยังไม่จ่ายเงินซึ่งเขาจะได้นำเอาไปเลี้ยงดูแม่เฒ่าทางบ้านด้วย สู้กลับไปอยู่บ้านเหมือนเดิมจะดีกว่า

Wednesday, March 06, 2013

ดื่มได้ทั้งน้ำใสและน้ำขุ่น

ดื่มได้ทั้งน้ำใสและน้ำขุ่น

         คนที่มีน้ำใจดีงาม มีเพื่อนมาก และสามารถจะคบกับคนในทุกสถานะทุกชนชั้นโดยไม่เลือกว่าจะยากดีมีจนเพียงใด เหมือนกับคนญี่ปุ่นที่สามารถดื่มได้ทั้งน้ำใสและน้ำขุ่นโดยไม่ตะขิดตะขวงใจแต่อย่างใด

         และในบางครั้งเขาเปรียบเหมือนกับคนที่เข้ใจความจริงของโลก สามารถลื่นไหลตามธรรมชาติและทำงานกับใครก็ได้โดยไม่ทำให้งานที่ทำอยู่นั้นเสียหาย




By  ปรัชญา ซามูไร

ปลวกตัวจ้อยกับเรือลำใหญ่

ปลวกตัวจ้อยกับเรือลำใหญ่

         คนงานในอู่ต่อเรือแห่งหนึ่ง ใช้ไม้ที่ดีที่สุดสร้างเรือลำใหญ่ขึ้นมาลำหนึ่ง

         คนงานสองคนคัดไม้ขนาดเหมาะเจาะแผ่นหนึ่ง กำลังจะใส่ลงไป ทันใดนั้นเอง พวกเขาก็สังเกตเห็นปลวกตัวเล็กๆ ตัวหนึ่ง

          คนงานคนที่หนึ่งตกใจมาก พูดว่า " ไม้กระดานแผ่นนี้ปลวกขึ้นเสียแล้วอย่าใช้เลย " คนงานคนที่สองพูดว่า " ไม่เป็นไรดอก ปลวกตัวเล็กนิดเดียวไม่สร้างปัญหาอะไรให้กับเรือลำใหญ่ๆ ดอก "

          คนงานแรกแย้งว่า " อย่าประมาทเชียวนา ปลวกตัวเล็กๆ แค่ตัวเดียวก็จริง แต่อีกหน่อยมันจะแพร่พันธุ์ กัดกินเรือลำใหญ่ๆ จนผุไปทั้งลำ "

          คนงานคนที่สองยังยืนกรานว่า " ไม่ดอก ปลวกตัวกระจิ้ดนิดเดียวจะกินเรือลำใหญ่เบ้อเร่อได้ยังไง "

Tuesday, March 05, 2013

บัคจื้อ ( ตอนที่ ๒ )

บัคจื้อ
ทูตแห่งสันติภาพ ( ตอนที่ ๒ )

        ครั้งหนึ่ง...

         บัคจื้อขอร้องให้กงซูปัว นำเข้าเฝ้าพระเจ้าฌ้อ

         บัคจื้อทูลถามว่า

          " ได้ทราบว่า พระองค์เตรียมทำสงครามกับนครซ้องถ้าหากพระองค์ได้ชัยชนะ แต่ถูกครหาว่าก่อสงครามที่ไม่ยุติธรรม เพราะรุกรานเมืองเล็กกว่า พระองค์ยังปราถนาจะรบอยู่หรือ "

          พระเจ้าฌ้อตรัสว่า

           " ถ้าชนะแล้ว ถูกตราหน้าว่าเป็นผู้รุกรานปราศจากความยุติธรรมเราก็ไม่ต้องการรบ "

           บัคจื้อทูลว่า

           " แต่ถึงอย่างไร พระองค์จักไม่ได้นครซ้องมาครอบครองแน่ "

           " กงซูปัว วิศวกรใหญ่ของฉันประดิษฐ์บันไดช่วยรบให้ ทำไมจะเอาชนะไม่ได้ "

Monday, March 04, 2013

บัคจื้อ ( ตอนที่ ๑ )

บัคจื้อ
ทูตแห่งสันติภาพ( ตอนที่ ๑ )

         นานมาแล้ว...

         บัคจื้อ เป็นปรัชญาเมธีผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งไม่แพ้เหลาจื้อและขงจื้อ เขาเกิดหลังขงจื้อถึงแก่กรรมไม่นาน ถิ่นกำเนิดของบัคจื้อคือรัฐลู่ เช่นเดียวกับขงจื้อ

         บัคจื้อศึกษาลัทธิขงจื้อจนทะลุปรุโปร่ง แต่เขาก็ไม่เห็นด้วยกับคำสอนของขงจื้อหลายอย่าง จึงประกาศตั้งตนเป็นเจ้าลัทธิสั่งสอนประชาชน

         นอกจากเป็นปรัชญาเมธี บัคจื้อยังเป็นวิศวกรที่เก่งด้วย วิธีการประกาศคำสอนของเขาจึงเป็นระบบหรือเป็นรูป " สถาบัน " มีองคาพยพประกอบด้วยสาวก และระเบียบวินัยที่พึงปฏิบัติร่วมกันอย่างเคร่งครัด

         บัคจื้อทำหน้าที่เป็น " มหาคุรุ " คอยควบคุมความประพฤติของสาวกทุกคน เช่นเดียวกับวิศวกรใหญ่ คอยควบคุมการก่อสร้างฉะนั้น

         บัคจื้อบูชาสันติภาพ และรักความยุติธรรมยิ่งนัก ในขณะที่ผู้ครองนครน้อยใหญ่ กำลังตั้งหน้าตั้งตาขยายอิทธพลด้วยการก่อสงครามกัน

Saturday, March 02, 2013

ใครลงนรก

ใครลงนรก

         มีสาวกคนหนึ่งหวังอย่างยิ่งว่าฌานาจารย์เจ้าโจวจะช่วยบอกคนทั้งหลายในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ว่า โลกแห่งพุทธะเป็นอย่างไร สวรรค์เป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น เขาจึงถามอาจารย์ด้วยความาดหวังว่า " อาจารย์ ท่านปฏิบัติธรรมแบบฌานอย่างเสมอต้นเสมอปลาย คนที่บริสุทธิ์พร้อมดังเช่นอาจารย์หลังอายุร้อยปีแล้ว ( ตายแล้ว ) ไปที่ใด ? "

         อาจารย์ตอบว่า " ไปนรก " สาวกถามด้วยความประหลาดใจว่า " เอ้า ! ถือศีลปฏิบัติธรรมอย่างเสมอต้นเสมอปลายไร้ที่ติดังเช่นอาจารย์ไฉนหลังร้อยปีแล้วจึงลงนรก ? "

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๒๒ )

เมืองไทย " เมืองยิ้ม " ( ตอนที่ ๒๒ )
ชีวิตในเมือง

          ชีวิตในเมืองจะยุ่งอยู่ตลอดเวลา และกิจกรรมมนุษย์ดำเนินอยู่ต่อไปตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมง เพราะว่าเมืองไม่เคยหลับ จะวุ่นวายอันเนื่องมาจากการเดินทางที่กวักไกว่อย่างรีบเร่ง ของผู้คนอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

           แต่เช้าตรู่ คนเมืองหลวงนับร้อยนับพันต่างก็รีบออกจากบ้านมุ่งหน้าไปยังที่ทำงาน การจราจรก็เริ่มเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ เมื่อชั่วโมงเข้าทำงานใกล้เข้ามา นักศึกษาและคนทำงานต่างยืนเป็นแถวที่ป้ายจอดรถประจำทาง ในขณะที่รถโดยสารที่อัดแน่นด้วยผู้โดยสารแล่นผ่านไปคันแล้วคันเล่า ในชั่วโมงเร่งด่วน ถนนในเมืองจะเต็มไปด้วยควันที่พ่นออกจากท่อไอเสียของยานพาหนะนานับชนิด ซึ่งติดไม่ขยับอยู่ที่เดียวเป็นเวลาหลายชั่วโมง เหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นทั้งเช้าและเย็น

Thailand " Land of Smile " ( Part 22 )

Thailand " Land of Smile " ( Part 22 )
Life in a city

         Life in a city is always busy and human activities go on throughout 24 hours as it never sleeps. It is hectic as people keep on moving from to there in a hurry all the time.

         Early in the morning, hundred of thousands of city dwellers rush out of their homes heading to their working places. A traffic situation gradually turns from bad to worse when the office opening hour comes closer. Students and buses pass by one after another. At peak hours, city streets are full of smoke emitted from the exhausted pipes of various types of vehicles that get stuck on the same spot for several hours ad this situation takes place both in the morning and in the evening.

พญาเหยี่ยว ต้องซ่อนเล็บ

พญาเหยี่ยว ต้องซ่อนเล็บ

         ปรัชญาสำคัญที่แฝงในคำคำนี้ ปราชญ์ชาวญี่ปุ่นเขาเปรียบเปรยถึงคนที่มีปัญาความสามารถและร่ำรวยนั้นมักจะไม่ค่อยแสดงตัว ไม่โอ้อวด วางตัว อวดกล้ามพรั่นเพรื่อจนน่าหมั่นไส้ อาจเทียบกับสำนวนไทยในทำนองเดียวกันที่ว่า

          " คมในฝัก " หรือ " พยัคฆ์ซ่อนตัว " ก็น่าจะไม่ผิดนัก ! 

          ในด้านการค้าพอที่จะเปรียบเทียบได้กับพ่อค้าวานิชที่ประสบความสำเร็จทางการค้า แม้จะร่ำรวยถึงระดับมหาเศรษฐีเท่าใด ได้รับการยกย่อง เลิศเลอเท่าใด เขาก็ยังมีบุคลิกที่อ่อนน้อม ถ่อมตัว ไม่โอ้อวด ซึ่งเป็นสิ่งสุดยอดที่ควรมีประจำตัวไว้ทุกคน

          โซยิ อุระฮารา หลายคนที่ไม่รู้จักเขาและไม่ได้อยู่ในวงการการค้าของญี่ปุ่น ถ้าวันหนึ่งบังเอิญไปพานพบเจอเขาบนท้องถนนก็คงนึกว่าเขาเป็นคนญี่ปุ่นแก่ๆ ธรมดาๆ คนหนึ่งที่มีความสุขในบั้นปลายของชีวิต หลังจากตรากตรำทำงานหนักมาโดยตลอดตั้งแต่ในวัยหนุ่มเยี่ยงคนญี่ปุ่นทั่วไป 

Friday, March 01, 2013

Anatta and the Three Characteristics of Existence

Anatta and the Three Characteristics of Existence

        We find that, Buddhist doctrine of anatta is a necessary corollary to the teaching of Impermanence and Conflict. As we know, the five aggregates are not - self because they are found to be impermanence, non - eternality and having a beginning and end. The five aggregates are subject to suffering because of being oppressed by growth and decay and through being a cause of suffering. They are empty because of the absence of the owner, a tenant, a doer, or a feeler or a superintendent ; and not self. This is an interpretation of the three Characteristics [ Trilakhana ], which are stated in this formula :

         " All component things are impermanent. All component things are suffering. All Dhammas are not self. "

         Here it should be noted that in the first two sentence, the word " component things or sankhara " is used, but in its place in the third sentence, the word dhamma is used. Why wasn't the word component things or sankhara used in the last sentence ? Here lies crux of the whole matter.

อนัตตา กับ ไตรลักษณ์

อนัตตา กับ ไตรลักษณ์

         ทฤษฎีเรื่องอนัตตาในทางพุทธศาสนาเป็นคำสอนที่นำไปสู่การทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า อนิจจา ทุขตา ต่อไป พระพุทธเจ้าทรงยืนยันว่า ตัวบุคคลอันประกอบขึ้นด้วยขันธ์ ๕ นั้น ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีตัวตน ไม่เป็นนิรันดร์ มีเกิดมีดับ เป็นความทุกข์จากภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นแล้วเสื่อมคลายลง มีความกดดันและขัดแย้งอยู่ภายในตัว เพราะปัจจัยในการปรุงแต่งนั้นเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากเหตุ ว่างจากเจ้าของและผู้ถือครอง ไม่มีผู้กระทำ ไม่มีผู้รู้สึก ไม่มีผู้ควบคุมบังคับบัญชา และไม่มีตัวตน ลักษณะและคุณสมบัติที่กล่าวมานี้ เรียกว่า ไตรลักณ์ เป็นสามัญลักษณะ ประกอบด้วยสูตร ๓ ประการ ดังนี้

สังขารทั้งปวง  ไม่เที่ยง
สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์
ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา

ปรัชญาเมธี

ปรัชญาเมธี ผู้ไม่ติดอดีต

          สมัยหนึ่ง...

           ในประเทศจีนสมัยโบราณ มีสำนักปรัชญาเกิดขึ้นหลายสำนัก ต่างก็มุ่งสร้างสังคมในอุดมคติตามแนวคิดของตน ลัทธิขงจื้อยืนยันเรื่องการดำรงรักษาไว้ซึ่งจารีตประเพณีอันดีงาม นักการเมืองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีทางด้านจริยธรรม ลัทธิเต๋าของปรมจารย์เล่าจื้อ และจวงจื้อ เห็นว่าสังคมในอุดมคติจะมีได้ ก็ต่อเมื่อคนได้ละทิ้งประเพณีอันฟุ่มเฟือย หนกลับไปสู่สภาพที่เรียบง่ายตามธรรมชาติ ส่วนหยางจื้อ มีความเห็นว่า สิ่งเดียวที่ทำให้ชีวิตควรค่าแก่การดำรงอยู่คือ สนองความต้องการทางธรรมชาติ เช่น เกษมสำราญจากอาหาร เครื่องแต่งกาย และชื่นชมความงามและดนตรี ม่อจื้อเชื่อมั่นในสถาบันสังคม เห็นว่าการจัดระเบียบสังคมที่ดี ต้องอาศัยหลักการของการมีความรักในมนุษย์ทั้งปวง

            ยังมีปรัชญาเมธีอีกลัทธิหนึ่งชื่อลัทธินิติธรรม เผยแพร่โดยปรมจารย์ฮั่นเฟยจื้อมีความคิดขั้นมูลฐาน คือ ยกย่องคุณค่าของรัฐเหนือคุณค่าของบุคคล ฮั่นเฟยจื้อเกิดในตระกูลขุนนางแห่งแคว้นฮั่น เคยเป็นศิษย์ของซุนจื้อ พร้อมกับหลี่ซู่ ซึ่งต่อมาเป็นเสนบดีแห่งแคว้นจิ้น ฮั่นเฟยจื้อเข้าเฝ้าผู้ครองแคว้นฮั่นแนะนำวิธีการปกครองที่จะทำให้รัฐเข้มแข็ง และประชาชนอยู่ได้อย่างสันติสุข แต่ได้รับปฏิเสธจากผู้ครองแคว้น จึงต้อนตนออกจากสังคม ใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยว เขียนนิพนธ์บันทึกคำสอนของตน

           ต่อมาเขาเดินทางไปยังรัฐจิ๋น ได้รับการต้อนรับและยกย่องจากผู้ครองรัฐมาก จนกระทั่งเหล่าขุนนางทั้งหลายรวมทั้งหลี่ซู่ศิษย์ร่วมสำนักของเขาอิจฉาริษยา กล่าวร้ายยุยงต่อพระเจ้าจิ๋นจนเขาถูกจับขังคุก และสิ้นชีวิตในคุกเมื่ออายุได้ประมาณ ๕๐ ปี

           ฮั่นเฟยจื้อมีความเห็นอย่างหนักแน่นว่า ประชาชนไม่ว่าเป็นคนชั้นสูงหรือชั่นต่ำ จะต้องมีความเสมอภาคกันทางกฏหมาย

           เสนาบดีทำผิด จะต้องไม่มีการยกเว้นจากการลงโทษขณะเดียวกับสามัญชน เมื่อทำดีแล้วจะต้องไม่ละเลยต่อการให้บำเหน็จรางวัล